NONTAWAT NUMBENCHAPOL

COVID DIARY
LOCKDOWN

ความรู้สึกที่บอกกับตัวเองตลอดในช่วงเหตุการณ์ COVID-19 สำหรับตัวเองคือ ถือเป็นความโชคดี ที่ในช่วงเวลา lockdown นั้นได้วางแผนไว้ที่จะอยู่บ้านเพื่อที่จะอีดิทงานทั้งหลายแหล่ให้เสร็จหลังจากช่วงที่ผ่านมาตลอดทั้งปีที่ได้รีเสิร์ชและผลิตซอร์ชต่างๆ ไว้มากมาย และหนึ่งในนั้นคืองานที่กำลังจะแสดงที่ Ver Gallery ในวันที่ 11 กรกฎาคม

งานนั้นเกิดจากผมคัดเลือกคนหนึ่งคนจากอีกหลายสิบคนที่ผมได้ทำการสัมภาษณ์ ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นคนหนุ่มสาวที่ข้ามชายแดนจากประเทศพม่า มาพำนักและใช้ชีวิตที่เชียงใหม่ ด้วยความหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม และทุกคนล้วนแล้วแต่มีอาชีพทำงานในร้านเหล้ายามราตรี 

หลายๆ คนได้พัฒนาความสัมพันธ์เป็นเพื่อน และผมก็ได้แอบตามชีวิตของพวกเขาห่างๆ จากหน้าฟีดเฟซบุ๊ก ส่วนคนหนึ่งคนที่ผมเลือกนั้น ผมเสนอในสิ่งที่ผมและเขาต้องการอย่างที่สุดนั่นคือ พาเขาเดินทางข้ามแดนกลับบ้านเกิดของเขาภายในรัฐฉานประเทศพม่า หลังจากที่ไม่ได้กลับบ้านมากว่า 6 ปี และผมขอเค้าบันทึกภาพและเสียงนั้นไว้

ในช่วงการอีดิทงาน ผมไม่ได้ออกไปไหนเป็นเดือน เป็นความรู้สึกที่มีเวลาไตร่ตรองสิ่งที่กำลังทำอย่างที่ไม่เคยรู้สึกหรือมีมาก่อน 

ผมยังคงเฝ้าติดตามชีวิตพวกเขาอยู่ที่บ้านผ่านทางเฟซบุ๊ก ทุกคนล้วนตกงาน เนื่องจากร้านเหล้าปิด หลายคนไม่สามารถเดินทางข้ามฝั่งเพื่อกลับบ้านได้ จำเป็นต้องเริ่มหางานเท่าที่มีและส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างในตอนกลางวัน รวมไปถึงคนที่อยู่ในงานศิลปะของผมด้วย

ในบางครั้งที่ได้ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ เขาเหลือเงินติดกระเป๋าอยู่ 200 ทานมาม่ากับไข่ทุกวัน แฟนสาวที่เป็นคนไทยก็ทำงานกลางคืนเช่นกัน เราไม่ทิ้งกัน 5,000 ก็ไม่ได้ ในขณะที่เพื่อนๆ ของผมที่ยังพอมีกิน ต่างได้เงินช่วยเหลือ 5,000 ซึ่งทำให้ผมนึกสงสัยในระบบการจัดการเงินช่วยเหลือ 

สองเดือนผ่านไป ยอดผู้ติดเชื้อโควิดอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แต่ในทางกลับกัน ยอดคนฆ่าตัวตายกำลังพุ่งสูงจนเกินตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด นั่นหมายถึงความถนัดของรัฐบาลในการจำกัดสิทธิ์ของประชาชนด้วยเคอร์ฟิวนั้นเกิดผลอย่างงดงาม แต่ในทางบริหารความเป็นคนด้วยการวัดจากนโยบายการช่วยเหลือและเยียวยานั้นประสบความล้มเหลวอย่างที่สุด ช่องว่างระหว่างชนชั้นถูกทำให้เห็นชัดเจน ยิ่งโดยเฉพาะคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของชีวิตที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้นั้น อยู่ในจุดที่ชะงักไม่มีหนทางที่จะสามารถดำรงชีพอยู่บนโลกใบนี้ในพื้นที่ที่เรียกว่าประเทศไทยได้อีกต่อไป

I’ve been telling myself throughout this COVID-19 situation that I’m lucky that the lockdown allows me to stay home and finish editing all my works, after having spent the entire year in researching and producing a great many sources. Among those is what I’ll be presenting at Ver Gallery on July 11.

For this work, I picked one interviewee, out of scores of Burmese immigrants who work at bars and live in Chiang Mai, hoping for better lives.

I became friends with many of them, following their lives from a distance via Facebook feeds. For the one I chose, I offered him what I, and he, wanted the most, taking him across the border back to his hometown in Shan State, after six years away. I asked for his permission to film this.

Editing works, I haven’t set my feet out for a month, feeling I have more time than ever before reconsidering what I’m doing.

I’m still following their lives, at home via Facebook. All of them are unemployed because of the closure of the bars. Many couldn’t go home and need to take any available jobs, mostly daytime construction work—the one in my artwork as well. 

Occasionally, I ask him how he’s holding up. He has 200 baht left, having instant noodles with eggs everyday. His Thai girlfriend also works a nightlife job. She’s not qualified for the government’s 5,000-baht relief subsidy, but some of my friends who’re doing much better financially are. I can’t help questioning the management of this relief.

Two months have passed: Thailand’s COVID-19 infection rate is at a satisfactory level; the suicide rate is, though, higher than that of COVID-19 related deaths. This is a fruitful outcome of the government’s masterful restriction of people’s rights by imposing curfews. The total opposite can be said for their people’s management skills, judging from the relief and healing measures. The gaps between social classes have been made clear, and those who don’t have access to resources, in particular, are bogged down and cannot find a possible way to continue living in this area of the Earth called Thailand.

mobilelabproject.com

 

BACK