Q&A WITH GLENN MURCUTT

“START OFF YOUR OFFICE THE WAY YOU WANT TO FINISH.”

art4d:  It seems that so much of  your architecture pays a lot of attention to the site context and the tropical aspect of the project. When you do an urban project, what bring you the most crucial element of your design because for urban context, talking Bangkok as an example, has so many constraints and doesn’t contain the ecological aspect of the site. What would you do in that case? What would you do in an urbanised site?

GM: I showed you one project today that was a house in probably the most urbanised area of Sydney which is in upper end of medium density housing, and the thing that one has to take into account is the context, the cultural context is just as important to me as, for example is the environmental context.  It is another one of those issues.  It is no different  to getting water supply and waste management.  It ‘s just another one  of those issues, so I’ m looking at the typology of environment, of the buildings in that environment. I’ m looking at the scale of it.  I’ m looking at the morphology of the area.  I’ m also looking at the scale.  The scale, the materiality,  and the proportions that occur.  So when there is an existing context, one has to take the scale of the exiting context and work at that scale with the materials offered.  And yet it doesn’t have to replicate any of them.  It can just be part of  a new way of dealing with it.

Now I know you’ve got  real issues here with traffic and pollution and air movement.  Will, maybe, you’ve got to clean that up first. And then you can start working with the environment you can’t work with a polluted environment. Nor could I. I wouldn’t be so presumptuous as to tell you how you should do it . I just give you the principles that guide how I do it , and some of those principles are transferable.

You must take this as a right, in fact.

I believe we as humans have a right to breathe clean air.  We have a right to have decent medicine.  We have a right to actually have actually decent food.  These are rights.  They must be almost worked to wards.  As students, we work to wards them.  

The context must be aimed at presenting marvellous possibilities before you start working with the planet .  If you destroy the planet you’re not working with it.  So to work with it is to try and bring back things that are appropriate for certain.  But we can  get very good clean air within our cities which we don’t have in every one but we can get, for example the areas of our building summertime the northeast breezes are coming straight into the coast from the sea so we can capitalise on very good clean air .  That’s Important.  Then you start looking at where the sun is.  I mean you all know where the sun is.  You know you don’t let sunlight into your buildings, you know that you shouldn’t have glass roofs.  They’re all disasters here. You need to star dealing with your place.

The questions you asked were about principles.  Once you ask about principles, the answer should give you a direction.

art4d: So you also believe that your way of doing or dealing with architecture also in return reverse the process of environmental into the proper direction.

GM: I believe it can.

art4d: The following questions are concerning your practice. You have been working on the basis of one man practice for a number of years.

GM: 30 years

art4d: yes, have you ever dreamed of building big projects or big building? And the other question is what aspect or scope of work in your office that you find the least enjoyable?

GM: That’s a good question.  Have I ever dreamed of  doing multi-story buildings?  

The answer is, “It would represent a nightmare. ”Lionel March, at UCLA, has shown that we could live in less than a third of the size of our cities in under 4 story high building. There is in fact no need, other than status, for multi-story buildings.  They are extraordinarily heavy on energy, they are extraordinarily heavy on cost to build.  So I have never had a desire  to do a multi-story building in fact, I’ve never had a desire to do what I don’t want to do.  I don’t what I don’t want to do.

Now I’ve had a one-person practice for thirty-one years.  Why have I remained a on person practice?  Well, it’s given me time to think.  It’s given me time  to work out the possibility of models or ways of thinking.  You see, with one project, a big project that might take five years, I regard that as denying me the possibility of doing 25 projects that I can find some sort of experimental work with.

So, the thing with most multi-story buildings, they are designed around regulations, which have been designed around multi-story buildings, which are designed around regulations, around multi-story buildings.  And you all end up with the same thing, and you become largely a purveyor of facades.  I’m not interested in becoming a purveyor of facades.  I’m much more interested in looking at what I regard as real.  I know a lot of other people regard multi story buildings as real. I don’t.

Being  in a one-man practice it not easy but it’s given me marvellous opportunities.  You know, in my country it was never believed that a small practice could survive when I went into practice.  The thing that I was told when into  practice was “You’ll be back in a very short time,  because one man practices and small practices won’t exist within five years.” 

Thirty years down the line, not only do small practices exist, but a one-person practices exists.

When the recession came in Australia, a big recession in 1990 period, 32 percent of architects were out of work in Australis, 36 percent in Victoria alone.  Which was just incredibly difficult. The profession was running taxis and yet I had more work than I could cope with.

And so I had many calls, because I tech In Australia, from young architects, just young, good really fine young architects.  They had  no work.  They came to see me about running a small-scale practices.  I said to them, I’ve known many to these young architects.  Many of them were very good.

I had reached, in 1992, a place where I got very good clients, where they behaved because they had to wait for me.

I had developed  a practice where instead of  responding to a client by expanding the office the  next day, getting bigger and bigger to cope with more and more work I said to clients “look, I’m sorry I can’t do it now. Can you wait?”

So you either expand your practice or you expand time.

So I expanded time.  I said to clients, “You’ll have to wait for two months before I can do it.” And they said yes.  I continued, “You have to wait 12 months” And they said yes. And then I said “You ‘ll have to wait 2 years” And they said yes.

I’m now saying “You have to wait 5 years” and they’re still saying yes.

The thing is, some of them, they are very good clients and I can’t do the work, because they do  need to get going earlier.  I refer this work to young architects.  Very good young architects.

And so I have in fact about 16 offices in Sydney.  Young architects that started from the work I sent.  I have now sponsored at least 16 practices in Sydney staring up their own practices.  And the model of the small practice works.  And  it was not thought that it would work in Australia at the time

You see, the real problem is, most architects are pretty reasonable people, and they say yes  to everything.  But you can’t say yes to everything, because something’s got to give.

If you say yes to everything your client wants, you’ll end up in mediocrity.  

Because, as my father said to me, “You must start off your practice the way you would like to finish. “A very important statement.  Remember that , young architects, young students “Start off your office the way you want to finish.”

And for every compromise you  make in your work, that represents the sort of  client  you’ll get next. Every compromise represents a breaking down in the sort of client quality you’ll get.

If you say no, people don’t put their tail between their legs and go.  They stop and think, “jeez, this guy is telling me no.”It’s amazing how it works. It has an absolutely opposite reaction to with you think.

You must be valuable if you say no to so much work!

You think about it! I reckon in your community you can do it,  too.  Because we couldn’t do it in my community, it was said .  I didn’t it.  And there are many solo practitioners In Australia.

art4d: what is your favourite material, I mean the material that you like to use and explore?

GM: Look, every material can become your favourite material.  It depends upon its appropriateness for a place. For example, when I built a house on the island there, I used recycled timber and plantation-grown timbers.  The last  project I showed you here tonight – all of the timber.  In that building is done with recycled timbers, which ordinarily would have been burned.  In highway construction a lot of trees are cut down by the government and burned.

I have a man, who’s a very good builder from New Zealand.  And he saw a great opportunity when I specified recycled timber for my building.  He said “My goodness, I can have a business out of this” And he’s now spent five or six years working in these recycled timbers  And  he has now put in a half-million dollar plant for recycled timbers that he’s  picking up.  Timbers that have fallen in the forest, timbers that have been pushed down, cut up by landowners, and for highways.

He cleans the timbers, he whittles out holes, puts in plugs.  He refinishes them in the same sorts of materials.  Because the timbers, in the structure, you’ll see, have all been carefully thought about, and you’ll see evidence of members that have had holes in the surface of the beam.  As long as the hole is in the middle somewhere, you can plug it, where it’s not subjected to compression and tension forces.

I use timber, it’s one of my favourite materials, whenever it’s appropriate.  If I’ve got to travel long distances, then lightness counts, so I try to use  lightweight materials. I’m interested I fibers, I’m interested in plastics, I’m interested in all these other things. But I’ve got use what is appropriate.

And of course, we remember that we actually like things that have a tactile quality, such as timber.  It has very nice tactile quality, the way you finish it, it has a very beautiful quality.  But  polished steel is also really beautiful.  I love polished steel, as well.  But one must use the thinnest possible member size.  Don’t oversize .  

art4d: That’s brought to another question from the floor, regarding your detailing of your architecture.  The question is about  how you detail your architecture.  Where do your details come from?  Where do you find your details?

GM: Again I quote Mies, I’ll quote Mies because I’ll tell you, my father who was a journalist from the United States when I was ten years of age, and from twelve I had to read articles from the most interesting buildings, in my father’s view.  And I have to concur that they were  the most interesting buildings. And he would then question me after I’d read it.  Questions and answers.  And unless I got those answers right, I’d have to read the article again, until I got 100 percent of the answers correct.  So, it was principles he was asking  me, and they were often on the work of  Mies van der Rohe, Frank Lloyd Wright, Le Corbusier, and generally the architecture from North America and Europe, rather than Scandinavia.

I wasn’t that familiar with Scandinavian architecture when I graduated. Nor was I familiar with London when in fact I was heading back to the Greek Islands and a very good friend of mine had just come back from Finland, and he said “Of all the architects I know, you’re the one that should not be going back to Greek Islands but you should go to Finland.  Cancel the Greek Islands and go to Finland. “I respected this architect very much.  I went. And it had an immense impact on me.

Now, back to the question you asked.  Mies said, “God is in the details”

Now, at the age of twelve also, my father was a boat builder, a designer, a designer of cars – he built a car, we had a car by him.  We had boats designed and built by him.  By the time I was eighteen, I’d build racing skiffs, I’d built rowing boats, I built canoes, I did a lot of detail work in joinery shops.  During every school holiday I would work in the joinery shop.  I built casement windows, I built staircases.  By the time I started architecture, I had laid bricks, I had built with my father a house with a prefabricated wall, which was on the order of 5.5 meters high by about 4.5 meters wide in two panels, fully glazed at the factory, brought onto the site with a crane, and dropped into place.  Four weeks after the construction had started on the site, the roof was on. Brick walls went up, everything went inside, and the roof went on.  All in four weeks from the time we started on the site.

The idea of organisation of process, of how you put things together, was absolutely critical to my learning.  Process in the way of detail because detail is part of process, If you try to put the windows in before the walls are up, you’re in trouble.  You’ve got to have structure up.  You’ve got to have order in the way you think through.

And you’ve got to think about wind.  You’ve got to think about operation.  You’ve got to think about water – how water can be eliminated.  Like some of those windows I showed you.  Sloping glass with a flap that comes up in a monsoon in high wind areas, where the glass goes down below the opening.  You can open up the walls so that the air passes through the building when it’s raining so you don’t get water in.  These are the details.

Details are no less about principles than is the design of the architecture.

And God is in the details, whatever god you have.

art4d: what would you consider to be your position as an Australian architect today?

GM: Well, I have to leave others to judge that; I’m not in the position to judge that.

/ DETAILS ARE NO LESS ABOUT PRINCIPLES THAN IS THE DESIGN OF THE ARCHITECTURE. AND GOD IS IN THE DETAILS, WHATEVER GOD YOU HAVE./

art4d: ดูเหมือนว่างานสถาปัตยกรรมของคุณให้ความสำคัญกับบริบทของพื้นที่ และมีลักษณะของภูมิประเทศเขตร้อนในงานของคุณ เวลาที่คุณทำงานที่อยู่ในเมือง อะไรเป็นปัจจัยที่นำคุณไปหาองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการออกแบบ เนื่องจากในบริบทของเมืองอย่างเช่น กรุงเทพฯ นั้นมีข้อจำกัดมากมาย และก็ไม่มีลักษณะที่เป็นเรื่องระบบนิเวศน์บริเวณที่ตั้งด้วยคุณจะทำอย่างไรกับโปรเจ็คต์ในเมืองแบบนี้

GM: ผมได้แสดงผลงานชิ้นหนึ่งให้ชมไปแล้ว มันเป็นงานบ้านที่อยู่ใจกลางเมืองซิดนีย์ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นพอสมควร และสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาคือบริบททางวัฒนธรรม บริบททางวัฒนธรรมมีความสำคัญกับผมเช่นเดียวกับบริบททางสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่แตกต่างไปจากการหาแหล่งน้ำ หรือการจัดการกับของเสียหรอก ผมต้องศึกษาสภาพแวดล้อม อาคารภายในสภาพแวดล้อมนั้น รวมไปถึงขนาดส่วนของมัน และลักษณะสัญฐานของพื้นที่ การใช้วัสดุ และสัดส่วนที่เกิดขึ้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงทั้งสิ้น

ในปัจจุบันนี้ผมทราบว่าคุณกำลังประสบปัญหาเรื่องการจราจร มลภาวะ และสภาพแวดล้อม คุณอาจจะต้องจัดการกับปัญหาเหล่านี้ก่อน ไม่มีใครอยากจะทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษหรอก ผมไม่อยากจะไปเจาะจงลงไปเลยว่าคุณควรจะทำอย่างไร ผมเพียงให้หลักการที่ผมใช้อยู่ ซึ่งบางเรื่องมันนำมาปรับใช้ได้ที่นี่

คุณต้องยึดถือเรื่องนี้ ในฐานะของสิทธิ ผมเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสูดอากาศบริสุทธิ์มีสิทธิที่จะมีสุขอนามัยที่ดี อาหารดีๆ ยารักษาโรคที่ดี สิ่งเหล่านี้คือสิทธิที่พึงจะได้รับ และพวกเราจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นจริงๆ ให้ได้ เราควรจะตั้งเป้าให้บริบทที่จะเกิดขึ้นสามารถนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ ถ้าคุณตั้งหน้าทำลายโลกบี้ อย่างนั้นมันไม่เรียกว่าการทำงานหรอก คุณจะต้องทำงานร่วมกับมันในการนำสิ่งต่างๆ กลับมาสู่สภาพที่มันควรจะเป็น แต่เราสามารถมีอากาศบริสุทธิ์ได้ในเมืองของเรา ในขณะที่คนอื่นไม่มี ตัวอย่างเช่น บริเวณที่อาคารของเราตั้งอยู่ในฤดูร้อนจะมีลมจากตะวันออกเฉียงเหนือพัดตรงเข้ามาจากทะเล ทำให้เราได้รับอากาศบริสุทธิ์เต็มที่และเรื่องนี้มีความสำคัญนะครับ พอคุณแหงนหน้ามองดวงอาทิตย์ ผมหมายถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ คุณรู้ว่าคุณไม่ควรใช้หลังคากระจก สิ่งเหล่านี้นำความหายนะมาสู่คุณได้ คุณต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะจัดการกับสถานที่ของคุณเอง

คำถามที่คุณถามนั้นมันเป็นเรื่องของหลักการ พอคุณถามเรื่องหลักการคำตอบที่ได้ควรจะบอกทิศทางกับคุณได้

art4d: คุณเชื่อว่าวิธีที่ทำงานหรือแก้ปัญหาในงานสถาปัตยกรรมนั้น ไม่อีกแง่หนึ่งมันเป็นการพลิกสถานการณ์สิ่งแวดล้อมให้กลับไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมได้

GM: ผมเชื่อว่ามันสามารถเป็นอย่างนั้นได้

art4d: คำถามต่อๆ มาจะเกี่ยวข้องกับอาชีพการงานของคุณ ซึ่งคุณทำงานลำพังแต่เพียงผู้เดียวมาเป็นเวลานานหลายปีทีเดียว

GM: 30 ปีครับ

art4d: ถูกแล้วในระยะเวลานานขนาดนี้ คุณเคยฝันถึงโปรเจ็คต์ใหญ่ๆ หรืออาคารใหญ่ๆ บ้างไหม? อีกคำถามหนึ่งคืองานที่คุณทำที่ออฟฟิศส่วนไหนที่คุณสนุกกับมันน้อยที่สุด?

GM: คำถามดีครับ ผมเคยฝันถึงการได้ทำอาคารสูงหลายๆ ชั้นหรือเปล่า? คำตอบคือ “นั่นมันฝันร้ายต่างหาก” Lionel March แห่ง UCLA เคยแสดงให้เห็นว่า เราสามารถอาศัยอยู่ในเมืองที่เล็กกว่า 1/3 ของขนาดเมืองปัจจุบัน โดยที่มีอาคารสูง 4 ชั้นก็พอ อาคารพวกนี้ทั้งหนัก ทั้งสิ้นเปลืองพลังงาน และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ผมจึงไม่เคยปรารถนาจะทำตึกสูงเลย ผมไม่เคยปรารถนาจะทำสิ่งที่ไม่อยากทำเลย

จนถึงปัจจุบันนี้ผมทำงานคนเดียว 31 ปีแล้ว ทำไมถึงมีแค่คนเดียวนะหรือ? มันทำให้ผมมีเวลาคิดเวลาที่จะศึกษาหุ่นจำลองหลายๆ แบบ และหลายๆ วิธีในการคิด คุณจะเห็นว่าในโครงการใหญ่ๆ สักโครงการหนึ่งจะใช้เวลา 5 ปี ซึ่งทำให้ผมเสียโอกาสที่จะทำงานอื่นๆ อีก 25 ชิ้นที่ผมสามารถทดลองวิธีคิดแบบอื่นๆ ได้

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับอาคารสูงๆ ส่วนใหญ่คือ จะต้องออกแบบภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย สุดท้ายก็ต้องมาจบที่เรื่องเดิมๆ คุณทำหน้าที่จัดหาด้านหน้าใส่เข้าไปผมสนใจที่จะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากกว่า ผมรู้จักคนหลายคนที่คิดว่าการทำอาคารสูงเป็นจริงจัง แต่ผมไม่ได้คิดเป็นนั้น

การทำงานคนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันเป็นโอกาสดี ๆ กับผม เชื่อไหมว่าประเทศของผมไม่มีใครเชื่อว่าบริษัทเล็กๆ จะอยู่รอดได้ ตอนที่ผมเริ่มทำงานสิ่งที่ผมได้รับฟังตอนเริ่มทำงานคือ “คุณจะต้องกลับมาในไม่ช้า” เนื่องจากบริษัทเล็กๆ และการประกอบอาชีพตามลำพัง จะไม่สามารถยืนระยะเกิน 5 ปี

30 ปีผ่านไปไม่ใช่แต่บริษัทเล็กเท่านั้นที่ยังอยู่รอดบริษัทแบบทำคนเดียวยังคงอยู่รอดด้วย ตอนที่เศรษฐกิจตกต่ำในออสเตรเลียช่วงปี 1990 สถาปนิก 32 เปอร์เซ็นต์ในประเทศตกงาน 36 เปอร์เซ็นต์เฉพาะใน Victory ที่เดียว มันเป็นความยากลำบากสุดสาหัส สถาปนิกต้องมาขับรถแท็กซี่ ขณะที่ผมมีงานล้นมือเกินกว่าจะรับไหว

ผมได้รับโทรศัพท์มากมาย จากสถาปนิกรุ่นใหม่อายุน้อยๆ เก่งๆ ทั้งนั้น เพราะว่าเพราะผมสอนหนังสือในออสเตรเลีย พวกเขาไม่มีงานทำ พวกเขามาขอคำแนะนำเรื่องการตั้งสำนักงานเล็กๆ ผมบอกไปว่า ผมรู้จักสถาปนิกรุ่นเยาว์ที่มีฝีมือหลายคน Mies van der Rohe เคยบอกว่า “อาคารที่ดีทุกหลังมีลูกค้าที่ดีอยู่เบื้องหลัง” ในปี 1992 ผมมาถึงจุดที่ได้พบกับลูกค้าที่ดีมากๆ พวกเขารู้จักที่อดทนรอ ผมเปิดบริษัทขึ้นมาไม่ใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยการขยายออฟฟิศให้มันใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้นทุกวัน เพื่อให้รับงานได้มากขึ้น ผมบอกกับลูกค้าของผมว่า “ผมเสียใจผมยังทำงานนั้นตอนนี้ไม่ได้คุณจะรอได้ไหม? คุณต้องเลือกมาจากขยายกิจการ หรือขยายเวลา ผมบอกลูกค้าไปว่า “คุณต้องรออีกสองเดือน ผมถึงทำงานนี้ได้” พวกเขาตอบว่า ได้ ผมก็ตอบว่า “คุณต้องรอ 12 เดือน” พวกเขาบอกได้ ตอนนี้ผมบอกว่า “คุณต้องรอ 5 ปี” พวกเขาก็ยังบอกว่าได้

เรื่องของเรื่องคือ พวกเขาเป็นลูกค้าที่ดีมากๆ และผมไม่สามารถทำงานให้ได้เพราะพวกเขาต้องการให้งานเร็วกว่านี้ ผมจึงแนะนำงานนี้ให้กับสถาปนิกรุ่นเยาว์ที่เก่งมากๆ พวกนั้นไป จริงๆ แล้วตอนนี้ผมมีสำนักงานอีกประมาณ 16 แห่งในซิดนีย์ ก็สถาปนิกรุ่นเยาว์ที่ผมส่งงานให้นั่นล่ะ ตอนนี้ผมให้งานสนับสนุนอย่างน้อย 16 บริษัทในซิดนีย์ ให้ก่อตั้งบริษัทของพวกเขาขึ้นมา ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเชื่อว่าบริษัทเล็กๆ จะอยู่รอดในออสเตรเลีย คุณจะเห็นว่าปัญหาที่แท้จริงคือว่าสถาปนิกส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเป็นคนมีเหตุผล และพวกเขาจะตอบตกลงกับทุกๆ เรื่องแต่คุณจะทำอย่างนั้นไม่ได้กับทุกๆ เรื่องเพราะว่าคุณต้องเสียอะไรบางอย่างไปด้วย ถ้าคุณยอมตกลงกับทุกๆ เรื่องที่ลูกค้าต้องการ คุณจะดูไม่มีอะไร พ่อผมเคยสอนไว้ว่า “จงเริ่มต้นบริษัทของเธอแบบเดียวกับที่เธออยากให้มันจบลง” มันเป็นถ้อยคำที่สำคัญมาก จงจำไว้นะสถาปนิกหนุ่มสาว นักศึกษารุ่นเยาว์ทั้งหลาย “จงเริ่มต้นบริษัทของคุณเองแบบเดียวกับที่คุณอยากจะให้มันจบ”

ทุกๆ เรื่องที่คุณประนีประนอมในการทำงาน มันจะเป็นตัวแทนที่จะบอกว่าลูกค้ารายต่อไป จะเป็นประเภทไหน ทุกๆ การประนีประนอมที่เกิดขึ้นคือ การเพิ่มขึ้นของลักษณะลูกค้าที่ตามมา ถ้าคุณต้องปฏิเสธพวกเขาจะไม่สะบัดก้นจากไป พวกเขาจะหยุดคิด “เฮ้ยหมอนี่ตอบปฏิเสธเราหว่ะ” มันได้ผลลัพธ์ดีทีเดียวมันตรงข้ามกับที่คุณคิดโดยสิ้นเชิงคุณมีคุณค่าเมือคุณตอบปฏิเสธที่จะทำงานมากเกินไป ลองคิดดูผมว่าคุณน่าจะทำได้ในสังคมที่นี่เช่นกันเพราะในสังคมของผมเขาก็ว่ามันเป็นไปได้ แต่ผมทำมาแล้ว และก็มีสถาปนิกทีทำงานเดี่ยวๆ อีกมาก ในออสเตรเลียวันนี้

art4d: วัสดุที่คุณโปรดปรานคืออะไร หมายถึงวัสดุที่คุณชอบใช้ หรือทดลอง ค้นคว้า

GM: ฟังนะวัสดุทุกประเภทสามารถเป็นวัสดุที่คุณโปรดได้ทั้งนั้น มันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสถานที่ ตัวอย่างเช่น ตอนที่ผมสร้างบ้านบนเกาะที่นั่นผมใช้ไม้ซุงที่ใช้แล้วกับการปลูกป่าโปรเจ็คต์หลังสุดที่ผมแสดงให้ดูเมื่อสักครู่มันเป็นไม้ซุงใช้แล้วทั้งหลัง ซึ่งปกติแล้วเขาจะเอาไปใช้เป็นฟืนในช่วงก่อสร้างไฮเวย์รัฐบาลตัดต้นไม้มากมายแล้วก็เผาทิ้

ผมได้ช่างที่เก่งมากๆ มาจากนิวซีแลนด์ และเขาสบโอกาสที่จะเลือกไม้พวกนี้มาสร้างบ้านให้ผม เขาบอกว่า ”โอ้โฮ ของพวกนี้ขายได้ด้วย” เขาใช้เวลา 5-6 ปีทำงานกับไม้ซุงพวกนี้ เขาลงทุนไปครึ่งล้านดอลล่าร์สร้างโรงงานไม้ใช้แล้วที่เขาเก็บมาได้ ไม้ที่ตกอยู่ตามป่าไม้ที่ถูกล้ม ถูกตัดโดยเจ้าของที่ดิน และเพื่อทำถนน

เขานำไม้พวกนี้มาทำความสะอาด ตกแต่งรอยแตกอุดรูให้เรียบร้อย เขา Refinish มันใหม่กับวัสดุอื่น เพราะว่าไม้พวกนี้มีโครงสร้างพิเศษที่คุณเพียงแค่อุดรูตรงส่วนนี้ จะไม่ถูกกระแทกหรือรับแรงตรงๆ 

ผมใช้ไม้พวกนี้ ทุกโอกาสที่เห็นว่าเหมาะสม มันคือวัสดุที่ผมชอบ ถ้าผมต้องเดินทางในระยะทางไกลๆ ผมต้องคำนึงถึงเรื่องน้ำหนักด้วย ผมต้องใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ผมก็สนใจไฟเบอร์ พลาสติก และวัสดุอื่นๆ เหมือนกัน ผมต้องคิดเรื่องความเหมาะสม และแน่ล่ะ ว่าเราชื่นชอบวัสดุที่ให้ความรู้สึกอย่างไม้พวกนี้มันความสวยงามมาก เมื่อคุณนำมา finish ดีๆ มันจะน่าสัมผัสมาก แต่เหล็กขัดก็สวยมากเช่นกัน ผมรักวัสดุที่เป็นเหล็กขัดด้วย แต่คุณต้องทำให้บางที่สุดอย่าให้มันใหญ่เกินไป

art4d: มาถึงคำถามอีกข้อหนึ่งจากผู้ฟังเกี่ยวกับเรื่องร่ายละเอียดในงานสถาปัตยกรรมของคุณ คุณทำอย่างไร รายละเอียดพวกนั้นมาจากไหน?

GM: ผมต้องยกคำพูดของ Mies อีกครั้งนะครับ ผมเคยบอกแล้วว่าพ่อของผมเป็นสื่อมวลชนทำงานอยู่ในอเมริกาตอนผมอายุได้ 10 ขวบ – 12 ขวบ ผมได้อ่านบทความที่พ่อเขียนเกี่ยวกับอาคารที่น่าสนใจที่สุดในยุคนั้นมากมาย และผมก็เห็นพ้องด้วยว่ามันเป็นอาคารที่น่าสนใจจริงๆ พออ่านจบพ่อผมตั้งคำถามให้ผมตอบ ถ้าตอบผิดต้องกลับไปอ่านอีกครั้ง จนกว่าจะตอบถูกหมด 100 เปอร์เซ็นต์ และหลักคิดที่เขาชอบถามผมมักจะเป็นงานของ Mies van der Rohe, Frank Lloyd Wright, Le Corbusier และสถาปัตยกรรมทั่วไปในอเมริกาเหนือ และยุโรปมากกว่าจะเป็นสแกนดิเนเวีย ผมไม่คุ้นเคยกับลอนดอนด้วยจำได้ว่าตอนนี้ผมตั้งใจจะกลับไปที่ Greek Island แต่มีเพื่อนคนหนึ่งเพิ่งกลับจากฟินแลนด์บอกกับผมว่า “ในบรรดาสถาปนิกที่เรารู้จัก นายเป็นคนหนึ่งที่ไม่ควรกลับไปที่ Greek แล้วแต่น่าจะไปฟินแลนด์แทน ยกเลิก Greek ซะแล้วไปฟินแลนด์” ผมนับถือสถาปนิกคนนี้มาก ผมทำตามที่เขาบอก ซึ่งส่งผลกระทบกับผมอย่างใหญ่หลวง กลับมาที่คำถามของคุณนะ Mies บอกว่า “พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด” ตอนอายุ 12 ขวบพ่อของผมเป็นนักต่อเรือ นักออกแบบ นักออกแบบรถยนต์ เขาสร้างรถขึ้นมาคันหนึ่งจริงๆ เรายังมีเรืออีกลำหนึ่งที่เขาทั้งสร้างและออกแบบเอง ตอนที่ผมอายุ 18 ขวบผมทำเรือใบแข่ง เรือพาย เรือแคน ผมทำงานรายละเอียดมากมาย ในร้านช่างไม้ ทั้งทำหน้าต่าง ทำบานผลัก ทำบันได ตอนที่เริ่มทำงานสถาปัตยกรรมผมก่ออิฐช่วยพ่อติดตั้งกำแพงสูงถึง 505 เมตร กว้างประมาณ 4.5 เมตร 2 ด้านเคลือบมาจากโรงงาน ยกขึ้นรถเครนมาส่งลงที่ไซต์ หลังจากก่อสร้างได้ 2 อาทิตย์ เราก็ติดตั้งหลังคาชิ้นกำแพง เอาทุกอย่างเข้าไปด้านใน เสร็จภายใน 4 อาทิตย์

ความคิดเกี่ยวกับการจัดการกระบวนการตอนต่างๆ ว่าจะจับทุกๆ สิ่งเข้ามาไว้ด้วยกันได้อย่างไร มีบทบาทสำคัญในขั้นตอนการเรียนรู้ของผม กระบวนการเป็นเรื่องของรายละเอียด เพราะรายละเอียดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ถ้าคุณใส่หน้าต่างก่อนใส่กำแพง คุณต้องเจอปัญหาใหญ่ คุณต้องขึ้นโครงสร้างก่อน คุณต้องคิดเป็นระบบ

คุณต้องคิดถึงเรื่องกระแสลม ต้องคำนึงถึงเรื่องการปฏิบัติ คิดถึงเรื่องน้ำ จะป้องกันน้ำอย่างไร ดูอย่างหน้าต่างที่ผมแสดงให้ดู กระจกเอนมีฝาปิดที่โผล่ขึ้นมาเวลามีมรสุมในเขตที่ลมแรงๆ ทำให้กระจกอยู่ข้างใต้เวลาเปิดออก อากาศผ่านเข้ามาข้างในได้ ตอนที่ฝนตกแต่ฝนเข้าไม่ได้ เรื่องพวกนี้คือรายละเอียดเป็นหลักคิดที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการออกแบบสถาปัตยกรรม และพระเจ้าจะอยู่ในรายละเอียดไม่ว่าพระเจ้าของคุณจะเป็นอย่างไร

art4d: คุณคิดว่าคุณอยู่ในฐานะใดสำหรับสถาปนิกออสเตรเลียในปัจจุบัน

GM: ผมว่าปล่อยให้คนอื่นตัดสินดีกว่า ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินเรื่องนี้

 

FIRST PUBLISHED IN ART4D VOL.80 MARCH 2002
Edited and translated from Glenn Murcutt’s lecture in Bangkok on November 3, 2001
Special thanks to the Australian Embassy in Thailand and BHP Steel Building Products (Thailand)
Cover Photo from ozetecture.org

PREVIOUS STORIES

GLENN MURCUTT : THE LUXURY OF TIME

GLENN MURCUTT : BACKGROUND AND INFLUENCES

GLENN MURCUTT : AUSTRALIAN LANDSCAPE

GLENN MURCUTT : PROJECTS

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *