POONTANY
รู้จักกับ Poontany นักออกแบบสื่อสารข้อมูลที่ผสมผสานเทคโนโลยีและความคลาสสิก ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกราฟิกที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ Read More
ARCHITECTURE FOR DOGS FIRST DEBUTED IN MIAMI
Architecture for Dogs จุดเริ่มต้นโปรเจกต์สำหรับน้องหมาที่ท้าทายความคิดและการสร้างสรรค์จากสถาปนิกชื่อดัง ร่วมสำรวจมุมมองใหม่ของการออกแบบ แต่ยังคงทิ้งคำถามเกี่ยวกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของโปรเจกต์นี้
CHI YI CHANG
สนทนากับ Chi Yi Chang ประธานของ Taiwan Design Research Institute (TDRI) – สถาบันวิจัยงานออกแบบ ผู้เป็นเจ้าของเวที Golden Pin Design Award
PHOTO ESSAY : HONG KONG SOLITAIRE
TEXT & PHOTO: PATRICK KASINGSING
(For English, press here)
ฮ่องกงทำให้ฉันประทับใจอย่างที่ไม่มีเมืองไหนทำได้ ตั้งแต่การเยือนครั้งแรกในปี 2017 จนถึงการแวะเยี่ยมเยียนครั้งล่าสุดเมื่อกันยายนที่ผ่านมา พื้นที่เพียง 1,108 ตารางกิโลเมตร อันเต็มไปด้วยความแตกต่างนี้ยังคงชวนให้ฉันกลับไปตลอด การเดินทางกลับมาทุกครั้งราวกับเป็นการค้นพบเรื่องราวครั้งใหม่อยู่เสมอ อะไรที่คุ้นเคยก็กลับมีบางอย่างแตกต่างไปตลอดเวลา มันเป็นดินแดนที่หอคอยกระจกและเหล็กตั้งสูงตระหง่านเหนือถนนหนทาง ขณะเดียวกันก็ยังคงตัวตนและจิตวิญญาณของช่วงเวลาที่แตกต่าง บนที่แห่งนี้ “นครหลวงของโลกเอเชีย” ค่อยๆ ละลายลงเป็นร่องรอยแห่งอดีตของการเป็นเมืองท่าที่รู้จักกันในนาม Fragrant Harbor
ฮ่องกงอื้ออึงไปด้วยความเร่งรีบ มันเร็ว อึกทึก และไม่หยุดยั้ง แต่ในบางครั้งคราว มันก็หยุดนิ่ง หายใจลึก และเผยโฉมด้านที่เงียบสงบ อันเป็นช่วงเวลาอันหาได้ยากที่ฉันต้องการบันทึกไว้ในภาพชุดนี้ ร่างของบุคคลเดียวดายยืนอยู่ใต้เงาตึกระฟ้า หญิงสวมชุดเขียวที่ตกอยู่ในห้วงความคิดตนเองริมถนน Avenue of Stars หรือถนนของเขตเยาวมาไตที่ค่อยๆ ตื่นขึ้นในยามรุ่งเช้า ช่วงเวลาเงียบสงบเหล่านี้ ซึ่งแทบจะถูกมองข้ามท่ามกลางความเร่งรีบของเมือง กลับเป็นสิ่งที่ฉันมักจะสนใจ เป็นรายละเอียดเล็กอันแท้จริงของมนุษย์ที่ซึ่งสะท้อนและก่อร่างสร้างตัวขึ้นเป็นตัวตนของฮ่องกง
___________________
แพทริก คาซิงซิง (Patrick Kasingsing) เป็นผู้อำนวยการศิลป์ ช่างภาพ นักเขียน และนักอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมชาวฟิลิปปินส์ เขาก่อตั้งแพลตฟอร์ม @brutalistpilipinas และ @modernistpilipinas เพื่อเฉลิมฉลองมรดกทางสถาปัตยกรรมของประเทศ และเริ่มต้น Kanto.PH นิตยสารออนไลน์ที่นำเสนอการออกแบบและวัฒนธรรมในฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการสร้างสรรค์ของนิตยสารสถาปัตยกรรม BluPrint ที่ช่วยฟื้นฟูอัตลักษณ์องค์กร รวมถึงควบคุมการออกแบบสร้างสรรค์สำหรับสิ่งพิมพ์ของ One Mega Group หลายฉบับ ในฐานะผู้อำนวยการศิลป์ของนิตยสาร adobo เขาได้รับรางวัล Philippine Quill จากผลงานการปรับภาพลักษณ์ ผลงานเขียนและภาพถ่ายของเขายังปรากฏในสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ Birkhäuser Verlag, Braun, DOM Publishers, PURVEYR และ Vogue Philippines
TOFF STUDIO
รู้จักกับสตูดิโอออกแบบภายในที่อยู่อาศัยที่ก่อตั้งโดย นาว-อัคราวุฒิ รัชต์บริรักษ์ ซึ่งทำงานภายใต้สไตล์ที่มุ่งเน้นการสร้างความแตกต่าง สง่างาม และมีชีวิตชีวา Read More
DIN DAENG HOUSE
บ้านดินแดงอายุกว่า 27 ปี ที่ถูกบอกเล่าใหม่โดย Everyday Architect Design Studio แต่ยังคงความเป็นตัวเองไว้เหมือนเดิม
PERFECT DAYS
โลกภายนอกและโลกภายใน ว่าด้วยวันๆ หนึ่งที่เลิศวิไลใน Perfect Days
THE 7TH BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL
สำรวจโลกของหนังทดลองที่ไร้ขอบเขต ใน ‘เทศกาลหนังทดลองกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7’ ภายในธีม ‘ไร้ที่ มีทาง’ (Nowhere Somewhere) อันว่าด้วยความก่ำกึ่งในมณทลต่างๆ
SUNDAY SKETCHES
TEXT & PHOTO: CHRISTOPH NIEMANN
(For English, press here)
เวลาที่ผมสเก็ตช์งานในวันอาทิตย์ มันไม่ได้เป็นเรื่องของการทำตามแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นอย่างปุบปับอะไรหรอก ผมแค่เลือกวัตถุสักชิ้นแล้วก็จ้องมันไปมา ลองเปลี่ยนมุมมองของมันบ้าง เอามันไปเล่นกับแสงบ้าง (ที่หมายถึงแค่การขยับโคมไฟบนโต๊ะแหละนะ) จากนั้นที่เหลือก็เป็นเรื่องของการเปิดใจให้กว้างที่สุดเพื่อดูว่ามุมมองที่มันดูประหลาดๆ ที่เกิดขึ้นจะทำให้ผมนึกถึงรูปทรงอะไรที่คุ้นเคยบ้างหรือเปล่า
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมันก็… ไม่ค่อยเวิร์ค
แต่เวลาที่มันเวิร์คขึ้นมา ผมก็ไม่เคยคิดว่าสิ่งนี้เป็นพรสวรรค์พิเศษในการเชื่อมโยงภาพของผมหรอก อาจจะแค่ว่าผมมีความอดทนที่จะจ้องมองมันนานมากพอ ซึ่งถ้าเป็นคนปกติทั่วไปเขาก็คงจะไปทำในสิ่งที่มันมีสาระกว่านี้ นั่นก็คือเขาก็ไปคงทำอะไรต่อมิอะไรที่คนเราควรจะต้องไปทำในชีวิตเสียมากกว่าน่ะครับ
_____________
Christoph Niemann (*1970) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักวาดภาพประกอบ ผลงานของเขาปรากฏบนปกนิตยสารชั้นนำอย่าง The New Yorker, National Geographic และ The New York Times เป็นประจำ ผลงานของนีมันน์ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการมากมายทั่วโลก รวมถึงที่ Museum für Kunst und Gewerbe (ฮัมบูร์ก, เยอรมนี), Museum of Contemporary Art (บูคาเรสต์, โรมาเนีย), Cartoonmuseum (บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์), Galerie d’Italia (วิเชนซ่า, อิตาลี), Chemie Museum (ไถหนาน, ไต้หวัน), MoCA Museum (เซี่ยงไฮ้), และ MoMA (นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา)