VERNACULAR IS THE NEW GOLD

Somehow the word ‘vernacular’ in the title had us fooled that this exhibition would be another byproduct of the growing art trend where artists pick up on everyday life objects and turn them into a bunch of ‘ready-made’ artworks.

But in reality, ‘Vernacular is The New Gold’ takes us back further to question the system we use to define what is vernacular and what isn’t. The exhibition also examines ‘gold’ as a long-standing currency and whether it can still be used as a reliable ‘wealth’ index considering several other measurements that have emerged in the past decades.

With Vittavin Leelavanachai as the curator,‘Vernacular is The New Gold’ features the works from five artists; Pichan Sujaritsatit, Saran Yen Panya (56th Studio), Pakphum (Nanu) Youttananukorn, Atelier2+ and Grisana Eimamkamol. Among the works are ‘Roman’ by Sujaritsatit and ‘Bloom and Doom’ by Eimamkamol. ‘Roman’ presents non-vernacular items from the West such as Roman columns and the appropriation of the architectural element in Thai context. Using photography as the medium, the work depicts the presence and functionality of Roman columns such as the use of mythological statues as the beam supporting structure of a house. The work then illustrates the fading meanings of Roman columns that eventually disappear into the new context, from the beginning when the Thai court first adopted this particular western architectural element to the construction of its architecture before it became popularly used in people’s personal residences until the original myths behind the columns were replaced. ‘Bloom and Doom’ experiments with the use of ‘books’ as a form of currency by incorporating the exchange system of pawnshops as a mechanism that calls for viewers’ interactions. By pawning a book for exchange with the three books in a transparent box, viewers are given a total loaning period of 60 days (if not returned within the specified date, the artist will confiscate the pawned book). Another idea hidden in the work is the reflection of the growing ‘judging the book by its cover’ culture. The artist criticizes the society’s value of such superficiality by eliminating the aesthetic quality from the covers of the three books. By replacing them with photocopied versions of the original covers, the books are put in the transparent acrylic box that prevents viewers from opening and seeing the contents inside. While the only information the viewers have is the books’ titles, they have to decide whether or not they want to make the trade. But we don’t think that taking colors from the covers would actually eliminate their aesthetic quality, since black and white is in its own way another form of aesthetics. We also cannot help but question if the idea is to get people to stop ‘judging a book by its cover,’ then why aren’t they allowed to read what’s inside in the first place?

คำว่า vernacular ในชื่อนิทรรศการหลอกให้คิดไปว่านิทรรศการนี้รวมอยู่ในกระแสศิลปะที่ศิลปินนิยมหยิบเอาสิ่งของในชีวิตประจำวันมาใช้เป็นงานศิลปะแบบ ready-made แต่ความจริงแล้ว Vernacular is the New Gold ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น คือกลับไปตั้งคำถามถึงระบบการนิยามว่าอะไรเป็นของพื้นบ้าน (vernacular) และอะไรที่ไม่เป็น รวมถึงตั้งคำถามกับ “ทอง” ระบบเงินตราที่ถูกใช้เป็นค่ากลางในการประเมินค่ามาอย่างยาวนานว่าในปัจจุบันที่มีหน่วยวัดค่าอื่นๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย มันยังจะคงความสามารถในการ “วัดความร่ำรวย” ของคนได้ต่อไปอีกนานแค่ไหน

คิวเรเตอร์ของนิทรรศการคือ วิธวินท์ ลีลาวนาชัย และมีศิลปินร่วมแสดงผลงานทั้งหมด 5 คนคือ พิชาญ สุจริตสาธิต ศรัณย์ เย็นปัญญา (56th Studio) ภาคภูมิ (นานุ) ยุทธนานุกร Atellier 2+ และ กฤษณ อิ่มเอมกมล ซึ่งแต่ละคนก็หยิบเอาหัวข้อไปใช้ทำงานคนละแบบกัน อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะขอพูดถึงผลงานสองชิ้นคือ ‘Roman’ โดย พิชาญ และ ‘Bloom and Doom’ ของกฤษณเท่านั้น Roman พูดถึงของที่ไม่ vernacular ในตะวันตกแต่ถูกเอามาใช้ แบบบ้านๆ ในไทยอย่างเสาโรมัน ด้วยผลงานภาพถ่ายการใช้เสาโรมันในบริบทบ้านๆ อย่างเช่นการเอารูปปั้นเทพปกรณัมไปเป็นเสารับคาน (รวมถึงตัวชั้นวางเองที่ก็นำเสาโรมัน มาใช้เป็นขาตั้งด้วย) และเล่าถึงการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงก่อนจะหายไปอย่างสิ้นเชิงของคติ เดิมของเสาโรมัน ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ไทยรับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตะวันตกนี้มาใช้ใหม่ๆ ในสถาปัตยกรรมราชสำนัก ก่อนจะค่อยๆ แพร่หลายมาในอาคารบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งทำให้คติการใช้งานดั้งเดิมหายไป และเกิดความหมายใหม่ขึ้นแทนที่ในที่สุด (ในแง่การโชว์ความร่ำรวยของเจ้าของบ้าน) ส่วน ‘Bloom and Doom’ นั้นเป็นการทดลองใช้ “หนังสือ” เป็นระบบเงินตรา และดึงเอาระบบการแลกเปลี่ยนแบบโรงรับจำนำมาเป็นกลไกปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ซึ่งเปิดโอกาสให้เราเอาหนังสือไปแลกกับหนังสือสามเล่มในกล่องใสได้ โดยมีระยะเวลาให้อ่านทั้งสิ้น 60 วัน (ถ้าไม่นำหนังสือมาคืนศิลปินจะยึดหนังสือเล่มนั้นไป) อีกไอเดียที่ซ่อนอยู่ในงานคือการสะท้อนวัฒนธรรมการตัดสินหนังสือแค่ปกที่เห็นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ศิลปินสะกิดวัฒนธรรมนี้ด้วยการตัดสุนทรียศาสตร์ออกไปจากปกหนังสือทั้งสามเล่ม ด้วยการใช้หนังสือถ่ายเอกสารขาวดำ และใส่ไว้ในกล่องอะคริลิคใสที่ผู้ชมไม่สามารถเปิดอ่านเพื่อวัดใจคนดูว่า พออ่านชื่อหนังสือแล้ว จะเอาหนังสืออะไรมาแลก อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าการลบสีออกไปจากปกไม่ได้ตัดสุนทรียศาสตร์ออกไปจากหนังสือได้จริงๆ แต่มันเป็นการเขยิบไปเป็นความสวยงามอีกแบบหนึ่งต่างหาก อีกทั้งยังน่าตั้งคำถามต่อด้วยว่า ถ้าไม่อยากให้คนตัดสินหนังสือจากปกจริงๆ ทำไมถึงไม่ลองให้เปิดอ่านกันก่อน?

TEXT : NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO COURTESY OF THE ARTISTS
facebook.com/VernacularisTheNewGold

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *