IT COULD NOT GET ANY LESS ‘BIG’ THAN THIS

BIG creates a hidden museum in reflection upon a massive Nazi gun bunker

During the Second World War, works of military architecture known as Gun Bunkers were constructed on over 200 sites along the western coastline of Denmark, following the construction of the Atlantic Wall initiated by the Nazi Army occupying Denmark at the time. Decades have passed and these gun bunkers waived their duties and are left to face different destinies. Some were demolished while some turned into ruins and remainders of the menace of war. Some have further been transformed into museums, telling the stories of their own origins and backgrounds. It’s highly interesting to see which role this type of architecture will embody in today’s context for the creative adaptation of these works of military archi- tecture might need a design philosophy that is entirely different from the one that gave birth to them.

PHOTO: RASMUS HJORTSHOJ

In the case of Tirpitz Bunker, one of the largest bunkers of the Atlantic Wall defenses, its architectural aesthetic is not denied but reflected through the ‘Invisible Museum’ concept proposed by BIG, the Danish architecture firm whose intention was to built a new addition of the Tirpitz Museum or Blåvand Bunker Museum under the dunes of sand and grass, resonating with the unique seaside landscape of the south of Denmark’s Blåvand.

Bjarke Ingels said that the design is the antithesis of the Gun Bunker’s architecture for while the original building is fully enclosed and denies the surrounding environment, the new structure opens more as it’s materialized to embrace the users’ participation and interaction. While the gun bunker itself is already quite a reputable small-scale museum, the new addition aims to create a cultural center with the dimension of its operations and narrative extending beyond the history of war. The new program accommodates an approximately 2,800 square-meter space comprised of three permanent exhibition rooms and one multi-functional room. The floor plan housing the four galleries is reflected in the design of the exterior structure of the sloped dune separated by four different grids of walkways with public grounds being located in the middle of the program.

The architects emphasized that the new addition does not attempt to compete with the bunker’s existing structure. The architecture was conceived to be a part of the site’s geographic condition while the scale and inclination of each part of the dune are designed to correspond with the ground floor’s functionality, level and suitability of construction. As for the spatial connection between the new and old building, the original entrance of the museum was taken out to make space for the main walkway that runs along the gun bunker and seamlessly connects to the walk- way of the new program. Such connectivity creates an awareness of the dissimilarity between the bunker’s rough, solid surface and the structure of the grass-covered dune that gradually reveals itself before transforming into a series of sleek concrete walls and massive mirror panels. In addition to the main walkway, other passageways are situated so as to link with the site’s existing routes.

Inside a new extension of Tirpitz Museum built under the dunes of sand and grass that harmoniously blend in with the surrounding context, PHOTO: RASMUS HJORTSHOJ

Mirrors were used to add more dimension to the space ,PHOTO: RASMUS HJORTSHOJ

To enter the museum, one can gain access through the public grounds at the center of the program and the v-shaped staircase that spirals down to the area under the communal grounds, serving as the foyer that leads visitors to the four exhibition spaces. Each wall of the foyer is designed to be slightly inclined, opening the space up to the exhibition area while bringing more light into the foyer. The exhibition was designed by the Netherlands’ tinker imagineers with its program that consists of ‘An Army of Concrete’ showcasing the details of the German Army’s Atlantic Wall through the experiences of local inhabitants. ‘West Coast Stories’ is the part of the exhibition that tells the story of the historical changes across Denmark’s western coastline through the use of a nighttime 4D theater. ‘Gold of the West Coast’ is a comprehensive exhibition of amber found abundantly in the land where the museum is located while a temporary exhibition features the story of the salvaging operations of unexploded WWII bombs along the coastline.

From the four galleries, visitors can walk through the underground tunnel and reach the gun bunker, which was never actually used as initially intended due to the war’s end. What’s interesting are the differences between 2012’s winning design and the actual constructed architecture. BIG originally proposed the idea of recreating the two cannons (real ones were intended to be installed but never actually were) using glass and steel framing. The rotatable structure would have been installed at the top of the building functioning as an observation deck. Nevertheless, perhaps due to sensitivity towards the memories of war, the simulation of the cannon’s structure didn’t happen. The architect, however, kept the original glass dome with additional lighting design along with visual and sound effects incorporated in to simulate the atmosphere when the bunker was used during wartime.

An underground tunnel inside the gun bunker that simulates the atmosphere when the building was used during wartime, PHOTO: RASMUS HJORTSHOJ

There are many times when the interesting characteristics of BIG’s architecture are conceived from the integrated aesthetics and functionalities of different types of buildings. For Tirpitz Museum, the importance lies not only in the new program, which stands out for the combined elements of architecture and landscape architecture, but also in the way that the new structure is built on the relationship it has with the gun bunker. The museum manifests its historical standpoint towards the existing military architecture by making itself disappear, and with the very same condition, uniting itself as a part of the site’s geographical condition while interestingly functioning as a new learning space.

An entrance to the museum that looks like it is situated in a fissure of the earth, PHOTO: RASMUS HJORTSHOJ

ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สถาปัตยกรรมทางการทหารประเภท Gun Bunker หรืออาคารป้อมปืน ได้รับการก่อสร้างขึ้นราว 200 จุดตามแนวชายฝั่ง ด้านตะวันตกของประเทศเดนมาร์ก โดยเป็นไปตามแผนการสร้างแนวป้องกัน Atlantic Wall ของกองทัพนาซีที่ยึดครองเดนมาร์กไว้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป อาคารป้อมปืนเหล่าน้ีก็หมดหน้าที่และมีชะตากรรมที่แตกต่างกันไป บ้างก็ถูกรื้อถอนออก บ้างก็กลายเป็นซากปรักหักพัง ที่เตือนความทรงจำถึงสงคราม บ้างก็ถูกเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าถึงความเป็นมาของตัวมันเอง น่าสนใจว่าสิ่งก่อสร้างประเภทนี้จะมีบทบาทใหม่ได้อย่างไรในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมแห่งสงครามไปในทางสร้างสรรค์อาจต้องการปรัชญาการออกแบบท่ีตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง

ในกรณีของ Tirpitz Bunker หน่ึงในป้อมปราการท่ีใหญ่ท่ีสุดของ Atlantic Wall รูปแบบสถาปัตยกรรมป้อมปืนไม่ได้ถูกปฏิเสธ แต่ถูกสะท้อนกลับด้วยแนวคิดการสร้าง ‘Invisible Museum’ โดย BIG สถาปนิกผู้ออกแบบต้ังใจที่จะสร้างส่วนต่อขยายของตัว Tirpitz Museum หรือ Blåvand Bunker Museum ให้อยู่ภายใต้เนินดินทรายและหญ้า ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิประเทศทางตอนใต้ในเขต Blåvand ของเดนมาร์ก Bjarke Ingels กล่าวว่าสถาปัตยกรรมช้ินใหม่น้ีถือเป็น antithesis กับสถาปัตยกรรมป้อมปืน เพราะในขณะที่อาคารเดิมมีลักษณะปิดทึบและปฏิเสธสภาพแวดล้อมโดยรอบ อาคารใหม่น้ันมีลักษณะที่เปิดและเชื้อเชิญผู้คนให้เข้าใช้งาน

แม้ว่าเดิมทีอาคารป้อมปืนแห่งนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมอยู่พอสมควร แต่การขยับขยายในคร้ังนี้ก็มีวัตถุประสงค์สร้างศูนย์วัฒนธรรมที่มีมิติของการดำเนินงานและการบอกเล่าเรื่องราวที่มากไปกว่าเรื่องของสงคราม โดยตัวโปรแกรมใหม่มีพื้นที่ ขนาดประมาณ 2,800 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยส่วนนิทรรศการถาวร 3 ห้อง และพื้นที่เอนกประสงค์อีก 1 ห้อง ซึ่งการวางผังพื้นท่ี ทั้ง 4 ส่วนนี้ได้สะท้อนออกสู่รูปทรงด้านนอกเป็นเนินดินที่ถูกแยกออกจากกันด้วยแนวทางเดิน 4 แนวและลานสาธารณะที่ใจกลางโครงการ

สถาปนิกย้ำว่าส่วนต่อขยายใหม่นี้ไม่ได้เป็นอาคารท่ีพยายามจะแข่งกับตัว bunker แต่เป็นสถาปัตยกรรมท่ีแทรกตัวเข้าไปในภูมิประเทศ ในขณะที่ขนาดและการเอียงของเนินแต่ละส่วนก็ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับการใช้สอยด้านล่าง แนวระดับของพื้นที่ และความเหมาะสมทางการก่อสร้าง แต่สําาหรับความสัมพันธ์ระหว่างอาคารเก่าและใหม่นั้น ส่วนทางเข้าพิพิธภัณฑ์เดิมถูกรื้อออกเพื่อเปิดให้กลายเป็นแนวทางเดินหลัก ที่แนบชิดกับอาคารป้อมปืนและทอดต่อไปเป็นแนวทางเดินเข้าสู่อาคารใหม่อย่างพอดิบพอดี ซึ่งทำให้เกิดเป็นการรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างพื้นผิวที่หนักและหยาบกร้านของอาคารป้อมปืนกับเนินหญ้าที่ค่อยๆ เผยตัวขึ้นตามลักษณะลาดเอียงของอาคารเป็นผนัง คอนกรีตเรียบ และผืนกระจกในทที่สุด นอกจากแนวทางเดินหลักน้ี แกนทางเดินอื่นๆ ก็ถูกวางให้เช่ือมโยงกับเส้นทางเดิมที่มีอยู่ในภูมิประเทศโดยรอบ

การเข้าสู่ตัวพิพิธภัณฑ์นั้นสามารถทำได้จากลานสาธารณะตรงกลางผ่านบันไดรูปตัววีท่ีค่อยๆ บิดตัวลง ไปยังพื้นที่ใต้ตัวลานซึ่งทำหน้าที่เป็น foyer แจกเข้า ส่วนแสดงนิทรรศการท้ัง 4 ส่วน ผนังแต่ละด้านของส่วน foyer น้ีเอียงเล็กน้อยเพื่อเปิดเป็นทางเข้าสู่ส่วนนิทรรศการและนำแสงสว่างเข้าสู่พื้นที่ foyer ตัวนิทรรศการได้รับการออกแบบโดย tinker imagineers จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประกอบไปด้วย An Army of Concrete ที่นำเสนอรายละเอียดของแนวป้องกัน Atlantic Wall ของกองทัพเยอรมนีผ่านประสบการณ์ของบุคคลในพื้นที่โดยรอบ West Coast Stories เป็นส่วนที่บอก เล่าความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ซึ่งย้อนไปได้กว่า 100,000 ปี ของชายฝั่งด้านตะวันตกของเดนมาร์กในรูปแบบของ night-time 4D theatre และ Gold of the West Coast เป็นพื้นท่ีจัดแสดงเก่ียวกับอำพัน ซึ่งสามารถพบได้จำนวนมากในแคว้นที่ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ ส่วนนิทรรศการหมุนเวียนน้ัน เรื่องราวของการเก็บกู้กับระเบิดตามแนวชายฝั่งที่เคยหลงเหลือมาจากช่วงสงครามถูกนำมาจัดแสดงเป็นประเด็นแรก

จากพื้นท่ีจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ น้ี ผู้ชมสามารถเดินไปผ่านอุโมงค์ใต้ดินไปยังอาคารป้อมปืน ซึ่งจริงๆ แล้วอาคารนี้ไม่เคยทำหน้าที่ตามที่มันได้ถูกสร้างข้ึนมาเนื่องจากสงครามจบลงเสียก่อน ในประเด็นนี้ น่าสนใจว่ามีความแตกต่างระหว่างแบบที่ชนะการประกวดในปี 2012 และงานก่อสร้างจริง โดยเดิมที BIG เสนอให้จำลองตัวปืนใหญ่ 2 กระบอกที่ไม่เคย ได้รับการติดตั้งไว้ที่ส่วนบนของอาคารด้วยโครงโปร่ง ปิดด้วยกระจก และมีกลไกที่ทำให้มันหมุนได้ ตามข้อเสนอนี้ตัวป้อมปืนจะกลายเป็นจุดชมวิวให้กับผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม อาจด้วยความเปราะบางด้านความทรงจำต่อสงคราม การจำลองปืนใหญ่ที่ไม่เคยมีให้เป็นรูปร่างข้ึนมาจึงไม่เกิดข้ึน โดยสถาปนิกคงไว้เป็นโดมกระจกตามที่พิพิธภัณฑ์เดิมได้สร้างไว้ และมีเพียงการจัดแสดงแสง เงา และเสียง จำลองสถานการณ์ท่ีป้อมปืนได้ถูกใช้งานจริงๆ

หลายครั้งที่ความน่าสนใจในงานออกแบบสถาปัตยกรรมของ BIG นั้นเกิดจากแนวคิดการผสานอาคารต่างประเภทกันเข้าไว้ด้วยกัน ในกรณีของโครงการพัฒนา Tirpitz Museum นี้ ความสำคัญกลับไม่ได้อยู่ที่เพียงส่วนต่อขยายของพิพิธภัณฑ์ที่มีลักษณะการผสานระหว่างงานสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมแต่เพียงอย่างเดียว เพราะตัวอาคารใหม่น้ันถูกสร้างขึ้นมาบนความสัมพันธ์กับอาคารป้อมปืนที่ตั้งตระหง่านอยู่ในพื้นที่ด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แสดงจุดยืนทางประวัติศาสตร์ต่อสถาปัตยกรรมแห่งสงครามท่ีดำรงอยู่ด้วยการทำให้ตัวเองหายไป ในขณะเดียวกันก็ใช้เงื่อนไขนี้ในการเชื่อมตัวเองเข้ากับลักษณะภูมิประเทศ พร้อมไปกับสร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

TEXT: WINYU ARDRUGSA
PHOTO : RASMUS HJORTSHOJ
big.dk

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *