CASA ROCCA: COMMERCIAL ICONIC ARCHITECTURE DESIGN FOR SUSTAINABILITY

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

CASA ROCCA Thailand จัดงานทอล์กในประเด็นของเทคนิคการออกแบบและเลือกใช้วัสดุ สำหรับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน โดยมีสปีกเกอร์จากสองออฟฟิศชั้นนำ อย่าง IDIN Architects และ PHTAA Living Design ร่วมบรรยาย

TEXT: KAWIN RONGKUNPIROM
PHOTO COURTESY OF CASA ROCCA

(For English, press here)

CASA ROCCA แบรนด์ผู้จัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มวัสดุปิดผิวพื้นและผนังครบวงจร ที่มุ่งมั่นในการคัดสรรสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมโลก ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability หรือ เทคนิคการออกแบบและเลือกใช้วัสดุตกแต่ง สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อความยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ณ CASA ROCCA GALLERY

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

“สิ่งหนึ่งที่เป็นแนวทางและความมุ่งมั่นของ CASA ROCCA ตั้งแต่วันแรก คือต้องการหาวัสดุที่ใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติทั้งไม้และหิน ด้วยพันธกิจที่เราตั้งไว้ว่า วัสดุทุกตัวที่เรานำเข้ามาให้อุตสาหกรรมการออกแบบนั้นต้องเป็น Green Product ทั้งหมด มีคุณสมบัติที่ดีกว่าวัสดุธรรมชาติ รวมไปถึงกระบวนการผลิตจนสิ้นสุดการใช้งานที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงถือได้ว่าเรื่อง sustainability อยู่ใน DNA ของเราตั้งแต่แรกเริ่มอย่างแท้จริง” คุณพรชัย รัตนเมธานนท์ ผู้บริหารจาก CASA ROCCA กล่าวแนะนำแบรนด์ และความตั้งใจของแบรนด์ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 27 ปี

ต่อด้วยการบรรยายจากสปีกเกอร์ท่านแรก คุณจีรเวช หงสกุล Managing Director จาก IDIN Architect ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์การออกแบบโครงการประเภท commercial และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่ง ผ่านเรื่องราวจากสามผลงานออกแบบทั้งเก่าและใหม่

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

จีรเวช หงสกุล Managing Director จาก IDIN Architect

NANA Coffee Roasters Central Westville

แม้ร้านกาแฟแบรนด์นี้จะมีหลายสาขา แต่ด้วยเทรนด์และการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ NANA Coffee Roasters แต่ละสาขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างสาขาล่าสุดนี้ก็มีโจทย์และเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากเดิม ด้วยพื้นที่ขนาดเล็กเพียง 144 ตารางเมตร แต่ต้องบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ที่ไม่เคยเป็นจุดโฟกัสมาก่อน

ถ้ำและการ explore ถูกนำมาตีความและออกแบบให้ภายนอกอาคารห่อหุ้มด้วยวีเนียร์หินที่เล่นไปกับแสงในแต่ละช่วงเวลา พื้นที่ภายในตกแต่งด้วยฝ้าบาริซอลที่ปล่อยให้แสงไล้ลงไปตามพื้นผิวอาคาร แฝงด้วยเรื่องราวของแบรนด์และกระบวนการผลิตกาแฟที่เล่าผ่านภาพจิตรกรรมแบบโบราณ ซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ของร้าน เพื่อให้คนได้ค้นหาและสร้างบทสนทนากับบาริสตาอีกทางหนึ่ง

Keeree Tara Riverside

ร้านอาหารริมสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ที่ต้องการส่งมอบเซนส์แบบไทยๆ ผ่านงานบนส่วนหลังคาที่บิดองศาเล็กน้อยเพื่อลดความแข็งและดูเป็นกันเองยิ่งขึ้น ความท้าทายอยู่ที่ขนาดของห้องครัวและห้องจัดเลี้ยงที่แน่นเต็มพื้นที่ ทำให้ต้องแก้ปัญหาด้วยการออกแบบบันไดขนาดใหญ่ตั้งแต่ด้านหน้าโครงการ พร้อมกับใช้แสงที่ส่องลงมาเป็นเส้นจากบนหลังคา เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าขึ้นไปยังพื้นที่ชั้นบน ซึ่งจะเผยให้เห็นทิวทัศน์ของโค้งน้ำและสะพานได้อย่างเต็มตา

dusitD2

โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงแม้ที่ตั้งโครงการจะไม่ได้อยู่ติดทะเล แต่ส่วนเซอร์วิสต่างๆ ที่ถูกยกสูงขึ้นให้สามารถมองเห็นทะเลได้ รวมถึงคอร์ตกลางเขียวชอุ่มขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็น secret garden ให้ผู้เข้าพักสัมผัสความร่มรื่นได้ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโครงการ

งานตกแต่งแฝงรายละเอียดของดอกไม้ไทยนานาชนิด โดยนำมาลดทอนรายละเอียดให้พอรับรู้ได้ถึงกลิ่นอาย ก่อนจะนำเส้นสายและลวดลายไปประยุกต์ใช้กับทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นงานฝ้า ผนัง ไปจนถึงเคาน์เตอร์บาร์และชิ้นงานประดับตกแต่งต่างๆ

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

คั่นด้วยโปรแกรมจากทาง CASA ROCCA ที่มาบอกเล่าถึงมุมมองของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัสดุปิดผิวพื้นและผนัง ที่มีส่วนในการออกแบบอาคารแบบยั่งยืนตามพันธกิจของแบรนด์ ครอบคลุมทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจแบบครบวงจร ซึ่งประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นน่าจะใกล้ตัวสถาปนิกและผู้ออกแบบมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการขอยื่นเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง LEED หรือ WELL ที่ต้องคำนึงถึงวงจรผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ที่มาของวัตถุดิบไปจนถึงจุดสิ้นสุดของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ต้องปราศจากสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เพื่อสุขภาพในระยะยาวของผู้ใช้อาคาร

อย่างผลิตภัณฑ์ Wood Plastic Composite (WPC) หรือไม้เทียม จากกลุ่ม CASA wood ที่มีส่วนประกอบจากพลาสติกรีไซเคิลและเศษไม้สูงถึง 85% และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานแล้ว แผ่น WPC ยังสามารถนำกลับมาย่อยและรีไซเคิลเพื่อนำไปผลิตเป็น WPC ได้ครั้ง หรือผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางแบบม้วนจาก Tarkett ที่มีแนวคิดเรื่องการรีไซเคิลวัสดุแบบเดียวกัน แต่ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพอากาศในอาคารเป็นพิเศษ อีกทั้งยังปราศจากสารพทาเลท (Phthalate) อันเป็นส่วนผสมหนึ่งในพลาสติกที่สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

และอีกหนึ่งช่วงการบรรยาย ที่คราวนี้ถึงเวลาของ คุณธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ และ คุณพลวิทย์ รัตนธเนศวิไล Co-founders จาก PHTAA Living Design ที่นอกจากจะแชร์ประสบการณ์ผ่านผลงานออกแบบแล้ว ยังเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของผู้ออกแบบและซับพลายเออร์ด้วย

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa RoccaCommercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

SANS STUDIO

สตูดิโอถ่ายภาพแห่งนี้มีวิธีการออกแบบที่แตกต่างไปจากสตูดิโออื่นๆ ด้วยการใช้แสงธรรมชาติและเปิดพื้นที่ให้สามารถใช้ถ่ายภาพได้ทุกมุม ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ภายนอก รูปทรงของอาคารเกิดจากข้อจำกัดของที่ดินรูปสามเหลี่ยม รวมถึงการนำวิธีการคว้านปริมาตรบางส่วนของอาคารออก เพื่อให้เกิดช่องแสงและสร้างความรู้สึกคลุมเครือระหว่างภายในและภายนอก ซึ่งบริเวณผนังภายนอกที่ถูกคว้านออกไปนั้น จะกรุด้วยกระเบื้องโมเสกสีขาว เสมือนเป็นร่องรอยให้เห็นถึงความแตกต่างจากผนังส่วนใหญ่

พื้นที่ภายในถูกออกแบบให้เป็นกลางมากที่สุด เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมได้หลากหลาย ขณะเดียวกันก็ใช้สีสันสดใสกับองค์ประกอบบางส่วน เช่น บันไดวนสีเขียว เคาน์เตอร์สีน้ำเงินที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานออกแบบยุคโมเดิร์น นอกจากนี้ เมื่อนำเฟอร์นิเจอร์ที่มีสีสันไปจัดวาง ก็จะช่วยให้ดูโดดเด่นราวกับเป็นหนึ่งในชิ้นงานประติมากรรมที่จัดแสดงอยู่ในแกลเลอรี

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล Co-founders จาก PHTAA Living Design

PHTAA OFFICE

สำนักงานที่รีโนเวตใหม่ของ PHTAA ภายในพื้นที่ 120 ตารางเมตร ที่เน้นฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก รองรับพนักงานได้ราว 20 ชีวิต ด้วยข้อเสียของสำนักงานเดิมที่มืดและดูอุดอู้ การออกแบบสำนักงานใหม่จึงคำนึงถึงแสงธรรมชาติเป็นหลัก ผสานกับการใช้พื้นไม้สีอ่อน ช่วยให้พื้นที่โดยรวมดูสว่างมากขึ้น รวมถึงวัสดุบล็อกแก้วที่ช่วยดึงแสงให้กระจายสู่พื้นที่ภายใน

ลักษณะการออกแบบห้องเก็บตัวอย่างวัสดุถูกนำมาคิดใหม่ให้สวนทางกับห้องเก็บของแบบเดิม จากที่ต้องปกปิดมิดชิดไม่ให้คนเห็น ซึ่งจะนำมาสู่ปัญหาการเก็บของที่ไม่เป็นระบบและรกในที่สุด กลายเป็นพื้นที่เก็บของที่เปิดโล่ง มองเห็นและจัดการได้ง่าย เมื่อใช้งานร่วมกับชั้นไม้ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษแล้ว ก็สามารถช่วยแบ่งหมวดหมู่ได้เป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถถอดประกอบใหม่ เพื่อรองรับการขยับขยายสำนักงานในอนาคตได้อีกด้วย

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

(ซ้ายไปขวา) ธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ และ พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล Co-founders จาก PHTAA Living Design

Central Westville

โปรเจ็กต์นี้ทาง PHTAA รับผิดชอบส่วนงานตกแต่งภายใน โดยใช้แนวคิดจากร่องรอยของธรรมชาติที่ปรากฏบนบ้านพักอาศัย ผสมผสานการใช้วัสดุอย่างกระเบื้องลายใบไม้ อิฐดินเผา และกระเบื้องซีเมนต์ ทำให้บรรยากาศในโครงการมีความรู้สึกของบ้านเก่า มีเอฟเฟ็กต์ของแสงและเงาที่อบอุ่นมากขึ้น

ในส่วนขององค์ประกอบการตกแต่งต่างๆ ทีมออกแบบได้นำเส้นสายรูปฟันปลา อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของสาขา Westville มาปรับใช้ ทั้งในส่วนของราวกันตกที่เป็นแพตเทิร์นเส้นเฉียงซ้ำๆ ไปจนถึงงานตกแต่งเพดานและผนังที่นำเอาวัสดุที่คนไทยคุ้นเคยกันดีมาลองจัดเรียงใหม่ ตามแนวทางการทำงานของ PHTAA ที่ว่า ‘Re-Appropriate’

ปิดท้ายด้วยช่วง Q&A ที่ถามสปีกเกอร์ทั้งสามท่านในประเด็นของการเลือกใช้วัสดุพื้นและผนังสำหรับงานประเภท commercial ประเดิมด้วยมุมมองจากคุณธนวรรธน์ “ส่วนตัวผมเน้นเรื่องความคงทนเป็นหลัก ให้มีการซ่อมบำรุงน้อยที่สุด สร้างต้นทุนให้ลูกค้าต่ำที่สุด ซึ่งงานประเภท commercial มันมีการสัญจรแน่นหนาอยู่แล้ว ถ้าเราเลือกวัสดุผิดขึ้นมา ก็จะเกิดความเสียหายกับฝั่งลูกค้าประมาณหนึ่ง เรื่องหน้าตาเป็นเรื่องรอง เพราะถ้าเราเลือกของที่ไม่คงทนพอ ถึงเวลาลูกค้าก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี”

ซึ่งตรงกับความเห็นของคุณจีรเวชที่ให้ความสำคัญความแข็งแรงคงทนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องทำความได้ง่าย และหากตัวเนื้อมีสีสันเดียวกับพื้นผิวแล้ว ก็จะยิ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนวัสดุ เพราะร่อยรอยความเสียหายอาจไม่ชัดเจนจนสังเกตได้

คำถามถัดมาว่าด้วยเรื่องของเทรนด์วัสดุและการปรับตัวของผู้ออกแบบ “ผมว่าวัสดุมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ย้อนกลับไปยุค 80s ที่เรามองว่าการใช้ไม้เป็นการตัดไม้ทำลายป่า ปัจจุบันมีงานวิจัยในต่างประเทศที่เอาไม้จริงกลับมาทำอาคารสูงแล้ว สุดท้ายเวลาจะเป็นแกนที่ตอบว่ามันถูกหรือผิด ผู้ออกแบบต้องคอยเรียนรู้ว่าวันหนึ่งสิ่งที่เราเคยรู้ มันอาจจะไม่ถูกก็ได้ พยายามอัปเดตวัสดุใหม่ๆ เพราะอาจมีวัสดุแปลกๆ ที่เปลี่ยนความเชื่อเราไปเลยก็ได้”

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

พรชัย รัตนเมธานนท์ ผู้บริหารจาก CASA ROCCA

นอกจากนี้ คุณพรชัย จาก CASA ROCCA ยังร่วมแชร์มุมมองจากฝั่งซับพลายเออร์ ในประเด็นของความยั่งยืนเพิ่มเติมด้วย “ผลิตภัณฑ์ของ CASA ROCCA มีถึงห้าหมวด แต่ทุกหมวดคำนึงถึงความทนทาน สวยงาม และราคาตอบโจทย์ เรามักสอบถามลูกค้าและดูตลาดเสมอว่ามีความต้องการอย่างไร และพยายามตอบความต้องการให้เหนือกว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้เสมอ อย่างประเด็นที่สำคัญที่สุดคือค่าดูแลรักษา ซึ่งเราเรียกว่า ‘low life-cycle cost’ ยกตัวอย่างกระเบื้องยางแบบเดิมๆ ถึงต้นทุนจะถูก แต่ขั้นตอนการลงแว็กส์แพงมาก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ของเราตอนนี้มีค่าดูแลรักษาต่ำทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องยางแบบม้วนของ Tarkett หรือกระเบื้องยางแบบแผ่น (LVT) ก็ไม่จำเป็นต้องลงแว็กส์ตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์”

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

และเข้าสู่คำถามสุดท้ายจากผู้ฟัง ที่อยากทราบว่าประเด็นเรื่องความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะที่พูดในงานวันนี้ คนทั่วไปหรือลูกค้ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ซึ่งคุณพลวิทย์ จาก PHTAA เป็นผู้อาสาตอบคำถามนี้ “ผมว่าแต่ละคนก็ให้ความหมายของคำว่า ‘ความยั่งยืน’ ต่างกันไป สิ่งที่ทำได้คือการทำความเข้าใจเรื่องวัสดุ การหยิบวัสดุมาใช้ การ upcycling ดีกว่า การใช้วัสดุที่มีอยู่แล้วทั่วไปแล้วเอามาประยุกต์ใช้ อย่างที่ PHTAA ทำมาตลอด มันก็ถือว่าเป็น sustainable design แบบหนึ่งที่ไม่ได้เพิ่มการผลิตวัสดุแต่อย่างใด มันก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบที่เราตอบลูกค้า”

Commercial Iconic Architecture Design For Sustainability by Casa Rocca

casarocca.co.th
facebook.com/casarocca

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *