Being held for the second time, Art Stage Jakarta continues to impress us all
The fact that ART STAGE Jakarta has been held for two consecutive years comes as no surprise considering how Indonesia is a country packed with quality artists, collectors and galleries not to mention one of the most dynamic art scenes in the Southeast Asian region. All of the aforementioned makes it perfectly normal for Indonesia to host a successful art fair or two for the second or tenth year. This year, ART STAGE welcomed leading galleries from Indonesia and countries like Singapore, Australia, China, Hong Kong, Germany, Spain, etc. to join the event with the total number of 60 participants including first-timers yet veterans in the business such as Yogyakarta’s Sangkring Art Space and Ark Galerie. The coming of these big names guarantees ART STAGE’s growing recognition and quality.
The most interesting thing about ART STAGE Jakarta 2017 lies, not only in the impressive number of participating galleries and artworks but also in the expanded ‘scale’ of the event, which was one of the intentions of the event’s founder and director, Lorenzo Rudolf. Such attempt resulted in the emergence of several art-related activities in different venues of the city in addition to the main exhibition held at Sheraton Grand Jakarta Gandaria City Hotel in the month of August, 2017. Together, they turned ART STAGE into a mini art week with Sheraton Grand Jakarta Gandaria City Hotel hosting Art Square, a space where ART STAGE invited art institutions and organizations as well as small-scale galleries to showcase their works. Rather small in size and with the casual vibe of an art market in the middle of a department store with booths nicely set up, Art Square presents itself as a platform that grants viewers an opportunity to browse street fashion products from, Daging Tumbuh (DGTMB), a brand by one of the hottest Indonesian artists, Eko Nugroho who had some prominent works featured in the main exhibition and other galleries throughout the entire week of the event as well.
The space at Gandaria City hosted the ‘Spirit Today’ exhibition, which was essentially a showcasing of private collections of new generation collectors like Arif Suherman, Wiyu Wahono, Nicholas Tan, Indra Leonardi and Tom Tandio. Another venue, Off the Wall: Europe-ASEAN, featured a clash of street art-graffiti projects by Southeast Asian and European artists. It’s pretty obvious that the two activities and the aforementioned Art Square were added to ART STAGE’s program in the hopes of attracting a younger crowd to the event. Whether this is an attempt to expand the base for the future growth of the Indonesian art market or not, the addition of such activities that are somewhat more accessible did make this year’s ART STAGE more appealing to a wider audience.
Nevertheless, among the activities happening during the art week, there were two that we found to be the most interesting programs. The first one was First Sight by Museum MACAN, Jakarta’s Museum of Modern and Contemporary Art in Nusantara that has a scheduled opening date during this upcoming November (the museum is said to be Indonesia’s first full-on museum of modern and contemporary art). While not yet officially opened, MACAN introduced parts of its programming along with performances by renowned Indonesian artists such as FX Harsono, Reza Afisina, Agung Kurniawan and the country’s ‘star,’ Melati Suryodarmo at ART STAGE throughout the twelfth of August. The decision to debut MACAN with the performance art repertoire gave an impressive final outcome. This was because not only did the shows make ART STAGE’s artistic taste more flavorful, but due to the fact that performance art has been one of the genres of art that has contributed to the development of Indonesia’s contemporary art scene, the curated show reflects the kind of vision and concept that will earn MACAN a prominent spot on the regional art map once it’s officially opened.
Last but not least is the Akili Museum of Art that opened its gallery space for ART STAGE’s VIP guests and the press to view Rudy Akili’s spectacular private collection. And by spectacular, we’re not only talking about the paintings, sculptures, photographs and new media pieces by Indonesia’s veteran and up-and-coming artists occupying the entire three floors of the private gallery, but also the architectural and interior design of the space as well as the attentively curated ambience, which collectively, grant a memorable art-viewing experience for all. As one of Indonesia’s most important collectors and a member of the ART STAGE Jakarta Board of Art Patrons, Rudy Akili is also a major client of the country’s many art fairs. With the role of the host, the fact that he opens his doors for other viewers to see his private gallery is interesting in the sense that his contributions seem to endorse the commercial value of the artworks featured at this year’s ART STAGE considering how many of the pieces showcased at other exhibitions of the event were created by artists whose works were bought and collected by Rudy Akili himself. But to actually look at the artworks in Akili Museum’s impressively curated space is certainly and understandably better than browsing the booths on the communal space of a hotel or a department store.
ART STAGE Jakarta จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะประเทศที่มีทั้งศิลปิน คอลเล็คเตอร์ และ แกลเลอรี่คุณภาพจำนวนมากอย่างอินโดนีเซีย รวมทั้งเป็นประเทศที่มี art scene คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจะมี art fair ที่ประสบความสำเร็จจนจัดเป็นปีที่สองหรือสิบ ก็ดูจะเป็นเรื่องธรรมดา ในปีนี้ ART STAGE ยังคงสามารถดึงดูดแกลเลอรี่ชั้นนำของทั้งอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ อย่าง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง เยอรมนี สเปน ฯลฯ ให้มาเข้าร่วมงานได้ แถมจำนวนแกลเลอรี่ที่เข้าร่วมจัดแสดงงานครั้งนี้ยังเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 60 แห่ง โดยมีแกลเลอรี่สมาชิกหน้าใหม่เข้ามาร่วมด้วยอีกเป็นจำนวนมาก เช่น รุ่นใหญ่อย่าง Sangkring Art Space และ Ark Galerie จากยอร์กยาการ์ตา ซึ่งการตบเท้าเข้าร่วมของแกลเลอรี่บิ๊กเนมเหล่านี้ก็ดูจะเป็นการช่วยการันตีคุณภาพของ ART STAGE ได้เป็นอย่างดี
แต่ความน่าสนใจที่สุดของ ART STAGE Jakarta 2017 ก็ไม่ได้อยู่แค่ที่เรื่องจำนวนแกลเลอรี่หรือว่าผลงานศิลปะที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเพราะ “ไซส์” ของงานครั้งนี้ถูก Lorenzo Rudolf ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของ ART STAGE ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทำให้นอกจากตัวนิทรรศการหลักที่จัดขึ้นที่ Sheraton Grand Jakarta Gandaria City Hotel แล้ว ตลอดหลายวันในช่วงจัดงานเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็ยังมีกิจกรรมทางศิลปะเกิดขึ้นมากมายตามส่วนต่างๆ ของจาการ์ตาทำให้ช่วงระยะการจัดงานของ ART STAGE กลายเป็น art week ย่อมๆ ของจาการ์ตาไปเหมือนกัน เริ่มตั้งแต่ในบริเวณของ Sheraton Grand Jakarta Gandaria City Hotel เอง ที่มีทั้ง Art Square พื้นที่ที่ทาง ART STAGE เชิญชวนสถาบัน องค์กรทางศิลปะ หรือ แกลเลอรี่ขนาดเล็ก เอาผลงานมาร่วมโชว์เคส ซึ่งแม้จะเป็นพื้นที่จัดงานเล็กๆ และจัดบูธโชว์สบายๆ กันเหมือน art market กลางห้าง แต่ใน Art Square นี้ ก็นับเป็นโอกาสอันดีที่เราได้เห็นโปรดักท์แฟชั่นแนวสตรีทจาก Daging Tumbuh (DGTMB) แบรนด์ของศิลปินอินโดนีเซียที่ฮอตต่อเนื่องมาหลายปีดีดัก นั่นคือ Eko Nugroho หลังจากที่ได้เห็นผลงานศิลปะชิ้นสำคัญๆ ของเขาในตัวนิทรรศการหลักและในแกลเลอรี่อื่นๆ ตลอดสัปดาห์นั้น
ในส่วนของพื้นที่ใน Gandaria City ยังมีนิทรรศการ Spirit Today ที่เป็นโชว์เคสผลงานศิลปะส่วนตัวของบรรดาคอลเล็คเตอร์รุ่นใหม่ เช่น Arif Suherman, Wiyu Wahono, Nicholas Tan, Indra Leonardi และ Tom Tandio และอีกงานคือ Off the Wall: Europe-ASEAN ที่นำเอาผลงานสตรีทอาร์ต-กราฟิตี้ จากศิลปินจากทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป มาประชันกัน เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมทั้งสองอันนี้ รวมไปถึง Art Square ที่กล่าวไปข้างต้น น่าจะถูกเพิ่มเติมเข้ามาใน ART STAGE เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่อายุน้อยลง ซึ่งไม่ว่านี่จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายตลาดศิลปะให้มีฐานที่กว้างขึ้นต่อไปในอนาคตหรือไม่ก็ตาม แต่การเพิ่มส่วนของกิจกรรมที่จับต้องได้ง่ายขึ้นเข้ามา ก็ดูจะทำให้ ART STAGE คราวนี้ดึงดูดผู้ชมได้เป็นวงกว้างกว่าครั้งที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน art weekของเดือนสิงหาคมนั้น สองกิจกรรมที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นโปรแกรม First Sight ของ Museum MACAN มิวเซียมศิลปะร่วมสมัยแห่งใหม่ของจาการ์ตาที่กำลังจะเปิดประตูต้อนรับผู้ชมทุกคนอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนนี้ (และน่าจะเป็น musuem of modern and contemporary art เต็มรูปแบบแห่งแรกของอินโดนีเซียด้วย) โดยทาง MACAN ที่แม้จะยังไม่พร้อมเปิดบ้านทั้งหมดต้อนรับ ก็ได้เปิดพื้นที่บางส่วนและนำเอาเพอฟอร์แมนซ์อาร์ตจากศิลปินอินโดนีเซียชื่อดัง เช่น FX Harsono, Reza Afisina, Agung Kurniawan และ ‘สตาร์’ ตัวแม่ Melati Suryodarmo มาผลัดกันเพอร์ฟอร์มให้เราได้ชมกันตลอดวันของวันที่ 12 สิงหาคม โดยการเลือกเอา performance art มาเปิดตัวของ MACAN ครั้งนี้ก็นับว่าลงตัว เพราะนอกจากจะเป็นการเติมเต็มให้ ART STAGE มีครบทุกรสชาติแล้ว ศิลปะเพอฟอร์แมนซ์ที่ถือเป็นศิลปะอีกหนึ่งแขนงที่มีบทบาทในการพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของอินโดนีเซียก็พอจะทำให้เรามองเห็นวิสัยทัศน์และคอนเซ็ปต์ของ MACAN ที่บอกได้คำเดียวว่าถ้าเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไร มิวเซียมแห่งนี้ก็น่าจะแย่งความสนใจจากมิวเซียมอื่นๆ ในภูมิภาคไปได้ไม่มากก็น้อย
ปิดท้ายด้วยกิจกรรมจาก Akili Museum of Art ที่เปิดแกลเลอรี่ให้แขกวีไอพีของ ART STAGE รวมทั้งสื่อมวลชนได้เข้าไปชมคอลเล็กชั่นส่วนตัวอันน่าทึ่งของ Rudy Akili ที่บอกว่าน่าทึ่งนั้นไม่ใช่แค่ชิ้นงาน ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย และนิวมีเดีย จากศิลปินอินโดนีเซียทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นเล็ก ที่ครองพื้นที่ทั้ง 3 ชั้น ของแกลเลอรี่ส่วนตัวแห่งนี้เท่านั้น แต่งานออกแบบของตัวแกลเลอรี่ทั้งภายในภายนอกและบรรยากาศโดยรวมก็ยิ่งส่งเสริมให้การรับชมคอลเล็คชั่นทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ แน่นอนว่า Rudy Akili ที่เป็นหนึ่งในคอลเล็คเตอร์คนสำคัญของอินโดนีเซีย ย่อมเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ART STAGE Jakarta Board of Art Patrons รวมทั้งน่าจะเป็นลูกค้ารายสำคัญของ art fair หลายๆ แห่งด้วย ในครั้งนี้เมื่อผู้ซื้อได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นเจ้าภาพเปิดบ้านให้ผู้ชมคนอื่นๆ ได้เข้ามาเยี่ยมชมคอลเล็คชั่นส่วนตัวของเขาจึงนับเป็นเรื่องน่าสนใจ รวมทั้งคล้ายจะเป็นการ endorse ให้ผลงานศิลปะที่ปรากฎใน ART STAGE ครั้งนี้ดู “มีราคา” เพิ่มมากขึ้นเข้าไปอีก เพราะผลงานหลายๆ ชิ้นใน ART STAGE ก็เป็นผลงานของศิลปินที่ Akili สะสมไว้ แต่พอมาเดินดูงานศิลปะเหล่านั้นในพื้นที่ที่ถูกออกแบบตกแต่งได้อย่างลงตัวอย่างใน Museum Akili ก็เป็นที่แน่นอนว่ามันต้องได้บรรยากาศดีกว่าเวลาไปเดินดูงานศิลปะที่ถูกนำมาจัดแสดงตามบูธกลางห้างกลางโรงแรมอยู่แล้ว
TEXT & PHOTO: TUNYAPORN HONGTONG
EXCEPT AS NOTED
artstage.com