A restaurant that lets you create your own cuisine from the many chapters of its dining story
Jinsop Lee’s TED Talks in 2013 discusses the South Korean product designer’s Design for All 5 Senses. The content of the talk revolves around Lee’s suggestion to observe and document activities we have done in life and rate each activity through the use of the 5 physical senses (sight, hearing, taste, smell, touch). He exemplifies riding a sports bike, which begins with a rider’s visual perception, the feeling of controlling and riding the vehicle and the roaring sound of the engine. The three sensory experiences are 10 out of 10 while the cold breeze flowing through the nose into the lungs gets 3 points and the taste at the tip of the tongue is scored zero. When connecting the scoring of all the 5 senses into graphs, one is able to see the difference between each activity, which leads to the development process that contributes to more interesting designs through its attempt to curate an even better experience for the five human senses while functionalities remain the same. Sometimes, communication through the senses that are rarely used with a particular activity was experimented upon. It’s noticeable that we seldom use the sense of taste with products other than food. What such observation reveals is that the activity that dominates the sense of taste is eating, therefore, when faced with the task to design something that viewers are able to experience using their 5 senses, incorporating a celebration of food seemed the most possible solution.
“…he’s a Michelin star chef,” is the description that we came across from the Internet about a restaurant that stands out for the fun dining experience it creates, Cuisine de Garden BKK, a casual Fine Dining establishment with Ekkamai being the place for the second branch following the first successful branch located in Chiang Mai. Chef Nan or Leelawat Mankongthiphan, Wongnicha Wongserbchart and architect of IF (Integrated Field), Sorakit Kijcharoenroj who was asked to oversee the design of the restaurant told art4d about their views and the parts they played in the project. “Dining out is like travel because you get to be exposed to new experiences. In each chapter, there are three different menus and each diner gets to pick only one dish. It feels like reading a tale of four chapters where we get to pick our own way of storytelling and create our own story. The visuals of each dish presented before the eyes serve as the illustrations of our little tale—a nature exploration kind of story with not that many actions as ‘Phetch Phra Uma’ but more of a contemporary fantasy tale that gets us exclaiming ‘so cute’ from time to time.
Most of the members of the team are designers, which explains their approach toward food as a work of design. There are times when their interest started from the beginning, with an ingredient being elaborated upon and the kitchen becoming an experimental grounds where ideas were thrown in before a dish was created. Other times their interest is emphasized at the end as dishes are improved upon and altered following the clients’ suggestions and comments. It seems like the boundary of food has been expanded upon to the point where any visible line that was once there has become invisible. There have been tremendous exchanges of ingredients and the ways foods are made between different parts and localities of the world is explored in a manner on par with how food is beginning to expand its boundaries to encompass all the five senses. It makes one contemplate the working process and whether there are ways for other disciplines of design to push users’ experiences and functional boundaries farther and in a similar way to that which food has done.
.
TED Talks ในปี 2013 โดย จินซอบ ลี (Jinsop Lee) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชาวเกาหลีได้พูดถึง ‘การออกแบบโดยใช้สัมผัสทั้ง 5’ (Design for All 5 Senses) เนื้อหาว่าด้วยการแนะนำให้สังเกตและบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่เราได้ทำในชีวิตโดยให้คะแนนกิจกรรมนั้นๆ ผ่านการใช้งานประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น สัมผัส กลิ่น เสียง และรส เขายกตัวอย่างการขี่บิ๊กไบค์ เริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ในการมองเห็น สัมผัสแห่งการขับขี่ และเสียงดังกระหึ่มของเครื่องยนต์ที่เร้าใจ ทั้งสามอย่างนี้ได้คะแนนเต็มสิบ กลิ่นลมเย็นๆ ที่สูดเข้าปอดผ่านปลายจมูกเขาให้สาม ส่วนรสสัมผัสที่ปลายลิ้นมีคะแนนเป็นศูนย์ เมื่อเชื่อมโยงการให้คะแนนประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นเส้นกราฟเราจะเห็นภาพความแตกต่างของแต่ละกิจกรรม ซึ่งนำไปสู่แนวทางในการพัฒนางานออกแบบให้น่าสนใจขึ้นได้ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นกับประสาทสัมผัสในการใช้งานเดิม หรือเพิ่มเติมการสื่อสารกับประสาทสัมผัสที่ยังไม่เคยถูกใช้ในการทำากิจกรรมนั้นๆ สังเกตว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ประสาทสัมผัสการรับรสแบบที่เกิดขึ้นตอนเรากินอาหาร ทำให้เราเห็นว่ากิจกรรมที่ดูจะผูกขาดเรื่องสัมผัสของรสชาติในปากคือเรื่องของการกิน ดังนั้นถ้าเราตั้งโจทย์ว่าจะออกแบบอะไรสักอย่างที่ผู้ใช้สามารถได้รับประสบการณ์ผ่านสัมผัสทั้งห้าอย่างครบถ้วน สิ่งที่ดูจะเป็นไปได้ง่ายที่สุดน่าจะเป็นการออกแบบในเรื่องการกินนี่แหละ
“..เขาระดับ Michelin ได้เลยนะเธอ” เป็นคำบอกเล่าที่เราพบผ่านรีวิวทางอินเตอร์เน็ตที่เขียนให้กับร้านที่โดดเด่นเรื่องการเปิดประสบการณ์สนุกๆ ทางการกินอย่าง Cuisine de Garden BKK ร้านอาหารแบบ Casual Fine Dining ส่งตรงจากเชียงใหม่มาเปิดสาขาอยู่ที่เอกมัยภายใต้การดูแลโดย เชฟแนน-ลีลวัฒน์ มั่นคงติพันธ์ วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ และสถาปนิกจาก IF (Integrated Field) อย่าง สรกิจ กิจเจริญโรจน์ ที่มาดูแลเรื่องการออกแบบตกแต่งร้าน ทางทีมงานบอกกับเราว่า “การออกไปทานอาหารนอกบ้านก็เหมือนการไปเที่ยวเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ เหมือนไปดูงานศิลปะ” ลักษณะของอาหารของ Cuisine de Garden จึงถูกออกแบบมาให้ทานเป็นคอร์ส โดย 1 คอร์สจะแบ่งเป็น 4 ตอน (Chapter) แต่ละตอนจะมีเมนู 3 อย่างให้เราเลือกเพียง 1 อย่าง เหมือนกับนิทานที่มี 4 บท โดยที่เราจะเป็นผู้เลือกเนื้อหาในแต่ละบทมารวมกันเป็นเรื่องราวเฉพาะของตัวเราเอง โดยมีหน้าตาของอาหารแต่ละจานเป็นภาพประกอบนิทานของคุณ เป็นนิทานเชิงท่องสำรวจธรรมชาติที่ไม่ได้บู๊ขนาด ‘เพชรพระอุมา’ แต่ออกมาในแนวแฟนตาซีร่วมสมัยที่ทำให้เราได้อุทานว่า “..น่ารักอ่ะ” อยู่เป็นระยะๆ
สมาชิกของทีมส่วนใหญ่เป็นนักออกแบบ จึงทำอาหารเหมือนทำงานออกแบบ บางครั้งเริ่มจากส่วนต้น บางทีก็เริ่มจากส่วนปลาย หรือเริ่มจากการสนใจในวัตถุดิบสักตัวหนึ่งแล้วนำมาขยาย ห้องครัวก็เหมือนเป็นห้องทดลองที่พร้อมจะโยนไอเดียกันไปมาจนกลายเป็นอาหารสักจานหนึ่ง ซึ่งบางครั้งออกมาแล้วก็มีการปรับปรุงแก้ไขกันในระหว่างทางได้ด้วยจากคำแนะนำของลูกค้า ยิ่งขอบเขตของอาหารในตอนนี้ขยายไปมากจนเรียกได้ว่าหาเส้นแบ่งไม่เจออีกแล้ว วัตถุดิบต่างๆ หรือกระบวนการในการปรุงอาหาร มีการแลกเปลี่ยนกันไปในทุกพื้นที่ เหมือนกับที่อาหารเริ่มจะขยายของเขตของสัมผัสในการกินจนครบทั้ง 5 ผัสสะ ทำให้เราต้องย้อนคิดถึงกระบวนการทำงานใหม่ว่ามีหนทางใดที่งานออกแบบในสาขาอื่นๆ จะเริ่มขยายประสบการณ์การใช้งานออกไปให้ได้กว้างเหมือนอย่างที่การทำอาหารได้ก้าวข้ามไปแล้ว
Read the full article on art4d No.263 | Click Here
TEXT: PITI AMRARANGA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN
fb.com/cuisinedegardenbkk