WRAP UP, 24.05.2019

WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON ART4D WRAP UP WEEKLY

TEXT: SUTEE NAKARAKORNKUL
MAIN IMAGE: JERANUN SIVAMOKLAKANA / ARTIST+RUN GALLERY

SHINKENCHIKU RESIDENTIAL DESIGN COMPETITION 2019


Courtesy of Shinkenchiku

ที่อยู่อาศัยในอนาคตจะเป็นอย่างไร สถาปนิกจะออกแบบบ้านอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตและความท้าทายในอนาคต การแข่งขันครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันร่วมตอบคำถามเหล่านี้ โดยผู้แข่งขันจะถูกขอให้ออกแบบบ้านที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต ภายใต้โจทย์  “Living in the Future” ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโอกาสร่วมจัดแสดงผลงานภายในนิทรรศการ Beyond the Glass House: New Canaan Modern House 1947–1979 ที่ The Cooper Union, New York ต้นปีหน้า ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2562 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง japan-architect.co.jp/skc/

EARTH US

 

Photo: Jeranun Sivamoklakana / Niimaar 

Earth us เป็นแจกันดอกไม้ที่ทำมาจากขยะพลาสติก โดยจีรนันท์ ศิวะโมกข์ลัคณา ศิษย์เก่าจากภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) เธอบอกกับ art4d ว่า งานชิ้นนี้เป็นศิลปนิพนธ์ที่เธอได้แนวคิดมาจากกลุ่ม Precious Plastic ในเนเธอร์แลนด์ ที่รวมตัวกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะพลาสติก “สิ่งที่พวกเขาทำคือการสร้าง open-source เกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกชนิดต่างๆ” จีระนันท์นำข้อมูลมาต่อยอด และทดลองนำพลาสติกประเภท HDPE ที่หาได้ทั่วไปตามท้องตลาด เช่น บรรจุภัณฑ์สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฯลฯ มาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยเครื่องย่อยเศษวัสดุ ก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปด้วยวิธีการหลอม อัด และทิ้งให้เย็นตัวลง จนได้วัสดุ polymarble รูปทรงเหมือนบันไดเล็กๆ สามขั้น โดยออกแบบเป็น modular ที่สามารถนำมาต่อและประกอบเข้าด้วยกันได้เรื่อยๆ ไม่จำกัด

กลุ่ม Precious Plastic เห็นผลงานของเธอก่อนจะอัพโหลดภาพขึ้นไปในโซเชียลมีเดียของกลุ่ม และหลังจากนั้นไม่นาน Niimaar แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านจากฟินแลนด์ ที่เน้นไปที่ผลงานการออกแบบอย่างยั่งยืน ก็ติดต่อขอซื้อ prototype ของเธอไป กระทั่งล่าสุดผลงานชิ้นนี้ได้ถูกนำไปจัดแสดงที่บูธของ Niimaar ภายในงาน Stockholm Design Week 2019 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

READING THE NO.60 BOOK BY PICHET KLUNCHUN


Photo: ARTIST+RUN Gallery

No.60 เป็นหนังสือที่อธิบายถึงหลักการทางนาฏศิลป์ไทย ว่าด้วยการถอดรหัสทางองค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในท่ารำแม่บทใหญ่ ที่มีทั้งหมด 59 ท่า ซึ่งพัฒนาไปสู่การสร้างท่าเต้นแบบร่วมสมัยท่าที่ 60 ที่ Pichet Klunchun Dance Company ใช้ในการสร้างงาน กิจกรรมอ่าน No. 60 จะเป็นการอธิบายหลักคิดและวิธีการอ่านรูปภาพในหนังสือพร้อมกับการนำไปปฏิบัติใช้ จัดขึ้นวันที่ 8 มิถุนายน 2562 ที่ ARTIST+RUN Gallery N22 (นราธิวาสราชนครินทร์ 22) ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ทาง http://bit.ly/2VMwn6d

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *