MUSEUM OF KIRATI

Chulayarnnon Siriphol Museum of Kirati

While in the ending of the novel ‘Khang Lang Phap’ (Behind the Painting) by Sri Burapha, Kirati, the female protagonist, lost her life to tuberculosis, in Chulayarnnon Siriphol’s version, the character is taken to experience the afterlife as the physicality and meaning of her presence is transformed in such a profound and mesmerizing way. ‘Khang Lang Phap’ is an ongoing project that Siriphol is developing through reinterpretation of the legendary literary piece. The artist’s contemporary point of view and analysis has given birth to a mixed-media piece that incorporates different forms of art. At the latest show at Bangkok CityCity Gallery, Museum of Kirati presents itself as a memorial that Nopphon, the male protagonist, creates for the woman who is the love of his life. It’s a museum made up of memories he has of Kirati. Siriphol replaces the gallery’s space normally used for hosting temporary exhibitions with a more ‘permanent’ dimension of a museum. A number of works showcased bring viewers to see the many different sides of Kirati whether it be the watercolor paintings on Japanese mulberry paper that simulate some of the scenes from the novel, the life-sized bronze statue of Kirati, conventional portrait photographs, or the highlight of the exhibition, the 50-minute-long short film whose content features the ending of the original version of the novel. The film is the conveyance of the novel that is honest to the original as it pays homage to the old cinematic language with a humorous spin that parodies the conventional filmmaking. One of the best parts of the film is Siriphol playing both protagonists, Nopphon and Kirati. The fact that the two characters are portrayed from one actor’s physical presence profoundly and meaningfully relates to the essence of the project. While there are new possibilities that will be further explored as the project plays out in the future, for the time being, go see the current stage of Museum of Kirati at Bangkok CityCity Gallery from the 19th of November 2017 to the 21st of January 2018.

Museum of Kirati

แม้ในตอนจบของนวนิยาย ‘ข้างหลังภาพ’ ของศรีบูรพา หม่อมราชวงศ์กีรติจะเสียชีวิตด้วยวัณโรค แต่ใน ‘ข้างหลังภาพ’ ฉบับของศิลปิน-คนทำหนัง จุฬญาณนนท์ ศิริผล คุณหญิงกีรติมีชีวิตหลังความตายและได้กลายรูปเปลี่ยนร่างและความหมายจากบทกวีอย่างชวนฉงน โปรเจ็คต์ ‘ข้างหลังภาพ’ เป็นโปรเจ็คต์ที่ยังอยู่ในกระบวนการพัฒนาของจุฬญาณนนท์ที่นำ ‘ข้างหลังภาพ’ ของศรีบูรพามาอ่านใหม่ ตีความวิเคราะห์ด้วยมุมมองร่วมสมัย และกลายสภาพเป็นงานศิลปะสื่อผสมหลายสาขา ในการจัดแสดงล่าสุดที่ บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ Museum of Kirati เป็นเหมือนอนุสรณ์สถานที่นพพรจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณหญิงกีรติ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมความทรงจำาของคุณหญิงกีรติ มิติของพื้นที่ ขมวดความซับซ้อนด้วยการที่จุฬญาณนนท์แปลงพื้นที่ของแกลเลอรี่ที่ปกติเป็นพื้นที่สำหรับการจัดนิทรรศการหมุนเวียนให้กลายมาเป็นพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ที่เน้นความถาวรของการจัดแสดงงาน ในพื้นที่ของ “พิพิธภัณฑ์” นี้ประกอบไปด้วยงานหลายชิ้นที่ทำให้เราเห็นมิติอันหลากหลายของคุณหญิงกีรติ เช่น ภาพจิตรกรรมสีน้ำบนกระดาษสาญี่ปุ่นที่จำลองซีนต่างๆ จากนวนิยายโดยฝีมือของจุฬญาณนนท์เอง รูปปั้นบรอนซ์รูปคุณหญิงกีรติแบบเต็มตัว หรือภาพถ่ายบุคคลที่นิ่งแต่บุคคลในภาพกลับไม่นิ่ง และแกนกลางสำคัญของการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์นี้คือภาพยนตร์สั้นความยาวประมาณ 50 นาที ที่เนื้อหากินความไปจนถึงตอนจบของนวนิยายต้นฉบับ หนังสั้นเป็นการถ่ายทอดวรรณกรรมที่มีทั้งความซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับ อุทิศแด่ภาษาภาพยนตร์ยุคเก่า และอารมณ์ขันเสียดเย้ยล้อเลียนขนบ องค์ประกอบสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือตัวจุฬญาณนนท์เองสวมบทบาทการแสดงเป็นทั้งนพพรและคุณหญิงกีรติในโปรเจ็คต์นี้ การที่ตัวละครหลักทั้งสองต่างใช้เรือนกายของนักแสดงคนเดียวกันนี้ เกี่ยวพันกับประเด็นหลักใจกลางของงานอย่างน่าค้นหา โปรเจ็คต์ ข้างหลังภาพ ของจุฬญาณนนท์ยังคงได้รับการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังมีความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าค้นหาต่อไปในอนาคต ส่วนในตอนนี้ เราก็สามารถไปชมงานในขั้นตอนปัจจุบันได้ Museum of Kirati จัดแสดงที่ บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 – 21 มกราคม 2561

TEXT : RATCHAPOOM BOONBANCHACHOKE
PHOTO : KETSIREE WONGWAN
bangkokcitycity.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *