THE NEW PARADE

It’s a surprise and delight to see such positive feedback following the very first Bangkok Art Book Fair

The spectacular number of people visiting the National Book Fair at Queen Sirikit National Convention Center over the ten days of the event came to 1.5 million in total. The booths of publishing houses occupied almost every square meter of the place and the time slots packed with writers’ signing sessions for fans reminded us of some famous singer’s meet and greet. The image of what a book fair is has been increasingly commercialized, which is understandable, especially due to the fact that we’re living in a time when the printing business is losing the fight. Some publishers use the sales from these book fairs to determine the number of copies that are going to be published for this type of event, as well as a chance to clear its stock without having to pay any incentives to distributors. We don’t remember exactly when such mainstream book fairs originated, but we still remember the heyday of the magazine industry happening between the late 90s and early 2000s, when the release of new magazines was so frequent that we couldn’t keep up with which was which; a stark contrast compared to today when magazines drop like flies as we readers try to get our hands on one farewell issue after another. But despite the ups and downs of mainstream magazines, we’ve seen works and activities being created from the minds and hands of independent publishers (call them art books, zines, handmade or indy magazines or whatever you please), finding their way to enthusiastic groups of followers, no matter how small they may be.

BANGKOK ART BOOK FAIR 2017 was the city’s first art oriented  book fair. Held at BANGKOK CITYCITY GALLERY between the 7th and 10th of September 2017 as a collaboration  between Studio 150, the graphic design studio and  publisher of Chavalit Soemprungsuk’s ‘Whether it is Art  or Not,’ text and BANGKOK CITYCITY GALLERY, the event’s  humble goal was to create a platform for contemporary art books and publications to exchange their visions and an  opportunity for art book buffs to get their hands on publications  that are not easily found at mainstream book events.

With THINKK Studio acting as the mind behind the design of the event’s rather minimal program, we got to see the vibe of the handmade book fair that blossomed during the early 2000s with rows of tables showing a small selection of books. Artists / publishers, a good number of them being  interdisciplinary practitioners between art and design, sat  down and spent time engaging in conversations with interested  individuals, explaining the concepts and production  processes behind each work unhurriedly. The gallery’s space was packed with an impressive amount of spectators  comprised of an interesting mix of students, artists, designers, families with young members and foreigners (the  latter demographic making us wonder how they heard about  the event considering the fairly low-key public relations).

Apart from over 30 tables selling books from independent  publishers and artists, exhibited at the center of the main gallery were handmade books and indie magazines popular during the 2000s, which gained the eager interest of viewers. This was probably the most generous archive considering  how it offered younger viewers (who may have never seen these indie publications before) a chance to actually turn  the pages and enjoy the experience of reading magazines that they previously knew only by name. Located in the small room on the other side of the gallery was an exhibition of works by students who participated in Data / Storytelling & Book Workshop, which invited experts from  fields related to the design and making of art  books and covered topics ranging from data  and structure management to illustration, printing  and binding techniques. Just as interesting  as other parts of the event, the finished works  showcased the diverse possibilities of effective  data management including the use and development  of everyday-life contents.

We saw that most of the handmade  publications ranged from zines to artist books while held over at the SPACEBAR ZINE table of Spacebar Design Studio was a parallel  activity introducing artists who collaborated with the studio before the event kicked off. On the opposite table, the Data / Storytelling Book Workshop that we mentioned earlier invited 20  art and design students to present their own versions of “Bangkok As You Like It” in the shape  and form of a zine.

Artist books found their place at the fair as well. Waiting You  Curator Lab and ARTIST+RUN, the artistic platforms from Chiang Mai and Bangkok shared the same table, featuring an  eclectic collection of exhibition catalogues including works such as the 15 copies of ‘Dream’ that Nipan Oranniwesna  created specifically for the event. While Nova Contemporary, despite its status as a rookie gallery that has been open for only a little over a year, was able to share exhibition catalogues of big names such as Araya Rasdjarmrearnsook with the art book enthusiasts. The host and the booth, BANGKOK CITYCITY GALLERY SELECTS, didn’t disappoint with its collection of  catalogues of all the exhibitions held at the space and debut of new books, Thai Politics No. 7 and 8 by Miti Ruangkritya and  Flavour of the Day by Parvit Pichienrangsan. Last but not least  and one of the event’s highlights was the gallery’s garden that  was transformed into a little street food parlor by Samrub forThai serving freshly cooked dishes while the group took advantage of the event as a chance to introduce their first book, ‘The  Funeral Book of Street Food.’

Judging from the amount of people who came to the fair (with an entrance fee), we hand over a big congratulations to everyone involved in the making of BANGKOK ART BOOK FAIR 2017  for its success that exceeded anyone’s expectations despite  being the first year of the program and a limited amount of PR. To attract a more diverse audience in the future, the organizer  plans to promote next year’s event with aims of gaining wider  recognition and has the additional objective of bringing these  works together in an archive that could evolve into a public  library, which is a direction we anticipate seeing being taken  by mainstream book fairs in the future as well.

สถิติที่น่าตื่นตาของจําานวนคนที่ไปร่วมงานมหกรรมหนังสือที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ครั้งที่ผ่านมาตลอดทั้ง 10 วัน อยู่ที่ตัวเลข 1,500,000 คน พื้นที่แทบทุกตารางเมตรของศูนย์ฯ ถูกจัดไว้ให้กับบูธของสำนักพิมพ์ต่างๆ มีกิจกรรมพบปะนักเขียนเพื่อแจกลายเซ็นท่ีบางบูธ แบ่งตารางเวลาแน่นเอี้ยดราวกับค่ายเพลงจัดงานให้ศิลปินนักร้องพบแฟนคลับ ภาพของงานหนังสือกลายเป็นความฮาร์ดเซลขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ ยิ่งเราอยู่ในยุคที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์กำลังถดถอย บางสำนักพิมพ์ทำงานกันโดยมีเป้าเป็นเป็นจํานวนปกท่ีต้ังใจออกในมหกรรมเหล่าน้ี เพราะเป็นโอกาสแน่นอนที่จะระบายสินค้าได้จํานวนมากและไม่ต้องโดนหักเปอร์เซ็นต์จากสายส่ง เราเองก็นึกไม่ออกว่าภาพของงานหนังสือกระแสหลักแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่กันแน่? แต่เรายังจําบรรยากาศของช่วงเวลาที่นิตยสารเบ่งบานสุดขีดในช่วงปลายยุค 90s คาบเกี่ยวต้น 2000s ได้อย่างดี ตอนนั้นมีนิตยสารหัวใหม่ออกมาถี่จนตามซื้อฉบับแรกแทบไม่ทัน สลับกันกับสมัยน้ีท่ีนิตยสารทยอยกันปิดตัวลงจนไล่ซื้อฉบับสุดท้ายกันอุตลุด แต่ไม่ว่าสถานการณ์ของนิตยสารกระแสหลักจะขึ้นลงอย่างไร เราก็ยังเห็นหนังสือจากผู้จัดพิมพ์อิสระ (ซึ่งจะเรียกว่า art, book, zine, หนังสือทํามือ, นิตยสารอินด้ี หรืออะไรก็ตาม) แทรกตัวอยู่เสมอแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ก็ตาม

Bangkok Art Book Fair 2017 เทศกาลหนังสือ / สิ่งพิมพ์ศิลปะครั้งแรกของกรุงเทพฯ ที่ BANGKOK CITYCITY GALLERY เมื่อวันที่ 7-10 กันยายนที่ผ่านมา และจัดขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่าง Studio 150 สตูดิโอออกแบบกราฟิกที่เคยออกแบบและจัดทำหนังสือ Whether it is Art or Not ให้กับศิลปิน ชวลิต เสริมปรุงสุข ร่วมกับ BANGKOK CITYCITY GALLERY ได้วางเป้หามายหลักๆ ไว้คือ การเปิดให้ผู้ที่สนใจหนังสือและสิ่งพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และมีโอกาสเลือกซื้อหนังสือศิลปะที่แทบไม่มีให้เห็นในงานหนังสือแบบกระแสหลัก โดยที่พื้นที่ในการจัดงานคร้ังนี้ถูกออกแบบอย่างเรียบง่ายโดย THINKK Studio เราได้เห็นบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับ “งานหนังสือทํามือ” ในช่วงต้นยุค 2000 ด้วยโต๊ะของศิลปิน / ผู้จัดพิมพ์ที่เรียงรายกัน มีหนังสือที่นำมาโชว์จํานวนไม่มากนัก พร้อมผู้ผลิตที่นั่งคุยกับผู้ชมอย่างใกล้ชิด มีเวลาให้ อธิบายแนวคิดและกระบวนการของงานแต่ละชิ้นอย่างไม่เร่งรัด หลายรายเป็นผู้ท่ีอยู่คาบเก่ียวระหว่างพื้นท่ีของศิลปะและงานออกแบบ ส่วนผู้มาร่วมงานท่ีมีจําานวนมากมายจนพื้นท่ีแกลเลอรี่ดูเล็กไปถนัดตา ก็เป็นส่วนผสมที่มีความหลากหลาย เหมือนกับผู้ชมจากนิทรรศการหลายครั้งที่ผ่านมาของที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ศิลปิน นักออกแบบ ครอบครัวที่พาเด็กๆ มา รวมไปถึงชาวต่างชาติที่ไม่รู้เหมือนกันว่าได้ข่าวมาจากไหน

นอกจากโต๊ะที่วางขายหนังสือจากสำนักพิมพ์และศิลปินอิสระกว่า 30 โต๊ะแล้ว ตรงกลางงานของแกลเลอรี่ห้องใหญ่มีส่วนจัดแสดงหนังสือทำมือและวารสารอินดี้ที่โดดเด่นจากช่วงยุค 2000s ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมมากเช่นกัน นี่น่าจะเป็นพื้นท่ี archive ที่ใจกว้างท่ีสุด เพราะเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ท่ีโตไม่ทัน ได้หยิบจับและละเลียดชมหนังสือหลายเล่มท่ีอาจจะเคยได้ยินแต่ชื่ออย่างใกล้ชิด ในส่วนห้องเล็กที่อีกฟากหนึ่งของแกลเลอรี่ เป็นการจัดแสดงของนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม Data / Storytelling & Book Workshop  ซึ่งรวบรวมผู้เช่ียวชาญแต่ละสาขาในทุกกระบวนการที่เก่ียวข้องกับการจัดทําาหนังสือศิลปะ ต้ังแต่การจัดการข้อมูล โครงสร้างหนังสือ การทําาภาพประกอบ จนถึงเทคนิคการพิมพ์ และการเข้าเล่ม โดยผลงานท่ีออกมามีความน่าสนใจไม่แพ้ส่วนอื่นของงาน และเป็นการแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของการจัดการข้อมูลจากเรื่องราวรอบตัวมาเป็นหนังสือได้อย่างหลากหลาย

หนังสือที่นำมาวางขายมากที่สุดต้องยกให้กับสิ่งพิมพ์จำพวกหนังสือทำมือ ไม่ว่าจะในรูปของ zine หรือ artist book โต๊ะของ SPACEBAR ZINE  ที่จัดโดย Spacebar Design Studio ได้มีการจัดกิจกรรมคู่ขนานแนะนําศิลปินแต่ละคนท่ีมาร่วมงานด้วยก่อนหน้าที่งานจะเริ่ม ในขณะที่อีกฟากอย่าง Data / Storytelling & Book Workshop ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ก็มาในหัวข้อ “กรุงเทพมหานครในมุมมองท่ีตนสนใจ” ซึ่งเปิดให้นักศึกษาศิลปะและการออกแบบ 20 คน มาร่วมกันนำเสนอไอเดียในรูปแบบ zine

นอกจากบรรดาหนังสือทํามือท่ีมีวางกันอยู่แทบทุกโต๊ะแล้ว ดูเหมือนว่าหนังสือศิลปะเองก็ยังพอจะมีที่ทางของตัวเองอยู่บ้าน โต๊ะอย่าง Waiting You-Curator Lab and ARTIST+RUN สองแพลตฟอร์มทางศิลปะจากเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ที่จับมือกันอยู่ในโต๊ะเดียวก็ดูจะมีแคตตาล็อกนิทรรศการต่างๆ รวมทั้งผลงานอย่าง “ฝัน” ท่ี นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ ทำขึ้น 15 เล่ม เพื่อจำหน่ายในงานน้ีโดยเฉพาะในขณะท่ี Nova Contemporary ท่ีแม้จะเป็นแกลเลอรี่น้องใหม่ท่ีเปิดได้เพียงปีเศษ แต่ก็นำเอาแคตตาล็อกของศิลปินไทยหลายๆ คนท่ีน่าสนใจ เช่น อารยา ราษฎร์จําาเริญสุข มาขายในงานด้วย ในขณะที่บูธของเจ้าบ้านอย่าง BANGKOK CITYCITY GALLERY SELECTS เองก็ไม่น้อยหน้า เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้กลับมาเลือกดูแคตตาล็อกของนิทรรศการที่เคยจัดแสดงไปแล้วกันอีกคร้ัง แถมด้วยหนังสือใหม่ที่ออกวางขายเป็น คร้ังแรกอย่าง Thai Politics No.7 และ 8 ของ มิติ เรืองกฤตยา และ Flavour of the Day ของ ภาวติ พิเชียรรังสรรค์ และที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้เพราะถือเป็นไฮไลท์สําคัญอีกอย่างของงานน้ีก็คือ สวนด้านหลังของแกลเลอรี่ท่ีถูกแปรสภาพให้กลายเป็นพื้นที่ขายอาหารริมทางจาก “สำรับสำหรับไทย” ที่มีการปรุงอาหารไทยข้างทางกันสดๆ หลากหลายเมนู และวางขายหนังสือของตัวเองฉบับแรกในชื่อ “หนังสืองานศพอาหารริมทาง” อีกด้วย

ดูจากปริมาณคนที่มาร่วมงานแฟร์ครั้งน้ีทั้งท่ีต้องเสียค่าเข้าชมแล้ว ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับผู้จัดทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพราะนี่คือก้าวแรกที่น่าจะเรียกได้ว่าประสบความสําเร็จเกินคาด ทั้งที่ผู้จัดเองก็ออกตัวว่านี่คือครั้งแรกและคิดว่ายังประชาสัมพันธ์กันไม่ถึงลูกถึงคนพอ และคาดว่าในครั้งหน้าจะประชาสัมพันธ์กันให้มากกว่านี้ เพราะอยากได้กลุ่มผู้ชมที่มางานหลากหลายกว่าครั้งนี้ จุดหมายสำคัญที่จะไปให้ถึงให้ได้ก็คือ การรวบรวมผลงานเหล่านี้เป็น archive ที่อาจจะแปรสภาพไปเป็นห้องสมุดสาธารณะต่อไปในอนาคต ซึ่งเราเองก็คาดหวังว่าจุดมุ่งหมายแบบนี้ มหกรรมหนังสือกระแสหลักที่เรียกว่าระดับชาติน่าจะเอาไปใช้บ้าง

 

TEXT: WEE VIRAPORN
PHOTO : KETSIREE WONGWAN
facebook.com/BKKABF

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *