LOOKING THROUGH VERY THAI

ART4D HAD A CHANCE TO SIT DOWN WITH PHILIP CORNWEL-SMITH, THE AUTHOR OF BOTH THE EDITIONS OF VERY THAI THAT WAS RELEASED RESPECTIVELY IN 2005 AND 2013

INTERVIEW BY PIYAPONG BHUMICHITRA / KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN / PAPHOP KERDSUP
PORTRAIT & MAIN IMAGE: KETSIREE WONGWAN
PHOTOS: PHILIP CORNWEL-SMITH

(For English, please scroll down)

หลังจากที่ Very Thai ฉบับแรกถูกตีพิมพ์ในปี 2005 หนังสือเล่มนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อคนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไม่น้อย มันเปิดมุมมองให้ผู้คนได้มองสิ่งของในเมืองต่างไปจากเดิมและให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น ในภาพที่กว้างกว่านั้น คำว่า Very Thai กลายมาเป็นคำที่คนทั่วไปนำมาใช้เรียก สิ่งของ / กริยา / พื้นที่ประเภทหนึ่งที่ “ไทย” มากๆ เราคิดว่าคำว่า “ไทยมากๆ” มีความหมายเทาๆ เพราะมันไม่ได้หมายถึง “ความดีงาม” แบบเดียวกันกับความเป็นไทยที่รัฐสถาปนาขึ้นมา แต่มันก็ไม่ได้มีความหมายในแง่ลบแต่อย่างใด
 
art4d มีโอกาสได้สัมภาษณ์ Philip Cornwel-Smith ผู้เขียน Very Thai ทั้งสองฉบับที่ตีพิมพ์ในปี 2005 และ 2013 ถึงสิ่งที่เขาเห็นตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่การย้อนกลับไปพูดถึงบรรยากาศในกรุงเทพฯ ก่อนและหลังการตีพิมพ์ Very Thai ทั้งสองฉบับ ข้อสังเกตของเขาต่อคำว่า “ความเป็นไทย” ไปจนถึงตัวตนของเมืองกรุงเทพฯ เอง Cornwel-Smith  บอกกับ art4d ว่าเขายังไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไทย และยังคงรักษาระยะห่างระหว่างตัวเขาเองกับสังคมไทยไว้ เพื่อที่จะสังเกตสิ่งต่างๆ ในเมืองไทยได้ชัดเจนขึ้น
 
art4d: ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น อะไรคือไอเดียแรกเริ่มที่นำมาสู่การเกิดขึ้นของ Very Thai
 
Philip Cornwel-Smith: คงต้องเล่าย้อนกลับไปไกลพอสมควร ผมทำไกด์บุ๊คมาตั้งแต่ผมยังอยู่ที่ลอนดอน ตอนนั้นผมทำงานให้นิตยสาร Time Out ซึ่งถือว่าเป็นไกด์บุ๊คเล่มแรกของลอนดอนก็ว่าได้ สิ่งที่ทำให้ Time Out ต่างจากเล่มอื่นๆ ก็คือมันพูดถึงวัฒนธรรมป้อปของเมืองเป็นหลัก เมื่อผมเดินทางมาประเทศไทย ก็มีคนเสนองานให้ผมก่อตั้ง Bangkok Metro นิตยสารแนะนำอีเวนต์และสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งนั่นก็ราวๆ ปี 1994 เท่ากับปีนี้เป็นปีที่ 25 แล้วที่ผมอยู่ที่นี่
 
ระยะเวลา 25 ปีมันคงบอกอะไรบางอย่างได้ ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองจะต้องอาศัยอยู่ที่นี่ แต่ตั้งแต่แรกที่ผมมาอยู่ที่นี่ งานของผมก็คือการสำรวจวัฒนธรรมสมัยนิยมอย่างใกล้ชิด หลังจากจบงาน Bangkok Metro ผมกลับไปทำงานกับ Time Out อีกครั้งในโปรเจ็คต์ไกด์บุ๊คของกรุงเทพฯ ซึ่งก็เป็นการมองวัฒนธรรมป๊อปของไทย ค้นหาสิ่งที่นักท่องเที่ยวน่าจะสนใจ
 
ดังนั้นสิ่งที่ผมมองมาตลอดจึงไม่ใช่อะไรที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” ในมุมมองแบบไทย สำหรับคนภายนอกนั้น วัฒนธรรมป๊อปมันน่าสนใจกว่าวัฒนธรรมชั้นสูงอยู่แล้ว พูดแบบนี้ไปคนไทยอาจจะไม่ชอบใจ แต่มันเป็นความจริง ในบางครั้งสิ่งที่คนภายนอกชอบมากๆ เกี่ยวกับเมืองไทยก็คือ ความยืดหยุ่น อารมณ์ขัน และความไม่เป็นทางการ มิตรภาพที่ให้แก่กันอะไรประมาณนั้น หมายถึงคุณไม่ต้องมีพิธีรีตองกับมัน
 
art4d: อะไรคือความแตกต่างระหว่าง Very Thai ฉบับแรกและฉบับที่สอง
 
PCS: Very Thai ว่าด้วยเรื่องของวัฒนธรรมป๊อปที่สะท้อนรสนิยมสมัยนิยม ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นตัวหนังสือจะต้องอิงอยู่กับสิ่งที่เป็นจริง และเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอด Very Thai ฉบับที่สองตีพิมพ์ให้หลังฉบับแรกหลายปี ตอนนั้นผมมองว่าความเปลี่ยนแปลงมันมากพอที่จะทำหนังสือเล่มใหม่แล้ว ผมอยากทำเล่มที่สองและมันก็ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นบทสรุปของฉบับแรกด้วย ในเล่มที่สองนี้ผมเติมเนื้อหาเข้าไป 4 บท ซึ่งมันเป็นเนื้อหาส่วนที่มาขมวดว่าจริงๆ แล้ว Very Thai คืออะไรกันแน่ และมันมีผลต่อวัฒนธรรมอย่างไร
 
แทบจะทุกบทถูกแก้และเพิ่มเติมเนื้อหา ภาพถ่าย ให้ตรงกับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนั้นมากขึ้น มีอยู่บทหนึ่งที่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการตีพิมพ์เล่มแรก ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมทางการเมืองที่การแบ่งสีเสื้อส่งผลต่อวิธีการที่คนไทยมองประเทศของตัวเองเป็นอย่างมาก อีกเรื่องคือ ตอนตีพิมพ์ฉบับแรก digital device ไม่ได้มีบทบาทเท่าไหร่ แต่ตอนนี้มันเกี่ยวข้องกับทุกๆ อย่างไปแล้ว
 

บทต่อมาเกี่ยวกับการออกแบบแบบพื้นถิ่น (Vernacular Design) ซึ่งมันก็คือเฟอร์นิเจอร์ที่คุณเห็นคนใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน มันเป็นของที่ทำขึ้นอย่างง่ายๆ แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เดินออกไปตามถนน เราจะเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมายที่เป็นของทำมือที่ทำจากวัสดุที่หาได้แถวๆ นั้น อย่างเช่น ที่กั้นรถ ม้านั่ง หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดคิววินมอเตอร์ไซค์ ทุกอย่างมันยูนีคมากและแสดงออกถึงไหวพริบของคนทำ มันน่าสนใจมากที่เราได้เห็นของทำมือเหล่านี้ในกรุงเทพฯ ซึ่งหาดูไม่ได้จากที่ไหน
 

บทที่ชื่อ Thai Thai พูดถึงการที่วัฒนธรรมสมัยนิยมค่อยๆ กลายมาเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักไปในที่สุด ผมเห็นหลายๆ กรณีที่คนมักจะใช้คำว่า Very Thai ไว้เรียกของแปลกๆ ที่ถูกพูดถึงในหนังสือเล่มนี้ จนเริ่มจะรู้สึกว่าคำว่า Very Thai ได้กลายมาเป็นคำบรรยาย เป็นชื่อเรียก เป็นชื่อประเภท ที่คนเอาไว้ใช้เรียกสิ่งที่ต่างไปจากความเป็นไทยแบบประเพณี หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย แต่ผมต้องการให้น้ำหนักกับของที่เราเห็นกันจนชินตาในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะตามท้องถนน สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเมืองที่เป็นลูกผสมระหว่างความเป็นสมัยใหม่กับความเป็นประเพณี

หลังจากที่ตีพิมพ์ไปไม่กี่ปี ตัวหนังสือเองเริ่มมีอิทธิพลต่อความคิดของคนมากขึ้น ดีไซเนอร์หรือคนทำอีเวนต์หลายๆ คนใช้ Very Thai เป็นแหล่งหาไอเดีย มันเข้าไปอยู่ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย และมีอยู่หลายครั้งทีเดียวที่ผมไปเทศกาลออกแบบแล้วพบดีไซเนอร์ที่บอกว่าคอลเล็คชั่นของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้ ศิลปินบางคนนำหนังสือเล่มนี้ไปจัดแสดงร่วมกับงานศิลปะในนิทรรศการ หลายครั้งที่อะไรแบบนี้เกิดขึ้นโดยที่ผมเองไม่รู้ด้วยซ้ำ ผมเพิ่งมารู้ทีหลังว่ามีคนเอาหนังสือไปใช้ในฐานะวัตถุจัดแสดง

ในส่วนของบทสุดท้ายนั้นผมไม่ได้เป็นคนเขียน บทส่งท้ายนี้เขียนโดย ประชา สุวีรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบที่มีประสบการณ์ด้านงานโฆษณา ประชาสามารถพูดถึงหนังสือในมุมมองที่ผมพูดไม่ได้ นั่นคืออิทธิพลของหนังสือเล่มนี้ต่อวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในกรุงเทพฯ วิธีการที่คนอื่นใช้หนังสือเล่มนี้ และมุมมองของเขาต่อมัน มันจึงเป็นเหมือนฟีดแบ็คที่สะท้อนไปมา ตัวหนังสือเองก็ได้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
 
art4d: มุมมองของคุณเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างนับตั้งแต่ตอนที่ทำ Very Thai ฉบับแรกจนถึงตอนนี้
 
PCS: ช่วงเวลาที่ผมทำ Very Thai กรุงเทพฯ ในตอนนั้นเต็มไปด้วยพลังด้านบวก หลายๆ อย่างกำลังดำเนินไปในทิศทางที่ดี เพราะว่ามันมีพลังของความคิดสร้างสรรค์อยู่เต็มไปหมด ส่วนตัวผมคิดว่าเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือวิกฤติเศรษฐกิจปี 1997 มันเป็นหมุดหมายที่สำคัญเพราะความเฟื่องฟูในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ทำให้เราได้เห็นการล่มสลายของสิ่งดั้งเดิมมากมาย ทีนี้พอเศรษฐกิจล้มความอู้ฟู่ทุกอย่างจึงจำเป็นต้องหยุด ประเทศไม่มีกำลังในการนำเข้าสินค้า ทุกคนจึงหันกลับมามองสิ่งที่พวกเขามี นั่นคือ ทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ภายในประเทศ
 
อย่างเช่น กลุ่มสถาปนิกตกงานที่หันมาเปิดธุรกิจออกแบบโปรดักท์เป็นของตัวเอง แทนที่จะทำงานกับบริษัทออกแบบคอนโด นี่คือสถานการณ์ที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมออกแบบในไทย ซึ่งค่อยๆ เติบโตจนกลายมาเป็นวงการออกแบบที่น่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ
 
มันเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต้องปรับตัว เช่นเดียวกันกับทัศนคติที่คนมีต่อสมุนไพร ที่ดูจะได้รับความนิยมน้อยลงไปในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูเพราะการโปรโมทจากทางภาครัฐที่ส่งเสริมให้คนใช้การแพทย์แผนตะวันตก (เพราะป่ากำลังโดนทำลายลงอย่างต่อเนื่อง) ช่วงนั้นเองที่อุตสาหกรรมสปากลับมาบูมและทำให้แนวคิด Herbalism ในประเทศไทยกลายเป็นสินทรัพย์ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นการพลิกสถานการณ์เลยทีเดียว
 
Very Thai เกิดขึ้นมาบนแบคกราวน์ทางสังคมแบบนี้ ท่ามกลางทัศนคติที่เต็มไปด้วยพลังบวก และบรรยากาศของสังคมที่มีชีวิตชีวา หลังจากนั้นไม่นานก็อย่างที่เรารู้กันว่าเกิดความขัดแย้ง และการแบ่งแยกทางการเมืองที่ยังคงยืดยาวมาจนถึงทุกวันนี้ ทุกคนสัมผัสได้ว่าประเทศไทยมีความสุขน้อยลงหากเทียบกับตอนนั้น
 
 
ดังนั้น การที่จะเพิ่มจะลดเนื้อหาจึงจำเป็นต้องคิดให้รอบด้าน เพราะการคิดวิเคราะห์ และเขียนถึงวัฒนธรรมสมัยนิยมกลายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องระวังคำพูดมากขึ้น อย่างเช่นเรื่องชีวิตข้างถนนที่ตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีมุมมองทางด้านการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง
 
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ คือหนังสือของเราดูจะดึงดูดกลุ่มการเมืองทั้งสองฟากฝั่งด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป ในด้านหนึ่ง คงเป็นเพราะหนังสือเราโฟกัสไปที่คนธรรมดา และมองว่าสิ่งของรอบตัวเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ขณะเดียวกันมันคงมีบางอย่างที่ไปกระตุ้นความรู้สึกถวิลหาความเรียบง่ายของอดีตและเสน่ห์ของวันวาน
 
ตอนที่ผมเขียน Very Thai ผมต้องขีดเส้นเอาไว้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะพูดถึง อะไรคือสิ่งที่เราจะไม่พูดถึง ในส่วนของสิ่งที่ผมเลือกที่จะพูดถึงนั้น มันต้องไม่ใช่ประเพณีไทย แต่ก็ไม่ใช่อะไรที่ล้ำสมัยสุดๆ ด้วย ทุกอย่างที่อยู่ใน Very Thai จะต้องมีความเป็นลูกผสม เช่น ของท้องถิ่นที่ผ่านกระบวนการทำให้เป็นสมัยใหม่ หรือบางสิ่งที่ถูกนำเข้ามาจากภายนอกแล้วถูกทำให้กลายเป็นไทย ส่วนมากมันเป็นของที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี 2000 นั่นเป็นช่วงเวลาที่ผลิตของลูกผสมพวกนี้เป็นจำนวนมาก ผมคิดว่าสำหรับคนที่โหยหาอดีต เขาคงมองสิ่งนี้ว่าเป็นตัวแทนของความเป็นไทยที่มันบริสุทธิ์จริงๆ มันเป็นช่วงเวลาที่การพัฒนาเริ่มเกิดขึ้นจริงๆ จังๆ ในประเทศไทย สำหรับพวกเขาแล้วนั่นคือช่วงเวลาที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ผมดีใจที่คนมีมุมมองต่อหนังสือเล่มนี้หลากหลาย ผมต้องการจะเป็นกลาง อันที่จริงตอนแรกผมค่อนข้างกังวลว่าเนื้อหาในเล่มมันจะทำให้ใครไม่พอใจหรือไม่ แต่สิ่งนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเพราะปฏิกิริยาตอบรับนั้นเหมือนกับว่า พวกเขาพอใจที่ของหลายๆ อย่างในชีวิตประจำวันได้รับการพูดถึงโดยชาวต่างชาติมากกว่า
 
มันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกมากมายตั้งแต่ Very Thai ฉบับที่สองตีพิมพ์จนถึงตอนนี้ ผมคิดว่าคงจะต้องอัพเดทข้อมูลในหนังสือในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บางประเด็นที่เขียนไว้ตอนนั้นมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างตลกคาเฟ่ที่แต่ก่อนดังมาก ตอนนี้ผมอาจจะจำเป็นต้องพูดถึง “ตลก” ในรูปแบบใหม่ๆ เพราะตอนนี้เราเห็นรายการล้อเลียนอะไรแบบนี้ได้จากในทีวี ตลกคาเฟ่ตอนนี้มันเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรายการวาไรตี้ และภาพยนตร์ comedy
 
 
art4d: ในกรณีเพลงเพื่อชีวิตล่ะ ตอนนี้ก็ไม่เห็นแล้ว
 
PCS: เพลงเพื่อชีวิตยังไม่ได้หายไปเสียทีเดียว ผมเริ่มตระหนักแล้วว่ามันเป็นของของคนยุคสมัยหนึ่ง ตอนนี้ ‘คนเดือนตุลาฯ’ เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณเข้าไปทุกทีๆ และพวกเขาเริ่มไม่ได้ออกจากบ้านไปไหนแล้ว สิ่งนี้ทำให้ผมต้องคิดด้วยว่ามันควรจะมี section ที่พูดถึงสิ่งที่หายไปแล้วดีไหม
 
คุณรู้ไหมตอนที่ผมเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ที่ลอนดอน มีคนบอกว่า “ฉันหวังว่าคุณจะเก็บของพวกนี้เอาไว้นะเพราะมันจะต้องหายไปแน่นอน” มันเป็นวัฒนธรรมป๊อป เป็นรสนิยมของช่วงเวลา ที่จะต้องหายไปสักวันหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่มองไม่เห็นหรือไม่ได้ตระหนักก็คือ “การเปลี่ยนแปลง” นั้นเกิดขึ้นกับวัฒนธรรมและประเพณีเช่นกัน ทุกคนชอบคิดว่าวัฒนธรรมและประเพณีเป็นอะไรที่คงที่ แต่ความจริงไม่ใช่เลย ประเพณีที่บัญญัติโดยภาครัฐหลายๆ อย่างที่ดูเหมือนถูกแช่แข็งมาระยะเวลาหนึ่งนั้น ก่อนหน้านี้มันเคยเปลี่ยนแปลงมาก่อน และอีกไม่นานมันกำลังจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง สำหรับผมแล้ว ธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวพันอยู่กับหลักทางพุทธศาสนา นั่นคือทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลง
 
art4d: มีแผนจะทำฉบับที่สามเร็วๆ นี้หรือไม่
 
PCS: แน่นอนผมคิดว่าต้องทำ แต่อาจจะยังไม่ใช่ตอนนี้ มันควรจะต้องเป็นเวลาที่ทุกอย่างมันชัดเจนกว่านี้ ตอนที่ฝุ่นมันเลิกตลบแล้ว ตอนนี้ฝุ่นยังตลบอยู่ ผมเขียนฉบับที่สองในปี 2012 หลังจากที่ฝุ่นจากปี 2010 สงบลง ตอนนี้เหมือนกับว่าฝุ่นที่ว่านี้กำลังเริ่มก่อตัวขึ้นอีกครั้ง
 
art4d: โปรเจ็คต์หรืองานวิจัยอะไรที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้
 
PCS: ผมกำลังทำหนังสือเล่มใหม่ว่าด้วยเรื่องกรุงเทพฯ เน้นเฉพาะกรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองไทย สองสิ่งนี้ไม่เหมือนกัน ผมกำลังคิดกับคำถามว่า “อะไรคือความเป็นกรุงเทพฯ” ซึ่งไม่เหมือนกันกับความเป็นไทย ผมกำลังลงลึกถึงความแตกต่างนี้ในหลายๆ มิติ และมันเป็นหัวข้อที่ยากทีเดียว อีกสาเหตุที่ผมต้องใช้เวลากับมันก็คือ ตอนนี้สถานการณ์มันยังไม่นิ่ง เรายังไม่รู้ว่าต่อจากนี้มันจะเดินไปในทิศทางไหน
 
art4d: ช่วยยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่าง ความเป็นกรุงเทพฯ กับความเป็นไทย
 
PCS: คุณคงต้องไปอ่านเอาเอง (หัวเราะ) ผมตั้งชื่อมันว่า Very Bangkok คือสำหรับ Very Thai ต่อให้ผมเลือกอีก 65 หัวข้อ หนังสือมันก็จะยังคงเป็น Very Thai อยู่ดี แต่กับกรุงเทพฯ มันมีเรื่องบางเรื่องที่คุณต้องใส่เข้าไป กับกรุงเทพฯ. ผมมองไปที่วิธีการที่เมืองมันถูกสร้างขึ้น และวิธีการที่ผู้คนเดินทางอยู่ในเมืองนี้เนื้อหามันถูกนำเสนอเป็นลักษณะของธีม ไม่ใช่ตามประเภทหรือพื้นที่ มันไม่ใช่ไกด์บุ๊คน่ะ แต่เป็นหนังสือเกี่ยวกับว่าจริงๆ แล้วกรุงเทพฯ เป็นอย่างไรมากกว่า
 
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ใน art4d No.266 ‘Urban reflections’

Since the first edition of Very Thai was published in 2005, the book has become influential to a great number of people in the design industry. Perspectives have been broadened as many take a different look at everyday objects in the city they live in. The mundaneness has been given new values. But in an even bigger picture, the term ‘Very Thai’ has become a description that people use to express quintessential Thai characteristics of an objects, place or to define certain behaviors. To us.’very Thai’ is like a ‘grey area’, it doesn’t always denote the notion of ‘greatness’ conventionally defined by the state. At the same time, it doesn’t necessarily possess any meanings that are entirely ‘negative’.
 
art4d had a chance to sit down with Philip Cornwel-Smith, the author of both the editions of Very Thai that was released respectively in 2005 and 2013. We were interested in what he had witnessed throughout his 25 years of living in Thailand. Our conversation jumps from a recollection of Bangkok before the birth of Very Thai, to his observations on ‘Thainess all the way to the ‘self’ of the city such as Bangkok. Cornwel-Smith affirmatively states that even after all these years, he doesn’t consider himself Thai and still intends to maintain distance between Thai society and himself to preserve his view as an outside observer.
 
art4d: Back to the beginning of the project, how did you come up with the idea of Very Thai?
 
Philip Cornwel-Smith: It goes back a long way. I’ve been writing guidebooks since I was living in London in the 1980s. I worked for Time Out on that magazine’s very first London guidebook. Time Out guides were unusual, because they were guidebooks of the popular culture of that city. When I came to Thailand, I was offered the job to set up Bangkok’s first city-listings magazine Bangkok Metro. That was in March 1994, exactly 25 years ago.
 
It’s quite a thing, living 25 years in one place. When I came to Thailand, I had no expectations of living here. But from the very first moment in Bangkok, my job has been to look closely at the popular culture. Then, after Metro, I went back to work with Time Out, writing their guidebook to Bangkok. That also looked at the pop culture, from the perspective of it being something tourists would come here to see.
 
So, I’ve been looking at something that hadn’t been considered as ‘culture’ in Thai terms. To many visitors, frankly, the popular culture is more interesting than the high culture. That’s awkward for Thai people to hear, but it is very often true. Something foreigners really like about Thailand is this kind of very flexible, good humoured, fun, informal culture. The friendly manner of it all. You don’t have to dress up for it.
 
art4d: Can you elaborate the differences between the first edition and the second edition of Very Thai?
 

PCS: Very Thai is about popular culture, which reflects popular taste, and taste keeps changing. So, the book has to be realistic, and keeps evolving. The second edition came out several years after the first. I thought to myself, enough changes have happened that I wanted to do a new version. Also, there wasn’t really a conclusion to the first edition. The second edition has got 4 additional chapters, and they give a round-up of what Very Thai is really about, and the book’s effect on the culture itself.

Almost every chapter has parts rewritten or added, and certain pictures had to be updated. One of those extra chapters talks generally about what had happened since the first edition. The big protest movements hadn’t started yet, and those changed a lot about the way the country sees itself. Also, the digital devices had been minor before Very Thai first came out, but now they’re essential to everything.

Another chapter dealt with ‘vernacular design.’ That’s the everyday informal furniture, and improvised solutions to technical problems. On the street, you see an awful lot of things that are handmade, using all kinds of spare materials, found objects, whether it’s a parking barrier or bench, or some device to put the queue numbers for the motorcycle taxis. Each one is unique and often uses ingenuity in a witty way. It’s great being able to find handmade quality that you don’t get in many other world cities.
 
The chapter called ‘Thai Thai’ covered how popular culture has slowly become a recognised part of mainstream Thainess. Often I see Thais adopting the term ‘Very Thai’ as a label for the kind of messy stuff covered in the book. I suppose Very Thai became used a description, like a genre, because it’s not the same as a traditional Thainess. The book was deliberately not about traditional culture. I wanted to showcase the ordinary stuff of Thai life, mainly urban, which is a hybrid of modernity and tradition.
 
After a few years, the book itself became an influence. A lot of designers and event organisers use it as a sourcebook. Students study it in universities. At the design fair I met several designers who said that pieces of their collections were inspired by ideas in the book. A few artists have even used the book as an exhibit in exhibitions. This was sometimes done without my knowledge I only found out later that they had turned the book into an artefact.
 
The last chapter was not written by me. It’s an Afterword by Pracha Suweeranont, a design expert who came from an advertising background. He was able to talk in a way I can’t about the effect the book had on the creative culture within Bangkok, how other people were using and seeing the book. So it’s a feedback loop; the book has gone back to the culture.
 
art4d: How has your perspective changed from the first edition to now?
 
PCS: When I did Very Thai, Bangkok was in an optimistic mood. Lots of thing were suddenly going right. There was a huge surge of creativity. personally think the biggest thing that happened in Thailand really was the 1997 crash. That’s the most important moment, because the boom before that was destroying so many traditional things. When the crash happened, it was like an artificial pause. It had to stop. The country couldn’t afford all these imports; they had to look inside, to the resources within the country. Many unemployed architects, in particular, went to apply their skills to design to make their own businesses. Instead of working for condominium companies, they would create products themselves. This was basically the birth of the Thai design industry. Logistically, it went from a small to a very big, inspiring scene.
 
Lots of fields changed at that time. That’s when herbalism, which had been declining during the boom years, with the promotion of western medicine and the forests disappearing. However, suddenly, a new spa industry came up, and proved that Thai herbalism is an asset. It clearly reversed the decline.
 
Very Thai reflected that period of optimism, with a very upbeat feel to the book. It had something to do with what was in the air at the time, before the big political division. Thailand has since become noticeably less happy. It’s a very different perspective these days.
 
So, it became more delicate to do an update. Some general observations of popular culture topics suddenly became more difficult to talk about, like the streetlife, which now has a political flavour to it.
Surprisingly, the book seemed to appeal to both the red and yellow sides, if for different reasons. There was a focus on ordinary people, and the recognition of everyday things as culture. Meanwhile, there’s a lot of nostalgia for its simplicity and charm.
 
 
When Very Thai was written, I had to draw a line on what to include. I decided that there shouldn’t be anything that’s purely traditional, and nothing that was purely modern. Everything in Very Thai had to be a hybrid. Either it’s something indigenous that gets modernised, or it’s something from outside that comes in and gets ‘Thai-fied’. Most of the content originated between the Second World War to around 2000. That was the period of making hybrids. I think nostalgic people identify the things in this book with a more innocent early period in Thailand’s development. Maybe those were better years.
 
It is very gratifying that people can see different angles to the book. I aimed to be neutral and worried in the beginning whether I might offend people, but it didn’t occur. The reaction seems to be happy that these bits of their daily lives are being celebrated by a foreigner.
 

Since the second edition, there have been more changes. I think the book maybe due for an update in coming years. Some topics just no longer exist in the same way, like the comedy cafes. They were a big scene back then, but maybe I need to focus on newer forms of humour, since satire is on television now. Those comedy cafes shifted into the TV variety format and comedy films as well.

art4d: How about ‘Song for Life’. Now it’s gone, right?
 
PCS: Not quite gone. It became more obvious that it’s a generational thing. ‘October People’ are now reaching retirement age and aren’t going out as much. Well, I have to wonder, should there be a section in the book of things that have gone into the past?
 
You know, when I launched this book in London, somebody said ‘I hope you’re collecting all this stuff, because it’s going to disappear!’ It’s popular culture, it’s popular taste. It’s going to really change. But also, what people notice less is how traditional culture itself evolves. Some like to think of tradition as static, but of course it’s not. A lot of what is talked about as being officially traditional is actually one stage frozen in time. In reality, tradition was changing before it froze, and has been changing ever since too. For me, tradition adheres to the Buddhist principle rule: everything changes.
 
art4d: Do you plan to do a third edition in the year to come?
 
PCS: Oh, l’ll probably need to do one, but not quite yet. It must be when Thailand is a little bit clearer. The dust hasn’t settled yet. I did a second edition in 2012, after the dust in 2010 has settled. Now it’s all up in the air again.
 
art4d: Can you talk about the projects or current research you’ve been working on?
 
PCS: I’ve been working for several years on a new book, which is about Bangkok. Very specifically Bangkok, as opposed to Thailand. It’s not the same thing. I’m asking questions like: what is Bangkokness? In contrast to Thainess. I’m looking deeply into this difference in various dimensions-and that’s hard to wrap one’s head around, Another reason it takes a long time is that the situation has been so unstable, it’s difficult to know which direction it’s going.
 
art4d: Do you have any example between the Bangkokness and the Thainess?
 
PCS: Well, you might have to read the book to find out. (Laughs.) It’s called Very Bangkok. With Very Thai I could pick another 65 topics, and it could still feel similar, but with Bangkok, there are some topics I must cover. I look a lot at the way the city’s built, how people get around it. It’s thematic, and not really by genre or area. It’s not a guidebook. It’s really about why Bangkok is the way it is.
 

Read the full interview in art4d No.266 ‘Urban reflections’

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *