NO MORE MAGIC IN THE PLASTIC FANS

THE REASON WHY NU NIMSOMBOON, THE FOUNDER OF SLOWMOTION STUDIO LAUNCHED HIS OWN 3-SPEED METAL OSCILLATING FAN WAS SO SIMPLE. HE DOESN’T LIKE THE PLASTIC FAN bangalow fan

The reason that Nu Nimsomboon, founder and owner of graphic studio ‘slowmotion,’ started making fans to sell was simply because he and his elementary school buddy, Sunpetch Sathokavorasat, had long agreed that those ubiquitous plastic fans are one of the killjoys that ruins not only their moods but also a beautifully decorated interior space be it a home or a shop. An over-a-decade-long discussion went on as the two wondered what ever happened to the cool looking steel fans they saw when they were young that were once a household item. Finally, the duo took the matter into their own hands and set out to make the kinds of fans they adore.

Bangalow Fan

Nimsomboon, takes responsibility for handling the design, from the product’s physical appearance and logo to the overall image of the brand, while Sathokavorasat oversees the production. Their intention is for Bungalow Fans to encapsulate the vintage element of a steel fan that may not be specific in terms of time period, but looks and feels different from most of the fans available on the market today. The steel grill was designed to possess unique lines and shapes with its four blades and intricate details of the motor at the back, all of which are put together by hand. Even with such high artisanal quality, Bungalow Fans are all certified products of industrial and environmental standards.

Bungalow is a name Nimsomboon, came up with long before the product was finalized and the word is actually derived from the Hindi word ‘Bengali,’ which essentially refers to anything Bengal, in this case, a Bengali house. Despite their omnipresence in different parts of the world, what Bengali houses have in common are the fundamental elements of a small, one-story house with thatched roof and a large court. Such name was chosen for the brand since the word serves as a reminder of a stylish bungalow in an upscale vacation town as the wind from the fan’s 3 speed levels is reminiscent of a cool breeze flowing through the bungalows. It also explains why the models in the first collection are named Cape Town, Istanbul, Malibu and Miami.

Bangalow Fan

In a country where the heat is as unmerciful as Thailand, it would be nice if household electrical equipment had the additional functionality of a beautiful-looking piece of furniture. Nimsomboon, and Sathokavorasat are planning to release new collections in the future with fans being their primary interest, both the wall-mounted and outdoor types and, with what they have achieved so far with the Bungalow Fan, we cannot help but hope to see the duo come up with, perhaps, an air conditioner. That would be pretty cool.

Bangalow Fan

เหตุผลง่ายๆ ที่ว่าทำไมอยู่ๆ นุติ์ นิ่มสมบุญ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของสตูดิโอกราฟิก slowmotion ถึงหันมาทำพัดลมเหล็กขาย ก็เพราะเขาและ สรรเพชญ์ สาธกวรสัจย์ เพื่อนสมัยประถม เห็นพ้องต้องกันว่าพวกเขาไม่เคยชอบพัดลมพลาสติกที่วางขายกันเกลื่อนท้องตลาด และรู้สึกเสียอารมณ์ทุกครั้งที่เห็นพัดลมพวกนี้อยู่ในบ้านหรือร้านสวยๆ เพราะมันทำให้งานอินทีเรียร์ที่ดูดีด้อยค่าลงไปโดยอัตโนมัติ บ่นกันสองคนมาเป็นสิบปีว่าพัดลมเหล็กดีๆ แบบที่เคยเห็นสมัยเด็กมันหายไปไหนหมดทั้งที่ควรจะมีกันทุกบ้าน สุดท้ายพวกเขาก็เลยลงมือทำมันเสียเองเลย

นุติ์รับหน้าที่ออกแบบทั้งหมด ตั้งแต่หน้าตาของพัดลมไปจนถึงโลโก้และภาพรวมของแบรนด์ ส่วนสรรเพชญ์ดูแลและควบคุมการผลิต พวกเขาตั้งใจให้ผลงานออกมาเหมือนกับพัดลมเหล็กย้อนยุค แต่ไม่ได้เจาะจงเป็นพิเศษว่ามาจากยุคไหน แต่ที่ทำให้ต่างจากพัดลมทั่วไปก็คือ ชิ้นส่วนของฝาตะแกรงเหล็กครอบใบพัดด้านหน้าถูกออกแบบให้มีเส้นสายที่มีลักษณะเฉพาะตัว การเลือกใช้ใบพัดจำนวน 4 ใบ รวมไปถึงความพิถีพิถันในการออกแบบส่วนมอเตอร์ด้านหลัง ชิ้นส่วนทั้งหมดของพัดลมเหล็กตัวนี้ถูกประกอบขึ้นด้วยมือ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องผ่านการทดสอบจนได้มาตรฐานอุตสาหกรรมและมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมก่อนออกวางจำหน่าย

Bungalow คือ ชื่อที่นุติ์เป็นคนคิดขึ้นมาตั้งแต่พวกเขายังทำพัดลมไม่เสร็จ คำๆ นี้มาจากภาษาฮินดู หมายถึง เบงกอลลี (Bengali) หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเบงกอล ซึ่งก็ย่อมาจากบ้านตามแบบเบงกอล ที่ถึงจะมีอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วโลกแต่ลักษณะรวมๆ ของบ้านประเภทนี้ก็คือ บ้านหลังเล็ก มีชั้นเดียว มุงหลังคาด้วยจาก และมีชานกว้าง สาเหตุที่เขาเลือกใช้ชื่อนี้มาเป็นแบรนด์พัดลมเหล็กก็เพราะมันชวนให้นึกถึงบังกะโลที่อยู่ตามเมืองตากอากาศดีๆ ลมเย็นๆ ที่พัดจากสปีด 3 ระดับของ Bungalow จะชวนให้นึกไปถึงลมสบายๆ ที่เราได้รับเวลาไปอยู่ตามบังกะโลพวกนั้น และนี่ก็ถือเป็นเหตุผลเช่นกันว่าทำไมชื่อรุ่นในคอลเล็คชั่นแรกที่ออกมาแล้วถึงเป็นชื่อเมืองอย่าง เคปทาวน์ อิสตันบูล มาลิบู หรือว่า ไมอามี่

ในประเทศที่อากาศร้อนเป็นไฟอย่างบ้านเรา คงจะดีถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีกันแทบทุกบ้านจะสามารถกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสวยได้ ในอนาคตอันใกล้เราน่าจะได้เห็นคอลเล็คชั่นใหม่ๆ จาก Bungalow อีก เพราะพวกเขาคิดว่าจะยังคงเน้นไปที่พัดลมกันอีกสักพัก ทั้งแบบติดผนังและแบบเอาท์ดอร์ แต่เราก็แอบหวังว่าบางทีจะได้เห็นพวกเขาหันมาลองออกแบบเครื่องปรับอากาศหน้าตาสวยๆ แบบพัดลมเหล็กพวกนี้ดูบ้าง

TEXT : PIYAPONG BHUMICHITRA
PHOTO COURTESY OF BUNGALOW FAN
fb.com/bangalowfan

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *