BUILT TO WEAR

Teerabul Songvich has taken his wearable structures beyond the boundaries of ordinary materials

Teerabul Songvich, the designer who has shown his collection at Bangkok Fashion Week and Bangkok City of Fashion, always starts by saying something like “when I think about structure…”. And, his words start to form links with the field of architectural in a simple way.

These who watched his show on the catwalk or has seen pictures documenting it may disagree that Teerabul focuses on a splash of colourful materials. To get a clearer vision, we thought it better to explain the ideas behind his collections.

This collection is part of Teerabul’s research project supported by his former school, St. Martin College of Art, London. The project’s main objective is to enhance the potential of each fibre to its limit. In terms of architecture, it is an attempt to maximize the structure from existing materials. In terms of textiles, it is a study of each fibre of each fabric for their possibility to make patterns. Some materials may not be realized as fabrics and this experiment primarily includes and analysis of elements in relation with structure.

One of the outstanding examples from the collection is the blue-bray skirt in which Teerabul explores various types of fabrics to make a narrow hip and expanded end. The result is a skirt-structure that composes of several types of a fabrics whose flexibility and tension are differentiated by mellow use of technique.

The issue of using different types of fabrics continues into another piece which is fully decorated. Although its pattern is standard, the everchanging quality of skin made of various types of materials, both hand-crafted and laser cut, along with the graphic modifications are really the key factors of this piece.

The highlight falls on this colourful piece made of multi-coloured acrylic materials that are horizontally hung around the surface. Teerabul’s interest in structure and materials leads to the exploration of new materials that have never been employed in the clothes-making process before. One of this series is a jacket made of some film sheets which are fully transparent and semi-transparent. These optical films can reflect a myriad of colours that appear to observation and lighting effects.

The structure of this jacket, like architecture, displays the compression and suspension of the same materials but in different forms. The jacket comes out like an inflatable structure which is partly transparent, partly opaque with varied colours and one that is open to aspects of light or space.

To summarize, this collection is outstanding for its experimentation with structures and materials. It’s not that others have not tried to do so before, but the most important point is few have managed to push at limitations to combine various fabrics to present innovative structure, strange effects and unfamiliar materials.

This research project suggests that the link between fashion and architecture maybe closer than what we have thought it to be, especially in this trend to play with structure and skin which is a common idea shared by both fields. Like much of trendy architecture, Teerabul has made this idea tangible by presenting his collection to the world of fashion. It crosses the boundary of conventional use of materials and places it on quite another level.

สำหรับธีรบุล ทรงวิช นักออกแบบเสื้อผ้าที่โชว์คอลเล็คชั่นในงาน ELLE Fashion Week และ Bangkok City of Fashion ไปเมื่อต้นปี 2004 คำพูดติดปากที่ว่า “เวลาผมคิดโครงสร้าง…” นั้น ทำให้เรามองเห็นความเกี่ยวโยงถึงความคิดในงานออกแบบอีกสาขาหนึ่ง คือสถาปัตยกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่พูดอย่างนี้อาจทำให้หลายคนประหลาดใจ ทั้งสำหรับคนที่อยู่ข้างแคทวอล์ค เมื่อตอนที่คอลเล็คชั่นนี้เดินอยู่ หรือคนที่แค่เห็นภาพก็ตาม เพราะความวูบวาบและสีสันของวัสดุปิดผิวเสื้อต่างหากที่ดูจะเป็นสิ่งที่ธีรบุลเน้น ถ้าจะอธิบายกันให้ละเอียด อาจจะต้องเท้าความถึงที่มาที่ไปของคอลเล็คชั่นนี้สักเล็กน้อย

เสื้อผ้าคอลเล็คชั่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ธีรบุลรับทุนผ่านมาทางสถาบันเก่า ที่ตัวเองเคยเรียนหนังสือคือ St.Martin College of Art จุดมุ่งหมายหลักของโครงการอยุ่ที่การผลักดันศักยภาพของเส้นใยแต่ละชนิดให้ถึงที่สุด กล่าวในเชิงเปรียบกับสถาปัตยกรรม มันก็คือความพยายามสร้างโครงสร้างให้ถึงที่สุดจากวัสดุที่มีอยู่

ซึ่งเมื่อมองมาที่เสื้อผ้า มันก็คือการนำเอาเส้นใยแต่ละประเภท เนื้อผ้าแต่ละชนิดมาทำการศึกษาศักยภาพในการสร้างแพทเทิร์นประเภทต่างๆ ซึ่งก็กล่าวรวมถึงผ้าบางชนิดที่ยังเป็นปัญหาอยู่ว่าจะเรียกว่าผ้าได้หรือไม่ และการทดลองนำวัสดุดังกล่าวมาแยกส่วนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อจะประกอบกลับไปสัมพันธ์กับโครงสร้างอีกครั้งหนึ่ง

ลองยกตัวอย่างที่เด่นชัดก็คงจะต้องเริ่มที่กระโปรงทอง มองผาดๆ กระโปรงตัวนี้ก็คือกระโปรงฟิตสะโพก บานที่ช่วงปลายทั่วๆ ไป ที่อาจจะสะดุดตาอยู่บ้างก็คงจะเป็นลักษณะของผ้าหลากประเภทที่ธีรบุลเลือกทดลองกับผ้ากลุ่มที่ยืดได้เป็นหลัก ความพยายามหลักของกระโปรงตัวนี้ก็อยู่ตรงนี้นี่เอง จากโจทย์พื้นฐานเรื่องสัดส่วนและรูปทรงของกระโปรงประเภทนี้ ผ้าต่างชนิดจะถูกนำมาพิจารณาทั้งในแง่เส้นใยและวิธีการทอ จากนั้นจึงนำมาตัดเป็นรูปโค้งเข้า และโค้งออกที่มีปลายบาน แล้วเย็บเข้าด้วยกันด้วยวิธีโพ้งผ้า

ผลลัพธ์ก็คือโครงสร้างของกระโปรงที่เป็นการต่อกันของผ้าแต่ละชนิด​ (บางชนิดก็ถูกนำมาทดลองในแง่การตัดเนื้อผ้าแบบตรงกับการตัดแบบเฉียงด้วย) ซึ่งการค่อยๆ ขยับให้ชิ้นส่วนมีขนาดขยายขึ้นทีละน้อยตามต้องการ ทำให้การก่อรูปทรงของกระโปรงเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ คือฟิตในจุดที่ควรฟิต และบานในจุดที่ควรบาน และขยับขยายขนาดของชิ้นส่วนผ้าได้ตามต้องการ เนื้อผ้าแต่ละประเภทที่มีความยืดหยุ่น/ตึงตัวแตกต่างกัน ช่วยทำให้การค้นคว้าโครงสร้างลักษณะนี้มีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

ประเด็นเรื่องความแตกต่างของเนื้อผ้าแต่ละประเภท ถูกนำมาสานต่อในงานชุดใหญ่คือเสื้อ/กระโปรง ชุดที่มีการประดับประดา ในงานชุดนี้ โครงสร้างในระดับของแพทเทิร์นจะเป็นวิธีการมาตรฐาน แต่ไปเน้นความสนใจอยู่ที่การตอบสนองเชิงความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวเสื้อผ้า

วัสดุหลากประเภทจะถูกนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพื่อมาฟอร์มตัวเข้ากับเสื้อผ้าอีกครั้งหนึ่ง จุดเด่นของมันอยู่ที่การเล่นกับพื้นผิวอย่างถึงที่สุด ตั้งแต่การนำวัสดุมาตัดทั้งตัวด้วยมือแบบ handcraft กับการตัดด้วยเทคโนโลยีแบบ laser cut ที่ให้ความเคลื่อนไหวบนพื้นผิวแตกต่างกัน นอกจากนี้วัสดุที่ถูกตัดด้วยเทคนิคทั้งสองแบบยังถูกนำมาทำกราฟิกเพิ่มเติม สร้างมิติความลึกขึ้นมาบนมิติของวัสดุที่ทับซ้อนกันอยู่แล้ว

ชิ้นที่เป็นไฮไลท์ของชุดนี้ก็คือกระโปรง แถบวัสดุหลักของกระโปรงหลากสีสันตัวนี้คือแผ่นอะคริลิคหลากสีจำนวนมาก ตัดเป็นแถบตามยาวหน้าแคบแล้วห้อยติดกับแถบขวาง เมื่อปล่อยแถบอะคริลิคห้อยลงตามน้ำหนัก ก็จะเกิดรูปทรงกระโปรงตามธรรมชาติ ที่ธีรบุลย้ำว่า มีแพทเทิร์นบังคับอยู่ ก็คือแถบขวาที่เป็นตัวกำหนดขนาดเอวนั่นเอง

ความสนใจเรื่องโครงสร้างการตัดเย็บพร้อมๆ กับลักษณะวัสดุ ผลักดันให้ธีรบุลลองค้นคว้าไปยังวัสดุใหม่ๆ ที่ไม่เคยนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้ามาก่อน หนึ่งในผลการทดลองก็คือเสื้อแจ็คเก็ตที่ตัดเย็บขึ้นจากแผ่นฟิล์มชนิดหนึ่งของบริษัท 3M

แม้จะรู้ว่าเป็นวัสดุที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการทำเสื้อผ้า แต่เมื่อแรกเห็นวัสดุนี้ สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของนักออกแบบผู้นี้มากที่สุดก็คือพื้นผิว แผ่นฟิล์มประเภทนี้มีคุณลักษณะทั้งโปร่งใสและกึ่งโปร่งใส รวมถึงให้สีสันที่หลากหลายบนแผ่นเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงที่ส่องมาโดน ทั้งในแง่ประเภทของแสง และมุมตกกระทบ

เมื่อลองนำแผ่นฟิล์มนี้มาตัดเย็บ ปรากฎว่าสามารถประกอบรูปได้ ธีรบุลจึงเล่นกับโครงสร้างของเสื้อ โดยการสร้างแพทเทิร์นที่น้อยชิ้น แล้วมาโฟกัสที่การดึง/ขึงเนื้อผ้าที่ไม่เท่ากัน แล้วจึงเย็บขึ้นทรง ถ้าเปรียบกับสถาปัตยกรรมอีกครั้ง โครงสร้างของเสื้อแจ็คเก็ตตัวนี้ก็คือการเล่นกับแรง ทั้งแรงกด และแรงตึง ภายในวัสดุแบบเดียวแต่รูปทรงต่างกัน ผลที่ได้ก็คือแจ็คเก็ตที่มีหน้าเรียบแต่พองข้าง หลังเป็น 3 มิติ ที่มองทะลุหรือทึบ และเห็นสีสันที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของแสงหรือพื้นที่ที่สวมใส่นั่นเอง

กล่าวโดยสรุป งานออกแบบคอลเล็คชั่นนี้มีลักษณะเด่นตรงที่พยายามเล่นกับโครงสร้างและพื้นผิวของเสื้อผ้า ซึ่งไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครทำมาก่อน แต่จุดสำคัญคือการผลักดันให้แต่ละประเด็นของการออกแบบไปถึงที่สุดในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับเนื้อผ้าประเภทต่างๆ เพื่อดูว่าจะกลายเป็นโครงสร้างภายใต้เงื่อนไขเฉพาะได้อย่างไร การเล่นกับตัวเนื้อของวัสดุประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผ้า แต่สามารถนำมาประกอบกับโครงสร้างผ้าได้ และให้เอฟเฟ็กท์ที่แปลกตา หรือกระทั่งการใช้วัสดุที่ดูไม่เกี่ยวข้องกับวงการแฟชั่นมาออกแบบเสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งช่วยทำให้เราฉุกคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างงานออกแบบสองสาขา คือแฟชั่นและสถาปัตยกรรม ว่าอาจจะมีมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทรนด์การเล่นกับโครงสร้างและผิวหนัง ที่ทั้งสองสาขานี้แชร์ไอเดียร่วมกันอยู่ ดังที่ในวงการสถาปัตยกรรมเป็นที่รับรู้โดยทั่วไป ในวงการแฟชั่นนั้นก็พิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรม ในงานคอลเล็คชั่นนี้

และยังทำให้เราก้าวจากขอบเขตเรื่องวัสดุที่คุ้นชินไปในอีกทางหนึ่งด้วย

FIRST PUBLISHED IN art4d issue 103, APRIL 2004

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *