BANGKOK HANDMADE TRANSIT

ONE OF THE THINGS THAT INHABITANTS OF BANGKOK FIND TO BE THE MOST FRUSTRATING AND TIRESOME IS THE CAPITAL CITY’S PERPETUAL TRANSPORTATION PROBLEMS

From the disastrous urban planning that goes back as far as the early stage of the city’s development to the mass transportation systems that never seem to fully serve people’s living conditions and the horrific traffic dilemma, these factors alone are enough to make one feel so pessimistic and hopeless.

Nevertheless, what Bangkok Handmade Transit, a book made successful via a crowdfunding campaign that has Yanyong Boonlong as its editor, is able to do and deserves to be admired for is the way in which it opens new facets to the local and schematically developed formats and styles of Bangkok’s transportation and commuting systems. Conceived in various shapes and forms ranging from motorcycle taxis and express boats to mini fourwheeler buses, three-wheeler tuk tuks and public buses as well as small-scale commercial means of transportation including mini trucks selling cheap food (known as Phoom Poung) or loaded carts in the Phatpong market, the publication presents the city’s transportation stories as a network of interwoven relationships. Interviews with service providers themselves and those working at operational levels are included in the book, but what we found to be the most interesting section was that which features statistics, numbers and explanations of each mode of transportation’s own inventive character.

เรื่องที่กวนใจชีวิตคนกรุงเทพฯ มากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องการเดินทางคมนาคม เพราะไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมืองที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น ระบบขนส่งมวลชนที่ไม่เคยสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน หรือการบริหารการจราจรที่ดูเหมือนไม่มีใครแก้ไขได้ ทั้งหมดนี้ทำให้เราอาจมีความรู้สึกด้านลบกับเรื่องของการขนส่งจนไม่เคยคิดจะศึกษามันอย่างจริงจัง

แต่ใน Bangkok Handmade Transit หนังสือที่เกิดขึ้นจากการระดมทุนสาธารณะและได้ ยรรยง บุญ-หลง มารับหน้าที่บรรณาธิการ กลับสามารถเปิดมุมมองใหม่ๆ ต่อรูปแบบของการขนส่งและคมนาคมที่ถูกพัฒนาขึ้นแบบบ้านๆ โดยชาวกรุงเทพฯ ได้อย่างน่าชื่นชม ไม่ว่าจะเป็นพาหนะเพื่อขนส่งคนทั้งทางบกและทางน้ำ เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เรือด่วนเจ้าพระยา เรือคลองแสนแสบ รถสี่ล้อเล็ก สามล้อถีบ รถเมล์ จนถึงการขนส่งเพื่อการค้าในสเกลเล็กอย่าง รถกระบะขายกับข้าว (ที่มีชื่อเล่นว่า รถพุ่มพวง) และ รถเข็นขนของในตลาดพัฒน์พงษ์ โดยเป็นการนำเสนอเรื่องราวของการขนส่งแต่ละชนิดผ่านการเล่าเรื่องที่ครอบคลุมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ธุรกิจ สังคม การออกแบบเมือง และ ความสัมพันธ์ของการขนส่งในทุกสิ่งที่ว่ามา ผ่านการสัมภาษณ์บุคคลที่เป็นผู้ให้บริการขนส่งประเภทนั้นๆ ทั้งในระดับเจ้าของกิจการ จนถึงระดับปฏิบัติการ แต่โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าความน่าสนใจที่สุดของหนังสืออยู่ตรงช่วงท้ายเล่มที่เป็นเรื่องของข้อมูลตัวเลขและสถิติ ตามด้วยการอธิบายความเป็นนวัตกรรมของการขนส่งแต่ละชนิด น่าเสียดายที่เนื้อหาช่วงนี้มีปริมาณน้อยไปหน่อย อย่างไรก็ตาม การเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่มีชีวิตในระบบอันยุ่งเหยิงนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำาความเข้าใจเมืองกรุงเทพฯ และจุดประกายให้เกิดการศึกษาต่อยอดในประเด็นนี้จากผู้สนใจหลากหลายวงการได้อีกมากมาย

 

TEXT: WEE VIRAPORN
PHOTO: KETSIREE WONGWAN
afterword.co

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *