BAKERY MUSIC IS LAUNCHING A JAPANESE-FLAVORED MAGAZINE NAME “KATCH”, WHICH IS AIMED AT THAI KIDS WHO LIKE COMICS, FASHION AND ALL THOSE BUBBLE-GUM STORIES
Why do Thais like to read comic books so much? Because they’re fun, easy to understand, and made especially for the child in all of us. Unlike schoolbooks, there are many more illustrations than words, and plenty of action and adventure.
Boyd Kosiyabong of Bakery Music is the main man behind the magazine. And besides cartoons, there will also be loads of stories and pictures about entertainment and fashion, as one of the objectives is to keep teenagers up to date with the latest trends and fads.
Sethapong Povatong (Rhong), a graphic designer, and a partner of Varut Panyarachun (Tom), the CD of Bakery, was called in to collaborate on this project. He is the editor and art director. Khun Rhong is hardly a newbie in this business, however. An arts major, he graduated six years ago from the Faculty of Education at Chulalongkorn University. He worked for an advertising agency before going to St.Martin, England, to major in communication design. After he came back to Thailand, he worked as a freelancer, who designed tape covers for a while. Then he worked for “17”, a short-lived magazine which was his connection to “Katch”. “In England, magazines are separated into different groups,” he said. “Sometimes cartoons can be found in fashion magazines, but only a few pages. With Katch, besides the cartoons, we will try to pet in some interesting stories that are easy to understand.”
Rhong said that Boyd wants this magazine to be in a Japanese style. The mock up and the first Katch we saw certainly proves this point. The three main cartoons and photographs of young models emphasize flashy layouts, splashes of color, and glossy production.
The three cartoons in the first issue are Kristine (about a famous character based on the Bakery singer), Secret Agent, the story of private eye done in a sci-fi style, and Spin, which deals with basketball.
In terms of marketing, the pin-ups of poster boys and girls will be the bait to lure in a young-adults readership between the ages of 17 and 21. “We will mainly emphasize lifestyle and clothes. Our models will not just be pretty faces, because our target market is students, so we want school or university girls not young stars.”
After receiving a brief and the concept for each issue, the team has to put the rest of the magazine together, while keeping the target market firmly in mind. The work will be divided according to areas of expertise. Boyd has assembled a formidable array of talented cartoonists to flesh out and color in some of his ideas. After Boyd has proofed the stories, they will be sent to the cartoonists. Once Boyd has approved the rough draft, the real work can begin. The finishing touches will be done on the computer, however. “A good cartoon should be drawn in an interesting way. The layout should have a strange perspective, while the scenes must be rife with palpable emotion. It’s also important to have realistic details. For example, the Secret Agent cartoon is set in New York, so we have to find information about the city.
After the sketches are done, the designer team of Tom, Rhong, Nan and Pu steps in. “In doing the design we have to find a style, which everyone agrees is suitable for a Japanese style-lively, colorful, and targeted at a young audience. The layout is chaotic, but still tells the story. In the collaborative process, Khun Tom will talk about the big ideas, and then we divide the work. Everyone on the designer team has studied graphic, so we can divide the work. When we finish, Khun Tom and I will proof it again.”
To design for Katch, Khun Rhong and the rest of the crew have to keep in mind that they are not working in a Western style, even though they grew up seeing those kinds of graphic designers. Thus far they have encountered quite a few difficulties, but that is typical for a new magazine. “There are many problems such as the amount of time needed to complete the cartoons. But we’re excited about the finished product. Besides, this magazine new and we started from zero. The second issue should be easier.
One look at local news-stands is all it takes to realize that many magazines have disappeared. To survive in these tough times, a publication needs good content, beautiful layouts and a sound marketing strategy.
As far as this new cartoons-and-much-more magazine is concerned, we’ll have to wait and see if they can ‘Katch’ a decent share of the market.
“ทำไมคนถึงชอบอ่านหนังสือการ์ตูน?”คำถามนี้ดูเหมือนจะตอบกันได้ด้วย common sense ง่ายๆ “เพราะมันสนุกดี” มันเป็นความทรงจำที่เกาะยึดมาตั้งแต่เด็ก พอเริ่มอ่านหนังสือกันคล่อง ส่วนมากแล้วเด็กทุกคนจะต้องอ่านการ์ตูนกันก่อนที่จะอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ กัน เพราะว่าการ์ตูนสื่อสารกับเด็กได้ง่าย ด้วยภาพที่น่าดู เวลาในการอ่านก็น้อย แถมยังเร้าใจกับอุปนิสัยของเด็ก การได้เห็นภาพเยอะๆ มีการเคลื่อนไหวในจินตนาการ ทำให้เกิดความสนุก มันแค่เป็นความฝัน เป็นเรื่องเกินจริงที่สามารถสร้างโลกส่วนตัวใบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับความเป็นจริงขึ้นมาได้ พอโตขึ้นมาแม้ว่าจะเข้าใจเรื่องของความเป็นจริงมากขึ้น แต่อุปนิสัยความเป็นเด็กของคนเรายังมีซ่อนเร้นอยู่บ้าง จินตนาการในวัยเด็กยังอยู่เสมอแม้วัยจะเปลี่ยนไป หนังสือการ์ตูนยังเรียกความสนใจได้ทุกครั้งเมื่อปรากฎอยู่เบื้องหน้า เพียงแต่ว่าเรื่องที่เลือกอ่านก็จะเปลี่ยนไปตามวัย และเป็นเหตุผลที่มีการ์ตูนเนื้อหาหนักๆ โหดๆ วาบหวาม หรือซับซ้อนเกินกว่าเด็กจะเข้าใจได้ เราจึงเห็นเด็กโตๆ หรือบางครั้งผู้ใหญ่ข้างๆ ตัวเรานี่เอง นั่งอ่านการ์ตูนกันจริงจังราวกับเตรียมสอบปริญญาโท
บอย โกสิยพงษ์ แห่งเบเกอรี่มิวสิคคงจะมีคำตอบที่ดีกว่านี้ว่าทำไมคนถึงชอบอ่านหนังสือการ์ตูนกันนักหนา ถึงได้กับริเริ่มโครงการนิตยสาร “Katch” ขึ้นมา โดยตั้งใจจะให้เป็นนิตยสารที่ครอบคลุมหนังสือบันเทิง แฟชั่น และการ์ตูนรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้วัยรุ่นได้เห็นอะไรใหม่ๆ เป็นหลัก และเพื่อเป็นมีเดียของบริษัทด้วยเป็นเรื่องรองลงมา เศรษฐพงศ์ โพวาทอง (หลง) กราฟิกดีไซเนอร์คู่หูของวรุฒ ปันยารชุน (ทอม) CD ของเบเกอรี่ถูกตามตัวมาดูแลโปรเจ็คท์นี้ โดยรับหน้าที่ editor และ art director ควบ 2 ตำแหน่งเลย คุณหลงคนนี้ไม่ใช่หน้าใหม่จากไหน เขาจบครุอาร์ตจากจุฬาฯ เมื่อ 6 ปีก่อน ทำงานเอเจนซี่โฆษณาอยู่พักหนึ่งก่อนจะไปเรียนต่อที่ St.Martin ประเทศอังกฤษ ในสาขา Communication Design พอกลับมาก็รับงาน freelance จำพวกปกเทปอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็มาจับงานนิตยสารอายุสั้น “17” ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมมาสู่ “Katch” ในที่สุด “ที่อังกฤษก็มีหนังสือแนวนี้บ้าง แต่จะเป็นการ์ตูนเฉพาะกลุ่ม การ์ตูนก็การ์ตูน แฟชั่นก็แฟชั่น ถ้าสมมติหนังสือแฟชั่นอาจจะมีการ์ตูนแทรกอยู่ด้วยหน้าสองหน้า… พวก I.D. ก็เคยมียุคนึงที่ลงการ์ตูน Load ก็มียุคนึงแต่มันก็ลงน้อย ไอ้แบบที่การ์ตูนเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งนึงนี่ยังไม่เห็น… Katch ตัวนี้นกอจากจะมีลักษณะของความบันเทิงแล้ว แต่ว่าการแทรกสาระของเราเนี่ยเราจะใช้ภาษาที่ง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินความสนใจของเด็ก จะเป็นเรื่องที่เด็กกำลังอยากรู้อยากเห็นเช่นหนัง การวิจารณ์หนังเราก็ไม่ใช่จะเลือกหนังกล่อง เพราะว่ามันโตเกินวัยเด็กน่ะ ก็จะเลือกหนังดีแต่ว่าให้เด็กสามารถเข้าถึงได้ หรือพูดถึงกันอยู่ หรือเพลงเราก็จะเห็นเป็นเพลงป๊อป เพลง boyband อะไรอย่างเนี้ยที่เด็กสนใจ”
ส่วนทิศทางที่ดูเป็นญี่ปุ่นมากๆ นี้ คุณหลงแกให้การตามตรงว่าเป็นความต้องการของพี่บอยเค้าล่ะ เท่าที่ art4d ได้เห็นต้นฉบับ mock up และฉบับปฐมฤกษ์ของ Katch ที่นำมาให้ดูกันตรงนี้ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นแมกกาซีนที่ได้รับอิทธิพลมาจากทิศทางหลักของหนังสือญี่ปุ่นเอามากๆ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนหลักทั้ง 3 เรื่อง รวมทั้ง Pin up (ภาพชุดนางแบบเด็กสาว) ซึ่งจะเน้นความ “ใส” ที่การถ่าย การจัดภาพ การเลือกนางแบบ ฯลฯ ดูแวบแรกก็จะนึกถึงหนังสือสไตล์ญี่ปุ่นขึ้นมาทันที
การ์ตูนสำหรับเล่มแรกนี้มี 3 เรื่อง คือ Kristine คาแรกเตอร์ที๋โด่งดังต่อเนื่องมาจากช่วงโปรโมตนักร้องสาวของเบเกอรี่เอง เป็นเรื่องจบในตอน Secret Agent เรื่องเกี่ยวกับนักสืบปลาหมึก ออกแนวไซ-ไฟหน่อยๆ และ Spin เป็นเรื่องเกี่ยวกับกีฬาบาสเก็ตบอล 2 เรื่องหลังจะมีลงต่อๆ กันในเล่มต่อไป art4d แอบรู้มาว่าทางเบเกอรี่มีโครงการจะพัฒนาการ์ตูนพวกนี้เป็น animation ในอนาคต ซึ่งเป็นโปรเจ็คท์ระยะยาวอีกประมาณปีกว่าคงจะได้เห็นกัน ได้ข่าวว่าตอนนี้คุณบอยเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ เตรียมบุคลากรเอาไว้เกือบครบทีมแล้ว มีทุกตำแหน่งเลยตั้งแต่คนเขียนเรื่อง คนวาด คนทำ animation คนทำคอมฯ คนทำโมเดล ฯลฯ
ในแง่ของตลาดแล้ว ตัว Pin up ของ Katch น่าจะเป็นจุดขายที่แข็งแรงอีกตัวหนึ่งในการเจาะเข้าหากลุ่มเป้าหมายที่วางไว้เป็นวัยรุ่นอายุระหว่าง 17-21 ปี “ของเราจะเน้นที่ไลฟ์สไตล์หรือกิจกรรม เป็นเรื่องของอารมณ์ของภาพโดยรวมมากกว่าจะเน้นเสื้อผ้าเป็นหลัก และเด็กที่มาเป็นแบบเราจะเลือกเด็กที่มีบุคลิกน่าสนใจ เป็นดาวโรงเรียน เป็นดาวมหาวิทยาลัย อะไรอย่างเนี้ย เพราะเราจะเจาะ target ในสถานที่เหล่านั้น พอหนังสือออกไปอยากให้เด็กพูดว่า เฮ้ยเด็กคนนี้อยู่เตรียมฯ ว่ะ ไปซื้อมาดูกัน แต่เราไมไ่ด้คาดหวังว่าจะเอาดาราเด็กปั้นของพจน์ อานนท์ มาลง”
พอได้รับ brief มาเรียบร้อยแล้วเป็นคอนเซ็ปต์คร่าวๆ ว่าโครงสร้างควรจะมีอะไรบ้าง แล้วทางทีมงานก็รับมาแตกความคิดกันต่อว่าส่วนที่เหลือน่าจะมีอะไรบ้าง โดยประเมินจากความชอบของตัวเองส่วนหนึ่งและของ target อีกส่วนหนึ่ง นำมาประมาณว่าอะไรหนักไป อะไรเบาไป ก็จะคัดออกไป เลือกเอาแต่เรื่องที่เป็นกลางและเหมาะสมที่สุด แล้วจึงแบ่งงานกัน ในส่วนของการ์ตูนนั้น ทางคุณบอยเป็นคนรวบรวมคนที่มีฝีมือเข้ามา ส่วนมากก็จะมาจากการบอกต่อกัน เป็นนักเรียนศิลปะบ้าง คนที่จบแล้วบ้าง พวกนี้จะรวมตัวกันเข้ามาเอาพอร์ตมาเสนอที่บริษัท ถ้าคนไหนมีสไตล์ตรงกับที่คุณบอยคิดเอาไว้ ก็จะให้ไปวาดเทสต์มาดู พอตกลงให้คนนี้วาดแล้วก็คัดเข้าทีมไว้ ส่วนเรื่องจะเป็นอีกทีมเขียน เขียนเรื่องอย่างเดียว ส่งให้คุณบอยพรู้ฟ แล้วจึงส่งต่อให้ทีมวาด จากนั้นคนวาดก็จลองทำตั้งแต่สเก็ตช์คาแรคเตอร์ขึ้นมาก่อนให้ดูเป็นตัวๆ พอแก้ไขอะไรกันเป็นที่พอใจแล้วคนวาดก็จะวาดเป็นช่องหยาบๆ ประมาณว่า เป็น layout มาก่อนให้ทางคุณบอยดู ถ้า O.K. ก็ลงมือลุยกันเลย โดยที่ art work ขั้นสุดท้ายจะมีการแต่งในคอมพิวเตอร์บ้าง ใส่ background เข้าไปแทนที่จะใช้ screen tone มาติด ซึ่งจะล่าช้ากว่าใช้คอมพิวเตอร์ “นักวาดการ์ตูนที่ดีนี่ สิ่งแรกเลยลักษณะสไตล์การวาดต้องน่าสนใจ ต้องมีอะไรที่ค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองหน่อย และการจัดภาพต้องมีมุมมองที่แปลกตา จูงใจ อาจจะเป็น perspective ที่แปลกๆ หรือเป็นฉากที่ดูสร้างอารมณ์ขึ้นมาได้บรรยากาศ หรือ black-ground รอบๆ… แล้วก็เป็นคนที่ทำการบ้านมาพอสมควร อย่างเช่นว่า เรื่อง Secret Agent เรื่องมันเกิดในนิวยอร์ค เค้าก็ต้องไปหาข้อมูลเรื่องนิวยอร์คมา หรือตัวละครต่างๆ ที่กำหนดว่าเป็นสัตว์ทะเล เป็นมนุษย์ซึ่งมีความเป็นสัตว์ทะเลผสมอยู่เหล่านี้เนี่ย เค้าก็ต้องไปหาหนังสือพวกสัตว์ทะเลมาสเก็ตช์หาคาแรคเตอร์ต่างๆ ก่อน” เสร็จจากขั้นตอนการวาด ภาระทั้งหมดจะตกมาที่ทีมดีไซเนอร์ Katch เป็นนิตยสารอีกเล่มที่ให้ความสำคัญกับงานดีไซน์ ทีมดีไซเนอร์ประกอบไปด้วย คุณทอม คุณหลง คุณแนน (ภัฎฎินี ป้องภัย) และคุณปู (ชาญณรงค์ พรมรักษ์) “การทำดีไซน์ก็คือการหาแนวทางที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่ามันเหมาะกับหนังสือ นั่นคือค่อนข้างเป็นญี่ปุ่น อาจจะมีฝรั่งบ้างแต่ก็ไม่มากนัก แล้วก็สีสันที่ใช้ก็ให้มันเยอะๆ เข้าไว้แต่ให้มันลงตัว ค่อนข้างจะสดใส เตะตากลุ่มเป้าหมาย การจัดวางรูปจะดูยุ่งๆ แต่น่าสนใจเข้ากับเรื่องที่นำเสนออย่างประมาณ 10 หน้าต่อเล่ม จะเป็นเรื่องอะไรที่เป็นกระแสอยู่ขณะนี้ อย่างเล่มนี้เราก็ทำรูปสติ๊กเกอร์ ก็ไปเจาะที่มาว่าใครเป็นคนสั่งเข้ามา มันกำเนิดขึ้นมาได้ยังไง หรือไปสัมภาษณ์คนที่เค้าเก็บ เค้าชอบยังไงถึงเก็บ หรือว่าตู้ที่ไหนสวยถ่ายดีลายสวย… อีกมุมนึงก็ไปถามพวกคนขาย คนที่เฝ้าตู้ว่าเค้ามีประสบการณ์อะไรแปลกๆ ขำๆ บ้างในการทำงานเกี่ยวกับพวกนี้ ในการทำทอมจะคุยเรื่อง big idea คร่าวๆ ก่อนแล้วค่อยแบ่งงานกัน แต่สัดส่วนจะไม่เหมือนกัน อย่างน้องชื่อปูเป็นดีไซเนอร์โดยตรงจะทำมากที่สุดประมาณ 100 หน้ารวมการ์ตูนด้วย ผมก็ทำประมาณ 30 หน้า อีกคนคือคุณแนนผู้ช่วยผมทำอีก 20 หน้า ทอมก็ทำด้วยประมาณ 20 กว่าหน้า เผอิญทีมงานทุกคนเป็นคนที่เรียนกราฟิกมาทั้งนั้น เลยสามารถแบ่งงานตรงนี้ได้ ไม่ใช่ว่าต้องเขียนอย่างเดียว เรามีพื้นฐานทางกราฟิกกันหมด พอทำมาแล้วคนที่จะมาตรวจก็คือทอมกับผม”
การทำดีไซน์ให้กับ Katch นั้น คุณหลงให้ทีมงานท่องไว้ในใจเลยว่า “อย่าฝรั่งมาก” ถึงแม้ว่าพวกเขาจะโตมากับการดูหนังสือในทิศทางฝรั่งกันมา แต่ว่างานนี้เป็นโจทย์อีกแบบหนึ่งที่อยากได้สไตล์ญี่ปุ่น พวกเขาจึงต้องพยายามปรับไปในทิศทางนั้น คือให้ layout ดูรกๆ หน่อยๆ สีเยอะๆ เข้าไว้ detail มากๆ แต่ต้องทำให้ดูไม่น่าเกลียด ให้มีความลงตัวแต่ว่าวิธีการออกแบบของแต่ละคนจะไม่มีการกำหนดอะไรตายตัวมากนัก “ปัญหาเยอะมากครับ อย่างการ์ตูนเนี่ยกว่าจะสรุปกว่าจะเริ่มทำได้มันค่อนข้างใช้เวลา เวลาว่างของทีมงานเนี่ย เราก็มาลุ้นกันว่าเค้าจะวาดกันทันมั้ย มันก็ขลุกขลักกันไปนิดๆ หน่อยๆ พอหอมปากหอมคอ อีกอย่างมันเป็นลักษณะของการเริ่มต้นจากศูนย์ หนังสือนี้มันเป็น format ใหม่หมด เราต้องมาสรุปกันว่า size เท่านี้จะวาง head เท่านี้ จะลง credit เท่านี้ มีการใช้เวลากับตรงนี้เยอะ แต่พอเล่ม 2 มันก็จะง่ายขึ้นเยอะ เพราะว่ามันมี format ของมันกำหนดไว้แล้ว ความคล่องตัวของทีมงานก็คงจะมากขึ้นด้วย”
มองออกไปในตลาดสิ่งพิมพ์ของไทยขณะนี้ จะเห็นว่ามีหนังสือหลายเล่มหายตัวไปเรียบร้อย การจะทำให้หนังสืออยู่รอดได้โดยเฉพาะหนังสือใหม่จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อย ทำหนังสือรูปเล่มสวยงาม คอนเซ็ปต์ชัดเจน เท่านี้เพียงพอหรือยังในการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่พฤติกรรมการบริโภคแปรปรวนเหลือประมาณ
มองกลับมาที่ Katch เล่มนี้ ในเบื้องต้นของการทำงานก็คงมีการทำการบ้านในเรื่องของการตลาดกันมาเต็มที่แล้ว ก็ต้องรอดู feedback จากกลุ่มเป้าหมายวัยสดใสกันต่อไปว่าผลจะออกมาอย่างไร art4d ก็ขอเอาใจช่วย แต่ที่สนใจเป็นพิเศษเห็นจะเป็นเรื่องของสไตล์ที่เริ่มต้นจากทิศทางแบบญี่ปุ่นของ Katch ว่าในก้าวต่อๆ ไป พวกเขาจะคลี่คลายต่อไปกันอย่างไรมากกว่า
Originally published in art4d No.43, October 1998.