AYUTTHAYA REVIVED

OVER THE PAST COUPLE OF YEARS, THERE HAVE BEEN MANY INTERESTING ACTIVITIES THAT HAVE TAKEN PLACE UNDER THE  250TH YEAR: THE MEMORIAL OF AYUTTHAYA-THONBURI PROJECT BY THE SATHIENKOSES-NAGAPRADIPA FOUNDATION AYUTTHAYA REVIVED

from the lecture about the different cultural dimensions of ‘water’ to the exhibition ‘Root of Ayutthaya’ that brought together the revival of Ayutthaya and Contemporary art by national and newcomer artists of various artistic disciplines. The activities were initiated from an intention to revive and promote the 400-year-old cultural resource that is the glorious Ayutthaya Era for the modern generation to not only learn from, but also be able to creatively apply the long-existing know-how in a more contemporary fashion.

Nevertheless, it seems like Ayutthaya Revived, the workshop held as a collaboration between Sathirakoses-Nagapradipa Foundation and the Faculty of Architecture, Chulalongkorn University as well as Poh-Chang Academy of Arts, Rajamangala University of Technology Rattanakosin is one of their recent activities that encapsulates the ‘Ayutthaya’ identity and how it can be reinterpreted in a more contemporary context. The 10 works were originally created through collaboration between emerging designers and young craftsmen and range from ‘Gold Through,’ a decorative vase that utilizes epoxy molding to render more dimensional visuals within a traditional Thai pattern to ‘Lai-Rod-Nahm Tea Caddy,’ a 7-piece tea caddy set where the gold exterior surface gradually reveals its hidden intricate pattern after a period of usage. ‘Hand Block’ is another interesting project where the reinterpretation of printed textiles gives birth to the design of a series of menswear and womenswear. The work employs the traditional technique of carved woodblock printing where the superimposed details express the beauty of imperfection.

We have been down that road where we praise others for their new interpretations of cultural heritage, and along that line, we forget that our own cultural roots are just as intriguing even though they have never been seriously explored and utilized. “Culture doesn’t die. It just changes hands and alters. Instead of starting the count at 1 all the time, why don’t we start at 3 or 4? Why don’t we use the techniques and thought processes that have been with us all along throughout these many hundreds of years and make them more contemporary?” These are the questions that Pat Chantachot, the project manager of 250th Year: The Memorial of Ayutthaya- Thonburi, left for us to ponder.

ตลอดสองปีที่ผ่านมา มีกิจกรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมายภายใต้โครงการอนุสรณ์อยุธยา-ธนบุรี 250 ปี โดยมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ตั้งแต่การบรรยายว่าด้วยวัฒนธรรม“น้ำ” ในมิติต่างๆ มาจนถึงนิทรรศการ “อยุธยาไม่เคยสิ้น รากเราไม่เคยสูญ” ที่รวบรวมเอาผลงานการฟื้นฟูศิลปะอยุธยาและศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินแห่งชาติและศิลปินหน้าใหม่จากหลากหลายสาขา มาจัดแสดงให้พวกเราได้เห็นและสัมผัสกัน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่พูดถึง (และยังไม่ได้พูดถึงอีกมากมาย) เหล่านี้ต่างก็เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจที่จะรื้อฟื้นและเผยแพร่องค์ความรู้อายุกว่า 400 ปี ของสมัยอยุธยาให้พวกเราได้กลับมาทบทวนและหยิบนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า Ayutthaya Revived เวิร์กช็อปที่มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จะเป็นกิจกรรมล่าสุดที่แสดงให้เราเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนกว่าใครว่า “ความเป็นอยุธยา” นั้นจะสามารถถูกนำมาตีความใหม่ในบริบทร่วมสมัยได้อย่างไร โดยผลงานทั้ง 10 ชิ้นที่เกิดขึ้นใหม่จากการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบรุ่นใหม่ และช่างหัตถศิลป์รุ่นเยาว์ ไม่ว่าจะเป็น ‘Gold Through’ แจกันตกแต่งที่ใช้การหล่อ epoxy มาช่วยให้การเขียนลายรดน้ำในแต่ละชั้นนั้นมีมิติตื้นลึกมากยิ่งขึ้น ‘Lai-Rod-Nahm Tea Caddy’ ถ้วยชาจำนวน 7 ชิ้น ที่ในช่วงแรกที่ใช้ ผิวด้านนอกจะมีเพียงสีทอง แต่เมื่อนำมันไป “รดน้ำ” หรือใช้งานไปสักพักหนึ่ง ผิวสีทองนั้นจะค่อยๆ ถูกลอกออกและเผยให้เห็นลายรดน้ำที่ซ่อนอยู่ข้างใน หรืออย่าง ‘Hand Block’ ที่มีการตีความใหม่ของผ้าพิมพ์จนเกิดเป็นเครื่องแต่งกายของทั้งชายและหญิงที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ผ้าด้วยแม่พิมพ์ไม้แกะสลักแบบดั้งเดิม มาซ้อนทับและแสดงให้เห็นว่าความงามจากความไม่สมบูรณ์แบบนั้นเป็นอย่างไร

หลายครั้งที่เราเอาแต่ชื่นชมความสามารถของชาติอื่นๆ ในการหยิบเอามรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมมาตีความใหม่กัน โดยที่ลืมไปว่าประเทศไทยของพวกเราเองนั้นก็มีมรดกทางวัฒนธรรมที่ก็ไม่ได้ด้อยกว่าใครเหมือนกัน เพียงแค่อาจจะยังไม่ถูกศึกษาและหยิบมาใช้อย่างจริงจังก็เท่านั้นเอง “วัฒนธรรมมันไม่ตาย มันแค่เปลี่ยนมือ แล้วก็เปลี่ยนแปลง แทนที่เราจะเริ่มนับหนึ่งใหม่กันตลอด ทำไมเราไม่เริ่มนับกันที่ 3 ที่ 4 เลย ไม่เอาเทคนิคและวิธีการคิดที่มีอยู่เดิมแล้วหลายร้อยปีมาต่อยอด แล้วทำให้มันร่วมสมัยขึ้นล่ะ” เป็นคำถามที่พัฒน์ จันทะโชติ ผู้จัดการโครงการอนุสรณ์อยุธยา-ธนบุรี 250 ปี ทิ้งท้ายไว้ให้เราได้คิดต่อกัน

TEXT : PAPHOP KERDSUP
PHOTO COURTESY OF AYUTTHAYA REVIVED
snf.or.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *