มารู้จักกับอาคารหลังใหม่ของ ‘หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน’ ที่ออกแบบโดย design qua ซึ่งเชื่อมโยงตัวตนในอดีตและปัจจุบันของหอศิลป์ พร้อมต้อนรับผู้คนด้วยท่าทีอันเป็นมิตร
หมวดหมู่: MAGAZINE
GOLEM 2022 – UNCANNY
ในนิทรรศการ GOLEM 2022 – Uncanny เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมลทดลองสร้างรูปจำลองมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดจากชิ้นส่วนของสิ่งชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ ลองดูกันว่าราคาที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต้องจ่ายเพื่อความปรารถนาอันไร้ที่สิ้นสุดของมนุษย์นั้นมีเท่าไหนกัน
DUSIT RESIDENCES / PART2: ARCHITECTURE
ต่อเนื่องจากในบทความ Dusit Residences / Part 1 ที่บอกเล่าถึงเนื้อการออกแบบภายในของโครงการ Dusit Residences กันไปแล้ว คราวนี้ลองไปพิจารณากันการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมที่ได้ทีมสถาปนิกอย่าง A49 และ OMA มาร่วมกันถ่ายทอดความเป็นสากลและความเป็นไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ
WARUT WIMOLKUNARAK
ไหนๆ art4d ได้ไปร่วมลิ้มรสอาหารและดูการแสดงของงาน 2046: The Greater Exodus แล้ว เราเลยถือโอกาสไปคุยสั้นๆ กับหัวเรือใหญ่ของงานอย่าง วรุตม์ วิมลคุณารักษ์ เสียเลยว่างานนี้มีที่มาอย่างไร
NENDO SEES KYOTO
MUSEUM OF POPULAR HISTORY
art4d พูดคุยกับ อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองนอกประวัติศาสตร์กระแสหลัก ผ่านการ ‘เก็บ’ ข้าวของเครื่องใช้ที่ดูธรรมดา หากแต่บรรจุไว้ด้วยเรื่องราวการต่อสู้ของคนธรรมดา
THE DESIGN CAMP 2022
รับชมผลงานของผู้ชนะจากทั้ง 4 หัวข้อในงานประกวด The Design Camp 2022 โดยความร่วมมือระหว่าง The American Hardwood Export Council (AHEC) และ HDII Jakarta ภายใต้โจทย์หลักคือการสร้างสรรค์งานออกแบบจากไม้ American Red Oak
PHOTO ESSAY : 365OHMANAWAT
TEXT & PHOTO: ANAWAT PETCHUDOMSINSUK
(For English, press here)
ความรู้สึกที่ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เริ่มต้นทำสิ่งไหนก็มักหยุดความพยายามภายในไม่กี่วัน คือจุดกำเนิดของโปรเจค 365ohmanawat เป็นการถ่ายภาพ Still Life วันละ 1 ภาพทุกวันเป็นเวลา 365 วัน เพื่อพิสูจน์ความต่อเนื่องในการลงมือทำอะไรสักอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน โดยใช้ความถนัดจากวิชาชีพช่างภาพอาหารที่ทำอยู่สร้างผลงานที่ใช้ไอเดียและเทคนิคการถ่ายภาพให้แตกต่างจากปกติที่เคยทำ
เนื่องจากงานปกติที่ทำคือการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาทั้งสินค้าและอาหาร ซึ่งมักโดนบิดเบือนความจริงเพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบ พอนานวันก็เกิดเป็นความเบื่อในงาน ทำให้อยากลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำหรือสิ่งที่แตกต่างจากที่เห็นได้โดยทั่วไป ภาพบางภาพจึงอาจสร้างความรู้สึกกระอักกระอ่วนให้กับผู้ชม ที่ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามกับความต้องการในงานโฆษณาปกติ
และเพราะต้องการเปิดโอกาสให้ได้ลองทำ จึงไม่มีการตั้งข้อจำกัดทางเนื้อหาและเทคนิค ภาพในโปรเจคนี้จึงมีความหลากหลายสูง บางภาพอาจเกิดจากความไม่พอใจในสังคมบางเรื่อง, สิ่งของในชีวิตประจำวันผสมกับอาหารที่หาได้ทั่วไป หรืออาจจะแค่อยากลองฝึกเทคนิคที่พบเห็นในสื่อที่เราไม่เคยทำมาก่อน
_____________
อนวัช เพชรอุดมสินสุข (Anawat Petchudomsinsuk) ช่างภาพอาหาร Freelance ผู้รักใน Meme และความกวนประสาท
PERCEPTION OF EMPTINESS
กุลธิดา ทรงกิตติภักดี จาก HAS design and research มองความว่างเปล่าที่ปรากฏบนวัตถุและพื้นที่ในสถาปัตยกรรม ในฐานะเครื่องมือเพื่อสร้างการรับรู้ที่ไร้ขอบเขต น่าค้นหา และเป็นอนันต์
DIÊN KHANH HOUSE
Diên Khanh House โดย 6717 Studio แสดงให้เห็นถึงวิธีการจัดการกับพื้นที่สีเขียวและแสงธรรมชาติในอาคารแบบ ‘Tube House’ อาคารที่มีพื้นที่จำกัดซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเวียดนาม