IT HAS BEEN ALMOST SIXTY YEARS SINCE THE BOOK ‘EXPERIENCING ARCHITECTURE’ BY STEEN EILER RASMUSSEN WAS PUBLISHED
And today, one of the most revered and classic publications about the human experience of architecture has been translated into Thai language by Kanokwan Trakulyingcharoen. In the introduction, Rasmussen reveals his intention to create content that is easy enough for a 14-year-old to understand the book as an architect would. Nevertheless, it isn’t anywhere near easy for an architecture student and architect to drift away in the facilitated experiences brought about by architecture through a foreign language.
The translator explains that Experiencing Architecture is an attempt to ‘understand architecture in both physical and psychological senses,’ which are comprised of such diverse aspects and stories such as, Solids and Cavities in Architecture, Scale and Proportion, Rhythm in Architecture, Textural Effects, Daylight in Architecture, Color in Architecture, and Hearing Architecture. Apart from these issues, Rasmussen includes a number of profound and specific theoretical discussions, whether in the Contrasting Effects of Solid and Cavities chapter in which the term ‘cavity’ is used to explain different case studies of ‘architecturally formed cavities’ instead of the word ‘space’ and the rather neutral definition it implies or the Architecture Experienced as Color Planes where the author recounts his personal experiences of Venice through communal routes, architectural elements and festivals before linking them to the Modern architectural designs of Le Corbusier and Mies van der Rohe.
Rasmussen wishes for the book to bring about a greater understanding among the general public about how architects design and are attentive to the way buildings and works of architecture are created and experienced. The translation of the Thai edition of Experiencing Architecture was done using simple language, following Rasmussen’s intentions for the book. In the meantime, it contains some insightful observations that transpire the connection between human experience and architecture in a way that is not too hard to digest. In this time when the digital world and virtual reality have become integral parts of people’s perceptions and daily lives, to be able to go back and try to understand the human experience of an actual, physical place or a work of architecture is quite a comforting and heartwarming feeling.
Steen Eiler Rasmussen, Kanokwan Trakulyingcharoen (transl.)
Li-Zenn Publishing, 2018
Paperback, 312 pages, 14.5 x 20 cm
ISBN 978-6-16459-012-0
เป็นเวลาเกือบ 60 ปีแล้วตั้งแต่หนังสือ Experiencing Architecture โดย Steen Eiler Rasmussenได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก ในที่สุดหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าคลาสสิคที่สุดเล่มหนึ่งในการถกประเด็นการรับรู้ในสถาปัตยกรรมก็ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยโดย กนกวรรณ ตระกูลยิ่งเจริญ ในคำนำของหนังสือ Rasmussen เผยถึงความตั้งใจที่จะเรียบเรียงเนื้อหาให้ง่ายพอที่วัยรุ่นอายุ 14 ปี จะสามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้เช่นเดียวกันกับสถาปนิกทั่วไป อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่นักเรียนสถาปัตยกรรมและสถาปนิกชาวไทยจะล่องลอยไปในการผูกโยงประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรมผ่านภาษาที่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้แปลชี้ว่าหนังสือ ‘ประสบการณ์สถาปัตยกรรม’ เล่มนี้เป็นทั้งการ “ทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมในเชิงกายภาพและในเชิงจิตวิทยา” ซึ่งประกอบด้วยเรื่องราวที่หลากหลาย เช่น ส่วนทึบตันและห้วงโล่งในสถาปัตยกรรม, สเกลและสัดส่วน, จังหวะในสถาปัตยกรรม, เอฟเฟกต์ของพื้นผิว, แสงธรรมชาติในสถาปัตยกรรม, สีในสถาปัตยกรรม และการฟังสถาปัตยกรรม นอกจากประเด็นเหล่านี้ Rasmussen ยังได้แฝงการถกเถียงเชิงทฤษฎีที่เฉพาะเจาะจงและลึกซึ้งอยู่หลายหัวข้อด้วยกัน เช่น ในบท ‘เอฟเฟกต์ของคอนทราสต์ระหว่างส่วนทึบตันและห้วงโล่ง’ คำว่า “ห้วงโล่ง” (cavity) ถูกใช้ในการอธิบายกรณีศึกษาต่างๆ ของ “ที่ว่างที่ก่อร่างขึ้นในทางสถาปัตยกรรม” แทนคำว่า “ที่ว่าง” (space) ซึ่งค่อนข้างเป็นกลาง ในขณะที่ในบท ‘สถาปัตยกรรมที่ได้รู้เห็นผ่านระนาบสี’ ผู้เขียนเล่าถึงประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสถานที่อย่างเมืองเวนิส ผ่านการสัญจร องค์ประกอบสถาปัตยกรรม และงานเทศกาล ก่อนจะเชื่อมโยงไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรม Modern ของ Le Corbusier และ Mies van der Rohe
Rasmussen มีความมุ่งหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะทำ.ให้คนทั่วไปเข้าใจว่าสถาปนิกออกแบบและใส่ใจกับการรับรู้ในอาคารและสถานที่อย่างไร โดยหนังสือ ‘ประสบการณ์สถาปัตยกรรม’ ฉบับภาษาไทยนี้ ได้รับการแปลและเรียบเรียงด้วยภาษาที่เรียบง่ายสอดคล้องกับเจตนาของ Rasmussen ขณะเดียวกันก็แฝงไว้ซึ่งข้อสังเกตและความลุ่มลึกที่จะถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์และสถาปัตยกรรมออกมาให้เราเข้าใจได้โดยไม่ยากนัก ในยุคที่โลกดิจิตอลและความจริงเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในการรับรู้และชีวิตประจำวันของเรา การได้กลับมาทำความเข้าใจถึงประสบการณ์ในสถานที่และสถาปัตยกรรมจริงๆ เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความอบอุ่นใจให้กับเราได้มากพอสมควร
TEXT: WINYU ARDRUGSA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN
fb.com/LiZennPublishing