ALIREZA TAGHABONI PORTRAYED THREE PRINCIPALS THAT BIND TOGETHER THE CORE THINKING OF NEXTOFFICE WHICH AIMS TO DRIFT AROUND THE PARALLEL LIVES OF IRANIANS
Before we even began asking him any questions, Alireza Taghaboni, architect and founder of nextoffice, started explaining the three ‘aspects’ of practicing the profession of architecture in Iran. The first aspect is a definition of the sense of standing between, with one pillar being the architects and the second the government and the state’s view on the country’s architecture. “If we want our architecture to surpass traditional Islamic architecture, which serves as this big umbrella with its radius spreading over the visions of the people working for the government, we have to know where we stand and find that gap so that we can propose something different.”
For Iranian architects, what is unavoidable but can be understood and criticized is the emergence and omnipresence of mundane architectural creations in Tehran and other cities of Iran. The overly ornamented, lack-of-imagination works are produced only as merchandise that can be bought and sold, worthlessly serving the never-ending supply and demands of Capitalism.
“We need to interpret the western architectural language and apply it to our own cultural context,” said Taghaboni who is now in his forties. “Certainly, we cannot deny it but with the accumulated differences in the lifestyles and culture, we may not be able to share the problems that the west is having. So to pick up western architecture without any interpretation and understanding is something you shouldn’t do.”
The three aspects are derived entirely from Taghaboni’s experiences working in a great number of offices and the tens of design competitions he entered before the foundation of nextoffice in 2010. He recalled the time before nextoffice had the ability to hire 30 employees with several projects ranging from residential to public in his hands, describing that he went through a great deal of self-learning in order to get his ideas across and accepted. Even today, he still thinks that nextoffice will have to come up with solutions for its designs in regards to the three aspects he mentioned earlier, which are themselves dynamically changing, for even the conditions that define and give birth to a government are not always unanimous. Older generations of architects working with the government change their points of view over time, particularly when it comes to political beliefs and movements. One example is the Arab Spring movement that was initiated seven years ago by the Green Movement in Tehran, which was one of the biggest demonstrations the country has seen since the revolution in 1979. But the movement has shifted its direction due to the generation aging and the gaining of a greater understanding of conditions as they choose to live a parallel life between a coexistence of, and the differences between, private and public spaces.
WE NEED TO INTERPRET THE WESTERN ARCHITECTURAL LANGUAGE AND APPLY IT TO OUR OWN CULTURAL CONTEXT
Taghaboni further explained that public space is not among the government’s top priorities, for the physical presence of such space can be associated with the fact that people are being given too much freedom of expression. There are also religious limitations and laws that come into play as it becomes reasonable why Iranians choose to create their own worlds within their own living and private spaces where they enjoy and engage in activities that reflect their interests and identities. But at the same time, they embrace and interact with public spaces like a breath of fresh air.
Sharifi-ha House is among the many examples in nextoffice’s portfolio that bespeaks Taghaboni’s point of view. The terraces of all three floors of the house can be adjusted to face and interact with the outside surroundings at the owner’s wish. With currently underconstruction projects like Safadasht Villa, one can notice an enclosed mass of space where the private area of the house is located. This particular mass whimsically floats above the spacious and airy interior. Even Taghaboni’s earlier works such as Kouhsar Villa is a manifestation of the coexistence of the enclosure and openness of the space through the paradoxical language and form, which the architect reaffirms as the physical representation of his creativity.
As the conversation led us to a discussion about the project of such aforementioned nature, we cannot help but wonder how he’s able to present the idea and concept to the owners of these projects and houses in Tehran, especially when considering their familiarity with and preference for the kind of popular contemporary architecture we see everywhere in Tehran. Taghaboni said that this is the kind of ‘gap’ he’s been talking about and mentioned how important it is for architects to find and utilize such space in order to get their ideas across. His explanation behind the potential for architects to create works using such gap is the importance Iranian people give to education over money. The children who receive the highest education and are the more successful academically are also the most respected and appreciated. With an architect being one of the professions that is widely respected for its expertise in skills and knowledge, an architect’s successful presentation of ideas that are viewed as both practical and suitable for each project’s capacity and potential can eventually result in the actual birth and completion of the project.
ยังไม่ทันที่เราจะได้ถามอะไรออกไป Alireza Taghaboni สถาปนิกผู้ก่อตั้งสำนักงาน nextoffice ก็ชิงพูดถึงธงสามใบ ที่เป็นแนวคิดหลักในการเป็นสถาปนิกในอิหร่านขึ้นมาเสียก่อน สิ่งแรกก็คือ จุดยืนของสถาปนิกที่ควรจะตั้งอยู่ในระยะที่พอดีกับจุดยืนของรัฐบาลอิหร่านที่มีต่องานสถาปัตยกรรมในประเทศ “เพราะถ้าเราต้องการจะผลักให้งานสถาปัตยกรรมของเราเดินหน้าไปไกลกว่างาน traditional Islamic ซึ่งเป็นร่มคันใหญ่ที่คลุมมุมมองของคนที่เกี่ยวข้องข้องในรัฐบาลอยู่ เราจะต้องรู้ตําแหน่งของเรา แล้วหาช่องว่างนั้นให้เจอ เพื่ที่เราจะได้นําเสนองานท่ีแตกต่างออกไป”
เรื่องต่อมาที่สถาปนิกในอิหร่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ทําาความเข้าใจและมีความคิดเห็นต่อมันได้ คืองานสถาปัตยกรรมดาดๆ ที่เกิดขึ้นและกระจายอยู่ทั่วไปท้ังในเตหะรานและเมืองอื่นๆ ในอิหร่าน งานประเภทที่เต็มไปด้วยสิ่งของตกแต่งประดับประดา จัดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ขาดซึ่งจินตนาการ และถูกผลิตข้ึนมาเพียงเพื่อเป็นสินค้าเอาไว้ซื้อขายสนองตอบระบอบทุนนิยมอย่างไร้คุณค่าเท่านั้นเอง
“เรายังจําาเป็นต้องตีความภาษาสถาปัตยกรรมของตะวันตกให้ออก และนํามาปรับใช้ในบริบททางวัฒนธรรมของเราอีกด้วย” Taghaboni ในวัย 40 กว่ากล่าวต่อไป “เพราะแน่นอนว่าเราไม่สามารถปฏิเสธสิ่งเหล่าน้ี แต่ด้วยความแตกต่างทั้งในแง่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท่ีสั่งสมกันมายาวนาน เราย่อมไม่สามารถที่จะแชร์ปัญหาเดียวกันกับท่ีเกิดขึ้นในโลกตะวันตกได้ ฉะนั้นการที่เราจะหยิบเอาสถาปัตยกรรมในวิถีของเขามาใช้โดยไม่ได้ผ่านการตีความ หรือทําความเข้าใจเลยถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทํา”
แนวคิดทั้งสามที่ว่านี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ล้วนๆ ของ Taghaboni ผ่าน การทําางานในสํานักงานอื่นๆ มามากมาย และการทํางานประกวดแบบอีกหลายสิบครั้งก่อนที่จะเริ่มก่อตั้ง nextoffice ขึ้นมาในปี 2010 Taghaboni ยังเล่าต่ออีกว่า ก่อนที่ nextoffice จะมีพนักงานถึงกว่า 30 ชีวิต รวมทั้งมีโปรเจ็คต์มากมายอยู่ในมือ ทั้งบ้านและอาคารสาธารณะ เขาต้องเรียนรู้ด้วยตนเองมากมาย เพื่อท่ีจะผลักดันให้ความคิดของเขาเป็นท่ียอมรับข้ึนมา ได้ และแม้ในปัจจุบันเขาก็ยังคิดว่า nextoffice ยังคงต้องค้นหาทางออกให้ กับงานออกแบบของตนเองต่อไป เพราะทั้งสามประเด็นที่เขาพูดมามีความเปลี่ยนแปลงในตัวมันเองอยู่เสมอ แม้แต่เงื่อนไขที่ทำให้เกิดจุดยืนของรัฐบาลเองก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวอยู่ตลอด สถาปนิกรุ่นเก่ากว่าเขาที่ทำงานอยู่กับรัฐบาลก็มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะแนวคิดทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์ Arab Spring เมื่อ 7 ปีก่อน ที่นำโดย The Green Movement ในเตหะราน ซึ่งถือว่าเป็นการประท้วงครั้งใหญ่มากอีกครั้ง นับจากการปฏิวัติเมื่อปี 1979 แต่การเคลื่อนไหวก็มีการเปลี่ยนแนวทางออกไปเพราะคนรุ่นนั้นมีอายุที่มากขึ้น สุขุมขึ้น และใช้อารมณ์น้อยลงในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะเป็นเหตุที่ทําให้ชาวอิหร่านโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างเตหะรานเริ่มเข้าใจถึงเงื่อนไขเหล่านั้น และเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบ parallel ระหว่างในพื้นท่ีส่วนตัว และในพื้นท่ีสาธารณะที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
Taghaboni อธิบายต่อว่า พื้นที่สาธารณะไม่ได้เป็นสิ่งแรกๆ ที่รัฐบาลคิดจะหยิบยื่นให้แก่ผู้คนในเมือง เพราะนั่นอาจหมายถึงการที่ประชาชานจะมีอิสระที่จะแสดงออกทางความคิดมากเกินไป อีกทั้งยังมีข้อจำกัดและกฎทางศาสนาเป็นข้อห้ามต่างๆ อีกมากมาย พวกเขาจึงเลือกที่จะสร้างโลกของตนเองในบ้าน ในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อที่จะมีกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นชีวิตและตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา แต่ขณะเดียวกันหากมีโครงการที่สร้างพื้นที่สาธารณะขึ้นมา พวกเขาก็พร้อมท่ีจะกรูกันออกมาสนุกกับพื้นที่เหล่านั้นไม่าต่างอะไรกับการออกมารัรบอากาศบริสุทธิ์
บ้าน Sharifi-ha เป็นหนึ่งในตัวอย่างงานของ nextoffice ที่สะท้อนความคิดของ Taghaboni ได้ดี ระเบียงของบ้านทั้งสามชั้นสามารถหมุนหันด้านเปิด หรือปิดของระเบียงออกสู่ภายนอกได้ตามความต้องการท่ีจะมีความสัมพันธ์ หรือไม่สัมพันธ์กับภายนอกตามอารมณ์ของเจ้าของบ้าน หรือแม้แต่บ้าน Safadasht Villa ที่กําลังก่อสร้างอยู่ ก็จะเห็นก้อนสเปซที่ปิดเป็นห้องส่วนตัวลอยอยู่ในตัวบ้านที่โปร่งใสเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอกรอบๆ บ้านอย่างน่าประหลาด แม้แต่งานในยุคแรกๆ ของ Taghaboni อย่าง Kouhsar Villa ก็แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของการปิด และเปิดของสเปซผ่านภาษาและรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่มีความขัดแย้งในตัวของมันเอง โดยเขาบอกว่านี่แหละคือตัวแทนทางความคิดของเขาท่ีแสดงออกมาเป็นกายภาพ
แต่พอมาถึงตรงนี้ เราก็เริ่มสงสัยว่า เขามีวิธีนำเสนอความคิดและรูปแบบงานอย่างนี้ให้กับเจ้าของโครงการที่น่าจะชื่นชมงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่เราเห็นทั่วๆ ไปใน เตหะรานได้อย่างไร Taghaboni บอกว่านี่แหละคือ gap หรือระยะห่างระหว่างตัวสถาปนิกกับลูกค้าที่เขาพูดมา ตลอดว่าเราต้องหาให้เจอเพื่อจะเป็นทางในการนําเสนอ ความคิด เพราะส่ิงหนึ่งที่คนอิหร่านให้ความสําาคัญมากที่สุด คือเรื่องของการศึกษา ไม่ใช่เรื่องเงิน ยกตัวอย่างว่าลูกคนไหนในครอบครัวที่เรียนได้สูงกว่า เก่งกว่า จะถูกยกย่องมากกว่าคนที่หาเงินได้มากกว่า และสถาปนิกก็เป็นวิชาชีพที่คนอิหร่านให้ความสําาคัญในเชิงความคิด ดังนั้น การนำเสนอความคิดจากทางสถาปนิกที่อยู่ในปริมาณพอเหมาะพอดีกับโครงการนั้นๆ ออกมาได้สําเร็จ ก็จะทําให้โครงการท่ีว่านั้นสามารถเกิดข้ึนมาได้จริง
TEXT: NARONG OTHAVORN
www.nextoffice.ir