“AS ARCHITECTS WE HAVE BOTH OPPORTUNITIES AS WELL AS A CHALLENGE IN DEFINING OUR POSITIONS, TO CONSIDER WHAT ARCHITECTURE IS OR WHAT IT WANTS TO BE IS TO BE FRIGHTENED BY OPENNESS
The decision about the meaning of architecture conveyed places the responsibility with the designer who determines whether to create fresh work with the past as precedent, or to willfully represent the past. Henry David Thoreau said “Most men appear never to have considered what a house is, and are anxious rather needlessly for all their lives because they think they must have one such as their neighbors have.”
With some thought, we can discover an architecture that responds to our culture and are able to demand incorporating appropriate technological responses. To achieve this position we must consider what architecture is and we must also ask what an appropriate architecture of our culture, our time, and our place is.
I believe that such will depend on our building out of the land, and will our own heads, as Thoreau said, and not some appropriated style of fashion.”
Glenn Murcutt เริ่มการบรรยายถึงโปรเจ็คต์ต่างๆ ที่ผ่านมาโดยเล่าถึงอาคารพื้นถิ่นในออสเตรเลีย คนท้องถิ่นของออสเตรเลียรู้ดีว่าจะทำอะไร อย่างไร Murcutt ให้ความสนใจในเรื่องผู้คน สถาปัตยกรรมเป็นเรื่องของ “พื้นที่” (Place) คนพื้นถิ่นของออสเตรเลียมีความสามารถอย่างมากในเรื่องของ “ที่กำบัง” (refuge) และมุมมอง (prospect) เวลาที่เราดูรูปของคนที่ใช้ผนังเป็นที่กำบังมันบอกเล่าอะไรบางอย่าง สถาปัตยกรรมถูกสร้างสำหรับมนุษย์สำหรับทุกคน ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจว่าสถาปัตยกรรมส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างไร ชาวอะบอริจินนั้นรู้จักการคิดถึงมุมมอง (prospect) และที่กำบัง (refuge) หากเราได้ศึกษาอาคารที่สร้างโดยคนอะบอริจินในสมัยก่อนจะเห็นว่าเป็นอาคารที่เรียบง่าย แต่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
ในพื้นที่หนึ่งๆ ในออสเตรเลีย ลมจะพัดจากทิศทางหนึ่งในเวลาหนึ่งของปี เราสามารถสังเกตได้ว่านี่เป็นฤดูหนาวจากเครื่องนุ่งห่มที่พวกเขาสวมใส่เพราะแสงแดดส่องถึงตัว พวกเขาเปิดให้ร่างกายถูกแดดในฤดูหนาว ในฤดูร้อนพวกเขานำเปลือกไม้มาไว้ที่ข้างหนึ่งให้รับกับทิศทางกับลมที่พัดมา แดดก็ยังแรงและอากาศยังคงร้อนจัด แต่พวกเขาก็มีที่กำบังและพักพิง พวกเขารู้ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหนแล้วรู้จักพื้นที่ที่เขาอยู่เป็นอย่างดี
ลมก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ในช่วงฤดูหนาวลมพัดออกจากออสเตรเลียและอากาศชื้นเข้ามาแทนจากทางด้านชายฝั่งในช่วงฤดูร้อน ลมเหล่านี้เปลี่ยนทิศทางไปยังด้านตะวันตกเฉียงเหนือ Murcutt นำเรื่องของลมมาพิจารณาในทุกๆ โปรเจ็คต์ที่ทำเพื่อที่ว่าจะได้รู้ว่าในฤดูกาลต่างๆ กันลมอะไรจะมาในทิศทางไหน ลมยังมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ และความชื้นเป็นเรื่องสำคัญมากที่ Murcutt จะต้องเข้าใจก่อนการออกแบบ
หมายเหตุ :
ในการบรรยายครั้งนี้ Glenn Murcutt ได้พูดถึงโครงการที่ออกแบบในออสเตรเลียหลายโครงการ โดยเน้นให้เห็นถึงวิธีคิดที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่ของแต่ละโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพของภูมิประเทศและภูมิอากาศ เนื่องจากเนื้อหาในส่วนนี้มีความยาวมาก art4d จึงตัดทอนเพื่อความเหมาะสมในการพิมพ์
MARIKA – ALDERTON HOUSE
Northern Territory, 1990-94
เป็นโปรเจ็คต์ที่ Murcutt ออกแบบให้กับครอบครัวอะบอริจิ
เจ้าของบ้านขอให้ Murcutt ออกแบบบ้านให้กับครอบครัวของเธอ ในภูมิภาคแถบนี้มีอาคารท้องถิ่
Murcutt เริ่มออกแบบด้วยการคิดเกี่ยวกั
Murcutt เริ่มออกแบบให้ตัวบ้านเป็นที่ๆ คนสามารถมานั่งล้อมวงและดูทีวี
ในงานนี้ Murcutt ได้ทดลองเกี่ยวกับอาคาร ในหลายๆ เรื่อง มันเป็นบ้านที่มีผนังอาคารที่
MARIE SHORT HOUSE
New South Wales, 1974-75
Extension 1980
Murcutt ได้ออกแบบบ้านหลังหนึ่งทางตอนเหนือของ New South Wales ปี 1974 Murcutt บอกว่า “ผมอยากแนะนำพวกคุณที่เป็นสถาปนิกหนุ่มสาวทั้งหลายว่าพยายามหลีกเลี่ยงที่จะออกแบบบ้านของคุณเอง ให้ออกแบบบ้านให้ลูกค้าแล้วก็ซื้อบ้านหลังนั้นในอีก 10 ปีต่อมา นั่นคือสิ่งที่ผมทำ!”
บริเวณที่ตรงนี้เป็นป่าทึบไปจนถึงลุ่มเต็มไปด้วยต้นมะฮอกกานี มีสภาพแวดล้อมที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ คนในแถบนี้รู้เรื่องน้ำท่วม รู้เรื่องการคุกคามจากสัตว์ป่าในบริเวณ บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่ใช้อ้างอิงรูปแบบของบ้านที่ Murcutt ออกแบบในช่วงเวลานั้น เขาให้ความสำคัญกับโครงบ้านตามยาวและพยายามให้แสงจากทิศเหนือเข้ามามากที่สุดในฤดูหนาวและพยายามให้แดดเข้าถึงน้อยที่สุดในฤดูร้อน ห้องต่างๆ ถูกจัดวางในลักษณะเรียงกันไป มีระเบียงใหญ่ที่มีหลังคาคลุมในตำแหน่งที่ทำให้ได้รับลมจากด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในฤดูร้อนและในฤดูหนาวได้ด้วย พยายามให้แดดเข้าถึงให้น้อยที่สุดในฤดูร้อน มีม่านปรับแสงอยู่ด้านนอกของบ้านในลักษณะที่ช่วยให้เวลามองลงไปเห็นวิวได้ดี ตัวบ้านรับลมในหน้าร้อนและรับแดดในหน้าหนาว รูปแบบบ้านในลักษณะนี้มีหลังคาที่ลาดชันเป็นรูปแบบที่มีในพื้นที่แถบนี้
เรื่องสำคัญด้วยเช่นกันคือเรื่องของระดับน้ำที่ท่วมถึงในบริเวณทำให้ต้องยกดับของตัวบ้านขึ้นสูงจากพื้นอาคารสามารถไหลถ่ายเทผ่านได้ด้านใต้ตัวบ้านและเวลาที่น้ำท่วมสัตว์ต่างๆ จะขึ้นมาจากดินและเข้าบ้าน มันคล้ายๆ กับบ้านของไทยเหมือนกันที่มีบันไดที่ก้าวขึ้นบ้าน ซึ่งยกระดับขึ้นสูงให้ปลอดภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ ด้วย นี่ก็เป็นลักษณะแบบเดียวกันที่ยกพื้นให้สูงขึ้น ซึ่งมีความคล้ายกันในหลายๆ เรื่อง
LANDSCAPE INTERPRETATION CENTER
Northern Territory, 1992-94
เป็นโปรเจ็คต์ที่ Murcutt ทำงานร่วมกับ Troppo Architects กลุ่มสถาปนิกที่ทำงานทางภาคเหนือของออสเตรเลียที่มีงานดีๆ หลายงาน งานนี้เป็นอาคารศูนย์ข้อมูลของอุทยานแห่งชาติ Kakadu ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย มี drawings บางอันในตอนเริ่มคิดงานโปรเจ็คต์นี้ ในความคิดของชาวอะบอริจิน พวกเขาไม่มีจุดเริ่มต้น ตรงกลาง หรือจุดสิ้นสุด ความคิดที่เป็นระบบต่อเนื่องไม่รู้จบ เป็นลักษณะการคิดของพวกอะบอริจินซึ่งสำคัญมาก เป็นความคิดในลักษณะของการเคลื่อนไหวรอบๆ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความคิดในอาคารนี้ก็เป็นลักษณะเดียวกัน เดินเข้าไปในอาคารและเดินไปรอบๆ แล้วก็มีความคิดเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ เกี่ยวกับเรื่องของแดด เพราะว่าในตอนเหนือของออสเตรเลียในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จริงๆ แล้วไม่เคยไปถึงขอบฟ้าด้านทิศเหนือเลย มันไปถึงประมาณ 80 องศาไปทางใต้เท่านั้น ความคิดในเรื่องของการเคลื่อนไหวไปในตัวอาคารเป็นความคิดที่สำคัญมากในโปรเจ็คต์นี้เข้าสู่อาคาร เดินรอบอาคารซึ่งจัดแสดงนิทรรศการและออกนอกอาคาร ทางเข้าของอาคารอยู่ทางด้านข้างซึ่งเป็นวิธีเข้าอาคารแบบอะบอริจิน ซึ่งเข้าและออกจากบ้านทางด้านข้างเสมอ เข้าทางด้านข้างและออกทางด้านข้าง
MAGNEY HOUSE
New South Wales, 1982-84
บ้านบนชายฝั่งตอนใต้ของ New South Wales ทางใต้ของ Sydney เป็นบริเวณชายฝั่งที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักกันมากนัก ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยคุ้นเคยกับการออกแบบอาคารในพื้นที่แลนด์สเคปที่กว้างใหญ่ ที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ธรรมชาติกว้างใหญ่ที่ไม่มีต้นไม้ เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่มีพียงแต่หญ้าตลอดแนวชายฝั่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำงานด้วยยากมาก และเรื่องของขนาดส่วนหรือสเกลมีความสำคัญมากในการทำงานสำหรับสภาพแวดล้อมแบบนี้
การเข้าถึงทางรถหรือแขกที่มาจะเข้าถึงบ้านทางด้านหลังเป็นที่ที่แยกออกมาเป็นอิสระเจ้าของบ้านจะรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยเพราะจะเห็นได้ว่าใครมา โดยมองเห็นได้จากระยะที่ไกลพอสมควร ตอนที่แขกมาถึงบริเวณทางเข้าตัวบ้านถูกออกแบบให้กับคน 2 กลุ่มคือพ่อแม่และลูกแขกที่มาพัก ตัวบ้านถูกวางแปลนให้เห็นวิวเกือบจะแทบทุกส่วนของบ้าน หันทิศทางให้ตอบรับกับสภาพลมฟ้าอากาศ ทิศทางของแต่แดดและการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ระบบความคิดที่เหมือนกับถูกนำมาใช้โดยวิธีการที่แตกต่างกันด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน
SIMPSON – LEE HOUSE
New South Wales, 1989-94
บ้านที่ Glenn Murcutt ออกแบบในเขตร้อนจัดอากาศร้
รูปตัดของบ้านเป็นแบบเดียวกันบ้
โครงสร้างของบ้านถูกออกแบบให้มี
ARTHUR AND YVONNE BOYD EDUCATION CENTER
New South Wales, 1998
เป็นโปรเจ็คต์ที่ Murcutt ทำงานร่วมกับ Wendy Lewin ภรรยา Murcutt เองและ Reg Lark ลูกศิษย์ เมื่อขนาดของโปรเจ็คต์หนึ่งใหญ่เกินกว่าที่จะทำงานโดยลำพัง Murcutt จะทำงานร่วมกับสถาปนิกอื่นหรือทีมสถาปนิกเช่นงานออกแบบศูนย์ข้อมูลของอุทยานแห่งชาติ Kakudu
Murcutt เห็นว่าเป็นการดีที่มีโอกาสทำงานร่วมกับสถาปนิกที่มีความคิดคล้ายกันแต่แตกต่างกัน
ศูนย์การศึกษา Athur and Yvonne Boyd Centre ตั้งอยู่ที่ Riversdale ใน New South Wales เป็นศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนอายุ 8 ถึง 15 ปี ในบริเวณมีอาคารที่สร้างเสร็จอยู่ก่อนแล้วและมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม
ทางเข้าถูกออกแบบให้อยู่ที่ปลายอาคารด้านหนึ่งมีลักษณะกับระเบียงอาคารขนาดใหญ่ที่มีหลังคาคลุม Murcutt มองความสัมพันธ์ของลม หุบเขา และน้ำผืนดินส่วนหนึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำและเป็นเส้นทางสู่น้ำไปยังบริเวณหุบเขา เป็นพื้นดินที่รูปร่างเป็นลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ ซึ่งรองรับและเก็บกักน้ำฝนระหว่างรูปทรงของมัน เมื่อมองดูรูปตัดและรูปทรงของหลังคาจะเห็นความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมกับภูมิสถาปัตยกรรมในบริเวณนี้ได้เป็นอย่างดีในส่วนที่เป็นห้องพักของนักเรียนทุกๆ ห้องถูกจัดให้มองเห็นวิว ภาพที่เกิดขึ้นจากการมองออกไปข้างนอกหน้าต่างมีลักษณะที่เหมือนกับภาพเขียน แผงกันแดด ลักษณะครีบแนวทางตั้งที่เรียกว่า “blade” เป็นลักษณะเดียวกับที่ Murcutt ใช้ในงานออกแบบบ้านสำหรับครอบครัวอะบอริจิน ครีบเหล่านี้ทำหน้าที่ช่วยสะท้อนแสง ช่วยในการถ่ายเทลมและอากาศและสร้างความเป็นส่วนตัว
FIRST PUBLISHED IN ART4D VOL.80 MARCH 2002
Edited and translated from Glenn Murcutt’s lecture in Bangkok on November 3, 2001
Special thanks to the Australian Embassy in Thailand and BHP Steel Building Products (Thailand)
Cover Photo is Arthur and Yvonne Boyd Education Center from ozetecture.org
PREVIOUS STORIES