All posts by Ketsiree Wongwan
‘808080’ (ERROR OBJECTS)
นิทรรศการที่พาเราให้ตั้งคำถามต่อข้าวของเครื่องใช้ที่ความหมายและคุณค่าถูกศิลปิน ‘พร่า’ ‘บิด’ และ ‘เบือน’ ไปให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ (error)
SWITCH: COMME DES GARÇONS 50TH ANNIVERSARY ISSUE
แนะนำนิตยสารฉบับพิเศษที่บันทึกวิวัฒนาการของ COMME des GARÇONS และเรื่องราวของ Dover Street Market คอนเซ็ปต์สโตร์ทางด้านแฟชั่น ที่ที่ดีไซเนอร์หลายคนเริ่มต้นสร้างแบรนด์ของตัวเอง
ARCHITECTURE ANOMALY
TEXT & IMAGE: SAUL KIM
(For English, press here)
จิตใจของเราถูกตั้งโปรแกรมให้ปฏิบัติตามแนวคิดที่สังคมกำหนดไว้ล่วงหน้า และแนวคิดใดๆ ที่ท้าทายข้อกำหนดนั้นมักจะถูกมองว่าเป็น ‘ความผิดปกติ (anomalous)’ Architecture Anomaly เป็นซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบที่ริเริ่มโดย Saul Kim ซึ่งทดลองกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในวิถีทางที่ผิดแผกไปจากปกติ เพื่อค้นหาวิธีการก่อร่าง ประกอบ และการอยู่อาศัยใหม่ๆ
แรงบันดาลใจของผลงานชุดนี้มาจากแทบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หากแต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม สิ่งนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างสรรค์งานตามรอยเดิม การออกแบบนั้นไม่ควรมีกฎเกณฑ์ แต่คนเรามักจะเผลอตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ และเริ่มเชื่อว่าการทำสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งที่ผิด ตัวอย่างเช่น เราได้รับการสอนในโรงเรียนสถาปัตยกรรมว่าแผ่นพื้นควรถูกวางในทางราบ มีความหนาระดับหนึ่ง และต้องวางอยู่เหนือคานเพื่อสร้างสเปซสำหรับอยู่อาศัย นี่คือความเข้าใจถึง ‘แผ่นพื้น’ ในมุมมองของมนุษย์ เพราะเราได้เรียนรู้มาช้านานผ่านวิวัฒนาการหลายร้อยปีว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างพื้นที่อยู่อาศัย แต่หากเราก้าวถอยออกมา และลองคลายคำจำกัดความที่ตายตัวของแผ่นพื้นดูว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ควรนำไปใช้ในอาคารอย่างไร เราจะเริ่มเห็นภาพแผ่นพื้นอย่างที่มันเป็นจริงๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว มันก็เป็นเพียงชิ้นของพื้นผิวบางๆ ชิ้นหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งอื่นได้อีก บางทีพื้นผิวนี้อาจต้องถูกพับ ถูกทำให้ยับย่น หรือถูกตัดบางส่วนออกไปเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งคำถามเชิงอภิปรัชญาต่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เราจะสามารถหลุดพ้นจากจุดมุ่งหมายแรกเริ่มของการดำรงอยู่ เพื่อค้นพบความหมายใหม่ๆ ได้อย่างเสรี
_____________
Saul Kim เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงโซล เขาเริ่มเส้นทางด้านสถาปัตยกรรมที่สิงคโปร์ ก่อนจะย้ายไปลอสแอนเจลิสเพื่อศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (Southern California Institute of Architecture หรือ SCI-Arc) และปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี 2563 Saul Kim ได้เปิดตัวซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบ ‘Architecture Anomaly’ ที่ให้บริการด้านการวางแผนและการออกแบบ นอกจากนี้เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยฮงอิก (Hongik University) ในฐานะศาสตราจารย์พิเศษและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเควอน (Kaywon University of Art and Design)
THE TUBE COLLECTION
TEXT: TIM TEVEN
PHOTO: PIERRE CASTIGNOLA
(For English, press here)
ผลงานชุด The Tube Collection นั้นมีจุดกำเนิดมาจากการทดลองกับวัสดุในรูปแบบต่างๆ อันรวมไปถึงการใช้เครื่องจักรมาเปลี่ยนรูปโลหะ การทดลองเหล่านี้ทำให้ได้มาซึ่งกระบวนการและระบบต่างๆ ที่ช่วยในการเล่นแร่แปรธาตุ และการเปลี่ยนแปลงรูปทรงวัสดุ เป็นสุนทรียะที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นเองจากเครื่องจักรและการดัดแปลงเชิงเทคนิค
ด้วยการทำให้เส้นแบ่งระหว่างการควบคุมดีเทลงานออกแบบทุกกระเบียดนิ้วและการปล่อยผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นเองเลือนรางลง งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการกระทำโดยเครื่องจักรกลและการกระทำที่เกิดขึ้นจากมือมนุษย์
_____________
Tim Teven (เกิดปี 1993) เป็นนักออกแบบชาวดัตช์ที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยการออกแบบ Design Academy Eindhoven ในปี 2018 การสรรหาแนวทางสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้วยการใช้วัสดุในรูปแบบที่แปลกใหม่ผิดแผกไปจากวิธีการทั่วไป เปิดประตูให้เขาได้ค้นพบเทคนิคที่น่าประหลาดใจมากมาย และนำไปสู่การประยุกต์สร้างสรรค์วัตถุที่มีทั้งประโยชน์ใช้สอยและความน่าสนใจ สถานที่ทำงานหลักของ Teven คือสตูดิโอออกแบบของเขาเองในเมืองไอนด์โฮเฟน ที่เขาก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดยผลงานทุกชิ้นถูกทำขึ้นจากมือควบคู่ไปกับกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม
OBJECTS
เมื่อภาพวัตถุใดๆ จากศิลปินภาพถ่าย อธิษว์ ศรสงคราม ถูกตัดขาดออกจากบริบททั้งหลาย จึงเกิดเป็นคำถามที่ว่า ‘วัตถุ’ เหล่านี้กำลังแสดงความจริงแท้ของตัวมัน หรือกำลังแสดงสิ่งที่สร้างขึ้นโดยช่างภาพกันแน่
PHOTO ESSAY : BANGKOK ARCHIVE
TEXT & PHOTO: ULF SVANE
(For English, press here)
บางกอกรำลึก เป็นชุดภาพถ่ายที่เล่าเรื่องราวของกรุงเทพมหานคร ความสงสัยและความรักต่อเมืองหลวงแห่งนี้ที่ นำพาเราไปสถานที่อันเก่าแก่เพื่อพูดคุยกับผู้คนที่ดูแลรักษาสถานที่เหล่านั้นให้มีชีวิตชีวาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่เมืองกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะการเติบโตของเศรษฐกิจ บางครั้งกิจการร้านค้าและสถานที่เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านของเมืองโดยเลี่ยงไม่ได้ บางแห่งต้องถูกย้าย บางแห่งอาจต้องปิดตัวลง การเก็บเรื่องราวเหล่านี้ผ่านภาพถ่ายนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
ในขณะที่กรุงเทพฯ เริ่มมีการย้ายเข้ามาของผู้อยู่อาศัยมากหน้าหลายตา ส่งผลให้ความทรงจำบางส่วนของสถานที่ ต่างๆ ได้ถูกกลืนหายไป ในเวลาเดียวกัน ราคาบ้านที่สูงขึ้นใจกลางเมืองก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ประชากรส่วนใหญ่เริ่มออกไปอยู่ชานเมืองหรือส่วนอื่นๆ ของประเทศควบคู่ไปกับการย้ายถิ่นฐานของกิจการเล็กๆ หรือกิจการที่เคยมีมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ๆ ครอบครัว เพื่อนฝูงใช้เป็นที่พบปะพูดคุย ร้านอาหาร หรือแม้แต่ร้านซักรีดเล็กๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองมาก่อน ก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยกิจการร้านค้ารูปแบบใหม่ซึ่งเข้ามากำหนดบรรทัดฐานและวิถีชีวิตของเมือง ณ ปัจจุบัน
บางกอกรำลึกมีความตั้งใจที่จะรักษาความทรงจำและเผยแพร่เรื่องราวของผู้คนในสถานที่ๆ น่าสนใจเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้เราตระหนักได้ว่าเมืองในอดีตเคยเป็นเช่นไรและเราต้องการเห็นเมืองเป็นแบบใดในอนาคต ผ่านการตั้งคำถามว่าเมืองนี้เติบโตอย่างไร โดยเฉพาะในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางรัฐ เพื่อทำความเข้าใจถึงเบื้องหลังในการเปลี่ยนแปลง เพราะเสน่ห์ของกรุงเทพฯ คือส่วนผสมของความหลากหลายเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจเมืองแห่งนี้มากขึ้น และสะท้อนถึงอนาคต ของกรุงเทพมหานคร เมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง
_____________
Ulf Svane เป็นช่างภาพมือรางวัลชาวกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ผู้สร้างชื่อเสียงในวงกว้างด้วยผลงานอันโดดเด่น มีความชำนาญในการบันทึกภาพวัฒนธรรม ผู้คน และประสบการณ์เรื่องอาหารการกินออกมาร้อยเรียงเป็นภาพถ่าย ณ ขณะนี้ เขาใช้ชีวิตอยู่ทั้งโคเปนเฮเกน และกรุงเทพมหานคร ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์โดยสื่อชั้นนำที่ได้รับการยอมรับ อาทิ Travel + Leisure, National Geographic, Financial Times และ The Washington Post
bkkarchive.com
ulfsvane.com
instagram.com/ulfsvane
COLLAGE DESIGN STUDIO
กระถางต้นไม้คอนกรีตถูกดัดแปลงเป็นผิวอาคารทั้งภายนอกและภายในของสำนักงานสถาปนิก Collage Design Studio ในซอยรัชดาภิเษก 32 เผยความงามจากความดิบของคอนกรีต และสร้างความหมายใหม่ ให้กับกระถางต้นไม้ที่เห็นได้ทั่วไป
PHOTO ESSAY : SPECTRUM OF SOLITUDE: A TAPESTRY OF URBAN LIFE
TEXT & PHOTO: CHEVAN LIKITBANNAKON
(For English, press here)
ในผลงาน ‘Spectrum of Solitude’ ซีรีส์ภาพถ่ายสะกดสายตา เลนส์กล้องส่องลึกลงไปยังพลวัตรอันซับซ้อนของเมือง จับภาพช่วงเวลาแห่งความสัมพันธ์ การใคร่ครวญ และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ท่ามกลางพื้นหลังอย่างสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงถนนหนทางอันจอแจ ภาพแต่ละภาพเป็นดั่งฝีแปรงที่ปรากฏบนผืนผ้าใบอันกว้างใหญ่ของชีวิตเมือง เผยความสอดคล้องระหว่างความโดดเดี่ยวกับการมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ความเกี่ยวโยงระหว่างวัฒนธรรมและศิลปะ
ชุดภาพภ่ายนี้เปิดด้วยฉากทัศน์ของผู้คนที่รายล้อมไปด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น พวกเขาหัวเราะ แลกเปลี่ยนเรื่องราวในอ้อมกอดอันเขียวชอุ่มของสวนสาธารณะและคาเฟ่หน้าตาสวยงามน่านั่ง เพื่อนฝูง คนรัก ปลอบประโลมซึ่งกันและกัน ความสุขของพวกเขานั้นมองเห็นได้ชัดเจนโดยมีเมืองอันงดงามเป็นพื้นหลัง อย่างไรก็ดี สิ่งที่แทรกตัวอยู่ระหว่างช่วงเวลาแห่งความเป็นมิตรเหล่านี้ คือผู้คนที่โดดเดี่ยวซึ่งเหม่อลอยอยู่ท่ามกลางความเร่งรีบวุ่นวายของชีวิตเมือง ช่วงขณะอันเปลี่ยวเหงานี้นำเสนอภาพตรงข้ามกับพลังงานอันสดใสที่เกิดจากการพบปะของผู้คน มันชักชวนให้ผู้ชมละเมียดละไมกับความงามของการสำรวจตัวเองและการค้นพบตัวตน
ภาพถ่ายในซีรีส์ค่อยๆ เผยแง่มุมการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ผ่านรูปถ่ายที่จับภาพการทับซ้อนของธรรมเนียม และการแสดงออกหลากหลายที่บ่งบอกตัวตนของเมือง จากโถงอันเงียบงันของพิพิธภัณฑ์ที่ศิลปะกับประวัติศาสตร์สัมพันธ์เชื่อมโยง ไปจนถึงถนนอันครึกครื้นซึ่งเต็มไปด้วยชีวิตหลากวัฒนธรรม แต่ละภาพคือหลักฐานของความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของประสบการณ์ของมนุษย์ที่ปรากฏพบเจอในพื้นที่และอ้อมกอดของเมือง
‘Spectrum of Solitude’ นั้นเป็นมากกว่าชุดภาพถ่าย มันคือซิมโฟนีเฉลิมฉลองชีวิตเมืองที่มีมิติแง่มุมมากมาย ผ่านเลนส์ของการถ่ายภาพเเนวสตรีท ผู้ชมจะได้ร่วมค้นหาความสมดุลอันเปราะบางระหว่างความโดดเดี่ยวและความสัมพันธ์ วัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อค้นพบความงามในช่วงเวลาต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ช่วยก่อร่างสร้างประสบการณ์ในเมืองขึ้นมา
_____________
ด้วยพื้นหลังด้านการทำภาพยนตร์ Chevan Likitbannakon คือช่างภาพลูกครึ่งไทยอียิปต์ผู้ที่หลงใหลในการเล่าเรื่องด้วยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นการเล่าเรื่องผ่านรูปแบบทางทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย มิวสิควีดีโอ หรือการทำหนัง มันจะมีช่วงเวลาที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะที่ทำให้ผมได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของแก่นของคนหรือเรื่องราวที่ถูกผมจับภาพ นั่นคือเรื่องราวที่ผมเล่า การเป็นคนที่อยู่หลังกล้องที่บันทึกเขาช่วงเวลานั้นเอาไว้ พาตัวผมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหล่านั้น มันอาจจะเป็นความรู้สึก หรือความคิด หรือสายตา ที่ถูกเผยออกมาระหว่างห้วงขณะที่ถูกจับภาพเอาไว้ และมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครได้เห็นมาก่อนเลยก็เป็นได้
PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE OF DEMOLITION
TEXT & PHOTO: AKAI CHEW
(For English, press here)
สิงคโปร์เป็นเมืองที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ตึกรามอาคารถูกสร้างและพัฒนาขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว ถึงขั้นที่ว่าตึกอายุ 30 ปี ก็ถูกมองว่าควรแก่เวลาสำหรับกับการถูกปรับปรุงพัฒนาใหม่ ที่สิงคโปร์ การทำลายและก่อสร้างเกิดขึ้นอยู่ทุกหนแห่ง คล้ายกับเวลาที่นักมายากลโยนผ้าผืนหนึ่งขึ้นบนฟ้าแล้วก็หายตัวไปทันทีที่ผ้าหล่นลงมา เมื่อนั่งร้านถูกเอาออกไป อาคารเก่านั้นก็ราวกับหายวับไปกับตา นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา อัตราการรื้อถอนอาคารของเมืองพุ่งทะยานขึ้นเป็นสัดส่วนที่สูงจนเหลือจะเชื่อ ในปัจจุบัน สี่ในสิบของอาคารที่สูงที่สุดในโลกที่ได้รับการพัฒนาใหม่อยู่ในสิงคโปร์
ในปี 1960 สิงคโปร์ใช้การพัฒนาพื้นที่เมืองเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจยุคใหม่ ตึกระฟ้าที่เพิ่งสร้างเสร็จส่งสัญญาณถึงยุคสมัยใหม่ของประเทศ หากแต่ในวันนี้ บางส่วนของอาคารเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงไปแล้วเรียบร้อย
การรื้อถอนและก่อสร้างในสิงคโปร์นั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพอๆ กับการมีอยู่ของอาคารจริงๆ อาคารหนึ่งเลยก็ว่าได้ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษให้หลังมานี้ การพัฒนาอาคารเก่าขึ้นใหม่ และการสูญเสียไปซึ่งสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างนั้น เป็นสิ่งที่พบเห็นและยอมรับได้อย่างไม่ได้มีใครรู้สึกรู้ร้อนรู้หนาวอะไร มันยังถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ วิวัฒนาการของเมือง มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับการเจริญขึ้นเป็นเมืองที่ดียิ่งกว่าเดิมของสิงคโปร์ ที่ซึ่งความร่วมสมัยอาจหมายความถึงประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า
ในขณะที่สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในยุคหลังประกาศเอกราชของประเทศกำลังถูกลบทิ้งและแทนที่ไปอย่างช้าๆ มันเปิดประตูสู่คำถามต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่แหวกขนบที่เคยเป็นมา
ผมคิดถึงรูปถ่ายเก่าๆ ที่แสดงภาพของสิงคโปร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 เรามองกลับไปยังอดีตด้วยความรู้สึกตราตรึงใจ พลางคิดกับตัวเองว่าเมืองสิงคโปร์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมายขนาดไหนนับตั้งแต่นั้นมา บางที ที่สิงคโปร์ อดีตที่ว่าอาจจะย้อนหลังกลับไปแค่เพียงสิบหรือยี่สิบปีเท่านั้น
_____________
Akai Chew เป็นศิลปินที่ทำงานอยู่ในสิงคโปร์ พื้นหลังทางการศึกษาและการทำงานของเขาที่ครอบคลุมทั้งสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง และมรดกทางสถาปัตยกรรมช่วยหล่อหลอมการทำงานศิลปะร่วมสมัยของเขา ในฐานะศิลปิน เขาทำงานภาพถ่ายและศิลปะจัดวางเฉพาะที่เป็นหลัก Akai เรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมมนุษย์สร้างที่ University of Tasmania ในออสเตรเลีย เขามีผลงานจัดแสดงมาแล้วในหลากหลายเมืองนับตั้งแต่สิงคโปร์ บันดัง นิวเดลี ไปจนถึงโฮบาร์ท และ ลอนเซสตัน