THE GRAPHIC DESIGNER WHO DRESSES IN HER TEXTILES srinlim
As a graduate of Bangkok University’s School of Fine and Applied Art, Sarinya Limthongtip planned to pursue her studies and search for new possible creative processes that go beyond the two-dimensional boundaries of graphic design, which is her area of expertise. With encouragement from Nontawat Charoenchasri of ‘DUCTSTORE who had been pushing her, then a third year student, to experiment further with her design interests in textiles, Limthongtip finally decided that her post-graduate studies would be in Textile Design at Chelsea College of Arts, University of the Arts London. It was during these post-grad years that she discovered that, while textiles and graphics have their own nature when it comes to the processes of how they are created, both also have ‘the in-between,’ which is basically the beginning stage of a textile piece where her skills as a graphic designer could be fully incorporated. The images of Srinlim’s products and their idiosyncratic character became clearer in our minds when we heard her talk about the creative process behind her works whether it be the ‘Likay’ collection where printed satin fabrics of vibrant gemstone patterns are used in the making of a wonderful array of home-decoration items or the sequined textile printed over with another layer of graphic patterning. Limthongtip considers herself a graphic designer rather than a textile designer for, while the latter is the image behind which many people see her, she often “begins and works her way through the developmental process with graphics.”
After receiving her master’s degree, Limthongtip came back to Thailand to work for Geo Décor as a product designer. The experience opened her up to the reality of the production and commercial aspects of design. It was a time when she learned the compromise that often must be made between design concepts and manufacturing limitations, including those imposed by the business side of the industry. In 2009, the designer participated in the Talent Thai project organized by the Ministry of Commerce’s Department of International Trade Promotion. This marked the beginning of her own studio, Srinlim, where her design products are created and distributed under her own official brand. Most of her inspirations pursued between 2009 and 2011 came from nature and natural theories, which were translated into beautiful arrays of printed textiles where animals and plants are the principle elements of the visually striking graphic patterns. She explained that the image of the brand in its early days was “colorful, friendly and lively.” Limthongtip then picked up on Thailand’s vernacular, contemporary and local cultures such as ‘Likay’ (a style of performance art) or the ‘temple festival’ as the starting point of the conceptualization process of her designs.
In her latest collection, she develops the concept as a born and bred Charoenkrung resident. Feeling both startled and inspired by the transformation of the neighborhood she calls home, she puts together the elements of deteriorating buildings such as the patterns of grilles on the windows and doors into a new context from which Typotown was created, a collection that won Srinlim the DEmark 2017 award in the Graphic Design category. The image of the Thai font embroidery was redesigned with an aesthetic that was developed from conventional Thai letters commonly used in the past on shop signs of Charoenkrung establishments. The collection is comprised of ceramic ware, steel furniture inspired by patterns of window grilles, colorful ceramic trays whose patterns are derived from vintage metal works found in the architecture of old Charoenkrung buildings and the lighting piece reminiscent of neon signs that once lit up the neighborhood. Limthongtip began the process with research where information was collected from locals who have been living in the area all their lives. The data was then conceptualized into a design concept that was later developed into products of different materials. She views the evolution of her own creative process as a series of ‘chain reactions,’ where each work affects the development of the next one. The development of ideas and learning through experimentation with materials of various natures has evolved along the works she’s created throughout the years.
Limthongtip regularly collaborates on installation art projects with artists and designers such as with ‘Likay Playing,’ showcased at the BACC in 2012, where she incorporated the concept of her ‘Likay’ collection and reinterpreted it into the design of a space where ‘Likay theater’ was situated as the work played with the combined definitions of private and public spaces. Her most recent collaboration was with The Uni_form Design Studio for Freeform Festival 2017, recently held in November of 2017. The graphic designer was planning to develop Srinlim’s products that address different public issues including creating projects that are socially oriented in the future. At the upcoming Bangkok Design Week 2018, Srinlim Design Studio will be presenting a new collection titled ‘Charoenkrung.’ It is once again that textiles and graphic design are integrated to express Limthongtip’s sentiment about the transformation of the place she calls ‘home,’ which is an issue she has been eagerly observing and developing over the past two years.
จากบัณฑิตศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ศริญญาตั้งใจจะไปศึกษาต่อเพื่อค้นหากระบวนการ สร้างสรรค์ที่ข้ามพ้นความเป็นสองมิติของงานประเภทการออกแบบนิเทศศิลป์ (graphic design) ที่ตนถนัด และด้วยแรงกระตุ้นและคำแนะนำจากนนทวัฒน์ เจริญชาศรี แห่ง ‘Ductstore ที่ผลักดันให้ ศริญญาทดลองงานผ้ามาตั้งแต่สมัยปี 3 เธอจึงตัดสินใจเลือกเรียนต่อด้าน Textiles Design ที่ Chelsea College of Arts, University of the Arts London จากการศึกษาต่อในครั้งนั้น แม้งาน textiles และ graphics จะมีธรรมชาติของกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน แต่เธอก็ค้นพบว่ามีทั้งสองอย่างมี ‘the in-between’ นั่นคือจุดที่เป็นทักษะการขึ้นงาน textiles ซึ่งก็ทำให้เธอได้ใช้ทักษะของ graphic designer อย่างเต็มศักยภาพ มาถึงจุดนี้ ภาพผลงานอันเป็นที่จดจำของ Srinlim ผุดขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็น งาน ‘ลิเก’ ผ้าซาตินพิมพ์ลายเพชรพลอยสีสันสดใสจัดจ้านที่นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แต่งบ้านหลากหลายชนิด หรือผลงานที่นำผ้าปักเลื่อมมาพิมพ์ลวดลายซ้ำลงไปอีกชั้นหนึ่ง ศริญญากล่าวว่า เธอคิดว่าตัวเองเป็น graphic designer มากกว่าที่จะเป็น textiles designer อย่างที่หลายคนมอง นั่นเพราะเธอ “มักจะเริ่ม จากกราฟิก ก่อนและระหว่างขั้นตอนการพัฒนางาน มันก็มักจะแวะเวียนมาที่งานกราฟิกเสมอ”
หลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทแล้ว ศริญญากลับมาทำงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัท Geo Décor การทำงานครั้งนี้ถือว่าช่วยเปิดโลกแห่งความจริงในการผลิตสินค้าให้กับเธอ เป็นช่วงเวลาที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเทคนิคกระบวนการทำงาน ทำให้ได้เข้าใจโลกของผู้ผลิตและ supplier มากขึ้น รวมทั้งเรียนรู้ที่จะสร้างการประนีประนอมกันของแนวคิดทางการออกแบบกับความเป็นจริงในการผลิต รวมทั้งมุมมองทางธุรกิจอีกด้วย ในช่วงปี พ.ศ. 2552 ศริญญามีโอกาสเข้าร่วมโครงการ Talent Thai ที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดสตูดิโอของตนเองภายใต้ชื่อ Srinlim และเริ่มออกแบบผลงาน ภายใต้แบรนด์ Srinlim อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 นั้น ศริญญานำแรงบันดาลใจจาก ธรรมชาติและทฤษฎีทางธรรมชาติมาสร้างสรรค์ผลงานผ้าพิมพ์ที่โดดเด่นด้วยลวดลายสัตว์และพืชพันธุ์ที่มี ความเป็นกราฟิกชัดเจน รวมทั้งสีสันที่ดึงดูดสายตา เธออธิบายภาพลักษณ์ของงานในช่วงแรกๆ ว่า ‘colourful friendly and lively’ จากนั้น จึงเริ่มหยิบเอาคุณลักษณะของวัฒนธรรมชาวบ้านของไทย (vernacular culture) วัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทย ไม่ว่าจะเป็น ‘ลิเก’ หรือ ‘งานวัด’ มาใช้เป็นจุดตั้งต้นของการสร้างแนวคิดทางการออกแบบของผลิตภัณฑ์ที่ตามมา
ในผลงานชุดปัจจุบัน เราได้เห็นการขยับขยายแนวคิดของศริญญาผู้เป็นชาวเจริญกรุงโดยกำเนิดที่ได้รับ แรงบันดาลใจจากการเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงของย่านที่ตนอยู่อาศัยด้วยความรู้สึกใจหาย เธอหยิบเอา องค์ประกอบของอาคารเก่าที่ผุพัง หรือถูกทิ้งร้าง เช่น ลวดลายเหล็กดัดอาคาร บานประตู หน้าต่างมาปัดฝุ่น แล้วนำกลับมาใช้ในบริบทใหม่ๆ อย่าง ผลงานชุด Typotown ที่ได้รับรางวัล Demark 2017 สาขา Graphic Design ที่เป็นภาพปักตัวอักษรไทยที่ได้รับการออกแบบหน้าตาใหม่ โดยวางแนวทางอยู่บนพื้นฐานของฟอนต์ไทยๆ แบบเดิมที่เคยปรากฏเป็นชื่อร้านบนถนนเจริญกรุงในอดีต ผลงานดังกล่าวยังประกอบไปด้วยงานเซรามิค เฟอร์นิเจอร์เหล็กดัด ถาดใส่ของจิปาถะขึ้นรูปจากโลหะแผ่นสีสันสะดุดตา รวมทั้ง งาน lighting piece จากไฟนีออน ที่ศริญญาค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากแรงบันดาลใจเดียวกัน โดยเธอเริ่ม กระบวนการทำงานจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากคนเก่าแก่ในพื้นที่ ก่อนที่จะนำไปสร้างแนวคิดทาง การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับวัสดุหลากหลายประเภท เธอมองการทำงานของตนว่ามีลักษณะ ‘กระทบชิ่ง’ งานแต่ละชิ้นส่งผลกระทบต่อการพัฒนางานชิ้นถัดมาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การพัฒนาความคิดและการเรียนรู้ผ่าน การทดลองใช้วัสดุประเภทต่างๆ จึงเติบโตไปพร้อมกับผลงานใหม่ๆ ที่ออกแบบมา
ที่ผ่านมาศริญญายังมีผลงาน Installation Art ร่วมกับศิลปินนักออกแบบจากกลุ่มต่างๆ เป็นระยะ เริ่มตั้งแต่ผลงาน ‘Likay Playing’ ที่จัดแสดงที่ BACC เมื่อปี พศ.2555 โดยเธอได้นำแนวคิด งาน ‘ลิเก’ ไปพัฒนาต่อยอดและตีความเป็นการออกแบบพื้นที่ ‘โรงลิเก’ ที่เล่นกับความเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ ล่าสุด ศริญญามีผลงานศิลปะจัดวางที่เป็นการสร้างสรรค์ร่วมกับ The Uni_form Design Studio จัดแสดงในเทศกาลศิลปะ Freeform Festival 2017 ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่เพิ่งผ่านไป ซึ่งในอนาคต เธอก็อยากจะพัฒนางานของ Srinlim ไปในทางที่ช่วยสื่อสารประเด็นสาธารณะ หรือสร้างสรรค์งานออกแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงสังคมให้มากขึ้นด้วย สุดท้ายภายในงาน Bangkok Design Week 2018 ที่กำลังจะเกิดขึ้นต้นปีหน้านี้ Srinlim Design Studio จะนำเสนอผลงานการออกแบบชิ้นใหม่ที่มีชื่อว่า ‘เจริญกรุง’ สู่สายตาผู้ชม เป็นอีกครั้งที่สื่อประเภท textiles และ graphic design จะร่วมกัน ถ่ายทอดสารทางความคิดเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบๆ ‘บ้าน’ ของเธอเอง ซึ่งเป็นประเด็นที่เธอให้ความสำคัญและพัฒนาตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา
TEXT : NANTHANA BOONLA-OR
PORTRAIT : KETSIREE WONGWAN
PHOTO COURTESY OF SRINLIM
facebook.com/srinlim