WITHIN MALAYSIA’S GRAPHIC DESIGN COMMUNITY THIS PAST MONTH, NOTHING HAS BEEN THE BUZZ OF THE HIGHLY CRITICIZED,
adorable-looking logo for the Visit Malaysia 2020 campaign designed by the country’s very own Ministry of Tourism. The criticism went down pretty hard, and like other internet folks everywhere, we saw Malaysia’s graphic design enthusiasts upload their own versions of the logo with designs that look more contemporary and somewhat less conventional than the one released by the government department. One of the many works that proposed itself as an alternative was one with a Godzilla fighting a Phaya Naga on the number 2020 that was brightly colored in a shocking pink. Looking at the credit, we later found out that the logo’s origin came from an exuberant graphic design by Kaiju, Kuala Lumpur’s first Thai-Japanese fusion restaurant.
The restaurant was first opened in 2016 at APW Bangsar by a chef and owner who is a hardcore Japanese manga buff. Even the name ‘Kaiju’ comes from the Japanese word for the giant monsters. The brief was later given to LIE, a Malaysian graphic design studio, to oversee the design of the restaurant’s brand identity with POW being responsible for the design of the interior space. LIE went down a conventional path creating a drawing with a Godzilla breathing out its deadly fire accompanied by artistic details that mimic the old-school style of manga. The design was, however, intentionally made to look like a children’s drawing in order to tone down the viciousness of the Kaiju. Thai Phaya Naga, the Kaiju’s opponent, was created from the lines and silhouette of traditional Thai drawings that were made more contemporary. Together, the presence of the two mythical creatures in the design embodies the restaurant’s Thai and Japanese descent. The three languages used with the logo are Thai, English and Japanese with black, gold and shocking pink being chosen as the brand’s primary colors. The pink is derived from the color of some of the furniture POW used within the interior while other graphic elements found in the menu were taken from the large-scale, minimal-looking dragon hung from the restaurant’s ceiling. Both the Kaiju and Phaya Naga found their way to other media such as name cards, menus, placemats and signage including online advertisements published on different social media platforms. All and all, Kaiju is a perfect example of a meet and mingle between the owner’s passion and the graphic and interior designer’s creative minds.
วงการออกแบบกราฟิกของมาเลเซียในเดือนที่ผ่านมา คงไม่มีอะไรร้อนแรงไปกว่ากระแสวิจารณ์โลโก้แสนน่ารักน่าชังของ Visit Malaysia 2020 ที่ออกแบบโดยข้าราชการกระทรวงท่องเที่ยวของมาเลเซีย โลโก้ตัวนี้โดนสับไม่เป็นท่า และก็ตามสูตรของชาวเน็ตไม่ว่าที่ไหนในโลก พวกเขาพากันอัพโหลดโลโก้ในแบบของพวกเขาที่มีหน้าตาร่วมสมัยและดูไม่ราชการเท่าของกระทรวงฯ หนึ่งในนั้นก็คือโลโก้รูปก็อตซิลล่าที่โผล่มาสู้กับพญานาคบนตัวเลข 2020 สี shocking pink และเมื่อดูจากเครดิตคนทำที่แปะไว้ เราก็ได้รู้ว่านั่นเป็นโลโก้ที่มีที่มาจากกราฟิกจัดจ้านของ Kaiju ร้านอาหารฟิวชั่นไทย-ญี่ปุ่น แห่งแรกของกัวลาลัมเปอร์
Kaiju เปิดตัวเมื่อปลายปี 2016 ที่ APW Bangsar โดยมีเชฟและเจ้าของร้านเป็นพวกบ้ามังหงะของญี่ปุ่นเข้าเส้น ชื่อไคจูก็เอามาจากคำเรียกตำนานสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์อย่างก็อตซิลล่า หลังจากนั้น พวกเขาจึงส่งต่อโจทย์ให้ LIE สตูดิโอออกแบบกราฟิกของมาเลเซีย เพื่อเข้ามารับหน้าที่ออกแบบ brand identity ให้กับร้าน และให้ POW ออกแบบสเปซของร้าน LIE เลือกใช้วิธีวาดเส้นก็อตซิลล่ายืนพ่นไฟออกมาในแบบดั้งเดิม เรียกว่าแทบจะล้อมาจากลายเส้นมังหงะสมัยก่อน แต่ปรับให้เหมือนลายเส้นที่เด็กวาดมากขึ้นเพื่อลดความโหดของก็อตซิลล่าลง และเมื่อบวกเข้ากับการเลือกให้คู่ต่อสู้ของก็อตซิลล่าตัวนี้คือ พญานาคของไทย ที่ปรับมาจากลายเส้นไทยดั้งเดิมให้ร่วมสมัยขึ้นเช่นกันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า Kaiju เป็นทั้งร้านอาหารญี่ปุ่นและไทย ตัวอักษรที่ใช้กับโลโก้มี 3 ภาษาคือ ไทย อังกฤษ และญี่ปุ่น พวกเขาใช้สีหลักๆ คือสีดำ ทอง และชมพูสะท้อนแสง เป็นสีหลักประจำแบรนด์ของร้าน โดยสีชมพูนี้ได้ไอเดียมาจากเฟอร์นิเจอร์ส่วนหนึ่งที่ POW ใช้ในอินทีเรีย รวมไปถึงการใช้องค์ประกอบกราฟิกอื่นในเมนูที่ใช้ลายเส้นของมังกรอีกชนิดหนึ่งที่ถอดแบบมาจากมังกรมินิมอลขนาดใหญ่ที่แขวนห้อยลงมาจากเพดานในร้านเราจะได้เห็นทั้งก็อตซิลล่าและพญานาคอาละวาดไปบนสื่อกราฟิกต่างๆ ในร้านทั้งนามบัตร เมนูแผ่นรองจาน ป้ายหน้าร้าน รวมทั้งโฆษณาออนไลน์ต่างๆ ทางโซเชียลมีเดีย โดยรวมแล้วถือว่า Kaiju คือส่วนผสมที่ลงตัวของการช่วยกันคิดและลงมือทำระหว่างเจ้าของร้าน นักออกแบบกราฟิก และนักออกแบบภายใน
TEXT : PIYAPONG BHUMICHITRA
PHOTO COURTESY OF KAIJU COMPANY
FACEBOOK.COM/KAIJUCOMPANY