SIGNAGE DESIGN AT FURUKAWA MANUFACTURING HEADQUARTERS AND FACTORY

Signage DesignPhoto: Takumi Ota

งานออกแบบ signage โดย Irobe Design Institute เพื่อใช้งานร่วมกับสถาปัตยกรรมในการรีแบรนด์ Furukawa Manufacturing ธุรกิจเบื้องหลังอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่น

TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press  here)

บริษัททุกที่ไม่ว่าจะเก่าแก่หรือเกิดใหม่ล้วนมีปัญหาเป็นของตัวเอง สำหรับ Furukawa Manufacturing ในเมืองโอตะ จังหวัดกุมมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดำเนินธุรกิจออกแบบและผลิตระบบการผลิต (production system) ให้กับแบรนด์ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ปัญหาของพวกเขาแฝงอยู่ประโยคข้างต้นว่า ดำเนินธุรกิจออกแบบและผลิตระบบการผลิต (production system) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ Furukawa Manufacturing เป็นผู้ปิดทองหลังพระที่ทำงานอยู่เบื้องหลังการผลิตรถยนต์ ทำให้คนทั่วไปจะไม่เคยรับรู้การมีตัวตนของบริษัทนี้ และนำไปสู่การขาดแคลนบุคลากรในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา

Signage Design

Photo: Takumi Ota

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โซลูชั่นทางสถาปัตยกรรมของ Schemata Architects ที่นำโดย Jo Nagasaka ผู้รับผิดชอบงานสถาปัตยกรรม คือการ ‘เปิด’ ให้คนข้างนอกเห็นไปเลยว่าในบริษัทนี้เขาทำงานอะไรกันบ้าง ด้วยการออกแบบอาคารออฟฟิศให้มีความโปร่งใส ส่วนแนวทางการ rebranding ในเชิงกราฟิก โดย Irobe Design Institute นั้น คือการดัดแปลงเส้นจราจรบนถนนมาปรับใช้กับการออกแบบ signage ออฟฟิศและโรงงานแห่งนี้

Signage Design

Photo: Takumi Ota

  • Signage Design
    Photo: Rico Okaniwa

นอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการควบคุมงบประมาณ การนำองค์ประกอบ จุด เส้นประ เส้นทึบ ลูกศร มาใช้เป็น signage ในทุกๆ จุดของอาคารยังมีที่มาจากตัวสถาปัตยกรรมด้วย เพราะลักษณะของอาคารที่เปิดแบบสุดๆ เส้นแบ่งระหว่างภายนอกและภายในอาคารถูกทำให้เบลอด้วยวัสดุพื้นที่สีดำภายในอาคารชั้นหนึ่งที่ดูต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันกับพื้นยางมะตอยของลานจอดรถ (มีเพียงกระจกใสช่วยกั้นแยกพื้นที่ไว้ไม่ให้เผลอขับรถเข้ามาจอด) พร้อมกับพาเอาสัญลักษณ์กำกับการเดินรถเหล่านั้นเข้ามาในอาคารโดยอัตโนมัติ และจากจุดนั้นเอง องค์ประกอบเหล่านี้ก็ถูก apply ไปทั่วทั้งอาคารสำนักงานและโรงงาน

Signage Design

Photo: Rico Okaniwa

  • Signage Design
    Photo: Takumi Ota

ไม่ว่าจะเป็นจุดสีขาวบนพื้นสีดำ (ชั้นล่าง) ที่ทำหน้าที่เป็นกริดให้กับพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์ไปกับระบบกริดของอาคาร directory อาคารบนผนังที่แทบจะเหมือนป้ายจราจร เครื่องหมายนำทางภายในอาคารที่ถูก apply ลงไปบนพื้นทางเดินเหมือนกับลูกศรบนเลนถนนตรงสี่แยก หรือ sense ของความตรงไปตรงมาและคาแร็คเตอร์ของบริษัทที่ทำงานด้านวิศวกรรม ที่เห็นได้จากการออกแบบ map directory โดยเอาแปลนอาคารมาลดทอนเป็นกราฟิกติดผนัง นอกจากนี้ งานของ Irobe Design Institute ยังรวมไปถึงการทำอัตลักษณ์องค์กรใหม่ที่ก็เล่นกับรูปทรงพื้นฐานอย่างสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และความเป็นกริด

Signage Design

Photo: Takumi Ota

Signage Design

Photo: Rico Okaniwa

ถ้ามองจากมุมมองว่า Furukawa Manufacturing นั้นอยู่เบื้องหลังการวิ่งฉิวของรถยนต์นับล้านๆ คัน ในตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาแต่ไม่ค่อยมีใครรู้ การเอาเส้นจราจรบนถนนมาใช้ออกแบบ signage ให้กับบริษัทนี้ก็ดูจะสมเหตุสมผลมากๆ ทีเดียว เพราะในเชิงสัญลักษณ์ พวกเขาก็ไม่ต่างอะไรไปจากเครื่องหมายกำกับการเดินรถ เป็นเหมือนกับกระดูกสันหลัง เป็นระบบสำคัญที่ขาดไม่ได้และอยู่เบื้องหลังกิจกรรมบนท้องถนนตลอดมา และดูเหมือนว่ากลยุทธ์การ rebrainding ที่ว่ามาข้างต้นทั้งงานสถาปัตยกรรมและกราฟิกนั้นได้แก้ช่วย pain point ของบริษัทได้ดีทีเดียว เมื่อปรากฏว่าหลังจากงานออกแบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จำนวนผู้ยื่นใบสมัครเข้าทำงานที่บริษัทนี้ก็ได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

Signage Design

Furukawa CI | Photo: Rico Okaniwa

Signage Design

Furukawa CI | Photo: Rico Okaniwa

irobe.ndc.co.jp

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *