After more than ten years, Pinaree Sanpitak returns with her new edition of Breast Stupa Cookery
Apart from the ‘shape of the female breast’ that Pinaree Sanpitak has used in the creation of her body of work to the point where it has become her artistic identity, her interest in artistic experience and perceptions gained through the human’s physical senses that go beyond the visual can be seen in ‘noon-nom’ (2001-2002), soft breast-shaped sculptures (made of synthetic fibers covered in organza) lying around the gallery’s floor for viewers to walk, sit, and sleep on. ‘Temporary Insanity’ (2003-2004), is the installation created in the following year where the artist hid a sound detecting machine in the breast-shaped sculpture, causing the art piece to vibrate when triggered by the sounds of viewers walking nearby. It elaborates upon Sanpitak’s interest in the sense of touch, hearing and movement.
The beginning of Breast Stupa Cookery derives from the artist’s personal love and passion for cooking. After exploring a diverse use of materials in her artistic creations, Sanpitak thought about incorporating food as a part of her work. While working on a ceramic piece, the artist created the first breastshaped cooking mold. The design was later developed from the porcelain mold where she collaborated with a ceramic artist, Pim Sudhikam, to aluminum and plastic molds (used for making chocolate for the exhibition ‘The Place and the Plate,’ 2007) and the glass mold created using Murano’s glass-making technique during her artist in residency in Murano, Italy.
At the end of this year, Breast Stupa Cookery will take place again at Jim Thompson Art On Farm where Sanpitak will work with Esan chefs from a restaurant in Udon Thani, Samuay & Sons. The artist will also be using defected threads from Jim Thompson’s factory in Pak Thong Chai to weave the mats for the people to sit on during their meal at the farm. This Breast Stupa Cookery will be an interesting ramification of ‘The Roof’ (2017), a fiberglass and silk installation that blanketed a public space in The Winter Garden in Brookfield Place, New York, which was conceptualized through interactions between viewers, space and architecture perceived and realized through one’s physical presence in a physical space. The interesting addition of this Breast Stupa Cookery continuum in Thailand is the food and dining experiences that everyone will be sharing.
นอกจาก “รูปทรงนม” ที่พินรี สัณฑ์พิทักษ์ ใช้ในศิลปะของเธอมายาวนานจนกลายเป็นอัตลักษณ์ประจำตัวแล้ว ความสนใจของเธอในเรื่องประสบการณ์การรับรู้ศิลปะผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้ชม นอกเหนือไปจากการมองเห็นก็ยังปรากฏให้เห็นในผลงานหลายชิ้นมาต่อเนื่อง เช่น ‘หนุนนม’ (noon-nom, 2001-2002) ผลงานที่ศิลปินสร้างประติมากรรมรูปทรงนมที่ทำมาจากผ้ายัดนุ่น และจัดวางอยู่เต็มพื้นที่แกลเลอรี่ให้ผู้ชมได้เข้าไปเดินเหยียบ นั่ง หนุน นอน และ ‘Temporary Insanity’ (2003-2004) อินสตอลเลชั่นในปีต่อมาที่ศิลปินซ่อนเครื่องจับสัญญาณเสียงไว้ในประติมากรรมรูปทรงนมทำให้ตัวประติมากรรมนั้นสั่นไหวไปตามเสียงเดินของผู้ชม ก็ยังขยายความสนใจของพินรีในเรื่องสัมผัสไปถึงเสียงและการเคลื่อนไหว
แน่นอนว่าจุดเริ่มต้นของ Breast Stupa Cookery มาจากความที่ศิลปินเป็นคนชอบทำอาหาร และหลังจากที่เริ่มนำาเอาวัสดุหลากหลายเข้ามาใช้ในงานศิลปะ พินรีก็คิดที่จะนำอาหารเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลงานด้วย ในระหว่างที่กำาลังทำงานเซรามิก ศิลปินจึงทดลองทำแม่พิมพ์อาหารเซรามิกรูปทรงนมขึ้นเป็นชิ้นแรก จากนั้นจึงพัฒนาตัวแม่พิมพ์มาเรื่อยๆ ตั้งแต่แม่พิมพ์ porcelain ที่เธอร่วมงานกับศิลปินเซรามิก พิม สุทธิคำ แม่พิมพ์อะลูมิเนียม แม่พิมพ์พลาสติก (ที่ใช้สำหรับทำช็อกโกแลตในนิทรรศการ ‘The Place and the Plate’, 2007) และแม่พิมพ์แก้วที่ใช้เทคนิคทำแก้ว Murano โดยเป็นการทำงานที่เกิดขึ้นระหว่างที่เธอไปร่วมโครงการศิลปินในพำนักในเมือง Murano ประเทศอิตาลี
ปลายปีนี้ Breast Stupa Cookery จะเกิดขึ้นอีกครั้งใน Jim Thompson Art On Farm โดยครั้งนี้พินรีจะทำงานร่วมกับเชฟชาวอีสานจากร้านอาหารในอุดรธานี Samuay & Sons นอกจากนั้น ศิลปินยังจะนำเอาด้ายที่มีตำหนิจากโรงงานของ Jim Thompson ที่ปักธงชัย มาทอเป็นเสื่อ ปูให้คนที่มาร่วมงานนั่งกินอาหารกันบนเสื่อในบริเวณฟาร์มด้วย ทำให้ Breast Stupa Cookery ครั้งนี้ น่าจะเป็นการต่อยอดความคิดในเรื่องการรับรู้และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชม พื้นที่ และสถาปัตยกรรม ผ่านการเข้าไปอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จากผลงาน ‘The Roof’ (2017) เมื่อปีที่แล้ว ที่พินรีสร้างอินสตอลเลชั่นทำจากไฟเบอร์กลาสและผ้าไหม นำไปคลุมอยู่เหนือพื้นที่สาธารณะใน The Winter Garden ที่ Brookfield Place ในนิวยอร์ก แต่แน่นอนว่าปัจจัยที่จะเพิ่มเข้ามาในครั้งนี้ก็คือ อาหารและประสบการณ์การรับประทานมื้ออาหารร่วมกันของทุกคน
.
Read the full article on art4d No.263 | Click Here
TEXT: TUNYAPORN HONGTONG
PHOTO COURTESY OF THE ARTIST