WRAP UP, 08.02.2019

WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON  art4d WRAP UP WEEKLY.

TEXT: SUTEE NAKARAKORNKUL

SURFACE DESIGN SHOW 2019


Plastic Stone Tiles – The Nature of Waste © Enis Akiev

เมื่อวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีงาน Surface Design Show (SDS) 2019 จัดขึ้นที่ Business Design Centre ลอนดอน งานจัดแสดงครั้งนี้เป็นพื้นที่ในการนำเสนอเทรนด์และนวัตกรรมล่าสุดของงานออกแบบพื้นผิววัสดุในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและออกแบบภายในแก่สถาปนิก ดีไซเนอร์ และตัวแทนจำหน่าย ไฮไลท์ที่น่าสนใจเห็นจะเป็นโชว์ New Talent ที่เป็นการจัดแสดงผลงานของ material designer รุ่นใหม่ เช่นงานของ Enis Akiev ที่นำพลาสติกเหลือใช้มารีไซเคิลเป็นกระเบื้องพลาสติกลายหิน กลายเป็นวัสดุชิ้นใหม่ที่มีพื้นผิวสวยงามและทนทาน เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้อย่างน่าสนใจ

Surface Design Show (SDS) 2019 had an exhibition on the 5th-7th of February at the Business Design Centre, London. The show presented the latest trends and innovations of surface material design for architects, designers, and suppliers. Highlights of the show were the   New Talent show that featured a showcasing of emerging material designers such as Enis Akiev who recycled waste materials into stone-like plastic tiles for interior finishings.

surfacedesignshow.com

THE SCHEDULE OVERLAPPING OF THE ARCHITECTURE BI/TRI-ENNIALS 2019


เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย เมื่อจู่ๆ นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติหลายแห่งทั่วโลก ต่างก็เลือกวันเปิดงานในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันภายในปี
นี้ ตั้งแต่ Chicago Architecture Biennial (19 กันยายน 2019 – 5 มกราคม 2020ที่มาพร้อมกับธีม “…and other such stories” ด้วยความพยายามที่จะใช้วิธีคิดแบบใหม่ๆ ในการศึกษาเมือง หรือ International Architecture Biennale of São Paulo (19 กันยายน – 19 ธันวาคม 2019) ซึ่งเน้นไปยังหัวข้อเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกัน Oslo Architecture Triennale (26 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2019) ก็มาพร้อมกับโจทย์อันท้าทายอย่าง The Architecture of Degrowth ไปจนถึง Tallinn Architecture Biennale ที่เอสโตเนีย (11 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2019) และ Lisbon Architecture Triennale ที่จัดขึ้นหลังใครเพื่อน (3 ตุลาคม – 2 ธันวาคม 2019) ช่วงเวลาของการจัดงานที่คาบเกี่ยวกันนี้ บีบให้ผู้ที่สนใจเดินทางตามไปเก็บครบทุกงานได้ยาก (เว้นแต่ว่าชีพจรการเงินจะเต้นแรงพอ) อย่างไรก็ตาม Phineas Harper หนึ่งในทีมคิวเรเตอร์ของ Oslo ก็แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่าการจัดงานลักษณะนี้ นับเป็นการเอื้อให้กับคนในพื้นที่มากกว่าการคาดหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เมื่อลองหันกลับมามองดูเทศกาลในภูมิภาคเอเชียอย่าง Seoul Biennale of Architecture and Urbanism (กันยายน – พฤศจิกายน 2019) หรือ Bi-City Shenzhen Biennale of Urbanism / Architecture (ปลายปี 2019 – ฤดูใบไม้ผลิปี 2020) ซึ่งต่างก็มุ่งเน้นไปยังความพยายามสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนทั่วไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตคนในเมืองและชุมชน ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของนิทรรศการสถาปัตยกรรมในปีนี้ ที่ต้องการสร้างบทสนทนากับคนในพื้นที่เป็นสำคัญ ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหนกันนั้น คงต้องติดตามดูกันต่อไป

What does one think when the Architecture Bi / Triennials around the world have selected opening dates very close to each other this year? Firstly, the   Chicago Architecture Biennial (SEP 19, 2019 – JAN 5, 2020) comes with a theme “…and other such stories” in an attempt to take on new approaches toward the studying of the city while the   International Architecture Biennale of São Paulo (SEP 19 – DEC 19, 2019) focuses on everyday architecture. Meanwhile,   Oslo Architecture Triennale (SEP 26 – NOV 29, 2019) takes on a challenging topic, ‘The Architecture of Degrowth.’ Then the   Tallinn Architecture Biennale, Estonia (SEP 11 – NOV 30, 2019) and the   Lisbon Architecture Triennale hold the last positions in the calendar (OCT 3 – DEC 2, 2019). The overlapping schedule of these festivals forces their visitors to decide to visit just some of the programming as it will be hard to see every single event within the time given (assuming you’re a jet-setter). However, one of the Oslo curatorial team members,   Phineas Harper   made an interesting comment stating that by having these kinds of festivals all start so close to each other this year, they are more conducive to local consumption. When we look back at the festivals in Asia, the   Seoul Biennale of Architecture and Urbanism                       (SEP – NOV 2019) and   Bi-City Shenzhen Biennale of Urbanism / Architecture (Late 2019 – Spring 2020), both focused all efforts on creating awareness for the general public amid the changes in the digital age which affect the ways of life in the city and also the local community. They can serve as showcases to demonstrate some tendencies of architectural exhibitions this year which are eager to create a dialogue with locals. So, please stay tuned and check out how they strive to meet their goals as we wait to see what unfolds.

 NORTHWEST PASSAGE


 © Anton Grassi

Northwest Passage (2018) ผลงานอินสตอลเลชั่นโดย Olafur Eliasson ศิลปินชาวไอซ์แลนด์-เดนมาร์ก นำแผ่นกระจกเงารูปทรงก้อนน้ำแข็ง ไปติดตั้งบนเพดานของทางเดินอาคาร MIT. nano เพื่อเชื่อมโยงไปยังลักษณะของแผ่นน้ำแข็งบางๆ ที่พบใน Northwest Passage เส้นทางทะเลในเขตวงกลมอาร์กติกที่ลัดเลาะไปตามชายฝั่งทิศเหนือของอเมริกาเหนือ ซึ่งมีน้ำแข็งปกคลุมจนไม่สามารถสัญจรเรือผ่านได้ ทว่านับตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2007 เรือเดินสมุทรสามารถแล่นผ่านได้ โดยไม่ต้องใช้เรือตัดน้ำแข็งเปิดทาง นับเป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งชี้ถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน (ก่อนหน้านี้ Eliasson ก็มีซีรีย์ Ice Watch ที่นำก้อนน้ำแข็งจากกรีนแลนด์มาจัดแสดงในพื้นที่สาธารณะ เพื่อพูดถึงวิกฤติการณ์จากภาวะโลกร้อน)

Northwest Passage (2018), a site-specific installation work by Icelandic-Danish artist Olafur Eliasson brings the installation of mirrored forms, based on a pattern of glaze, to the ceiling of the passageway of MIT’s Nano building. The work is related to the form of an ice pan found in the Northwest Passage between North America and the Arctic Circle where the route was frozen and became impassable in the past. However, since the summer of 2007, the effects of climate change have allowed for vessels to sail the passage without requiring an icebreaker which is a vital sign that indicates the impact of global warming. (Earlier, Eliasson had an   Ice Watch series that brought ice cubes from Greenland for display in public areas to talk about the crisis of global warming.)

olafureliasson.net

EPOCH


Epoch (2019) งานวิดีโอชิ้นล่าสุดของ
Kevin McGloughlin ศิลปินชาวไอริช ที่สร้างขึ้นโดยการเลือกภาพถ่ายทางอากาศจาก Google Earth มาประกอบเข้าด้วยกันกับตัวอย่างเสียงของ NASA “Epoch คือภาพแทนของการเชื่อมต่อระหว่างเรากับโลก มันคือภาพของความรุ่งเรืองอันอ่อนแอ เวลาของเรา ณ ขณะนี้มันเป็นสิ่งลึกลับ จำกัด และยากมองเห็น แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือความเปราะบางที่ดำรงอยู่ในทุกด้านของชีวิต มนุษย์เรานั้นแสนบอบบาง และผืนแผ่นดินก็เป็นเช่นนั้น” ศิลปินกล่าวถึงงานของเขาชิ้นนี้

Recent work from Irish filmmaker and artist  Kevin McGloughlin is created by using selected images from Google Earth and Nasa audio samples. McGloughlin states: “Epoch is a visual representation of our connection to the earth and it’s vulnerable glory. Our time here is esoteric, limited and intangible. The fragility which exists in all aspects of life is one thing that is certain. We are brittle, and so is Mother Earth.”

kevinmcgloughlin.com

DAVID ADJAYE: MAKING MEMORY


© Ed Reeve

นิทรรศการ retrospective โครงการออกแบบอาคารอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานโดย Sir David Adjaye สถาปนิกระดับโลกชาวอังกฤษ-กาน่า ที่ Design Museum ลอนดอน ประกอบไปด้วยผลงานสำคัญตลอดการทำงาน 20 ปี 7 ชิ้น เช่น งานชิ้นล่าสุดอย่าง Smithsonian National Museum of African American History and Culture ในวอชิงตัน หรือ National Cathedral of Ghana เมืองอักกรา ประเทศกาน่า ที่จะสร้างเสร็จเร็วๆ นี้  แนวคิดข้อสำคัญของ Making Memory คือการแสดงให้เห็นถึงการสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ความทรงจำของมนุษย์ผ่านวิธีการออกแบบทางสถาปัตยกรรม พร้อมไปกับการตั้งคำถามถึงมุมมองของผู้ชมที่มีต่ออนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานในฐานะของวัตถุทางความทรงจำ ท่ามกลางโลกดิจิตอลในปัจจุบันว่าเป็นไปอย่างไร 

The retrospective exhibition for monuments and memorials by British-Ghanaian architect, Sir David Adjaye at the Design Museum, London features seven important projects created throughout 20 years of work such as the latest Smithsonian National Museum of African American History and Culture in Washington D.C. and the new National Cathedral of Ghana in Accra that is expected to be completed soon. The concept of   Making Memory is to demonstrate a reflection on the history of human memory through architectural design while questioning the aspect of the audience towards monuments and memorials as an object/site of memory considering how they think among the digital world today.

designmuseum.org

3D MAP OF AMSTERDAM’S CANALS VIA “ROBOATS”


“Roboats” คือโครงการวิจัยด้วยความร่วมมือกันระหว่าง MIT Senseable City Lab และ Amsterdam Institute for Advanced Metropolitan Solutions (AMS) ในการพัฒนาเรือหุ่นยนต์ไร้คนขับ 
สำหรับใช้ในการพัฒนาเมืองและเส้นทางน้ำในอัมสเตอร์ดัม ซึ่งนอกเหนือไปจากการเป็นต้นแบบของการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของเมืองในการเก็บขยะลอยน้ำ ส่งสินค้า และเป็นเรือโดยสารแล้ว ยังทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของเมืองอีกด้วย โดยการใช้ “Laserscape” เทคโนโลยีการทำแผนที่สามมิติ (3D Mapping Technology) ที่การควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มจากติดตั้งกล้องเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบ จากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปประมวลผลกับ computer vision และระบบเลเซอร์สแกนนิ่ง (Lidar) เทคโนโลยีที่จะรวบรวมภาพและข้อมูลนับล้านจุด เพื่อใช้เป็นระบบนำทางเรือและรายงานข้อมูลสภาพทางน้ำที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในแผนการพัฒนาระยะยาว เรือลำหนึ่งจะสามารถเก็บข้อมูลทัศนียภาพและจำแนกวัตถุรอบๆ ได้มากกว่า 300,000 จุดต่อวินาที คูน้ำลำคลองที่แตกสายแยกย่อยไปทั่วทั้งเมือง จะช่วยให้การสร้างภาพแผนผังของเมืองแบบ real-time พัฒนาต่อไปยิ่งขึ้นในอนาคต

“Roboats” is a research project by MIT’s Senseable City Lab created in collaboration with the Amsterdam Institute for Advanced Metropolitan Solutions (AMS) to develop a driverless boat that can support the development of urban waterways. The new prototype not only serves the basic needs of the city, to collect waste, deliver goods, and transport people, but it also collects data about the city. The Laserscape, a 3D mapping technology is powered by artificial intelligence. How does it work? One can install a camera on the boat to collect information about the surrounding environment. The received data is then processed with computer vision and laser scanning technologies (Lidar). This new technology combines millions of images and data points to navigate and report in a continuously updated fashion the condition of the waterways. Looking at the longterm goals of the project, each boat will collect landscape data and process the classification of objects at a capacity of more than 300,000 points per second. The network of canals in Amsterdam around the city will allow for this realization of a sustainable real-time map of the city to happen in the future.

roboat.org

OPEN CALL: 72 HOUR URBAN ACTION LOBEDA 


72 Hour Urban Action การแข่งขันออกแบบทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่สาธารณะ ครั้งที่ 7 
กำลังเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยในครั้งนี้จัดขึ้นที่ Lobeda ในเมือง Jena เยอรมนี พื้นที่ซึ่งซ้อนทับไปด้วยสองช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏหลงเหลืออยู่ในรูปของอาคารสถาปัตยกรรม ได้แก่ อาคารสมัยใหม่แบบ Bauhaus และ อาคารสูงที่สร้างขึ้นในยุคสมัยที่เยอรมนีตะวันออกยังปกครองพื้นที่ การแข่งขันในครั้งนี้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วม 120 คนจาก 10 ทีมนานาชาติ ตีความพื้นที่เสียใหม่ผ่านการออกแบบและสร้างสิ่งก่อสร้าง ซึ่งแต่ละทีมจะได้รับสถานที่และภารกิจต่างกันออกไป ภายใต้โจทย์หลักเดียวกันคือการตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ และที่สำคัญคือต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น
การแข่งขันจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ หมดเขตรับสมัครวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เวลา 23.59 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง 72hoururbanaction.de/en

Open call for the seventh edition of 72-Hour Urban Action, an architecture competition in the public space of Lobeda in the city of Jena, Germany. This site is situated in an area where two important historical events manifested in the form of modern ‘Bauhaus’ architecture and tower-blocks which were built during the socialist period of the GDR. 72-Hour Urban Action Lobeda invites 120 participants in ten international teams to rethink the area through design and building processes at different sites in order to develop a mission in response to local needs. The rule is that everything has to be finished within three days. For further information click  72hoururbanaction.de/en

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *