THE DEPARTMENT OF LANDSCAPE ARCHITECTURE, KASETSART UNIVERSITY

degree show2024-landscape feature

degree show2024-landscape

วิทยานิพนธ์ 7 เรื่อง จากนิสิตภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(For English, press here)

ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างนิสิตนักศึกษาที่มีความเป็นเลิศในด้านการวางผังและการออกแบบภูมิทัศน์ หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิกแห่งประเทศไทย ภาควิชายังมีความภาคภูมิใจในการดูแลผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสถาปัตยกรรมที่สามารถรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในสาขาภูมิสถาปัตยกรรม

สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างคือความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ต่อการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยส่งเสริมความร่วมมือกับคณะต่างๆ เช่น ป่าไม้ การเกษตร และสังคมศาสตร์ หลักสูตรของภาควิชาสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานที่ลงตัวของสาขาวิชาที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษามีความรอบรู้ในการวางแผนภูมิทัศน์และหลักการออกแบบอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ภาควิชายังให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น การปรับตัว และการรับมือกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยเตรียมนักศึกษาของเราด้วยเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาในสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา

 

degree show2024-landscape

โครงการปรับปรุงโรงบ่มยาสูบสบกอน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อ.เชียงกลาง จ.น่าน
โดย ศักดิพงศ์ ชมอินทร์

เป็นโครงการปรับปรุงโรงบ่มยาสูบเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานและเป็นผลผลิตหลักที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนชุมชนเชียงกลางโดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนในอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยโครงการปรับปรุงโรงงานบ่มยาสูบสบกอนจัดทำขึ้นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และมีเป้าหมายสูงสุด คือ การเป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้คนกับพื้นที่ โดยกิจกรรมที่ใช้การทดลอง ค้นหา และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสร้างประสบการณ์เฉพาะให้กับศิลปิน นักท่องเที่ยว และผู้มาเยี่ยมเยือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักศึกษา: ศักดิพงศ์ ชมอินทร์
ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐศิพร แสงเยือน
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959227459932&set=a.604655477923645
อีเมล: sakdipong.c@ku.th

 

degree show2024-landscape

ศูนย์ดูแลรักษาสุขภาพ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
โดย ภาพิมล นาคสะอิ้ง

ในเมืองที่มีความวุ่นวาย มลพิษมากมาย ส่งผลต่อสุขภาพทำให้ผู้คนมองหาพื้นที่สีเขียวที่ได้หยุดพัก และดื่มด่ำธรรมชาติ ศูนย์ดูแลรักษาสุขภาพแห่งนี้จึงเปรียบเป็นพื้นที่พักผ่อนและส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี ภายใต้แนวคิด Connect with Nature โดยผ่านประสาทสัมผัสการรับรู้ทั้ง 5 และการรับพลังงานจากธรรมชาติ ซึ่งบรรยายกาศโดยรวมของโครงการมีการไล่ระดับความเข้มข้นของธรรมชาติ จากการใช้วัสดุทางธรรมชาติ พื้นที่สวนหย่อม พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่เกษตรกรรม และธรรมชาติมากเป็นพื้นที่ป่าไม้ ทำให้โครงการเป็นเสมือนพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักกายและพักจากความวุ่นวายรายรอบจากชีวิตและความเป็นเมือง

นักศึกษา: ภาพิมล นาคสะอิ้ง
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปาณิทัต รัตนวิจิตร
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959474126574&set=a.604655477923645
อีเมล: papimol.n@ku.th

 

degree show2024-landscape

โครงการออกแบบวางผังโรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่น จังหวัดภูเก็ต
โดย กานต์กวิน อิศรางกูร ณ อยุธยา

ในอดีตโรงเรียนเป็นกลุ่มสังคมที่สอนเกี่ยวกับการเป็นมนุษย์และความหมายของชีวิต แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยม อีกทั้งโรงเรียนในระบบการศึกษาไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ passive learning ซึ่งต่างจากโรงเรียนทางเลือกที่เป็นการศึกษาแบบ active learning ที่เน้นการลงมือทำและการเรียนนอกห้องเรียน

โรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่น ถือเป็นโรงเรียนต้นแบบแนวทางเลือกรูปแบบองค์รวมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการศึกษา ใช้หลักภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาพ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้ธรรมชาติเป็นสื่อในการส่งเสริมการเรียนรู้

นักศึกษา: กานต์กวิน อิศรางกูร ณ อยุธยา
อาจารย์ที่ปรึกษา: รองศาสตราจารย์ ดร.สิกิต ดวิอนอนโต อริฟวิโดโด
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959407459914&set=a.604655477923645
อีเมล: karnkawin.i@ku.th

 

degree show2024-landscape

Narathat Beach Park Improvement Project: An Oasis of Recreation, Culture, and Sustainability
โดย จิรภัทร จันทรวิศรุต

สวนสาธารณะหาดนราทัศน์ มุ่งพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นทั้งสถานที่พักผ่อน นันทนาการ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น นำเสนอวัฒนธรรม และคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตชุมชน ผ่านการใช้นิเวศวิทยาในการออกแบบ วางผังพื้นที่เป็น 6 โซน ประกอบด้วย โซนต้อนรับและเรียนรู้วิถีชุมชน โซนชุมชนประมงพื้นบ้าน โซนตลาดค้าขายและกิจกรรมนันทนาการ โซนกีฬาและกิจกรรมทางน้ำ โซนสวนริมน้ำ และโซนอนุรักษ์พืชพรรณชายหาด เพื่อสร้างสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว ที่เชื่อมโยงผู้คนและกิจกรรม ส่งเสริมความยั่งยืนของเมือง

นักศึกษา: จิรภัทร จันทรวิศรุต
ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐศิพร แสงเยือน
ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959327459922&set=a.604655477923645
อีเมล: jirapat.chant@ku.th

 

degree show2024-landscape

การออกแบบพัฒนาสุขภาวะชุมชนท่าฉลอมและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
โดย ชฎาทิพย์ นิลอำพร

โครงการพัฒนาท่าฉลอมจังหวัดสมุทรสาคร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน สอดคล้องกับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางรองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางหลักอย่างมหาชัย การออกแบบเน้นการแก้ปัญหาเมืองโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของท่าฉลอม ด้วยการปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวเดิมและส่งเสริมสภาพแวดล้อมซึ่งอุดมไปด้วยวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และการพาณิชยกรรม โครงการนี้ได้ยกระดับท่าฉลอมจากพื้นที่เปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทาง และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวชุมชน และส่งเสริมให้เป็นเมืองแห่งการสัญจรหลากทางเลือก

นักศึกษา: ชฎาทิพย์ นิลอำพร
ที่ปรึกษา: รองศาสตราจารย์ ดร.สิกิต ดวิอนอนโต อริฟวิโดโด
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959450793243&set=a.604655477923645
อีเมล: chadatip.n@ku.th

 

degree show2024-landscape

โครงการออกแบบวางผังหมู่บ้านอุทัยแลนด์: ชุมชนเชิงนิเวศสร้างสรรค์ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
โดย อมิตา คล้ายพยัฆ

หมู่บ้านอุทัยแลนด์: ชุมชนเชิงนิเวศสร้างสรรค์ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี มีจุดเริ่มต้นมาจากการรวมตัวของกลุ่มคนวัยทำงานซึ่งส่วนมากทำงานทางด้านการออกแบบ ดำเนินการเตรียมที่อยู่อาศัยไว้ใช้ชีวิตหลังเกษียณและสามารถใช้ชีวิตไปได้นานๆ โดยมองเห็นถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางสิ่งแวดล้อม แหล่งอาหาร และเศรษฐกิจ จึงมีแนวคิดที่จะสร้างที่อยู่อาศัยแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยโครงการต้องตอบรับความต้องการของชีวิตวัยเกษียณได้อีกด้วย ทั้งนี้สมาชิกของโครงการมีแผนจะนำองค์ความรู้ที่ตนเองมีมาสร้างประโยชน์ให้เกิดคุณค่านำไปสู่การเป็นสูงวัยอย่างมีคุณค่า และแก่ชราอย่างมีคุณภาพ

นักศึกษา: อมิตา คล้ายพยัฆ
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959357459919&set=a.604655477923645
อีเมล: amita.kh@ku.th

 

degree show2024-landscape

อะเทมโพรัล อาร์ต สเปซ จังหวัดเชียงใหม่
โดย ณัฏฐากร กิตติทวีสิน

Atemporal Art Space เป็นโครงการสมมติที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงาน Mango Art Festival และ De Siam Antiques Warehouse ซึ่งจัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยในพื้นที่โกดังเก็บของเก่าที่ล้วนผ่านกาลเวลามายาวนาน เป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้าง ‘art space’ ที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจากสองช่วงเวลาของจังหวัดเชียงใหม่ และยึดคำว่า ‘atemporal’ เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งมีความหมาย คือ สภาวะที่มีอยู่หรือคงอยู่โดยไม่ยึดติดเกี่ยวโยงกับเวลา โดยตีความเอกลักษณ์ล้านนาผ่านมุมมองศิลปะร่วมสมัยและนำมาแสดงออกในรูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม เชิญชวนให้ผู้ใช้งานเห็นคุณค่าของสิ่งเก่าแก่อันเป็นรากฐานริเริ่มบันดาลใจให้เกิดสิ่งใหม่ ด้วยความหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองส่งต่อความสร้างสรรค์แก่ผู้ทำงานสร้างสรรค์ต่อไป

นักศึกษา: นางสาวณัฏฐากร กิตติทวีสิน
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐศิพร แสงเยือน
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1075959280793260&set=a.604655477923645
อีเมล: nuttakorn.ki@ku.th

 

land.arch.ku.ac.th
facebook.com/LandArchKU

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *