JENCHIEH HUNG

่Jenchieh HungJenchieh Hung | Photo: Ketsiree Wongwan

สนทนากับ เจอร์รี่ หง สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง HAS design and research ถึงมุมมองด้านการทำงานค้นคว้าวิจัยในการออกแบบโปรเจกต์ที่ผ่านมา และคำแนะนำต่อแนวทางการทำงานของสถาปนิกรุ่นเยาว์ในประเทศไทย

TEXT: CHIWIN LAOKETKIT
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

หากเปรียบชีวิตคนเป็นการเดินทาง บนถนนสายหนึ่งได้พัดพาให้สถาปนิกรุ่นใหม่ท่านนี้ผ่านวันและคืน ในฐานะผู้จัดการโครงการกับสถาปนิกชื่อดังของยุคอย่าง Kengo Kuma จนสามารถก่อร่างสร้างลายมือในอาชีพสถาปนิก เจอร์รี่ หง มีความฝันอยากเปลี่ยนแปลงวงการสถาปัตยกรรม จึงออกเดินทางค้นคว้า พร้อมกับพกพาความหลงใหล ความสนใจในภูมิหลังและความเป็นไปของสถาปัตยกรรมในเอเชีย 

่Jenchieh Hung

(ซ้ายไปขวา) เจอร์รี่ หง และ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี ตำแหน่งประธานจัดนิทรรศการและภัณฑารักษ์หลักของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ | Photo: ASA

เมื่อวันเวลาผ่านไป เขาได้ก่อตั้ง HAS design and research ร่วมกับกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ทำงานออกแบบทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน เราเคยรู้จักเจอร์รี่ในบทบาทศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยถงจี้ สถาปนิกที่ตั้งคำถามอย่างน่าสนใจต่อสถาปัตยกรรม และคิวเรเตอร์นิทรรศการในเทศกาลการออกแบบที่สำคัญ 

่Jenchieh Hung

เจอร์รี่ หง ในบทบาทศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยถงจี้ | Photo: Hung And Songkittipakdee Laboratory (HAS Lab)

่Jenchieh Hung

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี, ชนะ สัมพลัง และเจอร์รี่ หง ในนิทรรศการ Infinity Ground Architecture Exhibition ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) | Photo: ASA

Jenchieh Hung

เจอร์รี่ หง ประธานจัดนิทรรศการและภัณฑารักษ์หลักของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์สำหรับนิทรรศการสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแห่งเอเชีย | Photo: ASA

ในครั้งนี้ art4d มีโอกาสได้สนทนาถึงมุมมองด้านการทำงานค้นคว้าวิจัยในการออกแบบโปรเจกต์ที่ผ่านมา และคำแนะนำต่อแนวทางการทำงานของสถาปนิกรุ่นเยาว์ในประเทศไทย รวมถึงผู้ที่สนใจแนวโน้มและอิทธิพลที่มีต่อสถาปัตยกรรมในเอเชีย 

art4d: คุณคิดว่างานออกแบบของ HAS design and research แตกต่างจากบริษัทสถาปนิกแห่งอื่นๆ อย่างไรบ้าง

Jenchieh Hung: เมื่อ 4 ปีก่อนเราได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของ HAS design and research เป็นหนังสือชื่อ THE improvised: Phetkasem Artist Studio ที่พูดถึงการ improvise และการค้นคว้าเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ที่ชาวบ้านทำขี้นในหมู่บ้าน ออฟฟิศของเรามักจะพูดถึงคีย์เวิร์ดของสถาปัตยกรรมในเอเชียบ่อยๆ ซึ่งก็กลายมาเป็น 3 คำที่เป็นปรัชญาในการทำงานของเราด้วย 

่Jenchieh Hung่Jenchieh HungJenchieh HungJenchieh Hung
คำแรกคือการทำงานเฉพาะหน้า (Improvised) เราตัดสินใจตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้เพราะเห็นว่าที่จริงแล้วอาคารที่เราออกแบบหลายหลังมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ คำว่า improvise สำหรับเรายังเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องของย่านโดยรอบ ชาวเมืองหรือผู้คนในพื้นที่เองก็ใช้หลักการนี้บ่อยๆ ทำให้อาคารของพวกเขามีความยืดหยุ่นแบบยั่งยืน การปรับตัวนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สถาปัตยกรรมสามารถตอบสนองต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้คนที่อาศัยอยู่ในนั้นได้ 

Bangkok Phetkasem Village | Photo: Hung And Songkittipakdee (HAS)

คำที่ 2 คือการผลิต (Manufacture) ซึ่งจริงๆ เป็นคำที่มีความหมายเชิงอุตสาหกรรม แต่เรามองคำนี้ในแง่มุมของมนุษย์และธรรมชาติมากกว่า มนุษย์และธรรมชาติเป็นสองสิ่งที่ช่วยทำให้เมืองมีระบบนิเวศที่ดีได้ ขณะที่ในเมืองมีแต่อาคารคอนกรีต ถ้ามนุษย์ช่วยกันสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เมืองมีความรู้สึกเป็นมิตรมากขึ้น รวมถึงใกล้เคียงกับระบบนิเวศตามธรรมชาติมากขึ้นด้วย การมีธรรมชาติในเมืองไม่เพียงแต่ทำให้สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจ แต่ยังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกอีกด้วย ทั้งนี้ธรรมชาติในมุมมองของเรายังหมายรวมถึงธรรมชาติของผู้คน วัสดุ ไปจนถึงธรรมชาติที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเช่นกัน 

่Jenchieh Hung

Bangkok Floating Canopy | Photo: Hung And Songkittipakdee (HAS)

คำสุดท้ายคือกิ้งก่า (Chameleon) ถ้าเราลองสังเกตถนนบางสายดู ยกตัวอย่างนะ ตอนเช้าถนนสายนั้นอาจจะเป็นตลาด ซึ่งแผงลอยต่างๆ เคลื่อนย้ายได้หมดเลย เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นแทบทุกเมืองในเอเชีย เพราะเรามีพื้นที่เชิงพาณิชย์เยอะมาก (ตึกแถว) รวมถึงพวกร้านค้าปลีกต่างๆ พื้นที่สามารถเกิดความเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงกลางวันและกลางคืน เพราะมันมีศักยภาพที่แตกต่างกันทั้งสองช่วงเวลา เหมือนกิ้งก่าที่เปลี่ยนสีไปตามต้นไม้ที่เกาะไปกับสภาพแวดล้อมรอบๆ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเองก็เป็นแบบนั้น พวกเขาจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

่Jenchieh Hung

Shenzhen Gangbianfang Village | Photo: Hung And Songkittipakdee (HAS)

4 ปีต่อมาหลังตีพิมพ์หนังสือ เราก็เห็นว่าคำเหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับความยั่งยืน การสร้างระบบนิเวศ และความเป็นอยู่ที่ดีให้ผู้คนด้วย นั่นจึงเป็น 3 ปรัชญาของออฟฟิศที่ตั้งคำถามกับแต่ละงานที่เราทำว่า เราจะออกแบบสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ ยั่งยืน สร้างสมดุลทางนิเวศวิทยา และเอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ภายในป่าคอนกรีตที่สัมพันธ์ไปกับสภาพแวดล้อมในเมืองได้อย่างไร

่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung
art4d: คุณพัฒนางานออกแบบสถาปัตยกรรมด้วยการค้นคว้าวิจัยอยู่เสมอ อะไรทำให้คุณคิดว่าวิธีการค้นคว้าวิจัยเป็นวิธีการที่จำเป็นและเป็นแง่มุมที่สำคัญในการทำงานออกแบบได้

JH: เป็นคำถามที่ดีนะ ผมไม่เชื่อเรื่องการออกแบบภายในระยะเวลาสั้นๆ  คุณสามารถสร้างอาคารที่สมบูรณ์แบบได้ก็จริง แต่สถาปัตยกรรมหนึ่งใช้เวลาสร้างเป็น 10 เป็น 100 ปี โดยปกติสถาปนิกใช้เวลาอย่างมากก็ 1 ปีในการออกแบบ ดังนั้นเป็นเรื่องแน่อยู่แล้วที่จะมีข้อผิดพลาดมากมาย เราถึงได้ทุ่มเทเวลาให้การค้นคว้า เพื่อจะได้มองเห็นชีวิตหรือบริบทจริงๆ ของอาคาร 

่Jenchieh Hung

Architectural design of the Simple Art Museum | Photo: HAS design and research

สมมุติว่าต้องออกแบบพิพิธภัณฑ์ แต่คุณไม่รู้ว่าบริบทของพื้นที่เป็นอย่างไร ไม่มีข้อมูลว่าใครจะเป็นผู้ใช้งานอาคาร เราอยากให้คุณลองมองไปในเมือง ถ้าคุณได้เห็นสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้คนก็จะเข้าใจมากขึ้นว่า นี่ไง เมืองนี้พร้อมรับกิจกรรม 1 2 3 4 เมืองเป็นสถานที่ที่รวมหลากหลายวัฒนธรรมเอาไว้ การออกแบบพิพิธภัณฑ์นี้อาจจะต้องใหญ่ขึ้น มีฟังก์ชันมากขึ้น ซึ่งก็หมายถึงความยืดหยุ่นในการใช้งานและข้อที่ควรคำนึงถึงที่ตามมาด้วยเหมือนกัน

ผมคิดว่า ‘การสอน’ มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม การสอนคนอื่นทำให้เราได้ทบทวนถึงสถาปัตยกรรมอย่างลึกซึ้งขึ้น เราต้องหาเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงอยากให้นักศึกษาออกแบบอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างที่คุณรู้ ปกติหนึ่งเทอมอาจกินเวลาถึง 4 – 5 เดือน ซึ่งนานกว่าเวลาที่เราใช้คิดโปรเจกต์ธรรมดาๆ สักโปรเจกต์เสียอีก เรามีเวลาไตร่ตรองมากขึ้น ผมจึงคิดว่าการสอนในสตูดิโอมีความสำคัญมากครับ 

่Jenchieh Hung

InJoy Snow Hotel Bangkok | Photo: Panoramic Studio

Forest Villa | Photo: Fangfang Tian

โดยส่วนตัวแล้วผมชอบสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เรื่องนี้เองก็มีความสำคัญเหมือนกัน ผมเชื่อว่าสถาปัตยกรรมมีชีวิต เขาซ่อนความเป็นไปได้ในการเติบโต มีประสบการณ์และความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งสองอย่างหลังเป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ เป้าหมายหลักของเราจึงเป็นการสร้างประสบการณ์และความรู้สึกในสถาปัตยกรรม รูปร่างภายนอกไม่เคยเป็นประเด็นที่เรากังวล เราสนใจว่าจะสร้างสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรมากกว่าสุดท้ายแล้วสถาปัตยกรรมจะออกมาเป็นอย่างไร

่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung
art4d: ช่วยเล่าถึงโปรเจกต์ที่คุณใช้วิธีการค้นคว้าวิจัย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ให้ฟังหน่อยได้ไหม

JH: HAS design and research มีโครงการที่ชื่อว่า Simple Art Museum ที่เราใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างรวมเกือบ 3 ปี การออกแบบที่นี่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เพราะทำเลของอาคารตั้งอยู่นอกเมืองหลักในจีน เราจึงต้องสร้างบริบทใหม่ให้มันเพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น ไม่อย่างนั้นระยะห่างเกือบ 10 กิโลเมตรจากตัวเมืองจะกระตุ้นให้ผู้คนอยากมาได้ยากมาก

่Jenchieh Hung

Simple Art Museum | Photo: Fangfang Tian

่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung
ใน Simple Art Museum เราลองใช้องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมจีนมาปรับให้เข้ากับงานออกแบบเชิง สถาปัตยกรรมและสเปซของเรา ทุกครั้งการค้นคว้าของเราจะเกี่ยวข้องกับบริบทและเป็นตัวแทนในการสื่อสารเรื่องราวของผู้คนวิถีชีวิตในท้องถิ่น ในผลลัพธ์สุดท้ายเราจึงพยายามถ่ายทอดวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่ในอดีต รวมถึงประสบการณ์และความรู้สึกออกไปสู่ผู้คนให้ได้ครับ นี่คือเป้าหมายของเรา ไม่ใช่แค่กับสถาปัตยกรรมเท่านั้น

Wat Pho Thong Chedi and Garuda Museum | Photo: HAS design and research

่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung
นอกจากนี้เรายังออกแบบอาคารสำคัญทางศาสนา เช่น โครงการเจดีย์วัดโพธิ์ทองและพิพิธภัณฑ์ครุฑ ขณะที่อีกด้านหนึ่งเราก็ออกแบบบ้านที่มีความเป็นส่วนตัวสูง อย่าง Forest Villa ในประเทศจีน โปรเจกต์นี้ไม่มีบริบทใดๆ เราชอบรูปร่างและความไม่มีรูปร่าง แทนที่จะเรียกว่าการทดลอง ผมอยากจะบอกว่าเราสามารถสร้างพื้นที่รูปแบบใหม่ เพราะมีการออกแบบมากมายในหลายอาคาร แต่ตัวพื้นที่ก็แข็งแกร่งมาก ทรงพลังมาก ให้ความรู้สึกเป็นกลางที่ผู้คนเข้ามา 

่Jenchieh Hung

Forest Villa | Photo: Fangfang Tian

Forest Villa | Photo: Fangfang Tian

ทำให้นึกถึงโครงการ Ronchamp ที่ออกแบบโดย Le Corbusier หรืออาคารสถาปัตยกรรมใดๆ ที่ออกแบบโดย Louis Kahn และ Mies van der Rohe คุณจะรู้สึกได้ถึงความเป็นกลาง ที่นั่นมีจิตวิญญาณที่แข็งแกร่งมาก คุณสามารถทำให้ตัวเองมีพลัง เมื่อมีพลังคนก็จะอยากจะทำอะไรสักอย่าง พวกเขาจะต้องการทำบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้โลกของเราดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้นและเมืองที่ดีขึ้น  

art4d: คุณได้ประสบการณ์อะไรบ้างจากการเข้าร่วมงาน Guangzhou Design Week 2024 และมีสิ่งที่คาดหวังจากการได้รับรางวัลในครั้งนี้ไหม ?

Jenchieh: เมื่อเข้าร่วมการประกวดรางวัลการออกแบบระดับนานาชาติ สำหรับผมรู้สึกว่ารางวัลนั้นไม่สำคัญแต่สิ่งสำคัญคือ คุณสามารถเห็นคนที่มีความสามารถและพรสวรรค์ในการออกแบบจำนวนมากที่สามารถจุดไฟความกระตือรือร้นให้กับคุณ เราจะเห็นผู้คนมากมาย ทั้งดีไซเนอร์และสถาปนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก พวกเขามีวิธีการอธิบายผลงานการออกแบบที่มีเอกลักษณ์และเราจะได้รับประสบการณ์จากผู้อื่นมากขึ้นจากสิ่งนี้

่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung
ขณะเดียวกัน ผมคิดว่าผู้คนสัมผัสสถาปัตยกรรมน้อยลง เราจึงควรเรียนรู้จากอดีต เมื่อพูดถึงสถาปนิกชื่อดังอย่าง Le Corbusier, Louis Kahn, Mies van der Rohe ผู้คนใส่ใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของพวกเขา และสถาปัตยกรรมของพวกเขาว่าแข็งแกร่งแค่ไหน ไม่มีใครสนใจรางวัลของ Le Corbusier ผมรู้สึกว่าเป็นเพราะสื่อ คนเลยเริ่มเน้นที่รางวัล ไม่ใช่ตัวสถาปัตยกรรมเอง ผมจึงคิดว่ารางวัลดี รางวัลต่างๆ สนับสนุนให้สถาปนิกทำงานที่ดี แต่ในความเป็นจริงทำไมเราควรให้รางวัล เพราะคุณควรสร้างสถาปัตยกรรมที่ดี และถ้ามันดีบางคนหรือบางองค์กรก็ให้รางวัลคุณ แต่ถ้าไม่ได้รับรางวัลก็ไม่เป็นไร เพราะคุณเป็นสถาปนิก เราออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดี เราออกแบบเพื่อทำให้ชุมชนและเมืองของเราดีขึ้นไม่ใช่เพื่อรางวัล รางวัลเป็นสิ่งที่ดีแต่รางวัลควรเป็นการส่งเสริมให้สถาปนิกพัฒนา แต่ผมขอเน้นย้ำว่าเราต้องให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมมากขึ้น 

่Jenchieh Hung

เจอร์รี่ หง ขณะหารือรายละเอียดโปรเจกต์ในประเทศต่างๆ | Photo: Hung And Songkittipakdee (HAS)

่Jenchieh Hung

เจอร์รี่ หง และ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี เชื่อว่าสถาปัตยกรรมเป็นวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตของชีวิต | Photo: HAS design and research

art4d: หากคุณต้องแนะนำสถาปนิกรุ่นเยาว์ในประเทศไทยเกี่ยวกับการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมในแถบเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณจะแนะนำอะไรบ้าง

JH: จริงๆ แล้ว ผมเรียนรู้มากมายจากการทำงานกับชาวญี่ปุ่นและชาวจีน ในช่วงแรกผมทำงานให้กับบริษัทสถาปนิกชาวญี่ปุ่น Kengo Kuma พวกเขาฉลาดมาก และเข้มงวดมากในเรื่องรายละเอียดของวัสดุและพื้นที่ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงคืน พวกเขาทำงานหนักเพื่อต้องการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง และต้องการทำมันให้ดีที่สุด นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้จากการทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น

ขณะเดียวกันสิ่งที่เรียนรู้จากการทำงานในประเทศจีนก็ต่างไป สถาปนิกจีนกระตือรือร้นมาก มีความทะเยอทะยาน และมีแรงขับเคลื่อนสูง ส่วนใหญ่มาจากปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ หรือกวางโจว พวกเขามักจะไปศึกษาต่อต่างประเทศเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และกลับมาที่จีนพร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศของตน เขาไม่ได้ต้องการเป็นที่หนึ่งแค่ในจีนเท่านั้น แต่ต้องการเป็นที่หนึ่งในระดับโลก พวกเขาขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลซึ่งมุ่งหวังที่จะยกระดับผลงานของตนในเวทีโลก นี่คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากชาวจีน: พลังงาน ความทะเยอทะยาน และวิสัยทัศน์ที่กล้าหาญสำหรับอนาคต

ผมรู้สึกเห็นใจสถาปนิกรุ่นใหม่และนักศึกษา เมื่อคุณเห็นว่าเมืองส่วนใหญ่สร้างเสร็จไปประมาณ 90% แล้ว เรายังมีพื้นที่สร้างเพียง 10% เท่านั้นเอง

่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung่Jenchieh Hung
ผมขอแนะนำว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งใจทำงานให้ดีที่สุดเหมือนที่ชาวญี่ปุ่นทำ พยายามสร้างความเป็นเลิศในทุกสิ่งที่คุณทำ หากคุณรู้สึกว่าคุณได้บรรลุสิ่งนี้แล้วขั้นตอนถัดไปก็คือการตั้งเป้าหมายในวิสัยทัศน์ที่ใหญ่ขึ้นเหมือนที่ชาวจีนทำ คิดถึงวิธีที่คุณจะสร้างสิ่งที่มีแรงกระเพื่อมในระดับโลก บางทีคุณอาจจะเก่งที่สุดในประเทศไทย แต่ถ้าคุณเทียบกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือนานาชาติ คุณจะวางตัวเองอย่างไรในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อคุณอายุยังน้อยให้พยายามทำสิ่งที่ไม่เหมือนใคร พยายามทำสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น เมื่ออายุมากขึ้นคุณจะรู้สึกว่าไม่สามารถทำบางสิ่งได้เพราะสิ่งนั้นมีความเสี่ยง แต่ตอนที่อายุยังน้อย ถึงล้มเหลวก็ไม่เป็นไรเพราะว่ายังเด็กอยู่

สุดท้ายนี้ อย่าลืมที่จะผลักดันตัวเองให้เป็นที่สุดในสิ่งหนึ่งสิ่งใด มุ่งมั่นในการฝึกฝนทักษะหนึ่งให้เชี่ยวชาญ และตั้งเป้าที่จะเป็นดีที่สุดของโลกในด้านนั้น หากคุณสามารถยึดหลักการ 3 ข้อนี้ไว้ ข้อแรก ทำให้ดีที่สุด ข้อที่ 2 ตั้งเป้าหมายในวิสัยทัศน์ที่ใหญ่ขึ้น และข้อที่ 3 พยายามทำให้แตกต่าง ผมเชื่อว่าไม่เพียงแต่เส้นทางอาชีพสถาปัตยกรรมของคุณจะเจริญรุ่งเรือง แต่ชีวิตทั้งหมดของคุณจะได้รับความหมายและความสมบูรณ์จากการเดินทางนี้เช่นกัน  

่Jenchieh Hung

(ซ้ายไปขวา) กุลธิดา ทรงกิตติภักดี, เจอร์รี่ หง ผู้ก่อตั้ง HAS design and research | Photo: Ketsiree Wongwan

hasdesignandresearch.com
facebook.com/hasdesignandresearch

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *