A FLOWERY CRY OF BIRTH

‘A FLOWERY CRY OF BIRTH’ IS THE RESULT OF ‘AN ARTIST IS TRYING TO BEING A WRITER,’ AN EXHIBITION BY ARAYA RASDJAMREARNSOOK

held at 100 Tonson Gallery that recently ended earlier this year. The artist allotted the six-month-span of the exhibition for the writing of her 303-page-long novel that tells the story of a female character who lost her mother as a child, resulting in her grandmother acting as her guardian. She later moved to Bangkok and studied art at an arts university in the Tha Phra Chan neighborhood. After years of studying abroad, she later returned home and began working as an arts professor in a university of a rural province where she also raised a large number of dogs. These dogs were later brought with her and used within an art exhibition at documenta in Germany. After having read quite a few pages, many would sense that the novel was conceived from Rasdjarmrearnsook’s own life as well as her memories. The name ‘Lyliya’ of the character (which is shortened to ‘Ya’), or the university, ‘Silpa-a-thorn University’ doesn’t really allow for this fiction to be about anybody else but the author herself. The autobiographical tone of the novel is made more prominent by the pages where images of the artist’s works are printed on stencil paper and inserted within the text sporadically, tightening what seems to be an interwoven connection between the novel’s narrative and the artist’s own life story.

The narrated scene about a quarrel where the stepmother yells harsh words to the stepdaughter is so intense that it depicts the extent of the sorrow that the girl has to carry on her shoulders, but is executed in such a way that the dramatic element is made to feel moderate and doesn’t distract from the overall storytelling. It is pretty much the same feeling when the story reaches the part where the girl feels so desperate about her own faith that she recklessly decides to take ‘Magood’ (the crippled dog she adopted) to a downtown clinic by car before asking for him to be put to sleep. She later carried him home and buried his dead body in her backyard. During this incident, the author raised several interesting issues about art and the limitations of female artists working within Thai society, particularly the conventional criteria that is being used to value and evaluate art.

For those who have been following Rasdjarmrearnsook’s writing, one might notice that the pieces of information missing in her previous short stories are included within this novel. The jigsaw pieces are now being put together into one complete picture with the combined elements of ‘non-fiction’ and ‘fiction’ being beautifully obscured, making ‘A Flowery Cry of Birth’ both an enjoyable novel to read as much as it is a great autobiographical work and a wonderful description of her previous artistic creations.

‘ผุดเกิดมาลาร่ำ’ เป็นผลลัพธ์ของนิทรรศการศิลปะ ‘อารยา ราษฎรจำเริญสุข กับ ศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน’ ที่เพิ่งจบไปเมื่อช่วงต้นปี (จัดที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี่) โดยศิลปินใช้เวลา 6 เดือนของนิทรรศการเป็นกรอบเวลาในการเขียนนวนิยายความหนากว่า 303 หน้า เล่าเรื่องชีวิตของตัวละครหญิงสาวที่แม่ตายตั้งแต่เด็กๆ ใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่กับยาย ย้ายเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปะย่านท่าพระจันทร์ กลับมาเป็นอาจารย์สอนศิลปะในมหาลัยต่างจังหวัดหลังจากจบจากเมืองนอก เลี้ยงหมาเป็นครอกๆ และเอาหมาไปแสดงที่งาน documenta ที่เยอรมัน อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงรู้สึกขึ้นมาว่าอารยาเขียนนวนิยายเรื่องนี้ด้วยเลือดเนื้อและความทรงจำของตัวเธอเอง การใช้ชื่อสมมติอย่างเช่น ชื่อไลลียา (ที่เรียกย่อๆ กันในเรื่องว่า ยา) หรือ ‘มหาวิทยาลัยศิลปะอาทร’ ไม่ได้ช่วยให้เรื่องกลายเป็น ‘เรื่องแต่ง’ ที่เกี่ยวกับคนอื่น แต่ตีกลับมายังชีวิตตัวผู้เขียนเองจนทำให้จากการอ่านนิยายกลายเป็นอ่านอัตชีวประวัติศิลปินไปเสียอย่างนั้น สำทับด้วยการแทรกภาพประกอบด้วยภาพผลงานศิลปะของศิลปินที่ถูกพิมพ์ลางๆ ลงบนกระดาษไขเป็นระยะๆ ที่สร้างความสัมพันธ์และยึดโยงเรื่องเข้ากับชีวิตศิลปินให้แน่นเข้าไปอีก

การบรรยายถึงฉากการผรุสวาทของแม่เลี้ยงที่พ่นคำด่าสารพัดใส่ลูกเลี้ยงทำได้อย่างหนักหน่วงจนสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดที่เด็กหญิงต้องแบกรับแต่ก็ไม่ได้เวิ่นเว้อมากเกินไปจนเสียจังหวะการเล่าเรื่อง เช่นเดียวฉากที่ผู้หญิงรู้สึกสิ้นหวังกับชะตากรรมเดรัจฉานจนวู่วามตัดสินใจอุ้มมะกรูด (หมาพิการที่เก็บมาเลี้ยง) ใส่รถพาไปฉีดยาตายที่คลินิกในเมืองและแบกร่างไร้ชีวิตกลับมาขุดหลุมฝังบริเวณสวนหลังบ้าน พร้อมกันนั้น ระหว่างเรื่อง อารยายังแทรกการตั้งคำถามประเด็นศิลปะหลายๆ ประเด็นได้อย่างน่าสนใจ ทั้งข้อจำกัดในการทำงานศิลปะของศิลปินเพศหญิงในไทย โดยเฉพาะระเบียบวิธีการประเมินคุณค่างานศิลปะในไทยที่ยังติดอยู่กับประเพณีเดิมๆ

สำหรับคนที่เคยติดตามงานเขียนของอารยามาก่อน จะพบว่าข้อมูลหลายๆ อย่างที่ขาดไปในเรื่องสั้นก่อนๆ ถูกนำมาเขียนไว้ในที่นี้ด้วย เป็นเหมือนกับจิ๊กซอว์ที่เชื่อมต่อเรื่องสั้นที่ผ่านๆ มาให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน การผสมกันของ ‘เรื่องจริง’ และ ‘เรื่องแต่ง’ ในเรื่อง (ที่แทบแยกจากกันไม่ออก) ทำให้ผุดเกิดมาลาร่ำเป็นได้ทั้งนวนิยายที่อ่านเอาสนุก อัตชีวประวัติของศิลปิน หรือเป็นคำอธิบายประกอบผลงานศิลปะหลายๆ ชิ้นที่ผ่านมาของอารยา

TEXT & PHOTO : NAPAT CHARITBUTRA
100tonsongallery.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *