GHOST:2561

THIS FIRST EDITION OF THE VIDEO AND PERFORMANCE ART SERIES IN BANGKOK IS NOT ONLY A PLATFORM WHERE THE WORKS OF INTERNATIONALLY ACCLAIMED ARTISTS ARE HOSTED BUT ALSO A PLACE BY WHICH THE SPIRITS OF ‘GHOSTS’ AND ‘TECHNOLOGY’ ARE CELEBRATED

The space automatically masterminded by invisible technology. It replaces the process or tactility of objects with information dispersed in the atmosphere, relying solely on the right frequency in order to be received and reciprocated.

With ‘Information Skies’ (2017) by Metahaven, we are brought back to the radio frequency and the space in-between cramped with disturbing signals, as we imagine the image of a human sitting on a vast field of grass wearing a set of dark black equipment over the head and the upper part of the face. He or she, so it seems, sits with eyes all shut, and appear to be in a meditative state. The knowing and perception is achieved via a gadget, serving as a mediator that leads the person to the state of meditative absorption. Different cuts from one physical space to another gradually reveal human’s incapability to understand the truth behind the tangible flesh and projected images, but it is with this skin that the perceived reality is able to exist and on these physical surfaces, the essence of one’s understanding of ontology is conceived.

 

‘Golden Spiral’ (2018) by Chulayarnnon Siriphol depicts a series of narratives about the same thing in different times and spaces. The skip between narratives can organically lead to the birthing of a new ecological system of narratives, revealing the process of storytelling and its impact that has far surpassed the story itself. Found footage retrieved from mediums people encounter in everyday life such as comics, television dramas, YouTube videos, etc. and the presentation style, which is an interesting satire of documentary genre, highlights the perception of how mundane and superficial things that are relatable to human’s emotions and senses in a deeper and more profound level than the so-called high art whose conception and existence aren’t even able to scratch the surface.

‘We Are the World, As Performed by the Hong Kong Federation of Trade Unions Choir’ (2017) by Samson Young brings a vintage seat from a theater and the status of a choir to discuss the political, cultural and identity issues. The noise one hears is only the sound of air passing through, expressing the trauma. It resonates with the idea Slavoj Žižek has for Less Than Nothing, which revolves around the abnormality that deviates the way the story about a trauma is told. In this particular work, Young presents it in an entirely opposite way with the content of the story that is pleasant and joyous while the storyteller plays the active role, not the other way around.

With Zero-player game being something that is conceived from the interactions of the sub-units’ compliance to the given rules, Conway’s Game of Life enables the study of the way patterns are formed from simple operations of the sub-units, which leads to the complex final results that become the genesis of AI. Over half a century has passed, and AI’s potential has been developed to the point where it’s being questioned. Ian Cheng with his ‘Emissary Sunsets the Self’ (2017) simulates AI in the ecosystem of a 3D virtual world where time progresses infinitely. This sub-unit in this space moves and evolves as time not only serves indefinite changes but questions human’s definition of time itself, looking at its endlessness through the eye of a living creature whose existence faces an inevitable ending. What does a human being imagine about the realm that is far beyond his/her imagination?

For Ghost:2561, a series of videos and works of performance art exhibited in Bangkok with Korakrit Arunanondchai as a co-founder and debut curator, ghost possesses a different image. It is not presented in a physical form. The curator emphasizes the horizontal rather than vertical attributes of the unseen, lingering mass of air surrounding us. Air and things of similar forms are constantly cited in Storytellers Before Dawn: An Anthology, a book of essays that has Judha Su and Mi You as editors. Air was once acknowledged as the thing that unites humans to other things, before it was neglected, and remaining is only a blank space; an emptiness whose existence is no longer recognized.

In addition to the stories told through works of art, Classroom of Storytellers is a workshop held to select and train the storytellers who are neither the ‘exhibition’s tour guides nor a teaching machine,’ which is regarded as a factor supporting each audience’s formation of the next story. The collective subjectivity created between each individual becomes the ground where each story grows from, circulates and changes. It can be the superimposition of the blurred boundaries between I and we, causing new stories to be born and grow endlessly.

Stories are all around us, just like the air we breathe in. And at this very space, the center of collision between opposite ends of the spectrum, of the rationally and technologically driven West and the East whose association to the mind and spiritual beliefs are deeply rooted, the difference may lie in the impartial position and the view on storytelling as just a series of fluid movements that exist on their own, equally interconnecting the past, present and future, nothing is superior or inferior. 

All of this is the space of endlessly circulating, changing and moving stories.

Ghost belongs to us all.


This article is from art4d No.265

พื้นที่ซึ่งเทคโนโลยีที่มองไม่เห็นทำงานโดยอัตโนมัติอยู่เบื้องหลังและเข้ามาแทนที่กระบวนการหรือวัตถุที่อาศัยการจับต้อง ข้อมูลฟุ้งกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศอาศัยเพียงการปรับจูนหาช่องสัญญาณที่ถูกต้องของผู้รับ

Information Skies (2017) โดย Metahaven ดึงเรากลับไปสู่ช่องสัญญาณของคลื่นวิทยุและพื้นที่ระหว่างนั้นซึ่งเต็มไปด้วยสัญญาณรบกวน จินตนาการถึงภาพของมนุษย์ที่นั่งอยู่บนพื้นหญ้าสวมอุปกรณ์สีดำที่ครอบศีรษะและส่วนบนของใบหน้า เขาอาจกำลังหลับตาไม่ต่างจากการนั่งสมาธิ แต่การหยั่งรู้อาศัย gadget แทนฌาณขั้นสูง การตัดสลับระหว่างพื้นที่ที่แตกต่างนำไปสู่การทำความเข้าใจว่ามนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงแท้ (truth) ที่อยู่เบื้องหลังเนื้อหนังมายาที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ แต่เป็นเนื้อหนังนี้เองที่ความจริงที่มนุษย์รับรู้ได้ดำรงอยู่ และสาระสำคัญของการทำความเข้าใจความเป็นไปของสิ่งต่างๆ (ontology) เกิดขึ้นบนพื้นผิวเหล่านี้

Golden Spiral (2018) โดย จุฬญาณนนท์ ศิริผล แสดงถึงกลุ่มเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งเดียวกันในเวลาและพื้นที่ที่แตกต่าง การกระโดดข้ามไปมาระหว่างเรื่องเล่าอาจนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศใหม่ของเรื่องเล่า ซึ่งเผยให้เห็นว่ากระบวนการของการเล่ามีอิทธิพลที่ล้ำหน้าไปไกลกว่าตัวเรื่องเล่าเอง found footage ซึ่งมาจากสื่อที่ใกล้ชิดชีวิตประจำวันอย่าง การ์ตูน ละคร คลิปใน YouTube ฯลฯ กับเรื่องราวที่เสียดสีรูปแบบของความเป็นสารคดี เน้นย้ำทัศนะที่ว่าสิ่งดาษดื่นและผิวเผินสามารถเชื่อมโยงไปถึงระดับอารมณ์ และความรู้สึกจริงของมนุษย์ที่อยู่ลึงลงไปได้มากกว่าศิลปะชั้นสูงที่ทำงานอยู่เพียงบนพื้นผิว

 

We Are the World, As Performed by the Hong Kong Federation of Trade Unions Choir โดย Samson Young ที่นั่งตัวเก่าจากโรงละคร และสถานะของคณะประสานเสียงเชื่อมโยงไปถึงประเด็นการเมือง วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ เสียงร้องที่ได้ยินเป็นเพียงลมที่ผ่านเข้าออก อาจแสดงถึงความบอบช้ำ (trauma) ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะของ Slavoj Žižek ใน Less Than Nothing ที่กล่าวถึงความผิดปกติจากความบอบช้ำที่ทำให้กระบวนการในการบอกเล่าถึงความบอบช้ำนั้นผิดเพี้ยนไป เพียงแต่ในงานชิ้นนี้ของ Young ทุกอย่างกลับตรงข้าม เนื้อหาของเรื่องเล่ากลับเป็นเรื่องราวที่ดูน่ายินดี และผู้เล่ากลับเป็นฝ่ายกระทำ

เกมไร้ผู้เล่น (Zero-player game) ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของหน่วยย่อยที่ปฏิบัติตามกฎที่ตนเองได้รับ Conway’s Game of Life ทำให้เกิดการศึกษาวิธีสร้างแพทเทิร์นซึ่งเกิดจากการทำงานอย่างง่ายๆ ของหน่วยย่อยแต่ก่อให้เกิดผลรวมอันซับซ้อน นำไปสู่แนวคิดในการสร้างปัญญาประดิษฐ์ (AI) เวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านไป AI พัฒนาศักยภาพของมันจนกลายเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถาม Ian Cheng กับผลงาน Emissary Sunsets the Self (2017) ได้จำลองปัญญาประดิษฐ์ลงบนระบบนิเวศในโลกจำลองสามมิติที่ระยะเวลาดำเนินไปไม่สิ้นสุด หน่วยย่อยในที่นี้เคลื่อนไหวและวิวัฒนาการ เวลาในดินแดนนั้นนอกจากรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด ยังตั้งคำถามถึงเวลาของมนุษย์และความหมายของระยะเวลาไม่มีที่สิ้นสุดผ่านสายตาของสิ่งมีชีวิตที่มีอายุขัย มนุษย์จินตนาการถึงอะไรบนขอบเขตที่เขา/เธอไม่สามารถจะจินตนาการได้

สำหรับ Ghost:2561 ซีรีส์การแสดงผลงานวิดีโอและศิลปะการแสดงในกรุงเทพฯ ซึ่งกรกฤต อรุณานนท์ชัย ร่วมก่อตั้งขึ้นและรับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ในครั้งแรกนั้น ผีมีรูปลักษณ์ที่ต่างออกไป มันไม่ใช่การปรากฏรูปของดวงวิญญาณ กรกฤตเน้นย้ำให้เห็นถึงความเชื่อในคุณลักษณะทางกว้าง (horizontal) มากกว่าทางลึก (vertical) ของสิ่งที่มองไม่เห็นเหล่านั้น ซึ่งเป็นเหมือนมวลสารของอากาศที่ล่องลอยอยู่รอบตัว อากาศและรูปลักษณ์อื่นที่คล้ายคลึงถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งใน ‘นักเล่าเรื่องก่อนรุ่งสาง’ (Storytellers Before Dawn: An Anthology) หนังสือรวมบทความ โดยมีจุฑา สุวรรณมงคล และ มิ ยู รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ อากาศซึ่งเคยถูกรับรู้ว่าประสานมนุษย์เข้ากับสิ่งอื่น ก่อนที่จะถูกเมินเฉย เหลือความหมายเพียงที่ว่าง ความว่างเปล่าซึ่งไม่ถูกรับรู้ถึงการมีอยู่

นอกเหนือจากเรื่องเล่าผ่านงานศิลปะ ห้องเรียนนักเล่าเรื่องคือเวิร์คช็อปเพื่อคัดเลือกและฝึกฝนนักเล่าเรื่องที่ “ไม่ใช่ทั้งคนนำชมนิทรรศการหรือเครื่องยนต์สั่งสอนผู้ใด” ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งเพื่อสนับสนุนการสร้างเรื่องเล่าต่อไปในผู้ชมแต่ละคน อัตวิสัยร่วม (collective subjectivity) ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวบุคคลกลายเป็นพื้น (ground) ที่เรื่องเล่าก่อตัว หมุนเวียน เปลี่ยนแปลง อาจเป็นการซ้อนทับของขอบเขตอันพร่าเลือนระหว่าง ฉัน (I) และเรา (we) ที่ส่งผลให้เรื่องเล่าเกิดใหม่และเติบโตได้ไม่สิ้นสุด

เรื่องเล่าล่องลอยอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกับอากาศ และ ณ พื้นที่นี้เองที่ศูนย์กลางของการปะทะระหว่างขั้วตรงข้าม ของความเป็นตะวันตกที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าในการใช้ตรรกะและเทคโนโลยี กับความเป็นตะวันออกที่ยังยืดโยงอยู่กับความเชื่อในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับจิตและวิญญาณ ความแตกต่างอาจอยู่ในการวางตัวไร้ฝักฝ่าย และมองการเล่าเรื่องเป็นเพียงการเคลื่อนไหวและการดำรงอยู่ของตัวมันเอง โดยเชื่อมโยงกับอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต โดยไม่มีเรื่องราวใดสำคัญไปกว่ากัน

ทั้งหมดนี้คือพื้นที่แห่งเรื่องเล่าที่หมุนเวียน เปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่ง ไม่จบสิ้น

ผีเป็นของทุกคน

บทความจาก  art4d No.265

ghost2561.com

TEXT: RAWIRUJ SURADIN
PHOTO COURTESY OF THE ARTISTS AND GHOST FOUNDATION

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *