THE ORNAMENTAL TEXTURE OF THE ARCHITECTURE OF THAI TEMPLES, THE BEAUTIFULLY CARVED PATTERN OF WINDOW BLINDS, THE INTRICATE DETAILS OF THE CLOTHES OF THE GODS AND GODDESS IN MURAL PAINTINGS,
the delicate lines and strokes on a set of dinnerware, all are testament to the artistic talent and dedication of Thai craftsmen and women of the past. This ‘Lamiat’ is like an artistic DNA that has been inherited over time, in the many shapes and forms of everyday life objects whether it be the 50-baht fresh flower garland or Thai silk that is coming back in style but still never loses its magically meticulous hand-woven details.
The existence of these creations is a confirmation that no matter how heavily westernized Thailand has been over the past five decades, the very core of Thai values and spirit; that sense of ‘Lamiat,’ continues to live on. It’s the same spirit that has driven the development of Thailand’s leading beverage brands such as Chang throughout the years of its history. Chang interprets ‘Lamiat’ using four words: Craftsmanship, Harmony, Respect and Refreshment, and it has become the heart of the creation of its products. In 2018, Chang visualized the ‘Lamiat’ spirit into a one-minute-long video titled ‘LAMIAT.’
The team of creators was comprised of Chatchanok Wongwatchara, a renowned Thai illustrator, Sathit Kanwantawanich, an award-winning advertising director and the founder of Phenomena Production House Company, and a team of animators from Yggdrazil Group. The moving images in the video were created from Chatchanok’s magnificent handmade drawings. The artist interpreted Chang’s label into four visual representations: a barley field, Thai boxers, a sacred well, and a parade of elephants and ladies preforming a traditional Thai dance. The four subjects can be linked to Chang’s interpretation of the word ‘LAMIAT’ (Craftmanship / Harmony / Respect / Refreshment). Sathit, as the project’s director, brought together the artistic elements into the story.
“This is the first time that we created an animation of such realistic details. The boxers move not just in two dimensions but 360 degrees with a bird’s-eye view, close-up and worm’s-eye view angles.” This required that Chatchanok create many more drawings than other illustration projects, particularly the scene showing the movements of water from the fountain, which needed to be drawn shot-by-shot. In other words, it required that the illustrator create 25 drawings for each 1-second frame. The same story goes for the barley field scene, which is also hand drawn. The finished illustrations were sent over to Yggdrazil Group who took on the responsibility of animating Chatchanok’s two-dimensional drawings. The animators kept the signature style of Chatchanok’s original drawings in tact as much as they could. “The most difficult one was the ‘Harmony’ scene because there were a lot of elements involved such as the delicate attire that the dancers and elephants wore, all of which had to be made into 3D drawings. It took a long time to complete this scene,” described Yggdrazil Group.
From the production process that involved the work of many different minds, LAMIAT was finally completed as an animation where Thai identity and contemporary aesthetics beautifully collide. “My previous works don’t look this traditional in terms of the drawing, but working with this concept, the challenge was how to make the subject relevant and modern.” The patterns on the dancers’ clothes, and the ornamental decoration on the elephants’ bodies, all the way to the movements of the boxers were the result of Chatchabok’s intensive research. She tackled the challenge by creating realistic drawings and making the preconceived and highly conventional image of the Thai identity more contemporary through her brilliant use of colors. “If you use a normal skin color, the realistic detail makes the drawing look too dull and normal. So I went with the colors that are used in the brand’s corporate identity. For the skin colors of the human characters or the elephant, I used the earth tone shades to make the overall feel more contemporary,” concluded Chatchanok.
“What’s the challenge of making a one-minute-long video?” is probably the question many wanted to ask when they first heard about the project. The definition of ‘Lamiat’ is depicted in the one-minute duration of this animation film. It’s the outcome of hard work, dedication, attention to details and the collaboration of three professional teams of creative minds. “Someone once said to me that ‘god is in the details.’ If you’re able to see the things people aren’t able to see, and you incorporate them into your work; they make your work much more special and appealing, especially when these details are noticed by the audience.” Click on the video and try pausing it from time to time, relishing the spectacular details of the lines and strokes in each frame with your own eyes.
เครื่องประดับบนพื้นผิวงานสถาปัตยกรรมวัดวาอาราม ม่านฉลุตามหน้าต่าง รายละเอียดเครื่องแต่งกายของทวยเทพบนภาพเขียนสีฝาผนัง ลวดลายอ่อนช้อยบนเครื่องถ้วยเครื่องชาม สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความสามารถและความอุทิศตนของช่างฝีมือไทยในอดีตในเชิงศิลปกรรมได้เป็นอย่างดี ความละเมียดละไม (ที่อาจเรียกว่าเป็นพันธุกรรมทางศิลปะ) อันเดียวกันนี้ยังสืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน และแฝงตัวอยู่ในของใช้รอบกายของเรา อย่างเช่น พวงมาลัยอันละ 50 บาท ที่เกิดจากการบรรจงประกอบดอกไม้ออกมาเป็นพวงมาลัย หรืออย่างผ้าไหมไทยที่กลับมาฮิตใส่กันใหม่อีกครั้งที่มีลวดลายละเอียดยิบ
การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ช่วยยืนยันว่า ถึงแม้ไทยจะรับความเป็นตะวันตกเข้ามามากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ แต่แก่นของความเป็นไทยนั่นคือ ความละเมียด ยังคงมีชีวิตอยู่ เช่นเดียวกับการทำงานของแบรนด์เครื่องดื่มชั้นนำของไทยอย่าง ‘ช้าง’ ในหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่ตีความ ‘ละเมียด’ นี้ออกมาเป็น 4 คำ คือ Craftsmanship ความวิจิตรบรรจง Harmony ความกลมกล่อม Respect ความเคารพ และ Refreshment ความสะอาดสดชื่น ใช้เป็นหัวใจในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสมอมา และในปี 2018 ความละเมียดเดียวกันนี้ก็ถูก visualize ออกมาเป็นวิดีโอความยาว 1 นาทีชื่อว่า LAMIAT
ทีมงานครั้งนี้ประกอบไปด้วย ฉัตรชนก วงศ์วัชรา นักวาดภาพประกอบชื่อดัง สาธิต กาลวันตวานิช ผู้กำกับโฆษณามือรางวัลระดับโลกเจ้าของบริษัท ฟีโนมีนา โปรดักชั่นเฮ้าส์ และทีมแอนิเมชั่น Yggdrazil Group โดยภาพที่เราเห็นในวิดีโอนี้เกิดขึ้นจากปลายดินสอของฉัตรชนกทั้งสิ้่น เธอหยิบเอา Label ของตราช้างมาตีความออกเป็นองค์ประกอบสี่อย่างในวิดีโอคือ ทุ่งข้าวบาร์เล่ย์ นักมวยไทย บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และขบวนต้อนรับที่ประกอบไปด้วยนางรำและช้างที่แสดงถึงความเป็นไทย อีกทั้งยังโยงกลับไปสัมพันธ์กับการตีความคำว่า ‘ละเมียด’ ในแบบฉบับของช้างที่กล่าวถึงข้างต้น (Craftsmanship / Harmony / Respect / Refreshment) ก่อนจะทำงานร่วมกับผู้กำกับอย่างสาธิต ร้อยเรียงองค์ประกอบเหล่านี้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
“นี่เป็นครั้งแรกที่เราวาดแอนิเมชั่นให้เรียลลิสติกขนาดนี้ ภาพนักมวยมันจะไม่ได้ขยับแค่สองมิติ แต่หมุนไป 360 องศา มีมุมจากด้านบน ด้านล่าง และมีการโคลสอัพด้วย” สิ่งนี้ทำให้ปริมาณภาพที่ฉัตรชนก ต้องวาดนั้นเพิ่มขึ้นกว่าการทำงานภาพประกอบธรรมดาหลายเท่า โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของน้ำในฉากน้ำพุที่ต้องวาดช็อตต่อช็อต หรือพูดอีกแบบก็คือ 1 วินาที ต้องวาดถึง 25 ภาพทีเดียว หรืออย่างในซีนทุ่งข้าวบาร์เล่ย์ที่เมล็ดข้าวเหล่านั้นเกิดขึ้นจากการวาดมือทั้งสิ้น ภาพประกอบเหล่านี้ถูกส่งต่อให้ Yggdrazil Group ผู้รับหน้าที่ปลุกภาพสองมิติให้เคลื่อนไหวมีชีวิตขึ้นมา ไปพร้อมๆ กับเก็บรักษาเอกลักษ์ของลายเส้นเดิมของภาพประกอบให้ได้มากที่สุด “ที่ยากที่สุดคือซีน Harmony ที่มีองค์ประกอบเยอะ ทั้งนางรำและช้างที่ประดับประดาไปด้วยเครื่องแต่งกายต่างๆ ทั้งหมดนี้เราต้องทำให้มันเป็น 3D หมดเลย ซึ่งใช้เวลานานมาก” Yggdrazil Group กล่าว
จากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยการร่วมมือจากหลายภาคส่วน LAMIAT ก็เสร็จออกมาเป็นแอนิเมชั่นที่ดูมีความเป็นไทยสอดแทรกอยู่ แต่ก็มีความร่วมสมัยไปพร้อมๆ กัน “ที่ผ่านมาลายเส้นในงานเราจะไม่ได้ไทยขนาดนั้น พอลองมาทำงานกับคอนเซปต์นี้ โจทย์ของเราจึงเป็นการทำยังไงให้มันไม่เชย” ลวดลายเครื่องแต่งกายของนางรำ และเครื่องทรงของขบวนช้าง ไปจนถึงท่วงท่าของนักมวยไทยเป็นผลจากการรีเสิร์ชของเธอ ส่วนวิธีการทำให้ความเรียลลิสติกและความเป็นไทยไม่ดูเชยเกินไปนั้นทำด้วยการใช้ “สมมติถ้าเราใส่สีผิวคนเป็นสีปกติ ความเรียลลิสติกของมันก็อาจจะทำให้ภาพดูธรรมดา ดังนั้นเราจึงเลือกใช้สีที่เป็นคาแร็กเตอร์ของแบรนด์เป็นหลักก่อน ส่วนทั้งสีผิวคนหรือช้างก็ตาม เราเลือกใช้สีเอิร์ธโทน ให้มันร่วมสมัยหน่อย” ฉัตรชนกทิ้งท้าย
“มันจะไปยากอะไรกับการทำวิดีโอแค่ 1 นาที” พออ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คน ที่ตั้งคำถามประมาณนี้ในตอนแรก คงจะพอเข้าใจแล้วว่านิยามของความ ‘ละเมียด’ ในโปรเจ็คต์นี้นั้นเป็นอย่างไร วิดีโอความยาว 1 นาที คือผลลัพธ์ของการทุ่มเททำงานและความใส่ใจในรายละเอียดของทีมงานทั้งสามทีม “มีคนเคยบอกกับเราว่า ‘god is in details’ การใส่ใจเรื่องเล็กน้อยที่อาจจะผ่านหูผ่านตาใครไป ถ้ามีคนสังเกตเห็น มันคือการเพิ่มสเน่ห์ให้กับงานขึ้นอีกเท่าตัว” ลองคลิ้กเข้าไปดูวิดีโอนี้กัน และลองกดปุ่ม pause ระหว่างดูวิดีโอนี้เป็นระยะๆ เราจะได้เห็นความละเอียดละออของเส้นสายในแต่ละเฟรมภาพได้อย่างถนัดตา