ERNEST ZACHAREVIC IS THE STREET ARTIST THAT PUT GEORGETOWN, PENANG, ON THE CONTEMPORARY TOURISM MAP WITH HIS OMNIPRESENT MURAL PAINTINGS THAT FIND THEIR WAY INTO MANY DIFFERENT CORNERS OF THE TOWN
Over the past couple of years, Zacharevic has spent most of his time traveling to Sumatra, Indonesia where he conducted research on the palm industry, which is one of the major causes of the country’s deforestation crisis. In early 2017, he collaborated with artists and creative minds from around the globe ranging from Mark Jenkins, Axel Void, Pixel Pancho, Isaac Cordal, Strøk and Gabriel Pitcher to Bibichun on the foundation of Splash and Burn. The project realizes the use of art to communicate the deforestation issue on Sumatra Island caused by palm plantations. The works they create reflect the effects of slash-and-burn agriculture on the environment, from the reduced number of wild animals (particularly the orangutans) to the migration of the locals. Splash and Burn also works together with international non-governmental organizations to spread this important message at a global scale as deforestation caused by the palm oil industry originates from not only Indonesia but the demands of consumers worldwide, especially as long as consumers still choose to purchase products that have palm oil as an ingredient, and particularly products from brands with an evident deforestation commodity supply chain.
Earlier in the beginning of February 2018, Zacharevic stepped out of the realm of mural painting and installation with his land art where he carved the land of a palm plantation on Sumatra Island into an enormous SOS (Save Our Souls) distress call. Surely, the work sends out a loud message about the problem that everyone on this planet should take seriously. But it seems like the voice he has resonated might be a step on someone’s toe because not long before the release of the SOS image, Zacharevic, who has been living and working in Penang for years, was suddenly banned from entering the country. And while Zacharevic hasn’t really expressed his opinion about the ban, those who know how the Malaysian Government works and that palm oil is a profitable product that makes a lot of money, not just for Indonesia but a lot of countries, can easily guess the reason why.
Ernest Zacharevic เป็นสตรีทอาร์ตติสต์ที่เคยทำให้เมืองจอร์จทาวน์ ปีนัง โด่งดังจากการดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย mural painting จำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วเมืองมาแล้ว ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา Zacharevic ใช้เวลาส่วนมากเข้าๆ ออกๆ เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย เพื่อรีเสิร์ชเกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มที่เป็นสาเหตุหลักข้อหนึ่งของการเผาทำลายป่าในอินโดนีเซีย จากนั้นราวต้นปี 2017 เขาจับมือกับศิลปินและนักสร้างสรรค์จากนานาประเทศ เช่น Mark Jenkins, Axel Void, Pixel Pancho, Isaac Cordal, Strøk, Gabriel Pitcher และ Bibichun ก่อตั้ง Splash and Burn ขึ้น โปรเจ็คต์ดังกล่าวเป็นการนำเอาศิลปะมาใช้สื่อสารถึงประเด็นเรื่องการทำลายป่าบนเกาะสุมาตราเพื่อนำพื้นที่ไปปลูกป่าปาล์ม โดยผลงานที่พวกเขาสร้างสรรค์ออกมาก็แตะทั้งประเด็นเรื่องที่การเผาป่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อการลดจำ.นวนลงของสัตว์ป่า โดยเฉพาะอุรังอุตัง และการอพยพออกจากพื้นที่อยู่อาศัยของคนท้องถิ่น Splash and Burn ยังได้ร่วมมือกับองค์กร NGO จากต่างชาติ เพื่อให้แมสเสจดังกล่าวสามารถเดินทางไปยังคนทั่วโลก เพราะว่าแท้จริงแล้วปัญหาเรื่องการทำลายป่าในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอินโดฯ เท่านั้น แต่เป็นผู้บริโภคจากทั่วโลกต่างหาก หากว่าพวกเขายังเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่มีน้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบ และโดยเฉพาะว่าสินค้าเหล่านั้นมาจากแบรนด์ที่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าได้น้ำมันปาล์มมาจากห่วงโซ่อุปทานของการทำลายป่า
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Zacharevic ยังพาตัวเองให้ไปไกลกว่า mural painting และ installation ด้วยการสร้าง land art จากการโค่นต้นปาล์มบนเกาะสุมาตราลงจำนวนหนึ่งจนกลายเป็นตัวอักษรเรียงกันว่า SOS (Save Our Souls) แน่นอน นี่คือการส่งแมสเสจบอกด้วยเสียงอันดังถึงปัญหาที่คนทั่วโลกควรใส่ใจ แต่ก็ไม่แน่ใจนักว่าเสียงที่ Zacharevic ตะโกนออกไปนั้นไปทำให้ใครไม่พอใจหรือเปล่า เพราะช่วงเวลาก่อนที่ภาพ SOS จะเผยแพร่ออกมาได้ไม่นาน ก็มีข่าวว่า Zacharevic ที่อาศัยและทำงานอยู่ในปีนังมาหลายปี ถูกห้ามไม่ให้เข้าประเทศมาเลเซีย และถึง Zacharevic จะไม่ได้แสดงความเห็นถึงสาเหตุที่ถูกแบน แต่หลายคนที่พอจะรู้จักรัฐบาลมาเลเซีย รวมทั้งเล็งเห็นว่าน้ำมันปาล์มไม่ได้เป็นสินค้าส่งออกที่ทำเงินให้อินโดนีเซียประเทศเดียว ก็พากันเดาออกมาเป็นเสียงเดียวว่าเพราะอะไร
TEXT : TUNYA HT
PHOTO COURTESY OF ERNEST ZACHAREVIC
fb.com/splashandburnsumatra