IN SEARCH OF THE UNKNOWN

A QUICK TOUR TO UNKNOWN ASIA, AN ‘ART EXCHANGE’ PROGRAM THAT BRINGS TOGETHER THE YOUNG GENERATION WHO ARE DRIVING THE CREATIVE INDUSTRY

UNKNOWN ASIA Art Exchange Osaka, also known as UNKNOWN ASIA, is an annual exhibition event featuring works from artists all over Asia. For this event, the form of creative works exhibited are free of any specific artistic category, and span from graphic design, photography and illustration to fashion, film and installation design. Consequently, exhibition- goers will experience an event that brings together a highly diverse collection of creative works.

The event also invites art directors and gallerists in Asia, mainly from Japan, to serve as its judges. The role of the judges in UNKNOWN ASIA are to offer awards to artists whose works seem to them to be significant responses to what they are looking for and the awards given grant the artists opportunities to be able to work, exhibit or collaborate with the mentioned judge. Examples of the awards might vary from a brand owner seeking a new visual artist/designer for their businesses, to gallerists searching for new artists to represent. Each year, UNKNOWN ASIA also announces the grand prix recognition which is awarded to an artist that all the judges unanimously agree upon. This year, the award went to Lulu Kouno, an illustrator from Japan.

Meri Maeno as she is embroidering for the exhibition-goers to see.

The latest exhibition held during the 3rd – 5th of November 2017 was the third of UNKNOWN ASIA’s annual exhibitions. Artists from Japan, Indonesia, Thailand, Taiwan, Hong Kong, Malaysia and South Korea exhibited at the Herbis Hall, a venue where the event was being held. Works were selected through an open call and a curatorial system in which artists were chosen through supportive organizations sta- tioned in each country. As for Thailand, the selections were made by Practical Design Studio and The Jam Factory. However, artists were also welcomed to submit their works independently via the event’s website.

Artists were then assigned to booths within the rows of their country of origin. As for the booths, the artists were free to exhibit their works however they wanted. Zi Lin Yee, an illustrator/graphic designer from Malaysia plastered all the walls, including the floor, with her hand-drawn maps of Kuala Lumpur, so that visitors could experience the feeling of being immersed in her home city. Similarly, South Korean graphic design studio ‘Ordinary People’ also took the same approach toward their booth, using torn paper to replicate the treatment of ripped posters. At the other side of the venue, Maria Lezhnina, a Russian architect/photographer who resides in Taipei, chose to present only two atmospheric photographs of her empty pools series by suspending them, like a banner, from the walls. As with Meri Maeno, an embroidery artist from Japan, she created a live performance by sewing a mural-sized embroidery that was hung from the wall, for exhibition-goers to see throughout the entire event of UNKNOWN ASIA 2017.

The selection of artists from Indonesia included Ignatius Hermawan Tanzil, a graphic designer from LeBoYe design studio and owner of Dia.Lo.Gue artspace. His selection of artists were of great variety. Situated opposite me was Natasha Lubis, who combines paintings with found imagery depicting traditional Indonesian women in order to convey her articulation of the female desire in the current urban society. The artist with the booth next to her, Evelyn Pritt, is a Bali-based photographer. Pritt exhibited monochromatic photographs that at first look could be taken simply as beautiful pictures of the the sea and sky. However, upon closer inspection and through conversations with Pritt, she revealed that the night skies with glistening stars were in fact macro images of the black sand beaches of Bali. Another photographer exhibiting right at the beginning of the row that us Southeast Asians shared; Hilarius Jason Pratana displayed his fashion photography in a street posteresque aesthetic. He stated that through his work, he wants to address the statement that the medium of fashion photography nowadays is limitless by implementing his adaptation of fashion photography into everyday advertising outside of the fashion-cliché realm. He does this by recreating posters for movies, public service announcements, fine art, or even call girl / boy advertisements.

UNKNOWN ASIA is all in all a good model event that shows how art and design could be integrated seamlessly together with the business sector in this current era. It is also an event that undeniably acts as a vessel in which artists, despite their cultures and backgrounds, can come together and form connections through creativity. Through this model of ‘art exchange,’ artists and visitors alike are able to witness the shifting trends of each countries’ representatives and the direction they are heading to- wards, igniting awareness within the creative industry. It exposes the kaleidoscopic array of work to both artists and visitors, dawning on us how much creativity our neighboring countries hold. After all, a collective force creates a rippling statement.

The judge of Unknown Asia Art Exchange Osaka 2017

UNKNOWN ASIA Art Exchange Osaka 2017 หรือท่ีรู้จักกันในชื่อ UNKNOWN ASIA เป็นนิทรรศการประจำปี ที่รวบรวมผลงานจากศิลปินในเอเชียไม่จำกัดสาขาและหมวดหมู่  ต้ังแต่ กราฟิกดีไซน์ ภาพถ่าย ภาพประกอบ แฟชั่น ภาพยนตร์ และศิลปะจัดวางมาไว้ในพื้นท่ีเดียวกันให้ผู้มาชมได้เห็นความหลากหลายของงานสร้างสรรค์ท่ีเกิดข้ึนในรอบปีในภูมิภาคน้ี

สัดส่วนคณะกรรมการตัดสินผลงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคืออาร์ตไดเร็คเตอร์จากแบรนด์และหน่วยงานต่างๆ และผู้อำนวยการหอศิลป์ในญี่ปุ่น และอีกกลุ่มท่ีมาจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย บทบาทหลักๆ ของคณะกรรมการ คือการคัดเลือก และมอบรางวัลให้กับศิลปินที่มีผลงานโดดเด่น ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะเป็นใบเบิกทางให้ศิลปินได้รับโอกาสในการทำงาน จัดแสดงผลงาน หรือร่วมทำโปรเจ็คต์กับกรรมการเหล่านั้นที่มีตั้งแต่เจ้าของแบรดน์ที่กำลังมองหาศิลปิน หรือ gallerlist ที่กำลังมองหาศิลปินหน้าใหม่ ในทุกปี UNKNOWN ASIA จะมีรางวัลใหญ่อย่าง grand prix ท่ีจะมอบให้กับศิลปินที่คณะกรรมการเห็นพ้องกันว่าเหมาะสม และในปีนี้รางวัลก็ตกเป็นของ Lulu Kouno นักวาดภาพประกอบจากญี่ปุ่น

นิทรรศการที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา (2017) เป็นครั้งที่ 3 ท่ี UNKNOWN ASIA จัดข้ึน ศิลปินจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ถูกคัดเลือกให้มาจัดแสดงผลงานร่วมกันใน Herbis Hall ซึ่งถูกคัดเลือกด้วยขั้นตอนการรวบรวมผลงานสองวิธีคือ การเปิด open call และการเสนอช่ือจากกลุ่มคนทาง ฃงานด้านศิลปะและการออกแบบในแต่ละประเทศ โดยสำหรับประเทศไทย ผู้ที่ทำหน้าที่เสนอชื่อดีไซเนอร์และศิลปินเข้าไปคือ Practical Design Studio และ The Jam Factory นอกจากนั้น ศิลปินยังสามารถส่งผลงานเข้ามาร่วมการคัดเลือกได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ของรายการนี้

ศิลปินทุกคนจะได้พื้นที่จัดแสดงคนละหน่ึงบูธ และจะถูกจัดเป็นแถวรวมอยู่กับเพื่อนศิลปินที่มาจากประเทศเดียวกัน แต่ในด้านวิธีการนำเสนอนั้น ผู้จัดให้อิสระในการใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ Zi Lin Yee กราฟิกดีไซเนอร์/ นักวาดภาพประกอบจากมาเลเซีย คลุมพื้นที่ทั้งหมดตั้งแต่สุดเพดานจนถึงพื้นห้องด้วยแผนที่วาดมือเมืองกัวลาลัมเปอร์ ท่ีผู้ชมจะรู้สึกเหมือนกับว่าโดนห้อมล้อมด้วยความรู้สึกราวกับว่ากำลังเดินเข้าไปในบ้านเกิดของเธอ แบบเดียวกันกับกราฟิกดีไซน์สตูดิโอจากเกาหลีใต้ Ordinary People ที่เอาโปสเตอร์มาแปะทั่วบูธ และฉีกบางส่วนออกอย่างหยาบๆ มาแปะตามผนังบูธ ในอีกฟากหน่ึงของห้อง Maria Lezhnina สถาปนิกและช่างภาพชาวรัสเซียที่พำนักอยู่ในไทเปทำตรงกันข้ามกับศิลปินสองคนที่กล่าวมาคือ แขนวชุดภาพถ่ายสระว่ายน้ำที่ไม่มีน้ำแค่สองรูป ห้อยกินพื้นที่จากเพดานมาจรดพนื้ และ Meri Maeno ศิลปินที่ทำงานปัก เธอใช้บูธเป็นพื้นที่ทำเพอฟอร์แมนซ์สด ค่อยๆ เย็บเติมแคนวาสผ้าขาวท่ีแขวนบนผนัง ให้คนท่ีมาดูงานค่อยๆ เห็นภาพปรากฏขึ้นมาตลอดระยะเวลางาน

ในส่วนของบูธศิลปินจากอินโดนีเซีย คณะกรรมการผู้คัดเลือกศิลปินจากอินโดนีเซียครั้งนี้คือ Ignatius Hermawan Tanzil กราฟิกดีไซเนอร์ผู้ก่อต้ัง LeBoYe design studio และเจ้าของ Dia.Lo.Gue artspace ในจาการ์ตา ที่เลือกศิลปินมาได้อย่างหลากหลายและน่าสนใจ โดยเฉพาะ Natasha Lubis (ที่บูธอยู่ตรงข้ามกับผู้เขียน) Natasha นำภาพหญิงสาวอินโดนีเซียในอดีตมาใช้ในงานเพ้นท์ติ้ง คอลลาจ เพื่อพูดถึงความปรารถนาของผู้หญิงในสังคมเมือง ถัดจากบูธนั้นเป็น Eyeln Pritt ศิลปินภาพถ่ายที่ทำงานอยู่บนเกาะบาหลี ภาพถ่ายของเธอเป็นภาพที่มองเผินๆ แล้วเหมือนกับภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนของท้องฟ้าและผืนทะเล แต่ถ้าได้เดินเข้าดูใกล้ๆ (และพูดคุยกับศิลปิน) ก็จะสังเกตเห็นว่ามันเป็นภาพชายหาดสีดำของบาหลีต่างหาก ส่วนศิลปินภาพถ่ายอีกคนท่ีอยู่บูธหน้าสุดของโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ Hilarius Jason Pratana ที่จัดแสดงภาพถ่ายแฟชั่นบนโปสเตอร์กลิ่นอายดิบๆ Hilarius บอกกับ art4d ว่าเขาต้องการนำเสนอความไร้ขีดจำกัด และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการถ่ายภาพแฟชั่นในปัจจุบัน โดยการแทรกภาพถ่ายแฟชั่นลงไปบนฟอร์แมตใบปลิวโฆษณาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โปสเตอร์ ภาพยนตร์ ใบประกาศของเมือง ไปจนถึงใบปลิวขายบริการ คล้ายจะบอกเป็นนัยว่ามันไม่ได้มีเส้นแบ่งระหว่างภาพแฟชั่นกับภาพถ่าย genre อื่นๆ อีกต่อไปแล้ว

UNKNOWN ASIA เป็นตัวอย่างที่ในการแสดงให้เห็นว่า ศิลปะและงานออกแบบนั้นทำงานร่วมกันได้อย่างไรในโลกธุรกิจ ปัจจุบัน เป็นอีเวนต์ท่ีทำตัวเป็นเหมือนกับภาชนะบางอย่างท่ีศิลปินจากหลากวัฒนธรรมและหลายแบคกราวน์ถูกเทลงมาอยู่ในพื้นท่ีเดียวกันให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กันผ่านผลงานของแต่ละคน ด้วยไอเดีย ‘art exchange’ ของรายการ ทั้งศิลปินและผู้มาเยี่ยมชมจะได้เห็นเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต UNKNOWN ASIA โชว์ความหลากหลายต่อทั้งผู้มาร่วมชมและกับศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงในงานเอง ส่ิงนี้ทำให้เราตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดข้ึนในภูมิภาค และการเคลื่อนไหวเล็กๆ เหล่านี้ก็ได้ควบรวมตัวเองจนกลายเป็นก้อนความคิดท่ีน่าจับตามอง

TEXT : VIRADA BANJURTRUNGKAJORN
PHOTO COURTESY OF UNKNOWN ASIA ART EXCHANGE OSAKA AND THE ARTISTS
unknownasia.net

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *