Fameline เปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘Key Roles of Manufacturers and Architects in Sustainable Architecture’ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืนให้สังคม
TEXT: CHIWIN LAOKETKIT
PHOTO: WORAPAS DUSADEEWIJAI
(For English, press here)
Fameline บริษัทผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคาร ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งานและการพัฒนาในอุตสาหกรรมวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้กับสังคม โดยทาง Fameline ได้จัดงาน FAMELINE INNO TALK 2024: ARCHTEXTURE & SUSTAINABILITY ในหัวข้อ ‘Key Roles of Manufacturers and Architects in Sustainable Architecture’ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ในงานเสวนาครั้งนี้ Fameline ได้เชิญสถาปนิก นักออกแบบ รวมถึงผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างชั้นนำทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศอย่าง Beckers ผู้นำระดับโลกด้านสีเคลือบคอยล์และสีอุตสาหกรรม ด้วยประสบการณ์กว่า 150 ปี มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนและ Nichiha ผู้ผลิตแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ตอบโจทย์งานสถาปัตยกรรมที่ต้องการความสวยงาม พร้อมส่งเสริมความยั่งยืนด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาเล่าประสบการณ์การทำงานออกแบบเพื่อความยั่งยืนของโลก
งานเริ่มต้นขึ้นในช่วงค่ำ ที่มีวงเสวนานำเสนอประสบการณ์และแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟัง เริ่มจาก วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล จากบริษัท พี 49 ดีไซน์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ซึ่งได้บอกเล่าประสบการณ์สำหรับนักออกแบบตกแต่งภายในที่ต้องปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อดูแลโลก ตัวอย่างหนึ่งที่วิภาวดีหยิบยกมาพูดถึงคือ การใช้วัสดุในท้องถิ่น เพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่งจากระยะไกล นอกจากนี้วิภาวดียังเล่าเสริมถึงเรื่องราวจากการทำงานออกแบบในต่างประเทศที่ริเริ่มใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นและสามารถรีไซเคิลได้ในโปรเจกต์โรงแรม Alila Jabal Akhdar ประเทศ Oman ด้วยวัสดุในท้องถิ่นอย่างก้อนหินนำมากรุเรียงกันภายในอาคาร พร้อมทั้งนำสตอรี่ของดอกกุหลาบที่มีความนิยมปลูกเพื่อการผลิตน้ำหอมในท้องถิ่นแถบนั้นเป็นไอเดียในการออกแบบ
ในขณะที่บัญญัติ วิจิตรประไพ กรรมการผู้จัดการบริษัท เฟมไลน์ โปรดักส์ จำกัด ได้พูดถึงการก่อสร้างในปัจจุบันที่มีส่วนในการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศเป็นแรงกระตุ้นในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน บัญญัติจึงเสนอแนวทางการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการผลิตวัสดุก่อสร้างที่สามารถลดปริมาณการผลิตก๊าซกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแผนจะเป็นผู้นำด้านการลดค่าคาร์บอนฯ ที่มีทีมค้นคว้าวิจัยวัสดุเพื่อความยั่งยืนและการรีไซเคิลวัสดุออกมาสู่สายตานักออกแบบในวันงาน เช่น กระจกโซลาร์ตกแต่งอาคาร PV Glass, แผ่นคอมโพสิตไส้กลางรังผึ้ง Aluminium Honeycomb Panel (AHP), แผ่นผนังตกแต่ง Fameline Nichina และฝ้าดูดซับเสียง Absorb+ Ceiling เป็นต้น
ปิดท้ายด้วยประภากร วทานยกุล ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด ที่ได้นำถุง tax free จากสนามบินในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นของรีไซเคิลจากพลาสติก PE 70 % มาแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างถึงวิธีการปรับตัวในต่างประเทศ พร้อมแนะนำนักออกแบบและสถาปนิกว่าในประเด็นเรื่องความยั่งยืนและการลดการใช้พลังงาน ทางเลือกหนึ่งของสถาปนิกคือการคำนึงถึงพื้นที่ตั้งแต่การเลือกที่ตั้งของอาคาร พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบอาคาร HUB 40 9 ที่ตอบโจทย์การใช้พลังงานน้อยที่สุดในจุดที่ต้องการการใช้ความเย็น และเลือกพื้นที่บริเวณส่วนใหญ่ที่สามารถหลบร้อนด้วยการมีเปลือกอาคารได้อีกด้วย