LUXURY CAN BE NORMAL

ANDRA MATIN HAS CREATED A BRAND NEW RESORT IN SEMINYAK WITH THE GESTURE OF MODERNISM DRESSED IN LOCAL BRICK.

TEXT: NARONG OTHAVORN
PHOTOS COURTESY OF  KATAMA HOTEL

Over one million pieces of brick in various shades made by hand in Bali, Indonesia, are constructed into a five-star hotel on beachfront land in Seminyak, the neighborhood that gathers almost all of Bali’s most renowned resorts and clubs. The way that the majority of the projects adopted a ‘curve’ as the axis of their architectural program and design seems to be what Andra Matin tried his best to avoid. The Indonesian architect is the man behind the aesthetic of Katamama, the latest resort by PTT Family Group, the developer of the widely recognized Potato Head Beach Club in Bali and Potato Head Garage in Jakarta.

Image © Katamama Hotel

“The idea behind Katamama was to represent Bali. It should feel Balinese, but modern at the same time. The main concept is actually the ‘modern’ architecture of the 60s and 70s. It’s very geometrical. And these days, when almost every hotel in Bali is planned with curved lines, it’s quite unusual,” Andra Matin described of the ideas that gave birth to Katamama’s architecture whose interior design is the result of a collaboration between Matin himself and a team of interior designers from Singapore’s Takenouchi Webb.

 

Image © Katamama Hotel


The project’s primary concept is to present the space with the look and feel of Balinese architecture in which the structure reflects the harmony between a building and its users, known in the local language as Tri Angga. The concept results in the architect’s attempt to allocate the 58 rooms and other spaces of the program to have equal visual access to the hotel’s landscape.

Katamama Living Room, Image © Katamama Hotel

Apart from the architecture and floor plan, other compositions and materials chosen as the contributing elements are derived from a desire to present the stories of Indonesian art, craft and culture. They appear in various shapes and forms, from bricks, ceramic and terrazzo, to the works of Indonesia’s prolific contemporary artists such as Eko Nugroho, furniture made in Bali and other parts of the country, the fabric and carpets from Tarum, a town to the south of Bali, Gaya’s pottery whose production base is in Ubud, and several other items that individually and collectively represent the traits and characteristics of Indonesian culture.

 

 

If the word introvert is defined as ‘a person predominantly concerned with their own thoughts and feelings rather than with external things,’ Matin uses the word to explain that experiences emerge from one’s interaction with the room and spaces. It’s the state of solitude as one observes the changing conditions of the surroundings, of the vast, succulent green land that immerses itself into and around large brick buildings, of one’s touch and use of handcrafted objects found in different areas of the hotel. It is possible that being surrounded yourself by the large number of such objects can make the most ordinary thing seems extraordinary. It’s the same story of how the geomantic structure of the 70s modernist architecture became an architect’s aesthetic approach to differentiate his work from the eccentric curves of other built structures on the island. Perhaps the issue here is not to create superficially striking visual effects that grab attention, but more about the experiences users receive and take back with them when they leave.

 

Katamama Exterior, Image © Katamama Hotel

Katamama Exterior, Image © Katamama Hotel

อิฐหลากความเข้มสีกว่าหนึ่งล้านก้อนที่ผลิตด้วยมือบนเกาะบาหลีอินโดนีเซีย ถูกนำมาก่อสร้างเป็นโรงแรมระดับห้าดาวบนพื้นที่ริมชายหาดในเมือง Seminyak ที่ถือได้ว่าเป็นย่านที่รวมเอาทั้งโรงแรม รีสอร์ท และคลับระดับแนวหน้าของบาหลีไว้เกือบทั้งหมด ซึ่งหลายต่อหลายรีสอร์ทได้เลือกใช้แนวเส้น curve มาเป็นแนวในการวางผัง และออกแบบตัวสถาปัตยกรรม ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ Andra Matin สถาปนิกจากอินโดนีเซียเลือกที่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยในโครงการ Katamama รีสอร์ทแห่งใหม่ในเครือของ PTT Family ผู้อยู่เบื้องหลัง Potato Head Beach Club ในบาหลี และ Potato Head Garage ในจาการ์ตา

“แนวคิดเบื้องหลังโรงแรมแห่งนี้คือการนำเสนอบาหลี ในแบบฉบับ modernism มากๆ มันจะเป็นอาคารที่มีรูปทรงเรขาคณิตเหมือนอาคารในยุค 60s และ 70s ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในรีสอร์ทอื่นๆ บนเกาะบาหลีเลย ผมคิดว่ามัน unusual ดีเหมือนกัน” Andra Matin กล่าวถึงความคิดเบื้องหลังตัวสถาปัตยกรรม Katamama โดยในโปรเจ็คต์นี้ เขาได้ร่วมมือออกแบบกับทีมอินทีเรียดีไซเนอร์ของ Takenouchi Webb จากสิงคโปร์

เพิ่มเติมจากแนวคิดหลักของโครงการที่ต้องการนำเสนอสเปซในแบบสถาปัตยกรรมบาหลีที่มีโครงสร้างสะท้อนความกลมกลืนระหว่างอาคารและผู้ใช้อาคาร หรือตามภาษาท้องถิ่นที่เรียกว่า Tri Angga ตรงนี้เองทางสถาปนิก จึงพยายามที่จะจัดวางผังของห้องพักทั้ง 58 ห้อง และพื้นที่อื่นๆ ของรีสอร์ทให้สามารถมองเห็น และรับรู้ได้ถึงแลนด์สเคปจากมุมต่างๆ ของโรงแรมได้อย่างทั่วถึง

นอกเหนือไปจากตัวสถาปัตยกรรมและการวางผังแล้ว องค์ประกอบต่างๆ รวมไปจนถึงวัสดุที่ถูกเลือกมาเป็นสภาพแวดล้อมในโครงการมีที่มาจากความต้องการที่จะนำเสนอเรื่องราวทางศิลปะ งานฝีมือ และวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย ตั้งแต่อิฐกระเบื้องดินเผา และหินขัด (terrazzo) รวมทั้งงานศิลปะของศิลปินร่วมสมัยที่มีชื่อของอินโดนีเซียอย่าง Eko Nugroho งานเฟอร์นิเจอร์ทั้งจากในเกาะบาหลีและที่อื่นๆ ในประเทศ รวมถึงงานฝีมือต่างๆ อย่างเช่นผ้า หรือพรมในโรงแรมจาก Tarum เมืองทางใต้ของบาหลี และเครื่องใช้เซรามิกจาก Gaya ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเมือง Ubud และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นตัวแทนวัฒนธรรมของอินโดนีเซียได้เป็นอย่างดี

หากคำว่า introvert จะหมายถึงการเป็นคนชอบเก็บตัว ซึ่ง Andra ใช้อธิบายประสบการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่ห้องพักและส่วนอื่นๆ ภายในโรงแรม มันก็คงจะเป็นการเก็บตัวเพื่อเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ ของสวนเวิ้งว้างอันเขียวชอุ่มที่แทรกตัวและล้อมรอบตัวอาคารอิฐขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กับการสัมผัสใช้สิ่งของงานฝีมือต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ภายในพื้นที่โรงแรม จนเป็นไปได้ว่าการล้อมรอบด้วยสิ่งของเหล่านี้เมื่ออยู่ในจำานวนที่มากก็อาจจะทำให้สิ่งธรรมดาสามัญที่อาจจะหลุดเข้ามากลายเป็นของพิเศษไปได้เหมือนกัน ไม่ต่างจากการที่อาคารหน้าตาเหลี่ยมๆ อย่างงานสมัยใหม่จากยุค 70s จะกลายมาเป็นทางเลือกของสถาปนิกเพื่อสร้างความแตกต่างจากขบวนรีสอร์ทสุดพิเศษที่เต็มไปด้วยเส้น curve สวิงสวายบนชายหาดในเกาะ เพราะประเด็นอาจจะไม่ใช่เรื่อง visual effect ที่จะสะกดสายตาผู้มาเยือนอย่างกลวงๆ แต่กลับเป็นประสบการณ์ที่ผู้เข้าพักจะได้รับกลับไปมากกว่า

andramatin.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *