THE NEW PUBLIC PARK IN SEOUL DOESN’T HAPPEN TO BE ANYWHERE BUT CLOSER TO THE SKY
In today’s architecture industry, the recycling or adaptation of an old structure or space that brings additional and more contemporary functionality remains a rising trend that is showing no signs of fading away. We have seen a good number of old buildings renovated into hotels, old houses turned hip restaurants or homestays, or even the case of large-scale infrastructure projects of the world’s leading metropolises such as the High Line in New York that transformed an unused elevated railway track into a 2-kilometer linear park. Not only that, but the High Line has also become one of the city’s most popular destinations for both New Yorkers and tourists alike, the park serving as a catalyst of the area’s urban development as witnessed by the blossoming of several pricy real-estate development projects designed by superstar architects whether it be Zaha Hadid, Rafael Viñoly, BIG or Studio Gang, to name a few.
A little while ago, a renovation of urban infrastructure similar to the High Line was initiated in Seoul. It is essentially the transformation of a deteriorating and unstandardized 45-year-old, 983-meter-long overpass into an elevated linear park that goes by the name of Seoullo 7017 Skygarden. With Seoul being the name of the city where the park is located, the number 70 is derived from the year 1970 when the overpass was first constructed while 17 refers to the year when the park officially opened for public use. Seoullo 7017 is a part of the government’s Seoul Station 7017 Project that aims to develop the land surrounding Seoul Station, including the overpass, to boost the area’s local economy. The decision not to demolish but instead readjust the infrastructure’s functionality comes from the government’s acknowledgement of the overpass’ historical value, which is living proof of South Korea’s glorious industrial development era, as well as its potential as a new important hub that will be linking with Eurasian Railway’s network in the future.
MVRDV, the studio that won the project’s design competition organized back in 2015 reconfigured the physical characteristics of the overpass by filling up the space of the linear park with 645 tree pots, housing over 24,000 plants (trees, shrubs and flowers) that were newly planted and many of which will grow to their final heights over the next decade. The park is divided into different zones according to different colors and smells of the plants. The overall vibe of this plant village will alter through the change of seasons such as the bright orange of the Maple trees that will make an appearance during autumn after the blooming pinkness of the Sakura and Azalea in the spring. The fully grown pine trees will keep the park green with their thick, succulent masses through winter while in summer, the inhabitants of and visitors to Seoul will get to see the plants that only reveal their beauty during the heated season. After its official opening and actual usage, we might have to wait a while to see exactly how and in what way the Seoullo 7017 that everyone has envisioned will turn out.
ในแวดวงสถาปัตยกรรมปัจจุบัน กระแสความนิยมของการนำเอาของเก่ามาปัดฝุ่นปรับฟังก์ชั่นใหม่เพื่อให้น่าสนใจมากขึ้นหรือร่วมสมัยขึ้น นับว่ายังคงมาแรงแบบไร้ทีท่าว่าจะแผ่วลงง่ายๆ เช่น การนำาอาคารเก่ามาปรับปรุงเป็นโรงแรม บ้านเก่ามาทำาเป็นร้านอาหารหรือโฮมสเตย์ หรืออย่างในสเกลที่ใหญ่ขึ้นระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่โด่งดังมากๆ ก็เห็นจะเป็นโครงการ High Line ในนิวยอร์กที่นำาทางรถไฟลอยฟ้าไม่ใช้งานแล้วมาปรับเป็น linear park ความยาวประมาณ 2 กิโลเมตรกว่าๆ นอกจาก High Line จะกลายมาเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั้งชาวนิวยอร์กและนักท่องเที่ยวแล้ว สวนสาธารณะแห่งนี้ก็ยังทำหน้าที่เสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเมืองในบริเวณโดยรอบ ดังจะเห็นได้จากการผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดของโครงการอสังหาริมทรัพย์ราคาสูงลิ่วที่ทาง developers ต่างพากันสรรหาสถาปนิกชื่อดังมาประชันกัน ไม่ว่าจะเป็น Zaha Hadid, Rafael Viñoly, BIG, Studio Gang เป็นต้น
เมื่อไม่นานมานี้ โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในลักษณะคล้ายคลึงกับ High Line ยังได้เกิดขึ้นไม่ใกล้ไม่ไกลจากบ้านเราอีกด้วย นั่นคือที่กรุงโซล โดยโครงการในครั้งนี้เป็นการนำาทางรถวิ่งยกระดับความยาว 983 เมตร ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วถึง 45 ปี และมีสภาพทรุดโทรมไม่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัย มาปรับปรุงใหม่เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าในชื่อ Seoullo 7017 Skygarden โดย Seoul หรือ โซล เป็นชื่อของเมือง และ lo หมายถึงการเดิน ส่วนเลข 70 มาจากปีที่เริ่มก่อสร้างสะพานเมื่อปี 1970 และเลข 17 มาจากปีที่สวนสาธารณะแห่งนี้เปิดใช้งานในปี 2017 โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Seoul Station 7017 Project ของทางรัฐบาล ที่มุ่งหวังจะพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี Seoul Station และทางเดินรถลอยฟ้าเพื่อยกระดับเศรษฐกิจในละแวกนี้ ซึ่งการตัดสินใจที่จะไม่ทุบทิ้ง แต่นำามาปรับการใช้งานนี้ก็เนื่องมาจากทางรัฐบาลเล็งเห็นว่าทางยกระดับนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นผลิตผลของยุคอุตสาหกรรมในอดีตของเกาหลีและคุณค่าในอนาคตในฐานะ hub สำคัญที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของ Eurasian Railway
ทาง MVRDV ทีมออกแบบซึ่งชนะการประกวดแบบที่จัดขึ้นเมื่อปี 2015 ทำการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของทางเดินรถยกระดับนี้ด้วยการโปรยกระถางต้นไม้จำนวน 645 กระถาง ที่บรรจุต้นไม้และไม้พุ่มทั้งหมดประมาณ 24,000 ต้น โดยที่ไม้ใหญ่จะโตเต็มที่ในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกจากนั้นยังมีการจัดองค์ประกอบของสวนเป็นโซนต่างๆ ตามเอกลักษณ์ในเรื่องของสีและกลิ่นของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันไป โดยรูปลักษณ์ของสวนโดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา เช่น สีสันจัดจ้านของกลุ่มพันธุ์ไม้ตระกูลเมเปิ้ลที่จะมีให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง สีชมพูสดใสของซากุระและกุหลาบพันปีในฤดูใบไม้ผลิสีเขียวของใบสนที่ไม่ร่วงโรยในช่วงหน้าหนาว และพืชพันธุ์บางประเภทที่จะออกผลในช่วงหน้าร้อน เป็นต้น ก็คงต้องรอดูต่อไปว่าพื้นที่โดยรอบจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหนในอนาคตหลังจากที่สวนแห่งนี้ได้เปิดทำการและพิสูจน์ตัวเองไปแล้วสักระยะ
TEXT: JIRAWIT YAMKLEEB
www.mvrdv.nl