BANGKOK BOYS’ OLD SCHOOL

THE UNTOLD STORY OF AMOS CHANG, AN ARCHITECT BEHIND THE LONGLASTING BUILT ENVIRONMENT OF BANGKOK CHRISTIAN COLLEGE

TEXT: WICHIT HORYINGSAWAD

(For English, please scroll down)

ในปี ค.ศ. 1900 หลังจากเปิดให้บริการทางด้านการศึกษามาเกือบ 50 ปี โรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเรียนการสอนวิชาความรู้สมัยใหม่แบบตะวันตกที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมคือที่ตำบลวัดกระดี่จีน (ย่านกุฎีจีนในปัจจุบัน) มายังที่ตั้งปัจจุบันที่ถนนประมวญ สีลม ซึ่งมีพื้นที่กว่า 16 ไร่ จากการขยับขยายพื้นที่และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงธรรมการในสมัยนั้น (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ได้รับรองวิทยฐานะเป็นโรงเรียนแรกของประเทศสยาม และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย” ในปี ค.ศ. 1913 เมื่อขยายหลักสูตรครอบคลุมไปถึงการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด

The basement area where a waffle slab design was used as as supporting structure, Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

ในยุคสมัยที่ M. B. Palmer ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่คือในระหว่างปี ค.ศ. 1919-1938 ถือได้ว่าเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของโรงเรียน เพราะได้มีการวางเป้าหมายที่จะขยายการเรียนการสอนให้ถึงระดับอุดมศึกษา ตามนโยบายที่ Presbyterian Mission ที่นิวยอร์กตั้งไว้ และในปี ค.ศ. 1926 ก็ได้มีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับขยายฐานบริการทางด้านการศึกษาด้วยการซื้อที่ดินบริเวณบ้านกล้วย (พื้นที่บนถนนสุขุมวิทบริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) ที่มีพื้นที่กว่า 80 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างมหาวิทยาลัย แต่แล้วสถานการณ์ก็กลับพลิกผัน เพราะหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และโลกได้เข้าสู่ยุคของสงครามเย็น สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทยที่ได้ยื่นขอต่อรัฐบาลไทยว่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัย ก็กลับถูกรัฐบาลในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามปฏิเสธ เพราะเกรงว่าถ้าอนุญาตให้เอกชนตั้งมหาวิทยาลัยได้แล้วสิ่งที่ตามมาคือประชาชนกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศคอมมิวนิสต์ยักษ์ใหญ่ก็จะใช้ข้ออ้างนี้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในประเทศด้วยเช่นกัน และนั่นก็จะทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมอุดมการณ์ทางการเมืองของพลเมืองวัยหนุ่มสาวในอนาคตได้ง่ายนัก (ซึ่งในยุคนั้นจอมพล ป.พิบูลสงครามยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยอีกตำแหน่ง) เมื่อการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จตามที่วางแผนเอาไว้เงินทุนสะสมที่ Presbyterian Mission ที่นิวยอร์กได้เตรียมไว้จำนวนหลายแสนเหรียญจึงถูกนำไปใช้เพื่อการปรับปรุง Siliman University ในประเทศฟิลิปปินส์แทน

เวลาผ่านไปหลายสิบปีจนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1950 เมื่อมีผู้ใหญ่ของ Presbyterian Mission จากนิวยอร์กเดินทางมาเยี่ยมโรงเรียนและพบว่าอาคารเรียนเริ่มมีสภาพเก่าและล้าสมัย ดังนั้นทีมผู้บริหารของโรงเรียนจึงเกิดความคิดว่าควรจะขายที่ดินที่บ้านกล้วยที่เคยเตรียมไว้สำหรับสร้างมหาวิทยาลัย แล้วนำเงินมาสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ที่ถนนประมวญ โดยจะเป็นการรื้อถอนอาคารเก่าที่มีสภาพทรุดโทรมทิ้งและสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หลังจากนั้นไม่นาน Horace Ribern ผู้แทนของ Presbyterian Mission ในกรุงเทพฯ จึงได้เดินทางไปที่สำนักงานในนิวยอร์กเพื่อพบกับ Daniel M. Patterson เหรัญญิกขององค์กรซึ่งเป็นผู้แนะนำ Linne Tholin วิศวกรที่มีประสบการณ์เป็นหัวหน้าโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการในชิคาโกให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวจีนกวางตุ้งที่มีชื่อว่า Amos I. T. Chang (1916-1998) ซึ่งเป็นสมาชิกของ First Presbyterian Church ในแมนฮัตตัน และในขณะนั้นก็ได้เข้ามาทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมในเมืองไทยมาพักหนึ่งแล้ว เป็นผู้รับผิดชอบออกแบบอาคารทั้งหมด และมี Taylor M. Potter หัวหน้ากองสถาปัตยกรรมของสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย (ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโบสถ์หลังใหม่ของคริสตจักรที่ 1 ในจังหวัดเชียงใหม่) เป็นที่ปรึกษาโครงการ และ Alex C. Berr ทำหน้าที่เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง

ในช่วงทศวรรษ 1950-1960  Amos I. T. Chang เป็นสถาปนิกที่มีบทบาทในประเทศไทยพอสมควร ทั้งในด้านการปฏิบัติวิชาชีพและในเรื่องของงานวิชาการและการศึกษา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักผลงานและแนวความคิดทางด้านสถาปัตยกรรมของเขาเท่าไรนัก

The west side skin of the M.B. Palmer building, Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

The internal structure of the chapel, Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

Amos I. T. Chang เกิดเมื่อปี 1916 ที่เมืองผูหนิง (Puning) ในมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong) จบการศึกษาในระดับมัธยมที่ Nanking Christian High School ในปี 1935 จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมโยธาที่ National Chung King University จนจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1939 ช่วงก่อนและหลังจากที่จบการศึกษาเขาปฏิบัติวิชาชีพเป็นวิศวกรโยธาอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลากว่า 12 ปี คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934-1946 หลังจากนั้นเขาเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านสถาปัตยกรรมที่ Princeton University ในสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทในปี ค.ศ. 1949 และปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1951 หลังจากนั้นก็ดำรงตำแหน่งอาจารย์ทางด้านสถาปัตยกรรรมในระดับปริญญาโทที่ Princeton University ระหว่างปี ค.ศ. 1951-1952 ก่อนที่จะข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำงานออกแบบและงานวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรมในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1952-1967 ในระหว่างที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยเขาเขียนหนังสือทฤษฎีทางด้านสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจเอาไว้หนึ่งเล่มคือ Tao of Architecture (1956) ที่ตีพิมพ์กับ Princeton University Press ข้อเสนอของ Amos ณ. T. Chang ในหนังสือเล่มนี้คือความสนใจที่มีต่อสิ่งที่เขาเรียกมันว่า “เนื้อหาของสิ่งที่ไม่มีตัวตนในรูปทรงของสถาปัตยกรรม” (Intangible Content in Architectural Form) โดยพยายามเสนอมุมมองและการตีความในการทำงาน และมุมมองในการออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ผ่านงานปรัชญาตะวันออกของเล่าจื๊อ (Lao Tzu) จากหนังสือที่มีชื่อว่า “เต๋เด็กเก็ง” (Tao Te Ching) ซึ่งแนวความคิดนี้ได้สะท้อนออกมาในงานออกแบบอาคารใหม่ทั้งสองหลังที่เขาออกแบบให้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนไม่ว่าจะเป็นอาคารเอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ (แต่เดิมเรียกว่าอาคารมัธยมและอาคาร 2) (1963-1965) และหอธรรม (The Chapel) (1968-1971)

หากพิจารณาในเรื่องการวางผังอาคาร เอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ วางทิศทางของตัวอาคารทั้งหมดทอดยาวไปตามทิศเหนือ-ใต้ ในขณะที่กลุ่มอาคารหลักทั้ง 5 หลัง (ก่อนที่จะรื้อทิ้งไปหนึ่งหลังเพื่อสร้างอาคารอาคารสิรินาถในปี ค.ศ. 1992) วางตัวตามแนวยาวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้สามารถรับลมธรรมชาติตามฤดูกาล โดยห้องเรียนในสมัยแรกเริ่มนั้นจะไม่มีผนังกั้นห้อง ทำให้ลมพัดผ่านห้องเรียนได้โดยสะดวก ขณะเดียวกันเนื่องจากตัวอาคารหลักวางตัวทอดยาวในทิศทางนี้ทำให้อาคารทางด้านทิศใต้และตะวันตกรับแสงแดดโดยตรง Amos I. T. Chang แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้พื้นที่นี้เป็น corridor สำหรับเป็นทางเดินเชื่อมต่อของห้องเรียน ทำให้พื้นที่ทางเดินกลายเป็นที่รับแสงแดดแทน และทำให้แสงแดดช่วงบ่ายไม่สามารถส่องเข้าไปถึงภายในห้องเรียน รวมถึงการออกแบบลูกเล่นของ façade เพื่อให้แสงได้ทำงานร่วมกับฟอร์มของเสาและแผงกันแดดทำให้เงาปรากฏขึ้นที่ผิวของอาคาร โดยเขาเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า Intangible Content ที่เล่นกับการรับรู้ของมนุษย์ซึ่งมีผลในแง่ของจิตวิทยา ซึ่งสำหรับเขาแล้วสิ่งนี้มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฟังก์ชั่นการใช้งานของตัวอาคาร

Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

ในบริเวณพื้นที่ว่างของตัวอาคารหลัก เขาออกแบบให้เป็นพื้นที่คอร์ทยาร์ดเพื่อเป็นสวนและที่นั่งพักผ่อนของนักเรียน โดยพยายามให้มีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับความสูงของตัวอาคารและพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร ตามแนวคิดที่ Walter Gropius (1883-1969) สถาปนิกในยุคโมเดิร์นคนสำคัญได้เคยเสนอไว้ในการประชุม CIAM 3 ที่บรัสเซลส์ ในปี ค.ศ. 1930 และที่โถงบันไดหลักของแต่ละอาคารจะมีการตกแต่งอาคารด้วยภาพ mural painting บนกระเบื้องดินเผาขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนผนังของโถงบันไดหลักทั้ง 4 โถง ซึ่งออกแบบโดย แสงอรุณ รัตกสิกร (1922-1979) โดยได้แบ่งเรื่องราวของแต่ละผนังออกเป็นหัวข้อต่างๆ คือ ศิลปวัฒนธรรม จินตนาการ แห่งความรู้ โลกแห่งอนาคต กีฬาเพื่อสุขภาพพลานามัย และอีกหนึ่งภาพบนผนังของอาคารที่ปัจจุบันได้รื้อทิ้งไปแล้ว คือภาพที่มีชื่อว่า พระเจ้าสร้างโลก

สำหรับตัวอาคารหอธรรม Amos I. T. Chang ได้ออกแบบให้ตัวอาคารเป็นเสมือนสัญลักษณ์ตามเนื้อหาในพระคัมภีร์ โดยให้มีลักษณะคล้ายเรือโนอาห์ที่แสดงออกถึงโอกาสในการรอดชีวิตที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์ ตัวอาคารมีขนาดใหญ่สามารถจุคนได้ถึง 1,300- 1,600 คน โครงสร้างหลักของอาคารเป็นโครงหลังคาคอนกรีตที่ ชะลูดสูงแล้วค่อยๆ สอบโค้งลงมาที่ด้านล่างทำให้เกิดฟอร์มที่น่าสนใจ ซ้ำยังสอดคล้องกับความคิดในเรื่อง “การทิ้งร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงการรับรู้รูปทรงที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์ที่มีต่อรูปทรงนั้นของคนที่เข้าไปมีประสบการณ์ร่วมกันในพื้นที่” ที่เขาได้เสนอไว้ในหนังสือ Tao of Architecture รวมถึงการเปิดช่องแสงที่หน้าต่างโดยรอบในระดับต่ำ ที่นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องความสว่างแล้ว ก็ยังทำให้เหมือนโครงสร้างภายในกำลังลอยอยู่บนพื้น ซึ่งล้อกันดีกับการเปรียบเทียบว่าตัวอาคารเป็นเสมือนเรือโนอาห์  และตัวแสงเองก็ยังทำให้เกิดเงาที่โครงสร้างหลักที่เปิดโอกาสให้ Intangible Content ได้ปรากฏตัวขึ้นมา นอกจากนั้นแล้วที่ บนยอดของแนวหลังคาด้านบนก็ยังถูกออกแบบให้เป็นช่องแสงเป็นรูปวงกลม เพื่อดึงแสงสว่างจากภายนอกเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ภายใน ลักษณะพิเศษที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือทางเดินภายในที่เป็นทางลาด Alex C. Berr วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง เป็นผู้แก้ไขแบบในภายหลังเพื่อความสะดวกสบายของผู้มีปัญหาทางด้านการเดินและจำเป็นต้องใช้รถเข็นในการสัญจรภายในอาคาร และทำให้การเคลื่อนที่ใน space ภายในอาคารมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น

Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

นอกจากอาคารในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนแล้ว ช่วงเวลาที่ Amos I. T. Chang เข้ามาทำงานออกแบบในประเทศไทยเขาได้ออกแบบอาคารไว้อีกหลายแห่ง เช่น Baptist Student Center อาคารสถานทูตจีน รวมถึงงานต่อเติมอาคารสถานทูตอเมริกา นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นอาจารย์พิเศษสอนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของปลาย ทศวรรษ 1960 โดยใช้ชื่อภาษาไทยในการสอนว่า ‘ดร. เอมอส จ่าง จ่างอิษฎิกุล’ แนวความคิดทางด้านสถาปัตยกรรมของเขามีอิทธิพลกับอาจารย์มหาวิทยาลัยของไทยในยุคนั้นพอสมควร มีบทความหลายชิ้นของเขาถูกแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ในวารสารประจำปีของคณะสถาปัตยกรรมที่เปิดสอนอยู่ในตอนนั้น และเขายังมีส่วนร่วมในการนำเสนอบทความในเวทีวิชาการระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศไทยในเวลานั้นด้วย

ในปี ค.ศ. 1967 เขาตัดสินใจเดินทางกลับไปสอนหนังสือที่สหรัฐอเมริกา (เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508 ที่ไม่อนุญาตให้สถาปนิกต่างชาติทำงานในประเทศไทย) เขาสอนสถาปัตยกรรมในระดับปริญญาโทอยู่ที่ Kansas State University ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967-1987 และหลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตบั้นปลายในวัยเกษียณอย่างสงบในเมืองโทพีกา ในรัฐแคนซัส และเสียชีวิตในเช้าวันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1998 หลังจากที่เขาเสียชีวิต คณะสถาปัตยกรรมที่เขาเคยสอนได้ตั้งชื่อห้องนิทรรศการห้องหนึ่งว่า ‘Chang Gallery’ เพื่อเป็นเกียรติแก่ Amos I. T. Chang และรำลึกถึงคุณความดีที่เขาทำให้กับมหาวิทยาลัย


In 1900, after nearly 50 years of having been provided western-style educational services, Bangkok Christian High School, Thailand’s oldest private school went through a relocation from the Wat Kradeejeen sub district (today’s Kudejeen district) to an extensive 6.32-acre land on Pramuan Road in Silom. Due to its relocation and the continual development of its educational qualities and standards at that time, the Ministry of Education certified its status as Siam’s first school before the name was changed to ‘Bangkok Christian College’ in 1912 following an expansion of the curriculum to encompass all levels of secondary education.

The time when M.B. Palmer was the school’s Head Master (1919-1938) was the transitional period when Bangkok Christian College was planning to expand its curriculum to encompass the university level following a policy proposed by the Presbyterian Mission in New York. In 1926, a property was prepared for the expansion with the purchase of a 31.6-acre estate in Baan Klouy (an area on Sukhumvit Road and today’s Bangkok Planetarium) being made for the construction of the university. The plan was disrupted for after the end of the Second World War, the global community entered the Cold War period that caused The Church of Christ in Thailand and its proposal to establish the university in the country to be turned down under Field Marshal Plaek Phibunsongkhram’s administration. The rejection was made following the concern that if a private organization were allowed to establish a university, other groups of individuals with support from powerful communism countries would be able to use such ground to establish higher educational institutions in the country, which could obstruct the government’s attempt to control the political ideology of its young citizens in the future (Field Marshal Plaek Phibunsongkhram was also the appointed Dean of Chulalongkorn University at the time). Once the intention to establish the university in Thailand didn’t go as planned, the hundreds of thousands of dollars worth of capital prepared by Presbyterian Mission New York was used in the improvement of Silliman University in the Philippines instead.

Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

Decades had passed and it was during the end of the 1950s that the executive personnel of the Presbyterian Mission traveled from New York to visit the school and found the buildings to be old and outdated. The board of administration came up with the idea of selling the Baan Klouy land initially planned to be the site of the university and using the money for the construction of new school buildings on Pramuan Road. The project would involve the demolition of the old and deteriorating structures and the construction of an entirely new architectural program for the school. It didn’t take long following for Horace Ribern, the representative of the Presbyterian Mission in Bangkok to meet with Daniel M. Patterson, the organization’s treasurer and the man who introduced Linne Tholin, the veteran engineer who had been leading several prominent projects in Chicago to be the supervisor of the upcoming project in Bangkok. Architect of Chinese-descent, Amos I. T. Chang (1916-1998) was a member of the First Presbyterian Church and had been working in Thailand on other projects for a certain period of time. Chang was assigned the task of overseeing the design of the entire architectural program with Taylor M. Potter, the Head of the Architectural Department of The Church of Christ in Thailand (the department was responsible for the design of the new church of the First Presbyterian Church in Chiang Mai) serving as the project’s consultant and Alex C. Berr being named the head engineer who would be supervising the entire construction.

During the period between 1950 and 1960, Amos I. T. Chang was a considerably influential architect in both the professional and academic arenas and it is a real shame that not that many people know about his works and the ideas behind his architecture. Amos I. T. Chang was born in 1916 in a town called Puning of Guangdong province of China. He graduated from Nanking Christian High School in 1935 and later pursued his education in civil engineering at National Chung King University, earning his bachelor’s degree in 1939. Throughout the period even before and after his graduation, Chang was working as a professional engineer in China for 12 years (from 1934 to 1945). He later went on to enroll in the architectural program and obtained his master’s degree from Princeton University, the United States of America. He received his master’s and later Ph.D. in 1949 and 1952, respectively, before taking the position as an architectural professor in the master’s degree program at Princeton University between 1951 and 1952. The period from 1952 to 1967 was the time when he traveled to Thailand and stayed in the country where he worked on projects while pursuing his academic interests. Chang wrote an interesting book on architectural theory called The Tao of Architecture (1956), which was printed and released by Princeton University Press. What Amos I. T. Chang proposes in the book is his interest in what he calls the ‘Intangible Content in Architectural Form’ as he attempts to present his own view and reinterpretation of architectural practice as well as design through Lao Tzu’s philosophy taken from the book called Tao Te Ching. The concept is reflected in the design of the two new buildings of Bangkok Christian College, the M. B. Palmer Building (originally called Building 2) (1963-1965) and The Chapel (1968-1971).

Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

If we take a closer look at the architectural program of the project, M. B. Palmer manipulated all the buildings to be in a north-south orientation while the five principle buildings (one was demolished and replaced by the Sirinart Building in 1992) resting in an east-west orientation for intake of the natural seasonal winds. In the early days of the school, the classrooms bore no walls or partitions allowing for the wind to flow through.

In the meantime, with the main building standing in this particular direction, the buildings facing towards the south and west were naturally exposed to the sun. Amos I. T. Chang came up with a solution to the problem by turning the space into a corridor that connected itself to the classrooms. Such program resulted in the corridor being naturally lit by the sunlight while its presence helped to prevent the afternoon sun from reaching the classrooms. The design of the gimmick of the façade was executed in a way that allowed for the light to interact with the form of the building’s columns and sun protection panels, consequentially creating interesting shadows on the exterior surface. Chang calls such effect Intangible Content, which plays with human’s perceptions, because to him, such psychological effects that architectural elements and programs have on users are just as important as a building’s spatial functionalities.

The void within the main building was designed into a courtyard for students to rest and relax. The proportion was configured to be in physical relation with the building’s height as well as other voids between different architectural structures in the program, following what Walter Gropius (1883-1969), a prominent architect of Modernism, proposed at 1930’s CIAM 3 conference in Brussels. The main stairway of each building was decorated with a mural painting done on a massive ceramic tile installed on the wall of the four main stairways. The paintings have Saeng-arun Ratkasikorn (1922-1979) in charge of their artistic direction and each features a different subject matter from Art and Culture to Imagination of Knowledge, Future World and Sport for Good Health, with an additional piece on the wall of the now demolished building being called ‘Creation of the World (Genesis)’.

Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

For ‘The Chapel,’ Amos I. T. Chang materialized the design to have symbolic biblical references with a physical form that is similar to Noah’s Ark, expressing the chance of survival granted to the human race by God. The edifice can host up to 1,300-1,600 users with the main structure being designed to have a towering concrete roof whose form gradually narrows, creating interesting curved lines. The design also resonates with one of the concepts Chang proposes in The Tao of Architecture; ‘…the leaving of traces of change of the way a form is perceived, which is relatable to the concept users, who collectively experience the space, have for a particular form.” The openings are situated to be of a lower height and contribute to the brightness of the interior space, as well as the seemingly floatable interior structure, while the design conveys the biblical connotation by comparing the structure to that of Noah’s Ark. The light also creates an interesting presence of shadows on the main structure, allowing for the ‘Intangible Content’ to make Its appearance. In addition, the top of the upper roof structure is designed to have circular-shaped openings. What these circular skylights do is bring in natural light to interact with the building’s interior space. One of the interesting elements of the design is the interior sloped walkways, which was Alex C. Berr, the project’s supervising engineer’s, intention to change this particular part of the design to accommodate users with walking difficulties and wheelchairs while the ramp’s physical presence facilitates a greater spatial flow for the building’s interior space.

Apart from the buildings of Bangkok Christian College, Amos I. T. Chang also designed a number of memorable projects during his time in Thailand such as the Baptist Student Center, the Chinese Embassy and the addition of the U.S. Embassy’s building in Bangkok. Chang also worked as a visiting professor at the Faculty of Thai Architecture, Silpakorn University for a brief period at the end of the 1960s with Dr. Amos Chang Chang-itdhikul being his Thai name. His architectural ideas had a great deal of influence on university professors in Thailand back in the day with several of his articles being translated into Thai language and published in the annual journal of the Faculty of Architecture while Chang himself was invited to present his academic work at the international academic conference held in Thailand at the time.

In 1967, Amos I. T. Chang decided to return to the United States (one of the reasons was, presumably, The Architecture Profession Act, B.E. 2508 (1965) that prohibited foreign architects from working in Thailand), where he worked as a professor of architecture in the master’s degree program at Kansas State University. He passed away on Monday morning of August 3rd, 1998. After his departure, the Faculty of Architecture named one of its exhibition rooms the ‘Chang Gallery’ in honor of Amos I. T. Chang and the contributions he made to the university.

Bangkok Christian College, Photo by Ketsiree Wongwan

www.bcc.ac.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *