PHTAA LIVING DESIGN / NATHAVAT KAMRONRITTISON

CREATIVE SOLUTION
RE- APPROPRIATE

สถานีตักบาตร

จากเหตุการณ์ปัจจุบันของวิกฤตการณ์ของโรคระบาดได้กระทบกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนโดยเฉพาะมาตราการความปลอดภัยที่เน้นย้ำการเว้นระยะห่างต่อกัน การสร้างงานออกแบบชุดนี้เป็นการประสานปัจจัยของความชั่วคราวของการใช้พื้นที่ที่สอดคล้องไปกับมาตราการความปลอดภัย โดยให้สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ และคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ความรู้สึกที่งานออกแบบสามารถสร้างประสบการในสถานการณ์เช่นนี้ให้คงไว้ซึ่งความจรรโลงในการใช้ชีวิต

พระสงฆ์นับเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะต้องออกบิณฑบาตตามขนบธรรมเนียมที่สำคัญต่อการยังชีพ ซึ่งการถวายทานต่างๆ โดยบุคคลทั่วไปก็ไม่ได้มีข้อกำหนดชัดเจนนอกจากระยะปลอดภัยสำหรับกิจกรรมนี้ ทางทีมออกแบบจึงจำลองพื้นที่สำหรับตักบาตรโดยใช้องค์ประกอบของโครงสร้างไม่ถาวรในเขตพื้นที่พบปะระหว่างผู้คนและพระสงฆ์ คือตลาด ใช้รูปแบบการประกอบสร้างตามองค์ความรู้จากเขตพื้นที่นั้นๆ เช่น การใช้นั่งร้าน การขึงผ้าด้วยของหนักให้อยู่ทรง (อิฐหรือบล็อคคอนกรีต) หรือองค์ประกอบสำหรับยึดจับวัสดุที่เป็นผืนให้อยู่กับโครงสร้างโดยของใช้ใกล้ตัว (คลิปหนีบกระดาษ) การใช้รอกส่งของถวายกับลังผลไม้ และของเหลือใช้จากในวัดต่างๆ ที่เล็งเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สามารถสร้างสัญลักษณ์ของพื้นที่ทางศาสนาได้ดี เช่น จีวรเหลือใช้จากพระสงฆ์ที่สึกแล้วมาจัดองค์ประกอบร่วมกันเป็นพื้นที่กิจกรรมทางศาสนาที่ตอบโจทย์เรื่องการสร้างระยะห่าง และประสบการณ์ที่สร้างความจรรโลงใจสำหรับผู้ที่ต้องการตักบาตรทำบุญในสถานการณ์เช่นนี้

ร้านขายวัสดุก่อสร้าง

การนำวัสดุก่อสร้าง สินค้าที่ใช้ดำเนินกิจการอยู่แล้วมาปรับรูปแบบการจัดวาง ของที่ทำหน้าที่จากดิสเพลย์ร้านให้กลายเป็น boundary + โครงสร้างภายในตัว และเกิดการกำหนดพฤติกรรมของพื้นที่สองชั้นที่ภายนอกสามารถมองผ่านเข้ามาได้แต่มีรูปแบบการเข้าถึงที่ถูกควบคุม วัสดุแรกคือร้านขายเหล็กเส้น ส่วนการปรับเปลี่ยนการจัดวัสดุและโครงสร้างของวัสดุท่อ pvc ในร้านที่ 2 ที่ทำให้เกิดระยะห่างระหว่างบุคคล แต่ไม่ปิดกั้นช่องทางในการสื่อสารและมองเห็นระหว่างบุคคลเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับร้านวัสดุก่อสร้างอื่นได้ 

 Almsgiving station

 The current pandemic situation has impacted many daily activities and resulted in social distancing measures. This design combines the temporariness of space use and safety measures, making sure that daily activities can proceed as usual and that the work can maintain the relationship between the feelings it creates and the pleasurable living experience.

 Buddhist monks are at-risk group of people who go out every morning for almsgiving. There are no clear measures, except for safe distance, for merit making. Our design team has created a model for almsgiving space, using the temporary structures of the meeting place between merit makers and monks, a market. They are put together with the local knowledge, such as the use of scaffoldings, straightening the cloths with heavy materials like bricks and concrete blocks, holding them with simple items like paper clips, using pulleys to deliver the alms in fruit crates. Other temple surpluses, like the robes of those who have left the monkhood can also be displayed to create a religious activity space, complying with the physical distancing measures while still giving pleasure to the almsgivers in this unusual situation.

Construction supply store

 Construction materials and products already for sale have been rearranged. Shop displays become a boundary and structure. The behavior on the two floors has been reconsidered: people can see them from outside but their accessibility is now restricted. The first sells steel rods; PVC pipes in the second have been rearranged, allowing physical distancing without blocking communication and eye contacts. This can also be applied in other construction supply stores.

fb.com/PHTAAlivingdesign
phtaa.com

 

BACK