PRACTICAL DESIGN STUDIO CELEBRATES THEIR 12 YEARS OF DESIGN EXPERIENCES IN STYLE BY REWINDING TO THE NEXT.
Whenever the term design exhibition is brought up, it’s perfectly conceivable for one to imagine content that highlights the role communication will play. But that is not the only goal REWIND TO THE NEXT (held at The Jam Factory from 2nd June to 3rd July 2016), exhibition by Practical Design Studio for its 12-year anniversary in the discipline, is aiming for. It strives to sort out new possibilities by going back to fundamental two-dimensional elements such as ‘dot’ and ‘line’ with the ‘design of design methodology’ being the task.
The wish to design a system that encompasses beyond ‘individuality’ is materialized into 40 pieces of two-dimensional creations. All designers in the studio were asked to take part in the making of this special design jam session, where the size of the space was indicated and the Golden Ratio brought in to avoid the commonly used iso system. On a piece of A4 paper and regardless of aesthetic quality, each designer was assigned the task of designing pretty much anything. The process gave way to the final result of grid structures with obscure forms that were later used and reconciled in the next stage of the design. These primary designs were then superimposed into ‘Emptiness to Nothingness,’ the work we see on the exhibition’s poster.
The sketches were presented in the first section of the exhibition’s space. They function similarly to the captions that describe the concept of the process Practical refers to as the ‘search for possibilities.’ In a nutshell, such process of experimentation is ramified into six different directions: space subdivision, drawing a line to the center, finding the section/indicating the section/dragging through the section, drawing a line without lifting the pencil, creation of eye line and formation of a spatially conceived curved line.
In the second stage of the design, the six types of grids generated by the primary experimentation were utilized as the structures of four categories of works (drawing, illustration, photography, typography). This is the stage where the aesthetics of each work’s finished image is realized and content formulated. What Practical proposes is the interpretation of ‘grid’ as the ‘fundament’ of thoughts that affect the final stage of a work. Such concept can be found in World (2016) and Thai-Land (2016), but is most pronounced in Thailands (2016) where 16 configurations of the country’s map connotatively elaborate how the same thing (constituted Thai identity) is interpreted (designed) using different notions (grids) allowing for drastically contrasting results. Equally interesting is the series of eight portraits that objectively discuss the modern era’s reproduction and control of facial beauty through tools such as mobile make-up applications or plastic surgery.
While many of the works contain social references, a good number of typography and photography pieces are more design oriented. A work of photography, ‘Gesture’ (2016) is a rarely seen collaboration between two disciplines (graphic design: Practical and ballet: Bangkok City Ballet). The work was contrived from an observation of the impacts that ‘grid’ has on human’s emotions. The idea was then further investigated by the insertion of the human body into a grid system using the technique of photography that later evolved into a performance piece on the opening day. Works in the typography category, which are seemingly experimental formations of type and fonts, engage the exhibition’s main content with functionality as important keywords such as system, possibility, practice, and relativity explain and encapsulate Practical’s design character.
ขึ้นชื่อว่าเป็นนิทรรศการงานดีไซน์แล้ว คงไม่แปลกถ้าเราจะจินตนาการถึงการออกแบบที่ให้ความสำคัญถึงการสื่อสารเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้เป็นเพียงเป้าหมายเดียวของ REWIND TO THE NEXT (จัดแสดงที่ The Jam Factory วันที่ 2 มิ.ย. – 3 ก.ค.) นิทรรศการที่ทาง Practical Design Studio จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 12 ปี ของการทำางานออกแบบของพวกเขา แต่พวกเขายังต้องการหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบ จากการกลับไปหาเรื่องพื้นฐานทางการออกแบบสองมิติอย่าง “จุด” และ “เส้น” ภายใต้โจทย์ “การออกแบบวิธีการออกแบบ”
ความต้องการที่จะออกแบบ “ระบบ” ที่มีความหมายกว้างไปกว่า “ตัวบุคคล” ทำาให้ผลงานสองมิติ 40 ชิ้น ถูกสร้างขึ้นจากการมีส่วนร่วมของดีไซเนอร์ทุกคนในสตูดิโอ เริ่มต้นจากการกำหนดขนาดของพื้นที่ พวกเขาเลือกใช้สัดส่วนทองคำ (golden ratio) เพราะต้องการหลีกเลี่ยงระบบ ISO ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มอบหมายให้ดีไซเนอร์ในทีมทดลองออกแบบอะไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม ผลลัพธ์ทั้งหมดที่ได้มาดูเหมือนกับโครงสร้างกริดที่ไม่มีรูปฟอร์มแน่ชัด ซึ่งจะถูกนำาไปใช้ต่อและคลี่คลายเป็นผลงานในการออกแบบขั้นถัดไป อีกทั้งยังถูกนำามาวางซ้อนกันเป็นผลงาน ‘Emptiness to Nothingness’ ซึ่งสตูดิโอใช้เป็นโปสเตอร์ของนิทรรศการอีกด้วย
ที่กล่าวถึงข้างต้นคือผลงานภาพสเก็ตช์ที่ถูกนำเสนอเป็นลำดับแรกภายในสเปซของแกลเลอรี่ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นภาพประกอบคำอธิบายเบื้องหลังแนวคิดการออกแบบในกระบวนการที่ Practical เรียกว่า “การหาความเป็นไปได้” ในที่นี้จะสรุปสั้นๆ ว่าการทดลองหาความเป็นไปได้นี้แตกออกไป 6 ทิศทาง คือ การแบ่งย่อยพื้นที่การลากเส้นเข้าจุดศูนย์กลาง การหาจุดตัดแล้วหยุดตรงจุดตัด/ลากทะลุ การลากเส้นต่อเนื่องโดยไม่ยกดินสอ การสร้างเส้นนำสายตา และการสร้างเส้นโค้งที่เกิดจากพื้นที่ภายใน
ในการออกแบบช่วงที่สอง กริดทั้งหกแบบที่ได้จากการทดลองในขั้นตอนแรกถูกนำามาใช้เป็นโครงสร้างผลงานทั้ง 4 ประเภท (drawing, illustration, photography, typography) และจะเริ่มมีการคำนึงถึงความสวยงามของภาพสุดท้าย ตลอดจนสร้างเนื้อหาให้กับชิ้นงาน หลักๆ แล้วเนื้อหาที่ Practical นำเสนอคือการตีความ “กริด” ว่าเป็นเหมือนกับ “พื้นฐานทางความคิด” ที่จะส่งผลต่อภาพสุดท้ายของผลงาน แนวคิดนี้ถูกใช้ในผลงาน drawing อย่าง ‘World’ (2016), ‘Thai-Land’ (2016) และเห็นได้ชัดที่สุดใน ‘Thailands’ (2016) แผนที่ประเทศไทย 16 แบบที่ขยายแนวคิดข้างต้นด้วยการบอกเป็นนัยว่า สิ่งเดียวกัน (ความเป็นไทย) เมื่อถูกตีความ (ออกแบบ) โดยแนวคิด (กริด) ต่างกัน จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก หรือ ในชุดงาน portrait 8 ชิ้น ซึ่งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเลือกสร้างและกำกับใบหน้าของผู้คนยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้แอพฯ แต่งหน้าหรือ ผ่านคมมีดหมอศัลยกรรม
นอกจากผลงานที่มีเนื้อหาค่อนข้างอ้างอิงไปยังสังคม ผลงานอีกสองแบบอย่างงาน typography และ photography ดูจะเน้นไปที่ของการดีไซน์ล้วนๆ มากกว่า ผลงานภาพถ่าย ‘Gesture’ (2016) ที่สตูดิโอร่วมมือกับ Bangkok City Ballet (ซึ่งเห็นได้ไม่บ่อยนักที่ศิลปะสองสาขานี้ (กราฟิกดีไซน์ – บัลเล่ต์) จะมาทำงานร่วมกัน เกิดจากข้อสังเกตที่ว่า “กริด” มักมีผลต่ออารมณ์มนุษย์ ซึ่งนำาไปสู่การทดลองนำร่างกายมนุษย์แทรกเข้าไปในกริดโดยอาศัยเทคนิคการถ่ายภาพ รวมทั้งต่อยอดเป็นงาน performance ในวันเปิดนิทรรศการ ส่วนในด้านงาน typography ที่ดูเผินๆ เป็นเรื่องของการทดลองสร้างตัวอักษรในแบบใหม่ๆ แต่ก็มีฟังก์ชั่นในนิทรรศการอยู่เหมือนกันในฐานะคีย์เวิร์ดสำคัญ เพราะคำว่า “ระบบ” “ความเป็นไปได้” “ปฏิบัติ” และ “สัมพัทธ์” สามารถอธิบายทุกๆ อย่างในนิทรรศการ และคาแร็คเตอร์ในการออกแบบของ Practical ได้เป็นอย่างดี
REWIND TO THE NEXT เป็นนิทรรศการที่มีหลักการและเหตุผลที่แข็งแรงและเป็นระบบชัดเจนผลงาน แต่ละชิ้นมีคุณค่าที่เกิดจากกระบวนการของมันเองจนแทบจะไม่ต้องอาศัยการตีความแต่อย่างใด แต่ในจุดแข็งนี้ก็มีจุดอ่อนอยู่เหมือนกันในแง่ของการจัดแสดง เพราะผลงานแต่ละชิ้นอาจไม่สามารถนำเสนอเบื้องหลัง แนวคิดในการดีไซน์ที่มีความซับซ้อนออกมาได้ด้วยตัวมันเองทั้งหมด แต่ต้องมีการอธิบายเพิ่มเติมจากดีไซเนอร์ และด้วยความแข็งแรงของแนวคิด บทบาทของผู้ชมจึงเหมือนกับจะถูกผลักไปอยู่ในพื้นที่ของผู้ฟังและผู้ถามจนทำาให้ไม่อาจเกิดการแลกเปลี่ยนได้มากนัก ซึ่งนี่ก็คงเป็นเหตุผลที่สมาชิกสตูดิโอคอยผลัดเปลี่ยนกันประจำอยู่ที่แกลเลรี่ตลอดเวลาเพื่อเป็นตัวกลางให้ผลงานได้สื่อสารกับผู้รับชม และอาจเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อป เพื่อที่ว่าบางช่วงบางตอนของการพูดคุยจะได้มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นระหว่าง ผู้ชม – ผลงาน – ดีไซเนอร์
TEXT: NAPAT CHARITBUTRA