GOOD WILL STILL WORKS

Three groups of designers have teamed up to turn what was once ‘waste’ into ‘value’

One of the by-products of people’s growing interest in environmental issues is the continuing popularity of environmentally friendly products. But as products of this kind often have a narrative dimension that highlights their design concept, material selection, production method, functionality and product life cycle, consumer expectation therefore goes beyond just their user and environmentally friendly qualities and extends to the products’ contribution to the revival of the natural environment and local wisdom.

In 2014, the Office of Innovation and Value Creation initiated a project known as DEWA (DEsign from Waste of Agriculture). DEWA’s objective encompasses the organization of pilot projects that demonstrate the creative reuse possibilities of excessive agricultural wastes by turning them into commercially valuable products. This year, T-STYLE: DEWA invited a group of Thai designers to collaborate with local communities and entrepreneurs nationwide in the reuse of scrap materials, resulting in a large number of products that resonate with contemporary consumer lifestyles. The finished works are categorized under the headings of Prototype, Fashion Products, Packaging and Lifestyle Products, as they share common approaches and methodologies in the development process. Each group of designers conducted surveys to search for potential raw materials before a collaborative study and research with members of the local communities or entrepreneurs took place. The design teams provided comprehensive consultancy and strategic planning to enable a more efficient production process. The final results are products that truly reflect the local wisdom and existing local materials, while also aligning with the demand of international markets. Nevertheless, the differences in the way each group of designers approached the given briefs and conditions as well as the nature of each category of products collectively contributed to the uniqueness of the finished works. The following are some of the interesting outcomes from the project.

 

Prototype and Fashion Products

The designers in this category included Arisara Dangprapai, whose eclectic professional background in fashion, interior design, styling and writing was further enriched by her experience in community based collaborative design projects. Pornprasert Yamazaki is an artist/designer and another creative mind who was invited to join DEWA through his proven track record that included participation in several prominent design projects such as Talent Thai.

Most of the materials Dangprapai and Yamazaki used are natural materials that are leftovers from the craft industries, such as black spinel scraps from jewelry making, teak wood ash from furniture factories, Saa fibers (from Saa paper making process), rice straws and over ten other materials. Among the more interesting materials is silk cocoon, which is essentially the empty cocoon with the silk already extracted. Its distinctive physical characteristics and aesthetic come from the material’s abilities to store moisture and block ultraviolet radiation. The cocoons were incised and sewn together into sheets with different configurations before being dyed with natural and reflective colors respectively. The process gave birth to a material with a leather-like texture, unique patterns and softness. The team also developed a cork-substitution material from the roots of mangrove apple trees that were being cut down in abundance because they were obstructing the water transportation routes in Phetchaburi province. The study found that this root can effectively absorb and diffuse the scent of essential oils while its floatable quality makes it a potential foam and plastic substitute material. Other innovations from the team include lightweight concrete blocks made of rice straws and the highly durable and lightweight paper stones made of eucalyptus paper scraps and white cement.

The products in the fashion category are the results of the development of new materials such as the jewelry pieces made from compressed black spinel scraps, teak wood ash and epoxy, which produce similar physical characteristics to shimmering gemstones. The bags made from the bark of Saa trees have a wool-like texture, which is created by applying water pressure to loosen the closely knitted structure of Saa fibers before forming them into a different configuration.

WATER HYACINTH TRAYS & BOWLS, THE FINAL RESULTS OF A COLLABORATION BETWEEN DESIGNERS AND BAAN SUKKASEM COMMUNITY ENTERPRISE

Packaging

The designers of the packaging category are from the Social and Cultural Innovation Lab or S/C/I at the King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT)’s Department of Industrial Design, and is led by two KMUTT’s professors Woranooch Chuenrudeemol and Nanthana Boonla-Or. The lab is a research and design initiative founded in 2016, with the objective to initiate social and cultural innovations and collaborative design projects with local communities in Thailand. For this project, the S/C/I team, which comprises 9 students and alumni from the Department of Industrial Design, surveyed the designated areas for the development of prototype products with the local communities and entrepreneurs. They worked together under the concept of expanding the limitation of materials’ physical characteristics, in order to create packaging with greater commercial value and life cycle. Works that exemplify this concept are a stationery pouch made of plastic laminated Saa paper and a wine bottle holder whose durable honeycomb structure made of Saa paper offers increased strength. The two products changed people’s perception of Saa paper and its delicateness. The applied technique contributes to the much greater strength of both the raw material and final product, even as the unique aesthetic of paper is kept intact. The team also created a series of trays and utensils using compression molding technique, with woven sheets of bamboo and water hyacinth scraps as the materials. These works are examples of how the creative application of production techniques that may at first appear unorthodox for certain materials can result in new possibilities that traditional methods might otherwise not be able to offer. While products such as the flower pot made of teak wood scraps with teak wood ash used to create the wood’s ornamented texture, or a utensil that uses paper factory wastes such as paper bands as the principle material, are all interesting examples of the creative reuse of scrap materials to create lifestyle/packaging products of greater functionality and longer life cycle. The works also demonstrate how successful local products can be conceived from production methods that correspond with existing local skills and technologies.

ONE-DAY SOAP LIFESTYLE PRODUCTS THAT WERE CREATED FROM OBJECTS FOUND AROUND TRAT PROVINCE

Lifestyle Products

The products in this category had ISSARAPHAP as the design consultant. This design initiative was established with members from three different groups of designers: SATAWAT (Ratthee Phaisanchotsiri), ease studio (Wanus Choketaweesak and Nichapak Torsutkanok) and Teerapoj Teeropas. ISSARAPHAP’s approach for the project was very specific from the chosen areas and communities to the target market and the physical appearance of the works. Trat was the province selected as the location where the 10 products were to be developed. The team focused on developing products for the hospitality industry because Trat is a province that houses a good number of resorts and hotels. The overall physical appearance of ISSARAPHAP’s products has brass as a common element, following the design team’s intention to create a collection of interconnected works instead of separate, individual items. The presence of brass was also employed to accentuate the details of the natural materials incorporated in each piece.

The collection reflects the biological diversity of Trat’s natural environment as well as the eclectic array of the province’s local wisdom. One interesting example is the ‘one-day soap’, which is distinctive not only for its size being equivalent to a key card of a hotel room, but also for the use of Sea Holly and Fleabane Tea as the key ingredients, well-known for their therapeutic properties. The idea for the herbal inhaler buffet was the result of the collaboration with the Ban Chang Thun community. The design team developed a series of herbal cubes with the actual herbs frozen inside. Users can mix together different cubes to create scents that best suit their preferences. Also created under the lifestyle category are a wall mounted mirror and a side-table/ oversized tray inspired by the craftsmanship details of a fruit tray made from a local plant known as ‘Kan Song’ (Colubrina Asiatica Brongn) and the basket made of Kloom Tree using the jellyfish basket weaving technique, a skill passed down in the community for generations

With each design team’s distinctive approach, the development of alternative materials with both aesthetic and functional qualities is generating a new design language. Not only does their minimalistic beauty resonate with the everyday life of users, they also incorporate the diverse biological surroundings and folk knowledge of the areas where the products are being made. Their attempts showcase the infinite possibilities of the creative adaptation of agricultural wastes into products of great commercial, social and cultural values. In addition, the works from this project help to redefine our perception of leftover materials as they inspire designers to come up with new products through creatively recycling wastes, offering another promising solution to the waste management approach of the country’s manufacturing sector. All the works were displayed in the DEWA Exhibition at ‘STYLE’, a lifestyle product exposition held by the Ministry of Commerce’s Department of International Trade Promotion between 17th and 21st October 2017 at the Bangkok International Trade & Exhibition Center (BITEC).

เมื่อผู้คนหันมาให้ความสนใจในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ผลลัพธ์หนึ่งที่ตามมาก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีมิติในเชิงเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ ไล่ไปตั้งแต่แนวคิดทางการออกแบบ การสรรหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การใช้งาน จนถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ความคาดหวังที่ผู้บริโภคมีต่อผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จึงไม่ใช่แค่ความปลอดภัยต่อผู้ใช้หรือสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังต้องมีส่วนช่วยฟื้นฟูธรรมชาติและสานต่อภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นไปพร้อมๆ กันด้วย

สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ได้ริเริ่มกิจกรรมพัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล DEWA (DEsign from Waste of Agriculture) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยมีเป้าหมายให้เป็นแบบอย่างของการนำวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรที่มีอยู่อย่างล้นเหลือ มาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ ในปีนี้ก็เช่นกัน โครงการ T-STYLE : DEWA เชื้อเชิญนักออกแบบไทยกลุ่มหนึ่งมาสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับชุมชนและผู้ประกอบการหลายแห่งทั่วประเทศ โดยพวกเขาได้มาพัฒนาวัตถุดิบเหลือใช้เหล่านั้น รวมทั้งแปรรูปให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของวิถีชีวิตร่วมสมัย ผลงานที่สำเร็จออกมามีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ วัสดุต้นแบบ สินค้าแฟชั่น บรรจุภัณฑ์ และสินค้าไลฟ์สไตล์ ในภาพรวม กระบวนการพัฒนาผลงานของนักออกแบบแต่ละกลุ่มมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน นั่นคือ เริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อค้นหาวัสดุที่น่าสนใจ พร้อมทั้งศึกษาและวิจัยร่วมกันกับชุมชน หรือ ผู้ประกอบการ ให้คำาปรึกษาและวางแผนกระบวนการผลิตแบบครบวงจร จนได้เป็นผลงานที่สามารถต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดสากลได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำงานของนักออกแบบแต่ละกลุ่ม รวมทั้งธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ประเภทที่แตกต่างกัน ได้สร้างเอกลักษณ์ให้กับผลงานแต่ละประเภทโดยมีตัวอย่างผลงานที่น่าสนใจดังนี้

กลุ่มวัสดุต้นแบบและกลุ่มสินค้าแฟชั่น

นักออกแบบกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย อริสรา แดงประไพ ที่ทำงานหลากหลาย ทั้งแฟชั่น อินทีเรีย สไตลิสต์ และงานเขียน รวมทั้งยังเชี่ยวชาญงานออกแบบที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน และ พรประเสริฐ ยามาซากิ ศิลปินและนักออกแบบที่เคยมีผลงานในโครงการออกแบบสำคัญๆ หลายครั้ง เช่น Talent Thai

วัสดุที่อริสราและพรประเสริฐคัดเลือกมาพัฒนาส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่เหลือจากโรงงานหัตถอุตสาหกรรม เช่น เศษนิลจากการทำอัญมณี ขี้เถ้าไม้สักจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งใยสา ฟางข้าว และวัสดุอื่นๆ มากกว่าสิบชนิด ผลงานที่น่าสนใจได้แก่ แผ่นวัสดุที่ทำมาจากเศษของรังไหมที่ผ่านกระบวนการสาวเส้นไหมออกไปจนหมด โดยมันมีความน่าสนใจทั้งในแง่ของคุณสมบัติและความงาม ทีมนักออกแบบพบว่า เศษรังไหมที่เหลือทิ้งจากการผลิตยังคงคุณสมบัติเด่นนั่นคือ มีมอยเจอร์ไรเซอร์สูง กักเก็บน้ำได้ดี และป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตอยู่อย่างครบถ้วน จึงทดลองนำรังไหมเล็กๆ เหล่านั้นมากรีดและเย็บต่อๆ กันลงบนผืนวัสดุด้วยแพทเพิร์นต่างๆ แล้วนำไปทดลองย้อมสีธรรมชาติ รวมทั้งทดลองทำสีสะท้อนน้ำเป็นขั้นตอนสุดท้าย จนทำให้เกิดเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวสัมผัสคล้ายหนัง แต่มีสีลวดลายและความนุ่มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ ทีมยังได้พัฒนาวัสดุทดแทนไม้ก๊อกจากรากของต้นลำพูที่ถูกตัดทิ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกีดขวางเส้นทางการสัญจรทางน้ำในจังหวัดเพชรบุรี โดยค้นพบว่ามันมีคุณสมบัติดูดซับ และกระจายกลิ่นน้ำมันหอมระเหยได้ดีและยังสามารถลอยตัวอยู่ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นวัสดุแทนโฟมและพลาสติกได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีอิฐมวลเบาจากฟางข้าวและหินกระดาษ วัสดุใหม่ที่มีความแข็งแรง ผิวคล้ายหินแต่มีน้ำหนักเบาทำาจากเศษฝุ่นผง และเศษกระดาษยูคาลิปตัสที่เกิดจากกระบวนการตัดขอบสมุดด้วย

สำหรับกลุ่มสินค้าแฟชั่น เป็นการนำวัสดุใหม่ที่ได้รับการพัฒนามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ชุดเครื่องประดับทำจากวัสดุใหม่ที่เกิดจากการนำนิลมาอัดกับขี้เถ้าไม้สัก และอิพ็อคซี่ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายหินที่มีประกายซ่อนอยู่ในเนื้อ กระเป๋าจากเปลือกต้นสาที่มีผิวสัมผัสคล้ายขนแกะ เนื่องจากใช้กรรมวิธีทำลายโครงสร้างเส้นใยสาด้วยแรงดันน้ำแล้วให้กลับมาเกาะเกี่ยวกันใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นต้น

กลุ่มบรรจุภัณฑ์

นักออกแบบประจำกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Social and Cultural Innovation Lab หรือ S/C/I ของสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำโดย วรนุช ชื่นฤดีมล และ นันทนา บุญลออ อาจารย์ประจำาสาขา S/C/I โดยเป็นกลุ่มวิจัยและออกแบบที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2559 มีจุดประสงค์เพื่อดำเนินงานออกแบบรวมทั้งสร้างนวัตกรรมเชิงสังคมและวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน ในโปรเจ็คต์นี้ ทีม S/C/I ประกอบไปด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม และศิษย์เก่าทั้งหมด 9 คน ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชิ้นงานต้นแบบร่วมกับชุมชนและผู้ประกอบการ โดยใช้แนวคิดของการขยายขีดจำกัดของคุณสมบัติของตัววัสดุเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มและวงจรชีวิตที่ยาวนานขึ้นให้กับบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างของผลงานที่สะท้อนแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ กระเป๋าเครื่องเขียนที่ทำจากการนำกระดาษสาไปลามิเนตด้วยแผ่นพลาสติก และถุงสำหรับบรรจุขวดไวน์ที่ทำจากกระดาษสา นำมาขึ้นรูปด้วยโครงสร้างรังผึ้งเพื่อรับน้ำหนัก ตัวอย่างทั้งสองนี้นับเป็นการเปลี่ยนมุมมองใหม่ให้กับกระดาษสาที่เราชินตากับความอ่อนและบางของมัน ด้วยเทคนิคที่ทีมนักออกแบบนำมาใช้ทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษสามีความแข็งแรงมากขึ้น โดยที่ยังคงไว้ซึ่งความงามแห่งเนื้อแท้อันบอบบางของกระดาษ นอกจากนี้ ยังมีถาดและภาชนะจักสานรูปทรงต่างๆ ที่เกิดจากการใช้แม่พิมพ์อัดขึ้นรูปแผ่นจักสานไผ่และผักตบชวาแล้วตัดขอบตามรูปร่างที่ออกแบบไว้ แสดงให้เราเห็นว่าการนำาเทคนิคการขึ้นรูปแบบอื่นมาทดลองใช้ ช่วยเปิดโอกาสให้กับรูปทรงใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยากหากใช้เทคนิคการสานขึ้นรูปแบบดั้งเดิม ส่วนกระถางใส่ต้นไม้ที่ทำจากเศษไม้สักตกแต่งผิวด้วยขี้เถ้าไม้สักจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ที่นำามาฝังลงบนผิวไม้ รวมทั้งภาชนะสำหรับใส่ของจิปาถะที่ทำจาก paper band ของโรงงานผลิตกระดาษนั้น เป็นตัวอย่างของการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์กึ่งสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มุ่งสร้างให้วงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์นั้นยาวนานขึ้น และเป็นตัวอย่างของการเลือกใช้เทคนิคการผลิตที่เหมาะสมกับทักษะของผู้ผลิตในชุมชนและเทคโนโลยีที่พวกเขามี

กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์

ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้รับการออกแบบโดย ISSARAPHAP กลุ่มนักออกแบบที่เกิดจากการรวมตัวกันของนักออกแบบ 3 กลุ่มย่อย คือ SATAWAT โดย รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ, ease studio โดย วนัส โชคทวีศักดิ์ และณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก รวมทั้ง ธีรพจน์ ธีโรภาส แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ ISSARAPHAP มีความเฉพาะเจาะจงทั้งในแง่พื้นที่การทำงาน ตลาดเป้าหมายสำาหรับผลิตภัณฑ์และรูปลักษณ์ของผลงาน จังหวัดตราดได้รับเลือกให้เป็นที่หมายในการพัฒนาผลงานทั้ง 10 ชิ้นของทีม โดยนักออกแบบมุ่งไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับตลาดธุรกิจบริการและโรงแรมเป็นหลัก ซึ่งในจังหวัดตราดเองก็มีกลุ่มเป้าหมายนี้อยู่ไม่น้อยสำหรับรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์โดยรวม ISSARAPHAP เลือกใช้ทองเหลืองเป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์หลายชิ้น เพื่อเชื่อมโยงให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหลายเป็นคอลเล็คชั่นเดียวกัน และช่วยขับเน้นวัสดุธรรมชาติที่ปรากฏในชิ้นงานแต่ละอัน

โดยรวมแล้ว ผลงานชุดนี้สะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพของจังหวัดตราดและภูมิปัญญาของชุมชนได้เป็นอย่างดี ผลงานสบู่แผ่นสำหรับการใช้งาน 1 วัน มีขนาดเท่าคีย์การ์ดโรงแรม ผลิตจากต้นเหงือกปลาหมอ และต้นชาใบขลู่ ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณบรรเทาอาการบางอย่างได้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดที่กล่าวมาทั้งหมดได้เป็นอย่างดี รวมถึงยาดมบุฟเฟ่ต์ที่พวกเขาเข้าไปร่วมพัฒนากับชุมชนบ้านช้างทูน ทีมนักออกแบบพัฒนารูปลักษณ์ยาดมเสียใหม่ให้เป็นก้อนคล้ายนำ้แข็งที่เราสามารถมองทะลุเข้าไปเห็นสมุนไพรที่อยู่ภายในได้ ผู้ใช้สามารถเลือกคละก้อนยาดมที่มีกลิ่นจากสมุนไพรต่างชนิดกันมาบรรจุไว้รวมกันหลายๆ ก้อน เพื่อสร้างกลิ่นใหม่ที่ถูกใจได้เอง นอกจากนี้ยังมีบานกระจกติดผนัง รวมทั้ง side table กึ่งถาดขนาดใหญ่ที่พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากกระจาดผลไม้จากต้นคันทรงและเทคนิคการสานตะกร้ารูปทรงแมงกะพรุนจากต้นคลุ้มที่ชาวชุมชนสืบทอดกันมายาวนาน

จากจุดเด่นที่ต่างกันไปของนักออกแบบทั้งสามทีม ไม่ว่าจะเป็นความพิเศษของการพัฒนาและขับเน้นคุณสมบัติของวัสดุทางเลือก ประโยชน์ใช้สอย และความงามอันเรียบง่ายของวัสดุที่ผสานไปกับชีวิตประจำวัน หรือเรื่องราวความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนที่ได้รับการเรียบเรียง และเล่าด้วยสำเนียงใหม่ ทำาให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุดของการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีคุณค่าเชิงสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ผลงานสร้างสรรค์ในโครงการยังช่วยเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งของเหลือใช้รอบตัวและสร้างแรงบันดาลใจให้นักออกแบบได้ร่วมกันคิดค้นผลิตภัณฑ์ หรือหาทางใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบเหล่านี้ที่ประเทศของเรามีอย่างเหลือเฟือกันต่อไป ผลงานทั้งหมดได้จัดแสดงในนิทรรศการ DEWA ที่งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ ‘STYLE’ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

TEXT : NANTHANA BOONLA-OR
PHOTO COURTESY OF THE DESIGNERS
ditp.go.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *