หมวดหมู่: ART

ART-THAI-TIME

‘ศิลปะ-ไทย-เวลา’ รวบรวมผลงานนับตั้งแต่หอศิลป พีระศรี เปิดดำเนินการ บอกเล่าถึงการเติบโตของศิลปะร่วมสมัยในยุคที่ ‘ความเป็นไทย’ กลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้แย่งชิงอุดมการณ์ทางการเมือง

Read More

TRADITIONS TRANSFORMED

นิทรรศการศิลปะรวบรวมผลงานที่สร้างโดยสองมือของศิลปิน 7 คน ด้วยความเพียร ความขยัน ความถึก สะท้อนความสุขในการลงมือทำผลงานที่ ‘จับต้องได้’

Read More

THRU THE STRAITS OF DEMOS

นิทรรศการโดย กรกฤช เจียรพินิจนันท์ ที่ใช้กายภาพแกลเลอรี่ รายละเอียดของการติดตั้งผลงาน หรือแม้แต่ตัวกระดาษที่ใช้อัดรูปเพื่อถ่ายทอดบทกวีในพื้นที่จัดแสดง
Read More

FIELD COLLAPSE

หลังจากคุ้นเคยกับการทำงานสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี สตูดิโอ thingsmatter ก้าวขามารับบทบาทศิลปิน และสร้างผลงานจาก ‘เหล็กข้ออ้อย’ เพื่อนำเสนอประเด็นทางสังคมในวงการออกแบบ

TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

เหล็กข้ออ้อย แผ่นไม้อัด ยาง ตะปู สกรู และแสงเสียง คือวัสดุของผลงาน installaion ชิ้นใหญ่ คับพื้นที่ 100 Tonson Foundation ที่ให้ความรู้สึกต่างออกไปจากนิทรรศการศิลปะ นอกไปเหนือจากความ “หนักและดิบ” ของวัสดุ art4d พูดคุยกับ ศาวินี บูรณศิลปิน และ Tom Dannecker แห่ง thingsmatter ถึงประเด็นและความคิดอื่นๆ ที่แฝงอยู่ภายในนิทรรศการ Field Collapse

“Fragments ที่หน้างานก่อสร้าง ไม้แบบ คนงานในไซท์ สำหรับเรามันสวยงามและ conceptual มาก ทั้งในแง่ที่มันเป็น artifact และเป็น happening” ศาวินีมองกระบวนการก่อร่างสร้างตัวของงานสถาปัตยกรรมเป็น performance ที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะหายไป

“ตั้งแต่ตอนเรียนแล้ว ผมเป็นพวกที่ไม่ทำงานในสตูดิโอที่คณะ แต่ชอบหมกตัวในหอพักมากกว่า (…) เพื่อนที่หอซึ่งเรียนคณะอื่นก็ชอบถามว่าผมทำอะไร ผมออกแบบโรงเรียนศิลปะ พอบอกไปเพื่อนๆ ก็ตื่นเต้นกันใหญ่และถามต่อว่ามันจะสร้างเมื่อไหร่ ผมก็บอกว่ามันจะไม่ได้สร้างหรอก (หัวเราะ)” Tom พยายามอธิบายกับ art4d ว่าบทสนทนานี้มีความหมายซ่อนอยู่ นั่นคือความต่างระหว่างงานของสถาปนิกกับงานสายอื่นๆ “โมเดลของที่เพื่อนคนอื่นตั้งใจทำเพื่อเป็นแบบสำหรับสร้างงานจริงๆ  แต่ไอ้โมเดลที่ผมเดินถือไปส่งอาจารย์ มันไม่ใกล้เคียงกับผลลัพธ์สุดท้ายของงานสถาปัตยกรรมแม้แต่น้อย สำหรับผม สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่แบบหรือ representation แต่มันเป็นงานศิลปะในตัวมันเอง”

ทั้งสอง narrative นี้ดูเหมือนจะต่างแต่ก็มีจุดร่วมเดียวกันคือการให้ความสำคัญกับ กระบวนการ (process) และผลงานในระหว่างกระบวนการ (work in progress) หรือพูดอีกอย่างคือช่วงเวลาที่มี engagement ของผู้ออกแบบเข้มข้นมากที่สุด (แน่นอนว่ามากกว่าตอนที่งานสร้างเสร็จ) ซึ่งไอเดียที่ว่ามานี้ค่อยๆ สั่งสมจนกระทั่งมาถึงจุดพีคในปีนี้ กับโปรเจ็คต์ที่ 100 Tonson Foundation

thingsmatter ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรม นั่นคือการใช้เหล็กข้ออ้อยไป 5 ตัน กับโครงสร้างที่ไม่ได้มีฟังก์ชันซับซ้อน “เรียกได้ว่า luxury สุดๆ ถ้ามองจากมุมมองงานออกแบบที่ต้องคิดเรื่องความคุ้มค่า กับ Field Collapse เราแค่อยากให้คนมาดูได้ slow down ค่อยๆ เคลื่อนๆ ไปใน space แคบๆ นี้ ท่ามกลางเมืองกรุงที่เร่งรีบและวุ่นวาย” 

โครงสร้างถูกวางติดประชิดทางเข้าห้องแกลเลอรี่ ทางเดินแคบๆ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในป่า พาคนเดินขึ้นไปหาจุดกำเนิดแสงเพียงหนึ่งเดียวของของห้องนิทรรศการนั่นคือ skylight และวนลงมาที่พื้นที่ว่างด้านหลัง ที่ถูกถูกเว้นไว้เพื่อให้มีระยะที่สามารถมองย้อนกลับไปมองโครงสร้าง และใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป และงานเสวนา “เราอยากให้คนมองเห็น movement ของคนอื่นที่ค่อยๆ เคลื่อนไปในความปรุโปร่งของโครงสร้าง ให้คนดูกลายเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน” thingsmatter บอกกับ art4d

แล้วทำไมต้องเหล็กข้ออ้อย? เหตุผลง่ายๆ ตรงๆ ที่ทั้งสองบอกกับ art4d คือว่า ในโลกแห่งความจริงมันคือผู้ปิดทองหลังพระแห่งวงการ (อันต้องถูกปูนเททับทุกครั้งไป) มาในครั้งนี้เขา (เหล็กข้ออ้อย) รับบทเป็นพระเอกหลักในการสื่อสารประเด็นทางสังคมวงการออกแบบหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ ชนชั้นของตำแหน่งงานและบุคลากรในงานสถาปัตยกรรม Tom อธิบายต่อว่า “สมมติว่าเราทำงานด้วยกัน คุณเป็นนักออกแบบ แต่ผมดูด้าน business อีกคนทำ shop drawing คนอีกกลุ่มใหญ่ๆ นั่นคือช่างก่อสร้าง มันจะต้องมีคนคิดว่า คนที่ออกแบบเนี่ยมันต้องสำคัญที่สุด แต่ขอโทษเถอะ ถ้าไม่มีคนทำด้าน business มันก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีช่างก่อสร้าง คนงาน ตึกก็สร้างไม่เสร็จ” สรุปออกมาง่ายๆ ว่า stakeholder ทั้งหมดทั้งมวลนั้นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทุกๆ องค์ประกอบมีหน้าที่ของตัวเองที่จำเป็นต่อการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และธุรกิจองค์รวมของงานสถาปัตยกรรม และพวกเขาหวังว่าการเอา work in progress มาโชว์ในรูปแบบของงานที่เสร็จสมบูรณ์จะทำให้คนดูมองเห็นประเด็นนี้

อีกหนึ่งประเด็นที่ art4d คุยกับ thingsmatter คือการทำงานในบริบทที่ต่างออกไป

Field Collapse ไม่ใช่งาน installation ชิ้นแรกของ thingsmatter พวกเขาทำงานที่ก้ำกึ่ง และสามารถเป็นอะไรได้หลายอย่าง (เช่น ประติมากรรม) นอกเหนือจากการเป็นสถาปัตยกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลงานโครงสร้างไม้ไผ่ Ligature ที่ Jim Thompson Farm จังหวัดนครราชสีมา และลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ในปี 2018 (และอันที่จริงเราอาจจะเห็นเค้าโครงของ Field Collapse ตั้งแต่งาน Caged Flower ที่เหมือนเป็นการทดลองสร้างโครงสร้างรับน้ำหนักด้วยเหล็กข้ออ้อยล้วนๆ ในงานสถาปนิกปี 2017) ที่ต่างออกไปคือครั้งนี้เป็นโปรเจ็คต์กับสถาบันศิลปะอย่าง 100 Tonson Foundation

Caged Flower, 2017 | Photo courtesy of thingsmatter

“ที่ผ่านมา thingsmatter ทำงานที่มีความคาบเกี่ยวมาตลอดนะ ภาพลักษณ์ในวงการสถาปัตยกรรม thingsmatter มีความศิลปะมากๆ แต่พอก้าวเข้ามาในแกลเลอรี่เราเป็น ‘คนนอก’ ทันที” ศาวินี บอกกับ art4d ว่า หนึ่งในเหตุผลสำคัญๆ ที่ thingsmatter พัฒนาโปรเจ็คต์ และตัดสินใจส่ง proposal ไปยัง 100 Tonson Foundation ที่เปิด open call โปรเจ็คต์ศิลปะเมื่อปีที่แล้ว คือพวกเขาต้องการทะลุไปยังพื้นที่การทำงานศิลปะ

“เราต้องการสิ่งนี้ เราต้องการ 100 Tonson Foundation ในฐานะ established art institution ที่จะมาบอกว่างานที่เราทำมันเป็นศิลปะ” ศาวินี กำลังพูดถึง authority ของสถาบันศิลปะในการสถาปนาว่าอะไรเป็นศิลปะหรือไม่เป็นศิลปะ ดังนั้นสำหรับพวกเขา ถ้าถามว่าความท้าทายของการทำงานกับบริบท white cube คืออะไร? มันจึงไม่ใช่แค่ความ craft ในการเขียนแบบเป็นร้อยๆ แผ่น ขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยากและข้อจำกัดในการทำงานกับพื้นที่ แต่เป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเริ่มทำงานจริงซึ่งก็คือขั้นตอนการพัฒนาไอเดียเพื่อ pitch โปรเจ็คต์แข่งกับศิลปินและคิวเรเตอร์ 

อีกองค์ประกอบในนิทรรศการที่ต่างออกไปจากงานของ thingsmatter ชิ้นก่อนๆ คือวิธีการกำหนดปฏิสัมพันธ์ที่คนดูจะมีต่อแบบก่อสร้าง

“เรามานั่งคิดกันว่าจะใช้พื้นที่ห้องนิทรรศการห้องเล็กยังไงดี โดยรวมๆ แล้วไอเดียคือเราอยากเอาทุกอย่างมากางบนโต๊ะในวิธีที่ต่างออกไป” ศาวินี กล่าวก่อนที่ Tom จะเสริมว่า “ถ้าเราเอาแบบก่อสร้าง 100 แผ่น มาโชว์ คนดูจะอ่านมันในแบบที่อ่านแบบสถาปัตยกรรม แต่ครั้งนี้เราอยากให้คน appreciate แบบก่อสร้างในฐานะ artifact มากกว่า” สำหรับพวกเขา การเอาแบบก่อสร้างมาใส่กรอบจะเปลี่ยนฟังก์ชั่นของแบบก่อสร้างไปจากฟังก์ชันเดิม หรือพูดอีกแบบก็คือ ทำให้แบบก่อสร้างไม่มีฟังก์ชันสำหรับสร้างแต่กลายเป็นภาพคอลลาจชิ้นนึงไป ไอเดียนี้ยังต่อเนื่องไปเป็นผ้าพันคอที่เป็น exhibition merchandise ของนิทรรศการนี้ 

ท้ายที่สุดแล้ว Field Collapse จะเป็นสถาปัตยกรรม หรือศิลปะ เหนือไปกว่า authority ของสถาบันศิลปะคือเป็นอำนาจของคนดูเองว่าจะรับรู้ installation ชิ้นนี้ในฐานะอะไร แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า Field Collapse ให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปจากนิทรรศการศิลปะที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานกับพื้นที่แกลเลอรี่ในเชิงปริมาตร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับชิ้นงานที่ดูจะใกล้ชิดกว่าศิลปะทั่วๆ ไป การเปลือยให้เห็นสัจจะของวัสดุ รวมถึงความหลากหลายของกิจกรรมที่จัดขึ้นในตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา Field Collapse เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในฐานะสถานการณ์ใหม่ของห้องจัดแสดงศิลปะเมื่อมันตกอยู่ในมือของสถาปนิก 

Field Collapse โดย thingsmatter จัดแสดงถึงวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ที่ 100 Tonson Foundation เวลาทำการ วันพฤหัสบดี – วันศุกร์ เวลา 10.00 – 18.00 น. และ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 11.00 – 19.00 น.

instagram.com/thingsmatterbkk
thingsmatter.com
facebook.com/100TonsonFoundation

PINK, BLACK & BLUE

นิทรรศการที่พาเราไปสำรวจชีวิตของมานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินภาพถ่าย ผ่านสีดำ สีน้ำเงิน และการเดินทางสู่ความตายและโลกหน้าของ ‘Pink man’ ไอคอนสำคัญที่ศิลปินสร้างขึ้นมา ทั้งชวนให้เรานึกถึงเหตุการณ์การช่วงชิงความหมายของสีสันต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย

TEXT: TUNYAPORN HONGTONG
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

(For English, press here)

เอ่ยชื่อ มานิต ศรีวานิชภูมิ เมื่อไร หลายคนก็มักจะนึกถึงพิงค์แมนเมื่อนั้น เพราะภาพถ่ายชุด Pink Man คือผลงานที่สร้างชื่อให้เขามากที่สุด ทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ถึงขนาดบางคนเคยเข้าใจว่าพิงค์แมนที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายคือตัวมานิตเองด้วยซ้ำ (จริงๆ แล้ว ผู้รับบทพิงค์แมนคือ สมพงษ์ ทวี กวีและศิลปินด้านศิลปะการแสดงสด)

มานิตสร้างตัวละครพิงค์แมนขึ้นในปี 1997 โดยวางคาแร็กเตอร์ให้พิงค์แมนเป็นชายชาวเอเชียร่างอ้วน สวมสูทผู้บริหารผ้าซาตินสีชมพูสด (shocking pink) และเดินทางไปไหนต่อไหนพร้อมรถเข็นซูเปอร์มาร์เก็ตอันว่างเปล่าที่อยู่ในโทนสีเดียวกันกับสูทของเขา มานิตใช้พิงค์แมนเป็นตัวแทนของลัทธิบริโภคนิยมแบบสุดโต่งที่กำลังครอบงำสังคมไทย ซึ่งระดับความสุดโต่งของการบริโภคนั้นถึงขั้นที่ไม่แคร์เรื่องในสังคมอื่นใดที่ไม่เกี่ยวกับตนเองเลยก็ว่าได้ หลังจากนั้น มานิตสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย Pink Man ออกมาอีกหลายชุด โดยพิงค์แมนเดินทางไปปรากฏอยู่ตามสถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยใบหน้าเฉยชาไม่ยี่หระต่อสิ่งใด ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ เช่น ‘Pink Man on Tour’ (1998) หรือแม้แต่ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของประเทศ อย่าง การล้อมปราบและสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ 2535 ในผลงานชุด ‘Horror in Pink’ (2001) มานิตก็ยังพาพิงค์แมนไปอยู่ในภาพถ่ายอันแสนสะเทือนใจด้วยสีหน้าราวกับกำลังชมมหรสพก็ไม่ปาน

ในซีรีส์ส่วนมาก พิงค์แมนจะเป็นจุดที่โดดเด่นที่สุดของภาพ หรือใน ‘Hungry Ghost’ (2003) พิงค์แมนไม่เพียงเป็นตัวละครหลัก แต่ยังมีขนาดใหญ่เหนือจริงเท่ากับอาคารสูงเสียดฟ้า ซึ่งขนาดที่ว่าก็น่าจะพอๆ กับอัตตาของตัวเขาเอง อย่างไรก็ดี ในบางซีรีส์ โดยเฉพาะ ‘Pink Man in Venice’ (2003) มานิตกลับเลือกถ่ายภาพพิงค์แมนในระยะไกล จนพิงค์แมนเหลือตัวเล็กนิดเดียว แถมในบางภาพยังยืนเหม่อออกไปในผืนน้ำกว้างและข้างกายก็ไม่มีรถเข็นสี shocking pink จนในตอนนั้น เราสงสัยไม่ได้ว่าการเดินทางครั้งต่อไปของพิงค์แมนจะเป็นอย่างไร? จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับเขาหรือไม่? หรือว่าหลังจากบริโภคทุกสิ่งทุกอย่างมาตลอดชีวิตแล้วจุดจบของพิงค์แมนจะอยู่ในรูปแบบไหน?

กว่าคำตอบที่ว่าจะมีออกมาให้เห็น พิงค์แมนก็ผ่านการเดินทางมาอีกมากมายจนกระทั่ง ปี 2018 ในซีรีส์ ‘The Last Man and the End of His Story’ (2018) มานิตถ่ายภาพแนวสตรีทดิบๆ ที่ในแต่ละภาพมีถุงใส่ศพสีชมพูวางอยู่ตามถนนหนทางในสหรัฐอเมริกา โดยมีรถเข็นซูเปอร์มาร์เก็ตสีเดียวกันวางทิ้งขว้างอยู่ข้างๆ แน่นอน นี่คือการบอกเล่าถึงความตายของพิงค์แมน แต่เมื่อพิจารณาผลงานอีกชิ้นที่ออกมาในปีเดียวกัน นั่นคือ ‘Dropping the Pink Self’ (2018) เราก็เริ่มไม่แน่ใจว่าความตายของพิงค์แมนที่ว่าคือเสียชีวิตหรือเป็นการอุปมาถึงการละทิ้งบางสิ่งบางอย่างไป เพราะใน ‘Dropping the Pink Self’ มานิตหยิบยืมไอเดียมาจากผลงาน ‘Dropping a Han Dynasty Urn’ (1995) ของ Ai Weiwei แต่ในขณะที่ Ai ปล่อยโถโบราณจากราชวงศ์ฮั่นให้ตกลงแตกกระจายเพื่อสื่อถึงยุคสมัยแห่งการรื้อทำลายและสร้างวัฒนธรรมจีนขึ้นใหม่ พิงค์แมนปล่อยตุ๊กตาจำลองของตัวเองตกลงพื้นจนหัวขาดกระเด็น 

สองผลงานดังกล่าวถูกนำกลับมาแสดงอีกครั้งในนิทรรศการเดี่ยวล่าสุดของมานิตที่ชื่อ Pink, Black & Blue รวมทั้งยังมีซีรีส์ใหม่ที่ต่อไปจากความตายของพิงค์แมนอีก คือ ‘Afterlife So Pink #2’ (2023) อินสตอลเลชันที่มีตุ๊กตาจำลองพิงค์แมนอยู่บนเรือไม้ สัญลักษณ์สากลที่เปรียบเสมือนการข้ามผ่านไปสู่โลกหลังความตาย แต่เพราะเป็นพิงค์แมน บนเรือจึงมีเศียรพระพุทธรูปวางอยู่และเรือนั้นก็อยู่ในอ่างเป่าลมสำหรับเด็กที่มีลวดลายเป็นสัตว์ทะเลแบบคิชๆ (kitsch) ส่วนผลงานอีกชุดคือ ‘Heavenly Pink’ (2023) พิงค์แมนไปปรากฏอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังไทยโบราณ ตั้งแต่รูปสวรรค์ชั้นฟ้าที่รายล้อมไปด้วยเทวดานางฟ้า ในพุทธประวัติที่พระพุทธเจ้าเจอกับองคุลีมาล หรือแม้แต่ในจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่ง (ผลงานศิลปะของศิลปินหัวก้าวหน้าในอดีตที่ศิลปินไทยร่วมสมัยหลายคนหยิบมาใช้ในผลงานของตัวเองในช่วงที่ผ่านมา) การเดินทางของพิงค์แมนในซีรีส์นี้เปิดกว้างการตีความได้มันพอๆ กับภาพที่มานิตสร้างขึ้นมา เพราะเราสามารถจะคิดไปได้ตั้งแต่ว่า นี่คือการเดินทางของพิงค์แมนหลังปลดแอกตัวเองออกจากการบริโภค หรืออาจเป็นแค่ความฝันของเขาเองที่แม้จะตายไปแล้วแต่ก็ยังไม่หมดความปรารถนา

เรื่องของพิงค์แมนจัดอยู่ในส่วนของ Pink หนึ่งในเฉดสีที่ปรากฏอยู่ในนิทรรศการ Pink, Black & Blue ส่วนอีกสองเฉดสีที่เหลือคือ Black หมายถึง ‘When I was Twenty’ งานภาพถ่ายขาวดำของมานิตสมัยยังเป็นนักศึกษา และ Blue คือในส่วนของ ‘I Saw A Blue Wing’ ภาพถ่ายที่มานิตใช้การ snapshot เรื่องราวและผู้คนต่างๆ ที่พบเจอระหว่างการเดินทางไปร่วมเทศกาลงานศิลปะในต่างประเทศ โดยผลงานทั้งสองส่วนนี้ แม้จะไม่ได้มีเนื้อหาเข้มข้นเหมือน Pink แต่ก็ทำให้เรารู้จักตัวตนของมานิตมากขึ้น โดยเฉพาะความขบถ (Black) ที่มีให้เห็นตั้งแต่ในงานสมัยเป็นนักศึกษาและอารมณ์ขันที่บางครั้งติดตลกร้ายนิดๆ (Blue) ในภาพ snapshot ซึ่งทั้งสองส่วนยังคงเป็นลักษณะที่เราพบในการทำงานศิลปะของเขาจนถึงปัจจุบัน 

อย่างไรก็ดี บทบาทสำคัญของ Black และ Blue ที่เข้ามาอยู่ร่วมกับ Pink ไม่น่าจะหมดเพียงแค่นั้น แต่การที่มานิตเลือกใช้โทนสีมากกว่าแค่สีชมพูเพียงอย่างเดียวในครั้งนี้ น่าจะเป็นความต้องการของเขาที่จะพูดถึงการสร้างความหมายเฉพาะให้กับ ‘สี’ แต่ละสีในสังคมไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การใช้สีเพื่อบ่งบอกจุดยืนทางการเมือง หรือแม้แต่อาจย้อนไปถึงการใช้สีเพื่อสื่อถึงความเป็นชาติ 

ไม่ว่าการสร้างความหมายดังกล่าวจะเป็นไอเดียของใคร มีจุดประสงค์แท้จริงเพื่ออะไร หรือตื้นเขินแค่ไหน แต่มันก็ได้กลายเป็นสิ่งที่เราทุกคนต่างยอมรับโดยทั่วกัน จนทำให้คนเสื้อแดงหลายคนไม่ยอมใส่เสื้อเหลืองอีกเลย และคนเสื้อเหลืองก็จะไม่มีวันหยิบเสื้อแดงมาใส่ออกจากบ้าน (ยกเว้นตรุษจีน) สำหรับมานิต การให้ความหมายแก่สีนี้ทำให้สังคมไทยแตกออกเป็นสองฝั่งอย่างชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดการแช่แข็งของประเทศ รวมทั้งในด้านเศรษฐกิจที่วางอยู่บนบริโภคนิยม โดยเราจะเห็นความคิดเห็นของเขาในเรื่องนี้ได้จาก ‘Afterlife So Pink #1’ อินสตอลเลชันที่เขาเอาตุ๊กตาจำลองพิงค์แมนไปใส่ไว้ในก้อนเรซินที่ทำให้เหมือนก้อนน้ำแข็ง และจัดวางอยู่บนถังน้ำแข็งสีน้ำเงินและแดง ส่วนอินสตอเลชันอีกชิ้นที่เหลือ ‘Stay Pink’ (2023) ที่รถเข็นซูเปอร์มาร์เก็ตของพิงค์แมนมีสายน้ำเกลือห้อยระโยงระยางอยู่เต็มไปหมด ก็คือความพยายามรักษาการบริโภคของผู้คนในสังคมไว้ เพราะแม้การแตกแยกในสังคมอาจเอื้อประโยชน์ต่อชนชั้นปกครอง แต่เมื่อการบริโภคถูกกระทบกระเทือน ทุนนิยมก็ด้อยลงตาม และชนชั้นสูง-นายทุนก็สูญเสียผลประโยชน์

ในซีรีส์ Pink Man ของมานิต พิงค์แมนคือชายในชุดสูทสีชมพูผ้ามันวาวดูน่าขยะแขยง แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง พิงค์แมนอาจอยู่ในเสื้อหรือสูทสีอื่นก็เป็นได้ และก่อนที่จะมองเห็นได้ว่าใครกันแน่ที่คือพิงค์แมน เราอาจต้องข้ามผ่านความหมายของสีที่ฉาบไว้เพียงผิวเผินภายนอกเสียก่อน

นิทรรศการ Pink, Black & Blue: A Solo Photographic Exhibition by Manit Sriwanichpoom จัดแสดงที่ Hub of Photography (HOP) ชั้น 3, MUNx2 ศูนย์การค้าซีคอนแสควร์ ศรีนครินทร์ จนถึงวันที่ 9 เมษายนนี้

facebook.com/hubofphotographybangkok

WAREHOUSE

นิทรรศการที่พาไปดูเบื้องหลังของแกลเลอรี่ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชิ้นงานต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะจัดแสดง พนักงานที่ทำงานอยู่จริงๆ รวมถึงผู้ชมที่เข้ามายังนิทรรศการ

Read More

MARINA ABRAMOVIC – “HISTORY OF LONG DURATIONAL WORK AND MAI”

งานบรรยายพิเศษจากศิลปิน performance art ระดับโลกอย่าง Marina Abramovic ในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ที่ดำดิ่งสู่ประวัติศาสตร์การทำงาน performance ของเธอ ซึ่งอาจจะช่วยให้เราเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า แท้จริงแล้ว performance art คืออะไร ?

Read More

DREAMDAY

มิตร ใจอินทร์ แฝงเรื่องราวของพุทธศาสนา ความผูกพันของเขาต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นในภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงพื้นหลังทางการเมืองของประเทศไทยที่ยังไม่ไปไหนเสียที ผ่านนิทรรศการที่เต็มไปด้วยงานศิลปะหลากสีสัน

Read More

ART SG

ART SG Co-Founder Magnus Renfrew and Director Shuyin Yang | Photo: Joyce Yung

 art4d พูดคุยกับ Magnus Renfrew ผู้ร่วมก่อตั้ง ART SG และ Shuyin Yang ผู้อำนวยการงาน ART SG ถึงวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายของการจัดงานอาร์ตแฟร์ระดับสากลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงความท้าทายของการจัดงานแฟร์ขนาดใหญ่หลังวิกฤติโรคระบาด

Read More