THE SQUARE

the square ruben

DIRECTED BY RUBEN ÖSTLUND, THE SQUARE IS A FILM THAT CHRONICLES THE LAUNCH OF THE SQUARE, THE LATEST PIECE OF LAND ART BY X ROYAL CONTEMPORARY ART MUSEUM

It tells the story of the protagonist named Christian and his role as the museum’s curator in parallel with his personal life, which takes up almost half of the storyline.

The Square isn’t a museum documentary created to paint a better picture of how the working process in an art space really works, except for some miscellaneous tidbits here and there showing how a PR firm is hired to handle the promotional video of the museum’s art work and the thrilling entertainment brought about through a performance by the monkey characters that may have crossed the line (in the way that an actual human performer wouldn’t be able to get away with). The film continues its narrative by bringing together a series of events that are not conventionally told from its beginning to its end. It starts off with a scene where Christian’s phone is stolen, which leads to the delivery of a threatening letter to a flat in an attempt to recover his phone and wallet. The scene then cuts to a party set in the night, which appears to be the beginnings of a secret relationship with a female reporter. Next, the story jumps to scenes showing Christian working at the museum, meeting with the PR team, and taking care of the works of art. Things get a little heated when the female reporter starts confronting Christian about their affair while he is also constantly being harassed by a boy whose life is affected by his threatening letter. The story reaches its climax when his personal and work lives collide and Christian ignores a meeting to plan the PR of The Square, resulting in the making of a disturbing promotional video that goes viral and causes great emotional distress to the entire Swedish nation (the video depicts a young female beggar walking into the square frame of The Square before a bombs goes off and blows everything to pieces). The incident leads to the issue of a museum’s freedom of expression and eventually Christian’s resignation.

The degree of humor escalates until the story gets so dark that viewers can’t really laugh at the end. Nevertheless, we find that The Square does a pretty good job of depicting Christian’s paradoxical character through his words and role as a curatorand in real life. Viewers get to see two different facets of Christian (his work and personal life) along with his hypocrisy. While taking on the role of a curator when explaining the concept of The Square, he talks about a small space with a size of less than 10 square meters run by one rule; whoever stands inside its perimeter has to be sharing, kind and compassionate toward other human beings. Switching to his real life, he chooses to carelessly push the boy who asks him to apologize to his family down the stairs, willingly takes off his suit and dives into the trash soaking in the rain to find the phone number to contact the boy, records a video where he blabbers on about the differences between himself and the boy’s family as a result of the long-standing social structure, which he names as his reason for not personally (and him feeling uncomfortable to) apologizing to them in person.

The film ends with a scene where Christian decides to offer his apology to the boy’s family (after quitting his job at X Royal) but later finds out that they have moved out of the flat before he has a chance to meet them. What the film delivers is an irony that impacts us all because there are times when we all feel like there’s a Christian inside us somewhere.

The Square กำกับโดย Ruben Östlund เป็นหนังที่พูดถึงการเตรียมเปิดตัว The Square แลนด์อาร์ตชิ้นใหม่ล่าสุดของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย X Royal โดยหนังเล่าเรื่องผ่านชีวิตของตัวละครหลักชื่อคริสเตียน ในบทบาทคิวเรเตอร์ของหอศิลป์ คู่ขนานไปกับเรื่องราวชีวิตส่วนตัวที่กินพื้นที่หนังไปกว่าครึ่ง

หนังเรื่องนี้ไม่ใช่สารคดีเกี่ยวกับมิวเซียมที่ทำให้เราเข้าใจกระบวนการทำงานในหอศิลป์มากขึ้นนัก นอกจากเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น วิธีการโปรโมตงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ทำเองแต่เป็นการจ้างบริษัท PR ให้เป็นผู้ทำวิดีโอโปรโมต หรือความบันเทิงปนระทึกขวัญจากฉากเพอฟอร์แมนซ์ของมนุษย์ลิงที่ล้ำเส้นความพอเหมาะพอควร (แบบที่งานเพอฟอร์แมนซ์ในโลกแห่งความจริงทำได้ไม่ถึง) หนังเล่าเรื่องโดยการไล่เรียงชุดเหตุการณ์ที่ไม่ได้สัมพันธ์กันโดยตรงตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มด้วยฉากที่คริสเตียนโดนขโมยโทรศัพท์ตอนต้นเรื่อง ต่อเนื่องไปยังการแอบขึ้นไปส่งจดหมายขู่บนแฟลตเพื่อทวงคืนโทรศัพท์และกระเป๋าสตางค์ สลับมายังฉากปาร์ตี้ตอนกลางคืนที่เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ลับๆ กับนักข่าวสาว เปลี่ยนไปเป็นฉากการทำงานในหอศิลป์ การประชุมกับทีมประชาสัมพันธ์ การดูแลงานศิลปะ เรื่องเริ่มวุ่นวายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคริสเตียนถูกนักข่าวสาวตามมาเซ้าซี้เรื่องความสัมพันธ์ และโดนเด็กชายที่ได้รับผลกระทบจากจดหมายขู่ที่ตัวเองส่งไปมาตามรังควานหลายครั้งหลายคราว จนถึงจุดวิกฤต เมื่อปัญหาชีวิตส่วนตัวล้ำเส้นเวลางาน เขาละเลยการประชุมแผนการประชาสัมพันธ์ The Square กลายเป็นเหตุให้วิดีโอโปรโมตงานเสร็จออกมาเป็นวิดีโอไวรัลที่ไปทำร้ายจิตใจคนสวีเดนทั้งประเทศ (เป็นวิดีโอเด็กหญิงขอทานผมทองเดินเข้าไปในกรอบสี่เหลี่ยมของ The Square แล้วโดนระเบิดเป็นจุณ) นำไปสู่ประเด็นการล้ำเส้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของหอศิลป์ และเป็นเหตุให้เขาต้องลาออกในที่สุด

จะเห็นได้ว่าดีกรีความตลกของ The Square พัฒนาขึ้นเป็นลำดับๆ จนกลายเป็นตลกร้ายที่คนดูไม่สามารถตลกตามไปด้วยในตอนจบ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราคิดว่า The Square ทำได้ดี และอยากให้สังเกตกันคือ การแสดงความย้อนแย้งในตัวเองของคริสเตียน ระหว่างคำพูดคำจาและการแสดงออกในบทบาทคิวเรเตอร์ และในตัวตนของเขาในชีวิตจริง การนำเสนอเรื่องราวสองระดับ (การทำงาน / ชีวิตส่วนตัว) ไปพร้อมๆ กันทำให้เราเห็นการกลืนน้ำลายตัวเองคำโตของคริสเตียน ขณะที่เขาอยู่ในบทคิวเรเตอร์ยืนพูดถึงแนวคิดของชิ้นงาน (The Square) เขาพูดถึงพื้นที่ๆ หนึ่ง เขตแดนเล็กๆ ขนาดไม่ถึง 10 ตารางเมตร ที่มีกฎอยู่ข้อเดียวก็คือใครก็ตามที่ยืนอยู่บนพื้นที่นั้นจะต้องแบ่งปัน มีเมตตา และมีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ตัดมาในชีวิตจริง เขาเลือกที่จะผลักเด็กชายที่มาตามเขาไปขอโทษครอบครัวจนตกบันไดอย่างไม่ไยดี ยอมถอดสูทจมกองฝนและขยะเพื่อหาเบอร์ติดต่อครอบครัวเด็กชาย อัดวิดีโอพูดพล่ามถึงความแตกต่างระหว่างชนชั้นของตนเองและครอบครัวเด็ก ว่าเป็นผลมาจากโครงสร้างทางสังคมที่สั่งสมมายาวนาน และทำให้เขาไม่สามารถ (หรือไม่สะดวกใจ) ไปขอโทษต่อหน้าได้ด้วยตัวเอง

หนังเรื่องนี้จบด้วยฉากที่คริสเตียนตัดสินใจเดินทางไปขอโทษครอบครัวเด็กชายคนนั้น (หลังจากลาออกจาก X Royal) แต่ก็พบว่าทั้งครอบครัวของเด็กย้ายออกจากแฟลตไปสักพักแล้ว ส่วนในด้านอิมแพคของหนังที่สะท้อนกลับมายังคนดูนั้น เราคิดว่าที่หลายๆ คนรู้สึกแสบๆ คันๆ เหมือนโดนผู้กำกับแซะอ้อมๆนั้นก็คงเป็นเพราะหลายๆ ครั้ง เราๆ ก็มีนิสัยที่ไม่ต่างไปจากคริสเตียนนั่นเอง

TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO COURTESY OF MAGNOLIA PICTURES
squarethefilm.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *