SCG’S NEWEST SHOWROOM IN KHON KAEN HAS SOMETHING MORE TO SAY THROUGH ITS BUILDING AND SPACE VOA SPACE
On Maliwan Road in Khon Kaen province of Thailand, 200 meters from Mittraphap Road tunnel stands a visually striking structure. Its presence pops out from the surrounding context of the city, particularly in the area occupied by shophouses and car showrooms, which has become a normal sight to see on the main roads of major cities in provincial Thailand. The building’s architectural elements consist of a wall of concrete laths. Cladded with tiles, the wall merges itself to the remaining columns, beams and roof structure of the original building. Looking closer, one can see the space at the front of the building houses a café called ‘CLASS.’ But what is the story behind this unusual looking building? One can only guess.
The Siam Cement Group Public Company Limited or SCG, the project’s owner, calls the company’s new experimental project ‘VOA Space.’ Ekaphap Duangkaew was the architect assigned to oversee the design together with CDO (Creative & Design Office), SCG’s in-house design team who is also responsible for the project’s trend research.
Initially, SCG was planning to set up a new COTTO showroom in the north-eastern region. The plan led to the lease of an old car service center in downtown Khon Kaen, which is the project’s designated site. Duangkaew, however, proposed to SCG the possibility of the project presenting a new image and usage that would differentiate VOA Space from other showrooms of this nature. The architect created a program that functions as a community where architects and designers meet with their clients. By utilizing architectural compositions to facilitate functional spaces and activities, the image of a commercial showroom is converged with the functionality of a community space.
The idea gave birth to a building where the new and old elements meet and mingle. Cladded with tiles, the new concrete wall unites itself to the existing structure of the old building where the original walls were torn down. The new wall encloses the space and divides the functional area into two zones. The boundary between each zone is obscured by the presence of the concrete lath wall with a landscape in the middle linking the interior spaces together. The area at the front is where the café is located alongside the entirety of the lath walls and their sleek finishing of black tiles, while the space at the back sees the use of white tiles chosen as the walls’ finishing surface. Bright and spacious, it is used to accommodate activities, a meeting room and a co-working space for architects and designers. This particular area is also where information about the products are provided. An elevated walkway connects the spaces on the upper floor, and the airy mass between the lath walls not only softens the dividing line between the two areas, but also blurs the physical boundary between the program’s interior and exterior while abundantly bringing in na- tural light to the building’s functional spaces at the very same time.
หากมีโอกาสผ่านไปที่ขอนแก่น บริเวณถนนมะลิวัลย์ ระยะทางประมาณ 200 เมตรจากแยกอุโมงค์ถนนมิตรภาพ คุณจะพบอาคารที่มีรูปร่างหน้าตาค่อนข้างแปลกไปจากบริบทโดยรอบ ซึ่งมักเป็นอาคารพาณิชย์และโชว์รูมรถยนต์แบบที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนถนนสายหลักของเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด องค์ประกอบของอาคารแห่งนี้ประกอบไปด้วยผนังระแนงคอนกรีตที่กรุด้วยกระเบื้องที่สอดแทรกประสาน เข้ากับตัวโครงสร้างของอาคารเก่าท่ีคงหลงเหลือเอาไว้แค่เสา คาน และหลังคา และเมื่อพยายามลองสังเกตดูก็จะพบว่าพื้นที่บริเวณด้านหน้าของอาคารนั้นเป็นร้านกาแฟท่ีมีชื่อว่า CLASS แต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้อยู่ดีว่าอาคารหลังที่ว่านี้คืออะไรกัน
บริษัท ปูนซิเมนต์ ไทย จํากัด (มหาชน) หรือ SCG ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการนี้ เรียกพื้นที่ทดลองโครงการใหม่ของบริษัทแห่งน้ีว่า VOA Space โดยมีสถาปนิก เอกภาพ ดวงแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบอาคาร และ CDO (Creative & Design Office) ทีม in-house ของ SCG ทํางานร่วมกันเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการวิจัยเรื่องเทรนด์
แรกเริ่มนั้น SCG ต้องการสร้างโชว์รูมผลิตภัณฑ์ COTTO แห่งใหม่ขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเลือกเช่าพื้นที่ของอาคารศูนย์บริการซ่อมรถยนต์เก่าแห่งหนึ่งในตัวเมือง ขอนแก่นท่ีไม่ได้ใช้งานแล้วเป็นที่ตั้งโครงการ แต่เอกภาพได้เสนอไอเดียกับทาง SCG ว่าโครงการนี้ควรมีภาพลักษณ์และการใช้งานแบบใหม่ๆ ที่มีอะไรมากไปกว่าการเป็นแค่โชว์รูมผลิตภัณฑ์ท่ีสามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดยเขาทําให้ตัวอาคารนี้เป็นเสมือน community สําหรับพบปะพูดคุยหรือนัดพบลูกค้าของสถาปนิกและนักออกแบบท่ีอยู่ในย่านนี้ ใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเป็นตัวเชื่อมโยงพื้นท่ีและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการเบลอภาพลักษณ์ของความเป็นโชว์รูมผลิตภัณฑ์ให้หายไปกับภาพของความเป็น community space
ผลลัพธ์ของสถาปัตยกรรมที่เกิดจากไอเดียที่ว่านี้ก็คือ อาคารที่ประกอบไปด้วยผนังระแนงคอนกรีตที่กรุด้วยกระเบื้องท่ีแทรกประสานเข้ากับโครงสร้างของอาคารเก่าที่ทุบผนังอาคารเดิมออกทั้งหมด โดยที่แนวผนังระแนงทั้งหมดได้ห่อหุ้มพื้นที่ว่างและแบ่งพื้นที่ของอาคารเป็นสองโซน ในขณะเดียวกันผนังระแนงก็เบลอความชัดเจนของที่ว่างในแต่ละโซนนั้น และมี landscape ที่อยู่ตรงกลางเป็นพื้นที่เชื่อมต่อภายใน โดยพื้นที่ข้างหน้าเป็นร้านกาแฟที่ผนังระแนงทั้งหมดจะกรุด้วยกระเบื้องสีดํา ในขณะที่พื้นที่ด้านหลังที่ผนังระแนงกรุด้วยกระเบื้องสีขาวทั้งหมดนั้น จะเป็นพื้นท่ีสําหรับจัดกิจกรรม ห้องประชุม และพื้นที่นั่งทํางานของสถาปนิกและนักออกแบบ รวมถึงเป็นพื้นท่ีให้บริการข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่วนบริเวณชั้นบนจะมีสะพานทางเดินเชื่อมพื้นที่ทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน นอกจากผนังระแนงจะช่วยเบลอความชัดเจนของพื้นที่อาคารทั้งสองส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว มันยังช่วยเบลอเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอก และยังเป็นประโยชน์ในเรื่องของการนําแสงสว่างจากภายนอกเข้ามายังพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ภายในอาคารอีกด้วย
TEXT : WICHIT HORYINGSAWAD
PHOTO : CHALERMWAT WONGCHOMPOO
ekararchitects.com
fb.com/voaspace