SMG | GUARDIAN GLASS

Fresh green and building

SMG | GUARDIAN GLASS

LEARN MORE ABOUT SMG (SOLAR MANAGEMENT GLASS), ARCHITECTURAL GLASS FOR SOLAR HEAT FILTRATION AND ENERGY EFFICIENCY IN THE BUILDING FROM GUARDIAN GLASS

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART

(For English, press here)

กระจกที่พบเห็นนั้นมีอยู่หลายประเภทและหลากหลายรูปแบบที่รองรับการใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งในหลายๆ ครั้ง งานออกแบบก็ขึ้นอยู่กับความสวยงามและคุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ เรามักจะเห็นอาคารสูงมากมายในเมืองใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นเปลือกอาคาร คอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายใน และในหลายๆ ครั้ง กระจกก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงแนวความคิดของงานสถาปัตยกรรมได้เช่นกัน

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

Tainan Art Museum ที่ออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลก Shigeru Ban เป็นหนึ่งในโปรเจ็คต์ที่ออกแบบให้มีคอร์ตกลางอาคารเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายใน ด้วยโครงสร้างที่น่าสนใจและการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้วัสดุต่างๆ สื่อสารออกมาได้ดีที่สุด กระจก SMG (Solar Management Glass) จาก Guardian Glass กระจกโฟลตประหยัดพลังงานถูกเลือกให้เป็นส่วนประกอบหลักของงานชิ้นนี้ ที่คอยเปิดรับแสงธรรมชาติ แต่ยังคงช่วยสร้างสมดุลเรื่องของการใช้พลังงานและควบคุมอุณหภูมิภายในได้

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

ด้วยคุณสมบัติในการกรองความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้สูง ที่ยืนยันได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ (SHGC) เท่ากับ 0.54 หมายถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถผ่านได้เพียง 54% เท่านั้น ซึ่งดีกว่ากระจกโฟลตเขียวที่เราพบเห็นกันทั่วไป นอกจากนี้ยังกรองรังสี UV ให้ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เพียง 22 % ทำให้ป้องกันความเสียหาย ความเสื่อมของวัสดุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการลดการใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงเมื่ออุณหภูมิภายในไม่สูงจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ยังคงให้แสงสว่างส่องเข้ามาภายในอาคารได้ถึง 70% ไม่เหมือนกับการติดฟิลม์แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ทำให้ยังคงมองเห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจนมากกว่าการติดฟิล์มกันความร้อนและทดแทนการใช้กระจกโฟลตใสแบบปกติได้

*หมายเหตุ: ตัวเลขแสดงประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนข้างต้น เป็นคุณสมบัติของกระจก SMG 6 มิลลิเมตร

นอกจากนี้บางประเภทอาคารที่ต้องการความปลอดภัยพิเศษ เช่น อาคารสำนักงาน อาคารสูงสำหรับพักอาศัย กระจก SMG นั้น สามารถนำไปทำเป็นกระจกนิรภัยแบบลามิเนต (Laminated Glass) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในกรณีที่กระจกแตกได้รับความเสียหาย หรือสามารถทำเป็นกระจกเทมเปอร์ (Temper Glass) หรือฮีทสเตรงเทน (Heat Strengthened Glass) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวกระจกได้ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในกรณีอาคารสูงที่มีกฎหมายควบคุมได้เป็นอย่างดี

จากคุณสมบัติที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ด้วยมาตรฐานของค่า LSG (Light to Solar Gain) และ SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ทำให้กระจก SMG ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ด้านการประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ทำให้มั่นใจได้ว่าอาคารที่เราออกแบบนั้น หากเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติอย่าง SMG แล้ว จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิม และนี่เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก Guardian Glass ที่ยังคงมีกระจกหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจให้ติดตามในบทความถัดๆ ไป

และในบทความฉบับหน้าจะพาทุกท่านเจาะลึกการสัมภาษณ์สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้ออกแบบโปรเจ็คต์ Tainan Art Museum ในไต้หวัน พร้อมพาชมส่วนต่างๆ ในอาคารอีกมากมายที่น่าสนใจ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.guardianglass.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *