BEAM

PENTAGRAM ✕ VASLAB ✕ DAVE PERRY
WHILE A WORLD-CLASS DESIGN STUDIO LIKE PENTAGRAM IS BEST KNOWN FOR ITS IMPRESSIVE GRAPHIC DESIGN TRACK RECORD, NOT MANY KNOW THAT IT IS BEHIND MANY INTERESTING WORKS OF SPACE DESIGN.

While a world-class design studio like Pentagram is best known for its impressive graphic design track record, not many know that its Architecture and Interior Design unit, with partners like William Russel as the director, are the mind behind many interesting works of space design. BEAM is the name of their latest project and the new urban nightclub located in the heart of Thonglor, Bangkok’s high-end district, has  VaSLab  co-developing the design along with the design team from Pentagram.  Succeeding the collaboration is what they call the “clubbing experience,” specifically brought to boost the exhilaration of Bangkok’s dance fanatics.

Image © Pentagram

It was the design team’s intention to create unity between the interior space and exterior structure of the architecture with ‘concrete.’ The material was given the leading role of portraying a connection of reciprocal dialogue between the delicate concentration reflected by the exterior of 72 Courtyard and the rawness of BEAM’s interior surfaces left to expose the carefully orchestrated truth to material details of the concrete created by the wooden formwork. One thing we cannot forget to mention is the ‘bipolarity’ manifested in the formation of space. As risky as this may be, considering the possible disrupted cohesion, the differences in functionality between the two spaces are rather obvious, allowing for the designers’ intention to be understood without requiring overly complicated contemplation.

beam_03

    The first series of spaces on the ground floor is occupied by the lounge bar ‘Dalmatian Room.’ A variety of materials are used for this particular space ranging from wood, steel and glass and including the wall of mosaic tiles that has German artist Benedikt Rugar in charge of its creation. The 7×3 meter mosaic wall represents the space’s eccentric window and invites clubbers to relish in the world of imagination, causing the overall atmosphere of the room to be distinctively different from 72 Courtyard’s overall program. The cladding of a series of materials further smooths the coarse texture of the concrete. When complemented by leather furniture, the marble counter bar or the delicate steel structure of the tables with their marble tops and the fairly subtle lighting, Dalmatian Room’s ambience appears to be surprisingly ‘laid back’ considering BEAM’s reputation as a dance-oriented nightclub.

beam_36

         If this first segment of the space is the first pole of BEAM’s bipolarity, the area from the entrance to the second floor of the club would be the second. Aside from the apparent difference between the exposed concrete wall and steel mesh panels at the ceiling, the flow of form is particularly noticeable at the main staircase which prepares visitors for the clubbing space on the upper floor that goes by the name ‘BEAM’ whose upbeat dynamic fills the other end of the program’s bipolar space with pure fun. The completely enclosed space on the second floor can accommodate over 700 people and is designed to offer a super spacious dance floor with a void as high as 6 meters, fabricating a church-like dramatic space within the interior. Concrete beams are omnipresent in creating the flowing and transformative forms of seating and overhead structural plane before making a turn and resting on the ground floor as the mass of the counter bar. The space is rendered in an interesting unison, as the complete enclosure and location to the farthest end of the building makes the space to be highly private where amplified decibels of music are perfectly sheltered and undisturbed by the chaos of Thonglor Road.

The last, but indispensable element of the nightclub design is the lighting and sound systems and the significant roles they play in the experience and design of the space. Dave Parry, the godfather of nightclub audiovisuals who is behind the success of some of the most celebrated clubs like Fabric and Ministry of Sound was chosen to oversee BEAM’s entire multimedia system. The use of ‘beams’ is further rather predictable, whereas implementation of lasers, smoke and projection mapping intensify the mood for the peak days. Asia’s first ‘body kinetic dance floor’ can also be found here, as dancers’ feet can ‘feel’ the vibrations from the beat of the music. The unobstructed space of the second floor offers flexible functionality. These elaborate details you have just read about are essentially the design team’s intention to bring the true clubbing experience to both Thai and international clubbers. It’s a vibe you don’t find very often in Thonglor. In Parry’s very own words, here’s how BEAM is defined, “It’s going to be a proper dance club as opposed to a disco, which I’m kind of seeing most of the places in Thailand are like. And there is a big difference between a nightclub and a disco.”

ในขณะที่สตูดิโอออกแบบระดับโลกอย่าง Pentagram มักมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านผลงานกราฟิกดีไซน์รูปแบบต่างๆ น้อยคนนักจะรู้ว่าแท้จริงแล้ว แผนก Architecture and Interior Design ของ Pentagram ที่มีพาร์ทเนอร์อย่าง William Russel เป็นหัวเรือคอยกำหนดทิศทางนั้น ยังมีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสเปซที่มีความน่าสนใจอยู่อีกมากมายด้วยเช่นกัน และในผลงานชิ้นล่าสุดอย่าง BEAM ไนต์คลับแห่งใหม่ใจกลางทองหล่อที่ได้ VaSLab มาร่วมพัฒนาแบบควบคู่ไปกับทีมนักออกแบบจาก Pentagram นั้น ได้นำสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “clubbing experience” มาให้บรรดาขาแดนซ์ชาวไทยได้ลิ้มลองกันอย่างน่าสนใจ

ด้วยความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพื้นที่ภายในกับสถาปัตยกรรมภายนอก ดังนั้นวัสดุอย่าง “คอนกรีต” จึงถูกนำมาเลือกใช้เป็นตัวละครสำคัญ การใช้คอนกรีตในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบทสนทนาที่โต้ตอบกันอย่างน่าสนใจระหว่างความละเอียดอ่อนที่อัดแน่นของพื้นผิวที่สะท้อนออกมาผ่านพื้นผิวภายนอกของ 72 Courtyard และความดิบของพื้นผิวภายในของ BEAM ที่ปรากฏให้เห็นจากสัจจะของวัสดุผ่านการเลือกคงลวดลายของแม่แบบไว้บนคอนกรีตเปลือย ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากรายละเอียดการใช้วัสดุที่แฝงอะไรบางอย่างไว้แล้ว อีกหนึ่งความกล้าหาญที่จะไม่กล่าวถึงคงไม่ได้ คือการเลือกสร้างสเปซแบบ “สองขั้ว (bipolarity)” ขึ้นมาภายในที่ที่เดียว ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูสุ่มเสี่ยงอยู่บ้างกับการถูกมองว่าสเปซสองขั้วนั้นจะดูไม่ค่อยสัมพันธ์กัน แต่ด้วยการใช้งานที่มีความต่างอยู่ค่อนข้างชัดเจนทำให้เราพอจะมองความตั้งใจของนักออกแบบออกได้อย่างไม่ต้องพิจารณาให้ซับซ้อนเท่าไรนัก

พื้นที่ส่วนแรกในชั้นล่างที่เป็นเลาจน์บาร์ชื่อ ‘Dalmatian Room’ มีการเลือกใช้วัสดุที่ค่อนข้างหลากหลายคละกันไป ตั้งแต่ไม้ เหล็ก กระจก หรือแม้แต่กระเบื้องโมเสคที่ได้ศิลปินเยอรมันอย่าง Benedikt Rugar มาเนรมิตกำแพงบริเวณบาร์ให้กลายเป็นภาพโมเสคขนาด 7×3 เมตร ที่สื่อแทนถึงหน้าต่างของร้านซึ่งเชื้อเชิญให้นักดื่มได้มองออกไปยังโลกในจินตนาการภายนอกนั้น ก็ทำให้บรรยากาศภายในห้องนี้ แตกต่างไปจากภาพรวมของโครงการทั้งหมดอย่างเห็นได้ชัด ไม่ใช่แค่เพียงการเลือกใช้วัสดุที่หลากหลายมากรุทับลงไปบนผิวคอนกรีตเพื่อลดทอนความหยาบกระด้างของสเปซลงเท่านั้น แต่การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ทั้งเบาะที่กรุด้วยหนังเคาน์เตอร์บาร์ที่กรุด้วยหินอ่อน หรือแม้แต่โต๊ะที่ใช้เพียงโครงเหล็กเส้นบางและท็อปโต๊ะด้วยหินอ่อน บวกกับการใช้แสงที่ไม่ค่อยหวือหวาเท่าไร ก็ทำาให้ Dalmatian Room เกิดบรรยากาศที่ค่อนข้าง “ชิล” กว่าชื่อเสียงความเป็นไนต์คลับสายแดนซ์ของ BEAM ไปมากเลยทีเดียว

หากมองว่าพื้นที่ส่วนแรกที่ว่าไปนั้นเป็นสเปซขั้วที่หนึ่ง พื้นที่ตั้งแต่บริเวณทางเข้าไปจนถึงคลับบริเวณชั้นสองก็น่าจะถูกเรียกว่าสเปซขั้วที่สอง นอกจากความต่างที่ค่อนข้างชัดเจนของบรรยากาศดิบๆ ที่เกิดจากการเลือกใช้คอนกรีตเปลือยที่บริเวณผนัง และแผ่นตะแกรงเหล็กเจาะรูที่บริเวณเพดานแล้ว ความต่อเนื่องของรูปทรงโดยเฉพาะบริเวณบันไดทางขึ้นที่ค่อยๆ โหมโรงผู้มาเยือนก่อนเข้าสู่สเปซของไนต์คลับที่ชื่อว่า ‘BEAM’ บริเวณด้านบน ยังช่วยสร้างอีกขั้วของสเปซที่มีความ “สนุก” แฝงอยู่ในทุกพื้นที่ โดยภายในสเปซปิดทึบไร้ช่องเปิดที่จุคนได้กว่า 700 คน ที่บริเวณชั้นสองนั้น นักออกแบบเลือกสร้างให้เป็นบริเวณฟลอร์เต้นที่เปิดเป็น void สูงขึ้นไปกว่า 6 เมตร ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความดราม่าของสเปซแบบโบสถ์เข้าไปในพื้นที่ข้างใน คาน (Beam) คอนกรีตที่วิ่งไปตลอดทั้งร้าน ตั้งแต่เป็นที่นั่ง ระนาบเหนือหัว จนหักกลับมาเป็นเคาน์เตอร์ที่บริเวณบาร์นั้น เป็นการสร้างความเป็นเนื้อเดียวกันของสเปซออกมาได้อย่างน่าสนใจ ด้วยตำาแหน่งของสเปซที่อยู่บริเวณด้านในสุดของอาคาร บวกกับความปิดทึบของสเปซ ทำให้บรรยากาศภายในไนต์คลับแห่งนี้มีความเป็นส่วนตัวค่อนข้างสูง ที่แม้เสียงภายในจะดังกระหึ่มแค่ไหน ก็ไม่ถูกรบกวนจากความวุ่นวายของย่านทองหล่อที่อยู่ภายนอก

ส่วนสุดท้ายที่ขาดไปไม่ได้หากจะพูดถึงการออกแบบไนต์คลับแล้ว คือ ระบบแสง สี เสียง และการออกแบบประสบการณ์ต่างๆ ภายในสเปซ ที่งานนี้ได้บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อออดิโอวิช่วลของวงการไนต์คลับจากอังกฤษอย่าง Dave Parry ที่เคยฝากผลงานไว้กับคลับชื่อดังอย่าง Fabric และ Ministry of Sound มาร่วมออกแบบระบบมัลติมีเดียภายใน BEAM ตั้งแต่การสร้างให้เกิดลำแสง (Beam) อันเป็นหนึ่งในคอนเซ็ปต์หลักของร้าน การใช้เลเซอร์และควันสโม๊คเข้าช่วย การใช้เทคโนโลยี projection mapping ช่วยเพิ่มความมันของบรรยากาศให้มากขึ้นในช่วงวันสุดสัปดาห์ หรือแม้แต่นำสิ่งที่ Parry เรียกว่า ‘body kinetic dance floor’ ซึ่งถือเป็นที่แรกของเอเชียเข้ามาใช้ ทำให้เรา “รู้สึก” ได้ถึงบีทของดนตรีที่เล่นอยู่ โดยจะวิ่งตั้งแต่ฝ่าเท้าไปทั่วทั้งตัวของเราในขณะเต้น การที่สเปซของบริเวณชั้นสองดูโล่งเปล่า ไม่มีองค์ประกอบใดๆ มาขวางกั้น ก็เพื่อให้ตอบรับกับการใช้งานที่ยืดหยุ่น และระบบมัลติมีเดียที่หลากหลายของพื้นที่ภายใน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ เป็นความต้องการของนักออกแบบที่อยากจะนำ clubbing experience ของจริง มาใส่ไว้ให้นักเที่ยวชาวไทยและเทศได้ลิ้มลองและสนุกไปกับแสงสีในรูปแบบที่ต่างออกไปจากไนต์คลับอื่นๆ ในย่าน ซึ่งตรงจุดนี้ Parry ได้เคยกล่าวนิยามของ BEAM ไว้ว่า “มันจะเป็น dance club ที่ดี ไม่ใช่ดิสโก้เธค ไนต์คลับกับดิสโก้มันแตกต่างกันมากนะ ซึ่งไนต์คลับส่วนใหญ่ในไทยก็ดูจะไม่ค่อยเข้าใจความแตกต่างตรงนี้เสียด้วย”

TEXT: PAPHOP KERDSUP
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED

beamclub.com
pentagram.com
vaslabarchitecture.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *