SA-THANN ARCHITECTS

Sa-Thann ArchitectsPH Residence

ทำความรู้จักกับสตูดิโอออกแบบที่มีผลงานการออกแบบมาแล้วมากมาย โดยให้ความสำคัญในการสร้าง ‘สถาน’ ให้เกิด ‘ภาวะอยู่สบาย’ ในสไตล์โพสต์โมเดิร์นทรอปิคอล

TEXT & PHOTO COURTESY OF SA-THANN ARCHITECTS EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO

สตูดิโอออกแบบ ‘สถาน สถาปนิก’ โดยคำว่า ‘สถาน’ มีความหมายถึงพื้นที่ บริเวณ เขตแดนทางสถาปัตยกรรมที่ผู้คนสามารถเข้ามาครอบครองและใช้สอย ในขณะเดียวกันยังคงสื่อถึง ‘ที่ตั้ง’ ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม การใช้ชีวิตของคนในบริเวณนั้น ดังนั้นสถาน สถาปนิกจึงหมายความถึงกลุ่มสถาปนิกที่ให้ความสำคัญในการสร้าง ‘สถาน’ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้อยู่สบายและเหมาะสมต่อบริบทนั้นๆ อย่างงดงาม

Sa-Thann Architects

PH Residence

WHAT

สถาน สถาปนิก เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมและงานตกแต่งภายในที่มีประสบการณ์การออกแบบงานดีไซน์ทั้งประเภทอาคารบ้านพักอาศัยส่วนตัว โรงแรม โครงการอสังหาริมทรัพย์&คลับเฮ้าส์ ร้านอาหาร คาเฟ่ โรงเรียน เวทีการแสดงละคร คลินิกทันตกรรม งานจัดแสดงนิทรรศการ และ โครงการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยว บนพื้นฐานความคิดการออกแบบสไตล์โพสต์โมเดิร์นทรอปิคอล เพื่อสร้าง ‘ภาวะอยู่สบาย’ ให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยสตูดิโอถูกก่อตั้งโดย 2 สถาปนิก ได้แก่ ป้อน-ชยุตม์ วรชาติเดชา และ แฟกซ์-ชยพล เพียรชอบธรรม

Sa-Thann Architects

PH Residence

Sa-Thann Architects

PH Residence

WHEN

สถาน สถาปนิก ถูกก่อตั้งในปี 2021

WHERE

สถาน สถาปนิก ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร 

WHY

สถาน สถาปนิก มีความตั้งใจอย่างมากในการสร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย เพื่อการนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนของการดีไซน์ตั้งแต่การวางผังเพื่อให้ทุกพื้นที่ได้รับปริมาณแสงธรรมชาติและลมที่เพียงพอไปจนถึงการเลือกขนาดวัสดุและผิวสัมผัสอย่างประณีตเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยและใช้สอยที่พิเศษ

Sa-Thann Architect

Sa-Thann Exhibition 2024

คุณนิยามสไตล์งานของตัวเองไว้อย่างไร

สไตล์โพสต์โมเดิร์นทรอปิคอล 

อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้ง

แรงบันดาลใจของเรามักมาจากการดีไซน์เพื่อตอบสนองและสอดคล้องต่อบริบทของแต่ละโปรเจกต์ที่แตกต่างกัน เช่น ทิศทางแดดลมฝน พฤติกรรมของผู้ใช้สอย สภาพภูมิประเทศ ศิลปะวัฒนธรรม เป็นต้น และส่งผลให้เกิดความสร้างสรรค์ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์สู่ สถาปัตยกรรมและที่ว่างที่เราออกแบบ

Sa-Thann Architects

Ocean Man Cafe

โปรเจกต์ไหนที่คุณภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร?

ทุกโปรเจกต์คือความภาคภูมิใจของเรา อย่างไรก็ตามอยากจะเล่าถึงโครงการ ‘Ocean Man Cafe’ ที่ เขาหลัก จ.พังงา อีกหนึ่งโปรเจกต์ที่สามารถสื่อความเป็น สถาน สถาปนิก ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยเราให้ความสำคัญของที่ตั้งซึ่งเป็นบริเวณหัวโค้งแรกจากการเดินทางมาถึงเขาหลักจากสนามบินภูเก็ต ดังนั้นเราจึงออกแบบให้สถานแห่งนี้เป็นเหมือนประตูเมืองสู่เขาหลัก เป็นพื้นที่ต้อนรับสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

อย่างไรก็ตาม ภายในของ ‘Ocean Man Cafe’ ถูกออกแบบโดยเน้นให้แขกสามารถสัมผัสบรรยากาศของเขาหลักที่เงียบสงบและได้เข้าถึงธรรมชาติ ดังนั้น ‘อิฐ’ จึงถูกเลือกมาเป็นวัสดุหลักของโครงการแสดงถึงความงดงามตามธรรมชาติแม้ผ่านวันเวลา และเราได้นำ ‘ซุ้มประตูโค้ง’ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมคลาสสิกมาตีความใหม่ให้เรียบง่ายขึ้น และมีการดัดแปลงให้เป็นซุ้มประตูโค้งคว่ำที่มีระดับความสูงไม่เท่ากันเพื่ออุปมาอุปมัยไปกับคลื่น ทิวซุ้มโค้งนี้ยังคงทำหน้าที่เป็นแผงต้อนรับแขกและบังสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัวจากถนนสาธารณะ นอกจากนี้หลังคาคอนกรีตถูกออกแบบมาให้บาง เพื่อทำให้อาคารดูเบา โปร่งโล่งสบาย และไม่บังทัศนียภาพของต้นไม้ใหญ่เดินรอบโครงการ

Sa-Thann Architects

Ocean Man Cafe

Sa-Thann Architects

Ocean Man Cafe

คุณชอบขั้นตอนไหนระหว่างทำงานมากที่สุด

เราชอบขั้นตอนการเริ่มกระบวนการดีไซน์มากที่สุด เนื่องจากเราได้สนุกกับการศึกษาความเป็นไปได้ทั้งหมดของโครงการในหลากหลายมุมมอง

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม

เราอยากเชิญคุณ Geoffrey Bawa สถาปนิกชาวศรีลังกา ผู้บุกเบิกโมเดิร์นทรอปิคอล เนื่องจากชื่นชมผลงานของคุณ Bawa ที่ผสมผสานความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น สภาพภูมิอากาศ-ภูมิประเทศ เทคโนโลยีการก่อสร้าง และเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างลงตัว

Sa-Thann Architects

Khaolak Paradise Beachfront Villas | Photo courtesy of Khaolak Paradise Resort

Sa-Thann Architects

Khaolak Paradise Beachfront Restaurant | Photo courtesy of Khaolak Paradise Resort

facebook.com/Sa-ThannArchitects

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *