MASS MODEL

AT THE EDGE OF UBONRATCHATHANI BYPASS, PAIROJE WONGSAWANGPANICH PROPOSED A HOUSE THAT DISPLAYS A STRIKING FUSION OF MODERN ARCHITECTURE AMONG LOCAL TRANQUILITY.

“One day in the summer of 2001, demands for a new residence were discussed by an expanding  family. The  discussion seemed to be heated as some members of the family saw the house in terms of symbolic thoughts, some mentioned a new atmosphere, activities, new forms.. The behavior was like a bunch of ropes that needed coherence..”, an excerpt of the statement in the brochure published to introduce, celebrate and explain the process of the making of this home. This is a  way that architecture can communicate with people. Especially, this bizarre Westernized architecture that one does not expect to find behind the PTT gas station at the end of the bypass in Ubonratchathani province.

Pairoje Wongsawangpanich, an architect of 13 degree design group, designed this house without projecting it’s visual look to begin with. Instead, he began with mater planning by creating a diagram relating to each member’s wakeup time and the position of morning light. The architect set up 4 living sections. The first section for the retired parents who wake up at five o’clock in the morning everyday, was placed in the east wing to prevent strong light in the west wing’s second floor which is reserved for a family with two children who wake up at eight o’clock to go to work. The height of the building of the parent’s section can block the light for the second and the third parts appropriately.

The linkage of the three sections is the forth which is a common space where every member can meet. This consists of a home theatre on the lower floor and a huge fitness room in the west wing of the upper floor. Pairoje knows that side is the hottest part so he brought the heavy activities here where other parts are protected from the heat. This scenario where all members’ needs are taken care of in a house is hardly seen in a big city.

Even though the stage stage of the thought mainly focused on the morning light, the next stage was about the possibilities during the day. A “U” shape plan was changed into a simple plan with a center court to reduce darkened areas and increase continuity and ventilation. During parties, private sections can be closed revealing only the guest foyer and the rear service area. Certainly, the center court plays an important part as the outdoor connector whose public area is big enough to host a number of guests.

During the working process, Pairoje discovered the reversal of natural light during day time and artificial light at night by making models. The rearrangement of void and positioning the lights forms the look of the house. During the day, the sun can shine into the center court and the opposite wing. So during the night, the position of the lighting is marked on the voids of the house where the natural comes through. The result is an incredible illumination which Pairoje calls “realm of light” in architecture. He explained, “The sequence of wake up time responding to the change of light can be presented in several approaches. The implementation for this house is by separating the building into two big wings. The east wing takes the light and covers the other until late morning, the realm of light begins to work which connects all parts of the house”.

Pairoje has had a diverse educational background. He graduated in Marketing from Thammasart University and studied B.A in Art at Milwaukee, then Interior Architecture at RMIT and finally he became an exchange student with SCI-ARC in California where he began to form practical thinking. Undoubtedly, this house is an aggressive as SCI-ARC’s spirit.

“Firstly, I wanted this house to be the most remarkable icon of Ubonratchathani, but finally I found that it could never compete with the PTT Gas Station. So I made it semi-hiding behind the pine line as a submission to the existing context. It’s like Robin Williams in the film: Mrs. Doubtfire..” Although this house is totally different from the rest of Ubonratchathani’s house, it is based on Thai traditional cluster houses in term of voids, ventilation and light. Its massive form in contrast provides a comfortable living space through the realm of light. Unfortunately, the local building contractors are not familiar with this type of custom design. Optimistically, Pairoje views that if they have more opportunities to practice this kind of design, they would show more progress. Just like himself, the architect really has learnt so many things. 

“วันหนึ่งในฤดูร้อนของปี พ.ศ.2544 เมื่อความต้องการบ้านพักอาศัยหลังใหม่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสนทนาภายในครอบครัวขยายครอบครัวหนึ่ง ก็ดูเหมือนจะยิ่งทำให้อุณหภูมิของฤดูร้อนในปีนั้นเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวี สมาชิกในครอบครัวบางคนมองบ้านในเชิงสัญลักษณ์แทนบางสิ่งบางอย่าง บางคนก็พูดถึงบรรยากาศที่ตัวเองอยากจะได้รับจากบ้านหลังใหม่ บางคนพูดถึงกิจกรรมที่อยากให้มีในบ้าน บางคนก็อยากจะเห็นบ้านในรูปแบบใหม่ๆ ขณะที่บางคนได้แต่หันซ้ายหันขวาแล้วก็ยิ้ม… พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนกับการขยุ้มเชือกเส้นเล็กๆ หลายเส้นไว้ด้วยกัน ซึ่งถ้าต้องการจะทำให้ใช้งานได้ดี คงจะต้องหาวิธีตีเกลียวจนกระทั่งกลายเป็นเชือกเส้นใหญ่ขึ้นมาเสียก่อน…”

ข้อเขียนส่วนหนึ่งในสูจิบัตรที่แจกในงานขึ้นบ้านใหม่เล่มเล็กๆ ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้อธิบายที่มาที่ไปตลอดจนกระบวนการสร้างงานของบ้านหลังใหม่นี้ให้ผู้มาเยือนได้เข้าใจ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้คนและงานสถาปัตยกรรมมีการสื่อสารกันมากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรูปทรงแปลกตาของงานสถาป้ตยกรรมตะวันตกสมัยใหม่ที่คงไม่มีใครคิดมาก่อนหรอกว่าจะมาโผล่อยู่บริเวณหลังปั๊มน้ำมัน ปตท. ริมถนนสายเลี่ยงเมืองหาดคูเดื่อ ในจังหวัดอุบลราชธานี

ในบริบทของเมืองใหญ่ บ้านสมัยใหม่สำหรับครอบครัวขยาย เป็นคำนิยามง่ายๆ ที่เห็นไม่บ่อยนัก ด้วยปัจจัยหลายหลากทั้งข้ออ้างในการทำงาน ข้อจำกัดของขนาดพื้นที่ แรงขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จมีอิทธิพลมากกว่าความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ความซับซ้อนของเนื้อเมืองเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดการแยกตัวออกไปตั้งครอบครัวใหม่ อย่างไรก็ดี สันชาตญาณแห่งความเป็นสัตว์สังคมคงจะยากที่จะแปรเปลี่ยนให้เป็นสัตว์โทน ปริมาณของสภาวะ lonely crowd หรือ “ฝูงชนผู้หงอยเหงา” มีเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน แต่สำหรับสังคมเมืองอุบลฯ​ ที่มีอัตราเร่งต่ำกว่าเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ โตเกียว หรือนิวยอร์ค คำว่าบ้านสมัยใหม่สำหรับครอบครัวขยายยังมีความเป็นไปได้สูงกว่าหลายเท่าตัวนัก เพราะแม้บริบทของเมืองจะเงียบสงบ แต่พลเมืองที่นี่ก็ไม่เคยหงอยเหงา บรรยากาศของครอบครัวขยายยังคงถักทอสายใยเหนียวแน่นยึดเหนี่ยวสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ใกล้ชิดกันอยู่เสมอ

ไพโรจน์ วงศ์สว่างพานิช สถาปนิกบริษัท 13 degree design group ออกแบบบ้านหลังนี้โดยมิได้คาดหวังว่ารูปร่างหน้าตาภายนอกของบ้านจะออกมาเป็นอย่างไร เขาเริ่มต้นจากการวางผังภายในบ้านเป็นอันดับแรก เป็นการวางผังภายในบ้านเป็นอันดับแรก เป็นการวางผังที่ได้จากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไดอะแกรมเวลาตื่นนอนของสมาชิกแต่ละคนในบ้าน กับตำแหน่งของแสงอาทิตย์ในตอนเช้า จนกลายเป็นตัวอาคารขึ้นมาอย่างที่เห็น เริ่มต้นด้วยการกำหนดส่วนพักอาศัยขึ้นมาสี่ส่วน ตัวบ้านส่วนแรกเป็นของพ่อแม่วัยเกษียณที่ตื่นตีห้าทุกวัน ถูกจัดวางไว้ทางทิศตะวันออกเพื่อบังแสงให้กับอาคารด้านทิศตะวันตกชั้นสองซึ่งเป็นของลูกที่มีครอบครัวแล้ว และมีหลานสองคนที่ต้องตื่นไปโรงเรียนตอนเจ็ดโมงเช้า ขณะที่ส่วนที่สามคือชั้นล่างซึ่งเป็นห้องของลูกอีกสองคนที่ต้องตื่นไปทำงานแปดโมงเช้าตามลำดับ ความสูงอาคารส่วนของพ่อแม่ส่วนแรกนั้นถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งที่จะบังแดดให้กับส่วนที่สองและสามได้พอดี

ส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อทั้งสามส่วนเข้าไว้ด้วยกันคือส่วนที่สี่ ซึ่งเป็นส่วนกิจกรรมที่จะทำให้ทุกคนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันในแต่ละวัน ประกอบด้วยส่วนโฮมเธียเตอร์ที่ชั้นล่าง และห้องออกกำลังกายขนาดใหญ่ที่ชั้นบน ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ไพโรจน์รู้ดีว่าด้านนี้เป็นด้านที่ร้อนที่สุดจึงจัดเอากิจกรรมที่คนในบ้านจะได้เหงื่อกันมาไว้ในส่วนที่รับแดดเต็มที่ และเป็นส่วนที่ช่วยกันความร้อนให้กับส่วนอาศัยสามส่วนแรกได้อย่างเหมาะเจาะ ภาพของสมาชิกภายในบ้านทั้งรุ่นพ่อแม่ ลูก และหลานได้ใช้เวลาด้วยกันอยู่ตลอดเวลา ในห้องดูหนัง ในห้องออกกำลัง หรือคอร์ทกลางบ้าน โดยที่ไม่ค่อยมีใครขลุกอยู่ในห้องตัวเองทั้งวัน คงไม่มีให้เห็นในเมืองใหญ่สักเท่าไรนัก

แม้ว่าขั้นตอนแรกในการคิดจะให้ความสำคัญกับแสงแดดในตอนเช้าเพียงอย่างเดียว แต่ในขั้นตอนต่อมาก็พิจารณาความเป็นไปได้ต่างๆ ในช่วงเวลาระหว่างวัน ทำให้มองเห็นความสำคัญของช่วงแสงในช่วงเวลานั้นขึ้น จากผังรูปตัวยูจึงถูกเปลี่ยนเป็นผังแบบมีคอร์ทกลางบ้าน ผลที่ได้นอกจากจะลดความทึบในมุมอับแล้ว ยังนำมาซึ่งความต่อเนื่องของมุมมองและการไหลเวียนของอากาศที่ดีไปพร้อมๆ กัน ช่วงเวลาที่มีงานเลี้ยงสังสรรค์ พื้นที่ส่วนตัวของแต่ละครอบครัวจะถูกปิดกั้น เหลือเพียงส่วนโถงรับแขกด้านหน้า ส่วนหน้า ส่วนบริการด้านหลัง และแน่นอนว่าคอร์ทกลางบ้านก็จะมีบทบาทอีกครั้งในฐานะพื้นที่กลางแจ้งที่เชื่อมส่วนทั้งสองดังกล่าวนั้นเข้าด้วยกัน และรวมเป็นพื้นที่ public ขนาดใหญ่พอสำหรับการรับรองแขกได้จำนวนหนึ่ง

ระหว่างขั้นตอนการทำงาน ไพโรจน์ค้นพบบทกลับของแสงธรรมชาติในตอนกลางวัน และแสงประดิษฐ์ในตอนกลางคืน จากการตัดโมเดล การเรียบเรียงตำแหน่งของช่องเปิดกลับไปกลับมาหลายๆ ครั้ง เพื่อหาตำแหน่งของการจัดแสงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้บ้านมีลักษณะอย่างที่เห็นในเวลากลางวัน แสงสว่างผ่านเข้าจากภายนอกผ่านเข้าไปยังส่วนคอร์ทกลาง และผ่านไปยังอาคารด้านที่อยู่ตรงข้ามกันได้ ดังนั้นในเวลากลางคืน ตำแหน่งของโคมไฟจึงถูกจัดวางตามตำแหน่งของช่องเปิดของบ้านที่เกิดจากการคำนึงถึงการนำเอาแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ ผลที่ได้ก็คือในเวลากลางคืน การเปิดโคมไฟแขวนเพดานเพียงดวงหรือสองดวง ก็จะให้ความสว่างมลังเมลืองไปทั่วทั้งบ้านขนาด 500 ตารางเมตรหลังนี้ ไพโรจน์เรียกผลที่ได้จากการทดลองนี้ว่า การชอนไชของแสง (realm of light) ในงานสถาปัตยกรรม เขาขยายความว่า “การเรียงลำดับเวลาการตื่นนอนของสมาชิกแต่ละคนให้สอดคล้องกับการรับแสงอาทิตย์ สามารถนำเสนอได้หลายวิธี ที่เลือกใช้ในบ้านหลังนี้คือการแยกอาคารเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ให้ส่วนด้านทิศตะวันออกรับแสงแดด และบังแสงแดดให้กับส่วนที่เหลือ จนเมื่อถึงยามสาย การชอนไชของแสงจะเริ่มทำงานส่งผลให้แต่ละส่วนของบ้านผลิรับประสานกันจนกระทั่งกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว” ไพโรจน์ได้อิทธิพลการคิด และการทำงานแบบนี้มาจากการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่มีความหลากหลาย เขาเรียนจบการตลาดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนที่จะเข้าเรียนศิลปะในระดับปริญญาตรีที่ Milwaukee เพื่อฝึกทักษาะในสิ่งที่เขาปรารถนาอยากจะเรียนรู้มากกว่าการจัดการเรื่องเงิน ตาติดมาด้วยการเข้าเรียนทางด้าน Interior Architecture ที่ RMIT และเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนกับ SCI-ARC ในแคลิฟอร์เนีย ที่ SCI-ARC นี่เองที่เขาเริ่มคิดงานด้วยวิธีการแบบ practicalism กระบวนการทำงานออกแบบบ้านหลังนี้ก็ใช้วิธีการที่เขาถนัด ไม่น่าแปลกใจที่เส้นสานยของบ้านหลังนี้จึงดูแข็งกร้าว และมีพลังแบบ SCI-ARC การศึกษา ประเมินผล และการบันทึกความเข้าใจในการออกแบบบ้านหลังนี้จึงมีรูปแบบเป็นสามมิติโดยตลอด ผ่านโมเดลขนาด 1:50 ข้อได้เปรียบก็คือนอกจากจะมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจมากกว่าแบบร่างสองมิติอย่างเห็นได้ชัด เราสามารถมองเห็นระบบความคิดที่ซับซ้อนแผ่ซ่านไปทั่วบ้านหลังนี้ แม้แต่เรื่องสีของบ้านที่เลือกสีเทามาใช้ ไม่ได้เป็นเพราะว่าต้องการพรางสีของบ้านจากสีฝุ่นของถนนสายเลี่ยงเมืองแต่อย่างใด หากแต่เป็นความต้องการขับสีขาวที่ทาภายในบ้านให้เปล่งออกมาชัดเจน ทำให้ภาพรวมของบ้านดูเบา และมีมิติที่น่าสนใจมากขึ้น

“ตอนแรกก็คิด.. คิดอยากจะออกแบบให้บ้านนี้มันโดดเด่นที่สุดในเมืองอุบลฯ เลย แต่พอเอาเข้าจริงๆ ก็รู้ว่ายังไงๆ บ้านหลังนี้ก็ไม่มีวันเด่นกว่าปั๊ม ปตท. ที่อยู่หน้าบ้านแน่ๆ ผมเลยเอาบ้านหลังนี้มาหลบให้มันผลุบๆ โผล่ๆ ออกมาจากแนวต้นสน ก็ต้องยอมนบนอบกับบริบทที่มีมาก่อนไปโดยปริยาย คล้ายกับโรบิน วิลเลี่ยมส์ในโปสเตอร์หนังเรื่อง Mrs. Doubtfire” ไพโรจน์อธิบายให้ฟังเมื่อถูกถามถึงความสัมพันธ์ของบ้านหลังนี้กับบริบทโดยรอบ แม้รูปแบบของบ้านหลังนี้จะมีความแตกต่างจากบ้านทุกหลังในเมืองอุบลฯ และมีรูปแบบที่ค่อนไปทางตะวันตก แต่เครื่องมือที่ถูกนำมาช่วยคิดนั้นก็ยังอยู่บนพื้นฐานของงานออกแบบบ้านพักอาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเรื่องแนวความคิดที่คล้ายเรือนหมู่ของเรือนไทยโบราณ ช่องเปิดที่เน้นเรื่องการระบายอากาศ และแสงสว่าง มวลและรูปทรงที่ดูทึบตันจากภายนอก แต่เมื่อเข้าไปสัมผัสกับพื้นที่ภายใน เราไม่รู้สึกถึงความทึบตันที่เห็นนั้นแม้แต่น้อย การชอนไชของแสงที่เกิดขึ้นจึงมิใช่ผลลัพธ์ในเชิงบวกเพียงข้อเดียวที่ได้จากกระบวนการทำงานทั้งหมดครั้งนี้ สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดของงานชิ้นนี้คงไม่พ้นเรื่องฝีมือของช่างท้องถิ่นที่เคยชินกับการสร้างบ้านแบบเดิมๆ รวมถึงคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง หรือแม้แต่บานประตูสเตนเลสแบบ custom type ที่ทำอย่างไรก็ไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งไพโรจน์เองก็มองในแง่ดีว่า ถ้าให้เวลาช่างฝึกฝนงานออกแบบซึ่งมีความแตกต่างจากที่ทำอยู่มากกว่านี้ ก็คงจะมีการพัฒนาขึ้นในงานชิ้นต่อๆ ไป ตัวเขาเองจะค่อยๆ ใช้สิ่งที่รำ่เรียนมาหล่อหลอมทุกอย่างให้ดีขึ้น

TEXT : PIRAK ANURAKYAWACHON
Originally published in art4d  No.94, June 2003. 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *