REVUE FAIRE

REVUE FAIRE IS A BIWEEKLY GRAPHIC DESIGN MAGAZINE RELEASED BETWEEN THE MONTHS OF MAY AND OCTOBER OF EVERY YEAR WITH THE DEBUT ISSUE MAKING ITS WAY TO THE STANDS AT THE END OF LAST YEAR

The publication has two graphic designers, Sacha Léopold and François Havegeer as its founders with additional support coming from France’s National Centre for Visual Arts (Centre national des arts plastiques). To explain the nature of the content of Revue Faire, it’s essentially a journal that places focus on the intensive analysis and critique of graphic design-related issues (the length of each article is a minimum of 30,000 words). In terms of the big picture, we see an attempt being made to facilitate a connection between the critical analysis of graphic design through the lens of other design disciplines and relevant contexts. With an academic or a graphic designer being invited to act as a contributor and come up with a theme, every issue of Revue Faire shares a common graphic structure. On each page, the text is divided into two columns with the abbreviation EN and FR designed to be at the edge of the layout to inform readers the language of the text they are reading while the overall design of the layout is reminiscent of graphic design aesthetics of the 1990

For the first issue, Thierry Chancogne, graphic design theorist, takes the reader on an expedition into the Rouge-gorge series designed by SpMillot with Cent Pages serving as the publisher. The piece paints a better understanding of the design process and modus operandi including the relationship between typography and whitespace that helps convey contents in literature. In the succeeding issue, Manon Bruet introduces the readers to colorlibrary.ch, a website created and developed by ECAL/University of Art and Design Lausanne, which provides information about colors and printing techniques that have gradually been replaced by CMYK technology. Other equally interesting issues are such as the fifth one where Manon Bruet, as a contributor, writes a brilliant analysis piece on the works of Experimental Jetset through a picture posted in the office’s Instagram account with a caption that states ‘P/Pa/Para/Paradiso.’ Bruet explains their use of techniques that can be referenced to their own designs from the past including an analysis of the rise of new media such as Instagram and Pinterest, and how these social networking services have enabled graphic design creations to be communicated, reproduced and represented outside of the conventional contexts, similar to the remix trend in contemporary music culture. The piece also cites the works of Lev Manovich, a contemporary media theorist, to help provide a better understanding of the occurring phenomenon from a wider point of view.

Published by Empire books
210×297 mm, 20 pages
ISBN: 979-10-95991-04-5

 

Revue Faire เป็นวารสารทางด้านกราฟิกดีไซน์รายสองสัปดาห์ ที่จะออกเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี และได้เริ่มออกฉบับแรกไปเมื่อช่วงปลายปี 2017 ที่ผ่านมา โดยมีสองกราฟิกดีไซเนอร์ Sacha Léopold และ François Havegeer เป็นผู้ริเริ่ม พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจาก National Centre for Visual Arts (Centre national des arts plastiques) ในประเทศฝรั่งเศส ถ้าจะให้อธิบายลักษณะของเนื้อหาแล้ว Revue Faire น่าจะเป็นวารสารที่เน้นเรื่องการวิเคราะห์วิจารณ์ในประเด็นต่างๆ อย่างเข้มข้น (ด้วยความยาวของบทความที่ถูกกำหนดเอาไว้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 30,000 คำ) ซึ่งถ้าดูภาพโดยรวม เราจะเห็นความพยายามในการเชื่อมโยงและวิเคราะห์งานกราฟิกดีไซน์ผ่านมุมมองจากศาสตร์แขนงอื่นๆ รวมถึงบริบททางด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยในแต่ละเล่มจะเชิญนักวิชาการหรือกราฟิกดีไซเนอร์หนึ่งคนมาร่วมเขียนและกำหนดธีมของเล่มนั้น พร้อมกับออกแบบรูปเล่มและวิธีการสื่อสารให้สอดคล้องไปกับเนื้อหาของธีมในเล่ม ถึงอย่างนั้น ทุกเล่มก็จะมีโครงสร้างหลักๆ ร่วมกันคือ ในแต่ละหน้าเนื้อหาจะถูกแบ่งออกเป็นสองคอลัมน์ และมีตัวอักษรย่อ EN และ FR ที่ออกแบบให้ถูกตัดแบบตกขอบไว้คอยบอกผู้อ่านว่าในคอลัมน์ที่กำลังอ่านอยู่นั้นเป็นเนื้อหาภาษาอะไร และลักษณะของการจัดหน้ากระดาษโดยรวมก็อาจจะทำให้เราคิดถึงงานออกแบบในช่วงทศวรรษ 1990 ได้อยู่เหมือนกัน

สำหรับเนื้อหาในเล่มแรก Thierry Chancogne นักทฤษฎีทางด้านกราฟิกดีไซน์ได้พาเราเข้าไปสำรวจแบบเจาะลึกหนังสือในซีรีส์ Rouge-gorge ของสำนักพิมพ์ Cent Pages ที่ออกแบบโดย SpMillot เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการและวิธีในการทำ.งานออกแบบ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้ตัวอักษรและพื้นที่ว่างเพื่อใช้สื่อเนื้อหาในงานวรรณกรรม ขณะที่เล่มถัดมา Manon Bruet ได้พาเราไปรู้จักกับ colorlibrary.ch ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลในเรื่องของสีและเทคนิคในการพิมพ์ในแบบต่างๆ ที่จัดทำขึ้นโดยกลุ่มของนักวิจัยที่ ECAL/University of Art and Design Lausanne ที่เรียกตัวเองว่า Maximage เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการใช้สีสำหรับการพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกการพิมพ์แบบ CMYK ในแบบมาตรฐานทั่วไปนั้นทำให้มันค่อยๆหายไป ยังมีอีกหลายเล่มที่น่าสนใจ เช่น เล่มที่ 5 ที่เขียนโดย Manon Bruet อีกเช่นกัน ว่าด้วยการวิเคราะห์งานของกลุ่มนักออกแบบ Experimental Jetset ผ่านรูปภาพที่ถูกโพสต์ใน Instagramของออฟฟิศในโพสต์ที่มีคำ.บรรยายว่า ‘P/Pa/Para/Paradiso’ ซึ่ง Manon Bruet ได้พยายามอธิบายว่าพวกเขาได้ใช้เทคนิคในการอ้างอิงกับผลงานเก่าๆ ที่ผ่านมาของตัวเองอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์การมาถึงของสื่อใหม่ๆ อย่าง Instagram และ Pinterest ที่ทำให้งานกราฟิกดีไซน์ถูกสื่อสาร ผลิตซ้ำ และถูกจัดเรียงกันใหม่นอกบริบทเดิมที่มันเคยอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ คล้ายการ remix ซึ่งเกิดขึ้นในวัฒนธรรมของดนตรีร่วมสมัย โดยอ้างอิงงานเขียนของ Lev Manovich ซึ่งเป็นนักทฤษฎีทางด้านสื่อร่วมสมัย เพื่อให้เราเห็นภาพรวมของปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

TEXT: WICHIT HORYINGSAWAD
PHOTO: KETSIREE WONGWAN
revue-faire.eu

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *