BANGKOK DESIGN WEEK 2022

art4d พาไปชมภาพรวมของงาน Bangkok Design Week 2022 ในปีที่ 5 ภายใต้ธีมหลักอย่าง ‘คิด สร้าง ทางรอด’ ที่ไม่ได้เน้นเพียงการผนวกกันระหว่างงานออกแบบและนวัตกรรม แต่รวมถึงการร่วมมือกันของคนทุกภาคส่วนจนนำไปสู่จัดงานเทศกาลครั้งนี้ขึ้นมาได้

TEXT: RATCHADAPORN HEMJINDA
PHOTO COURTESY OF BANGKOK DESIGN WEEK EXCEPT AS NOTED

(For English, press here

ทิ้งช่วงจากงานครั้งที่แล้วยังไม่ถึงปี (หลังจากปีที่แล้วต้องเลื่อนจัดงานถึงสองรอบ) ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ดูเหมือนว่าจะยังไม่จบง่ายๆ การจัดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Design Week ยังคงต้องดำเนินต่อไปเข้าสู่ปีที่ 5 เรียกได้ว่าทั้งสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยซักเท่าไหร่และระยะเวลาเตรียมงานที่กระชับ แต่การได้ ‘Co’ หรือร่วมมือกันของทุกภาคส่วนก็กลายมาเป็นคำตอบสำหรับการจัดเทศกาลในครั้งนี้ และสอดคล้องกับแนวคิดหลักในปีนี้นั่นคือ ‘Co With Creation คิด สร้าง ทางรอด’ ด้วยการนำเสนองานออกแบบและนวัตกรรมที่เมื่อไป Co ร่วมกับ 5 ประเด็น ได้แก่ พื้นที่ สุขภาพจิต สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี แล้วจะได้ผลลัพธ์ปลายทางออกมาเป็นอะไรบ้าง

ภาพรวมของงานในปีนี้ยังคงต้องจัดแบบออฟไลน์ / ออนไลน์ควบคู่กันไป ทั้งอีเวนท์ เวิร์กช็อป ทอล์ค และ creative market แต่โปรแกรมที่เป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดยังคงเป็นงานโชว์เคสและนิทรรศการที่มีผลงานร่วมจัดแสดงมากกว่า 190 ผลงาน โดยกระจายพื้นที่จัดงานใน 4 ย่านเดิมต่อเนื่องจากปีก่อนคือ ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย สามย่าน อารีย์-ประดิพัทธ์ และทองหล่อ-เอกมัย สิ่งที่น่าจับตามองในปีนี้คือความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นโดย partner ทั้งภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมเป็นปีแรก ที่นำไปสู่การเปิดพื้นที่ ขยับขยายสเกลของเทศกาลไปในพื้นที่ใหม่ และการ kick off งานของกลุ่มนักสร้างสรรค์หน้าใหม่ที่น่าสนใจ

New World x Old Town 2

Made in Charoenkrung 3, Honghuad icecream x witti.studio | Photo: Tantanine Namsen

Design Plant ’Express’

เริ่มต้นที่การเปิดตัวย่านพระนคร ซึ่งถือเป็นย่านที่ 5 ที่เข้าร่วม Bangkok Design Week ปีนี้เป็นปีแรก โดยมีคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นเจ้าบ้านในนาม Urban Ally หรือศูนย์เชื่อมโยงอาเซียนด้านการออกแบบเมืองและสร้างสรรค์ ร่วมกับเครือข่ายนักออกแบบและชุมชนในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มาพร้อมกับเทศกาล ‘รวมมิตรเมือง พระนคร’ (Urban Ally Festival 2022) อีกหนึ่งโปรแกรมใหญ่ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดตัวย่านพระนครที่กำลังจะถูกผลักดันให้เป็นย่านสร้างสรรค์อีกแห่งในกรุงเทพฯ และเป็นการกระจายองค์ความรู้ด้านงานออกแบบและพัฒนาเมืองออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย  

Pranakorn District

ที่น่าสนใจที่สุดคงจะเป็นการใช้พื้นที่อาคารเก่าและปรับรูปแบบการใช้งานของอาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ย่านเสาชิงช้าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยการใส่โปรแกรมใหม่เข้าไปในไซต์อย่าง Future Paradise โชว์เคสโดยสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แนวดีไซน์ (Design & Objects Association) ที่ว่าด้วยเรื่องความเป็นไปได้ของงานออกแบบไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า

Future Paradise l Photo: Ratchadaporn Hemjinda

Future Paradise

ผลงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านจากมุมมองของ 27 แบรนด์ไทย ทั้ง PDM Brand Pin Metal Art AMO ARTE YOTHAKA เป็นต้น ถูกนำมาตีความและจัดแสดงสู่สายตาสาธารณะ ซึ่งแต่ละชิ้นงานทำขึ้นด้วยเทคนิคไฮบริดคราฟท์ผสมผสานระหว่างงานหัตถกรรมไทยและนวัตกรรม สะท้อนอนาคตของงานดีไซน์ไทยที่อาจสวนทางกับความล้ำสมัย แต่คือการหวนคือสู่รากเหง้างานฝีมือและวัสดุท้องถิ่น อันเป็นจุดกำเนิดและตัวตนของแต่ละแบรนด์

Future Paradise l Photo: Ratchadaporn Hemjinda

Future Paradise l Photo: Ratchadaporn Hemjinda

Future Paradise

Future Paradise

ขณะเดียวกันงาน lighting ก็ยังคงเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากบรรดาสื่อและชาวโซเชี่ยลเช่นเคย New World x Old Town ภาค 2 ต่อจากภาคแรกที่เกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อนกับการเปิดพื้นที่ห้างนิวเวิลด์ ย่านบางลำพู (อีกครั้ง) โดยในครั้งนี้คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เติมแสงและเสียงให้กับห้างร้าง สะท้อนเรื่องราวของย่านบางลำพูผ่าน 9 ผลงานจัดวาง ที่สร้างสรรค์ด้วยเทคนิค single light source โดยได้ทีมดีไซน์จาก HUI มาเป็นไดเร็คเตอร์ดูแลภาพรวมของงานทุกชิ้น ร่วมกับ Saturate Design คณะดุริยางค์ศาสตร์ ศิลปากร และภาคีนักออกแบบอิสระ กลุ่มแสงปลากบ ไม่แน่ว่านี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่คนนอกย่านและในย่านจะได้เข้ามาเห็นภาพสุดท้ายของห้างนิวเวิลด์

New World x Old Town 2

New World x Old Town 2

กลับมาที่ความเคลื่อนไหวในย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ย่านหลักที่มีพื้นที่จัดแสดงงานกว่า 37 จุด โดยในปีนี้ venue หลักคือ TCDC Bangkok และอาคารไปรษณีย์กลางที่มีงานงานโชว์เคสและนิทรรศการ indoor และ outdoor จัดแสดงอยู่หลายงาน หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจคือการกลับมาเป็นปีที่ 5 ของกลุ่ม Design PLANT ซึ่งปีนี้พวกเขามาพร้อมกับผลงานดีไซน์ในธีม Design Plant ’Express’ เริ่มต้นจากโจทย์ในการออกแบบของที่สามารถจัดส่งทางไปรษณีย์ได้ แต่ต้องอยู่ในไซส์ที่กำหนด กลายเป็นเหล่าของใช้ในชีวิตประจำวันที่สอดรับการการอยู่บ้านและการสั่งของออนไลน์ของคนสมัยนี้ อย่างเช่น The First Chair เก้าอี้เด็กที่เด็กประกอบเองโดย THINKK STUDIO หรือ GOOD DAY GOOD NIGHT หิ้งพระมินิมอลโดย MOREOVER ไปจนถึง Spinter! สกูตเตอร์สายแว๊นซ์โดย VANZTER x Bóncstudio

Design Plant ’Express’ l Photo: Ratchadaporn Hemjinda

Design Plant ’Express’ l Photo: Ratchadaporn Hemjinda

Design Plant ’Express’ l Photo: Ratchadaporn Hemjinda

ในส่วนโปรเจ็คต์ของ CEA ที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้วนั่นคือ Made in Charoenkrung ปีที่ 3 (ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของโปรเจ็คต์นี้) ที่กลับมาในธีม Last Generation เชื่อมโยง 5 ธุรกิจดั้งเดิมในย่านเจริญกรุงที่เหลือเพียงเจ้าสุดท้าย มากับ 4 นักออกแบบ ได้แก่ ร้านตีเหล็กเฮียเกรียงศักดิ์ x COTH Studio ร้านเซียวเซี๊ยะกี่แสตมป์ x Likay bindery โรงพิมพ์กวงฝ่า x Likay bindery ชุงแซ x Ek Thongprasert และร้านไอศรีมฮงฮวด x witti.studio ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบช่วยคิดและร้านเป็นคนลงมือทำ ถือเป็นเอางานดีไซน์ไปช่วยผู้ประกอบการได้อย่างตรงความต้องการเพราะสามารถขายได้จริง

Made in Charoenkrung 3, Kriengsak The blacksmith shop x COTH Studio | Photo: Tantanine Namsen

Made in Charoenkrung 3, Sio Siah Kee Stamp & Coin Service x Likay bindery | Photo: Tantanine Namsen

Made in Charoenkrung 3, Sio Siah Kee Stamp & Coin Service x Likay bindery | Photo: Tantanine Namsen

Made in Charoenkrung 3, Kwong Fah Press x Likay bindery | Photo: Tantanine Namsen

Made in Charoenkrung 3, Chung Sae The Chinese lantern maker x Ek Thongprasert | Photo: Tantanine Namsen

Made in Charoenkrung 3, Chung Sae The Chinese lantern maker x Ek Thongprasert | Photo: Tantanine Namsen

Made in Charoenkrung 3, Honghuad icecream x witti.studio | Photo: Tantanine Namsen

งานจัดถึงวันอาทิตย์นี้ ใครสนใจอยากออกจากบ้านไปยืดเส้นยืดสาย ดูงานดีไซน์เชิญเลือกโปรแกรมและสถานที่ได้ที่นี่ https://bangkokdesignweek.com/bkkdw2022 ยังมีอีกหลายงานที่เราเล่าถึงไม่หมดในที่นี้ ใครชอบไม่ชอบงานไหนก็อินบอกซ์มาบอก art4d ได้

bangkokdesignweek.com/bkkdw2022

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *